ลิ้นจี่
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ลิ้นจี่ | |
---|---|
ผลลิ้นจี่ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
ไม่ได้จัดลำดับ: | พืชดอก |
ไม่ได้จัดลำดับ: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
ไม่ได้จัดลำดับ: | โรสิด |
อันดับ: | เงาะ |
วงศ์: | เงาะ |
สกุล: | Litchi Sonn. |
สปีชีส์: | L. chinensis |
ชื่อทวินาม | |
Litchi chinensis Sonn. |
ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะและลำไยนั้นเอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ จากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว
ลิ้นจี่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงบัญชาให้ทหารม้านำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ฉางอาน
เปลือกผลของลิ้นจี่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ[1]
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 276 กิโลจูล (66 กิโลแคลอรี) |
16.5 g | |
ใยอาหาร | 1.3 g |
0.4 g | |
0.8 g | |
วิตามิน | |
วิตามินซี | (87%) 72 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 5 มก. |
แมกนีเซียม | (3%) 10 มก. |
ฟอสฟอรัส | (4%) 31 มก. |
ส่วนที่รับประทานได้เท่ากับ 60% ของน้ำหนักรวม | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ ประภัสสร รักถาวร เมทิกา ลีบุญญานนท์ และพจมาน พิศเพียงจันทน์. 2553. สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การต้านอนุมูลอิสระ และการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อสิวของสารสกัดจากเปลือกผลไม้. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 364-373