ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศปากีสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศปากีสถานทั้งสิ้น 6 แหล่ง[1]

ที่ตั้ง[แก้]

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
ha (acre)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
ซากโบราณคดีที่โมเฮนโจ-ดาโร แคว้นสินธ์  ปากีสถาน
27°19′45″N 68°8′20″E / 27.32917°N 68.13889°E / 27.32917; 68.13889 (Archaeological Ruins at Moenjodaro)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii)
240 (590) 2523/1980 โมเฮนโจ-ดาโรเป็นอดีตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และถือเป็นเมืองที่มีการวางผังเมืองและระบบประปาแห่งแรกในอนุทวีปอินเดียเมื่อ 2,500-1,500 ปีก่อนคริสตกาล ภายในเขตขุดค้นพบว่ามีการสร้างป้อมปราการรอบเมือง โรงอาบน้ำ สถูปเจดีย์พระพุทธศาสนา รวมไปถึงการขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาและรูปปั้นแกะสลักงดงาม นักโบราณคดีคาดการณ์ว่าอดีตเมืองแห่งนี้ถูกทิ้งร้างในศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสตกาลจากเหตุน้ำท่วม [2]
ซากพุทธสถานแห่งตัขต์ภาอีและซากนครใกล้เคียงที่ซาห์รีบาห์ลอล แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา  ปากีสถาน
34°19′15″N 71°56′45″E / 34.32083°N 71.94583°E / 34.32083; 71.94583 (Buddhist Ruins of Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol)
วัฒนธรรม:
(iv)
2523/1980 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1-7 มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคคันธาระ พุทธสถานแห่งนี้อันประกอบด้วยลานสถูป อาราม และอุโบสถ รวมไปถึงซากเมืองที่มีการขุดพบพระพุทธรูปแกะสลักหินรูปแบบศิลปะคันธาระจึงเป็นหลักฐานชัดเจนว่ามีผู้คนนับถือพระพุทธศาสนาในช่วงที่จักรวรรดิกุษาณะเรืองอำนาจในเขตหุบเขาเปศวาร์ [3]
ตักศิลา แคว้นปัญจาบ  ปากีสถาน
33°46′45″N 72°53′15″E / 33.77917°N 72.88750°E / 33.77917; 72.88750 (Taxila)
วัฒนธรรม:
(iii) (vi)
2523/1980 อดีตเมืองนครที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยยุคหินใหม่เมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ยาวนานมาจนถึงยุคแคว้นคันธาระ จักรวรรดิอะคีเมนิด อาณาจักรอินโด-กรีก จักรวรรดิกุษาณะ จักรวรรดิคุปตะ ก่อนจะล่มสลายจากการการบุกรุกของชนชาติเฮฟทาไลต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 เมืองตักศิลาถือได้ว่าเป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงเป็นแหล่งทำนุบำรุงของพระพุทธศาสนาในอนุทวีปอินเดียอีกด้วย [4]
ป้อมและสวนชาลามาร์ในลาฮอร์ แคว้นปัญจาบ  ปากีสถาน
31°35′25″N 74°18′35″E / 31.59028°N 74.30972°E / 31.59028; 74.30972 (Fort and Shalamar Gardens in Lahore)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iii)
2524/1981 ผลงานสถาปัตยกรรมโมกุลที่ยังพบเห็นได้ทั่วไปในนครลาฮอร์ซึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงจักรวรรดิโมกุลในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความโดดเด่นในด้านศิลปะที่มีการผสมผสานทั้งศิลปะอิสลามและศิลปะเปอร์เซีย ตัวป้อมประกอบด้วยตำหนักของราชาและเหล่าขุนนาง ศาสนสถาน และประตูที่ตกแต่งอย่างงดงาม ส่วนเขตสวนชาลามาร์มีการจัดสวนที่ได้อิทธิพลมาจากสวนเปอร์เซีย ประกอบด้วยน้ำพุกว่า 400 แห่งและพื้นที่ใช้สอยอย่างอื่น เช่น ศาลา บ่อน้ำ หอสูงหลุมฝังศพ [5]
โบราณสถานที่มกลี ฐัฏฏา แคว้นสินธ์  ปากีสถาน
24°46′0″N 67°54′0″E / 24.76667°N 67.90000°E / 24.76667; 67.90000 (Historical Monuments at Makli, Thatta)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iii)
2524/1981 มกลีเป็นเมืองที่ตั้งของสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีหลุมฝังศพราว 500,000-1,000,000 หลุม โดยมีการขุดค้นพบว่าสุสานแห่งนี้ถูกใช้ฝังศพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยเหล่าสาวกลัทธิศูฟีในจักรวรรดิซัมมา สุสานแห่งนี้มีความสำคัญต่อราชวงศ์ในอดีตอันเป็นที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดิและบุคคลสำคัญอีกมากมาย โดยมีการสร้างอาคารอนุสรณ์และรูปเคารพที่มีการผสมผสานศิลปะหลากหลายวัฒนธรรม [6]
ป้อมโรห์ตาส แคว้นปัญจาบ  ปากีสถาน
32°57′45″N 73°35′20″E / 32.96250°N 73.58889°E / 32.96250; 73.58889 (Rohtas Fort)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
2540/1997 ป้อมปราการขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นของจักรวรรดิซูร์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยสุลต่านเชอร์ชาห์สุรี โดยอิงสถาปัตยกรรมตะวันออกกลางผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น นับเป็นผลงานสถาปัตยกรรมอิสลามที่สำคัญในการถูกสร้างเพื่อเป็นแนวป้องกันการถูกรุกราน ตัวป้อมประกอบด้วยประตูหินแกะจำนวน 14 ประตู มัสยิด วังที่ถูกสร้างขึ้นในยุคโมกุล และบ่อน้ำขั้นบันได [7]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]

ประเทศปากีสถานมีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 26 แห่ง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Pakistanl". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  2. "Archaeological Ruins at Moenjodaro". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  3. "Buddhist Ruins of Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  4. "Taxila". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  5. "Fort and Shalamar Gardens in Lahore". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  6. "Historical Monuments at Makli, Thatta". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  7. "Rohtas Fort". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.