รัฐมเธศ
รัฐมเธศ मधेश प्रदेश (เนปาล) | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากบน ชานกีมนเทียร, ประตูสู่เนปาล, คฒีมาอีมนเทียร, ฉินนมัสตาภควตีมนเทียร และกังกาลินีมนเทียร | |
ที่ตั้งรัฐมเธศในประเทศเนปาล | |
ประเทศ | เนปาล |
จัดตั้ง | 20 กันยายน พ.ศ. 2558 |
เมืองหลวง | ชนกปุรธาม[1] |
เมืองใหญ่สุด | พีรคัญช์ |
เขต | 8 |
การปกครอง | |
• ประเภท | รัฐที่ปกครองตนเอง |
• องค์กร | รัฐบาลรัฐ |
• ผู้ว่าการรัฐ | หริ ศังกร มิศระ[2] |
• มุขยมนตรี | สโรช กุมาร ยาทวะ |
• สภารัฐ | สภาเดียว (107 ที่นั่ง) |
• เขตเลือกตั้งรัฐสภา | 32 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9,661 ตร.กม. (3,730 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 7 |
ประชากร (พ.ศ. 2564) | |
• ทั้งหมด | 6,126,288 คน |
• อันดับ | ที่ 1 |
• ความหนาแน่น | 630 คน/ตร.กม. (1,600 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 1 |
เขตเวลา | UTC+5:45 (เวลาเนปาล) |
รหัสภูมิศาสตร์ | NP-TW |
เอชดีไอ | 0.519 (ต่ำ) |
การรู้หนังสือ | 52.28% |
อัตราส่วนเพศ | 101.2 ♂ /100 ♀ (พ.ศ. 2554) |
จีดีพี | 5.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
อันดับจีดีพี | ที่ 4 |
เว็บไซต์ | madhesh |
รัฐมเธศ (เนปาล: मधेश प्रदेश, มเธศ ปฺรเทศ, ออกเสียง [mʌd̪es prʌd̪es]) เป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐของประเทศเนปาลที่ก่อตั้งขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเนปาล เป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดแต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศ[3][4] กล่าวคือ มีพื้นที่ 9,661 ตารางกิโลเมตร (3,730 ตารางไมล์) หรือประมาณร้อยละ 6.5 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ และมีประชากร 6,126,288 คน (จากสำมะโนประชากรเนปาล พ.ศ. 2564) ประชากรส่วนใหญ่ของรัฐพูดภาษาไมถิลี ภาษาโภชปุระ ภาษาเนปาล และภาษาพัชชิกา[3]
รัฐมเธศมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐพาคมตีทางทิศเหนือ รัฐโกศีทางทิศตะวันออก และรัฐพิหารของอินเดียทางทิศใต้ แม่น้ำโกศีและเขตสงวนสัตว์ป่าโกศีฏัปปุทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐมเธศกับรัฐโกศีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และเส้นแบ่งเขตระหว่างอุทยานแห่งชาติจิตวันกับอุทยานแห่งชาติปรรสา (เดิมเป็นเขตสงวนสัตว์ป่า) ทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐมเธศกับรัฐพาคมตีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก
นครกึ่งมหานครชนกปุรธาม (หรือที่นิยมเรียกว่าชนกปุระ) เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของรัฐ[5] เชื่อกันว่าเมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์วิเทหะซึ่งปกครองแคว้นมิถิลาในสมัยโบราณ[6] ราชพิราชเป็นเทศบาลที่ได้รับการวางผังเมืองแห่งแรกของเนปาลและยังเป็นเทศบาลที่เก่าแก่ที่สุดในแถบตราอีของเนปาลอีกด้วย[7][8] เชื่อกันว่าเมืองนี้ได้รับการตั้งชื่อตามวัดราชเทวีโบราณ มหานครพีรคัญช์เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นมหานครเพียงแห่งเดียวในรัฐ[9][10][11][12][13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Breaking ! प्रदेश २ को स्थायी राजधानी 'जनकपुरधाम' बहुमतले पारित !".
- ↑ "Government recommends Hari Shankar Mishra as provincial chief of Province 2". The Kathmandu Post. 16 August 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "National Population and Housing Census 2011" (PDF). Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 August 2014. สืบค้นเมื่อ 1 March 2014.
- ↑ "सबैभन्दा बढी जनसंख्या हुने प्रदेश मधेश". ekantipur.com (ภาษาเนปาล). สืบค้นเมื่อ 2022-01-26.
- ↑ Rastriya Samachar Samiti (2004). "More Indian tourists visit Janakpurdham". Himalayan Times, 17 January 2004.
- ↑ Burghart, R. (1978). The disappearance and reappearance of Janakpur. Kailash: A Journal of Himalayan Studies 6 (4): 257–284.
- ↑ "राजविराज नगरपालिका, नगर कार्यपालिकाकाे कार्यालय | प्रदेश नं. २, नेपाल सरकार". www.rajbirajmun.gov.np (ภาษาเนปาล). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.
- ↑ "Rajbiraj revisited". Nepali Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.
- ↑ "Birgunj Metropolitan City official Website". birgunjmun.gov.np.
- ↑ "Biratnagar, Birgunj promoted to Metropolitan Cities". The Himalayan Times. 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
- ↑ "Possible headquarters of states". onlinekhabar.com.
- ↑ "Where will Province Chief live?". Naya Patrika Nepal's National News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
- ↑ "Possible Province headquarters". BroadNepal News Bnn. 15 August 2015.
- ↑ "कुन प्रदेशको राजधानी कहाँ ?". Himalayan Kangaroo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-23. สืบค้นเมื่อ 2023-01-21.