รัฐไบเอิร์น
เสรีรัฐไบเอิร์น | |
---|---|
เพลง: Bayernhymne (เยอรมัน) "สดุดีไบเอิร์น" | |
พิกัด: 48°46′39″N 11°25′52″E / 48.77750°N 11.43111°E | |
ประเทศ | เยอรมนี |
เมืองหลวง | มิวนิก |
การปกครอง | |
• องค์กร | ลันท์ทาคแห่งรัฐไบเอิร์น |
• มุขมนตรี | Markus Söder (ซีเอสยู) |
• พรรคการเมือง | ซีเอสยู / เอฟดับเบิลยู |
• สมาชิกบุนเดิสทาค | 6 คน (จาก 69 คน) |
พื้นที่ | |
• รวม | 70,550.19 ตร.กม. (27,239.58 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2019-12-31)[1] | |
• รวม | 13,124,737 คน |
• ความหนาแน่น | 186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | บาวาเรีย |
ประชากร | |
• ภาษาทางการ | |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัส ISO 3166 | DE-BY |
GRP (nominal) | €633 billion (2019)[2] |
GRP per capita | €48,000 (2019) |
NUTS Region | DE2 |
HDI (2018) | 0.947[3] very high · 6th of 16 |
เว็บไซต์ | https://www.bayern.de |
ไบเอิร์น (เยอรมัน: Bayern) หรือในภาษาอังกฤษเรียก บาวาเรีย (อังกฤษ: Bavaria) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เสรีรัฐไบเอิร์น (เยอรมัน: Freistaat Bayern, [ˈfʁaɪʃtaːt ˈbaɪɐn] ; บาวาเรีย: Freistoot Boarn) เป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี ถือเป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน[4] มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวไบเอิร์น 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน
บาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป และถือเป็นรัฐเยอรมันที่มั่งคั่งรัฐหนึ่ง ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ซึ่งมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาในปีค.ศ. 1806 บาวาเรียยกฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียภายใต้ระบอบกษัตริย์ และเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันในปีค.ศ. 1871 เมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าลูทวิชที่ 3 แห่งบาวาเรีย จำยอมต้องสละราชสมบัติ บาวาเรียจึงปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐนับตั้งแต่นั้น โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เสรีรัฐไบเอิร์น
การปกครอง
[แก้]ส่วนการปกครองไบเอิร์นนำโดยมุขมนตรีเสรีรัฐไบเอิร์น (Ministerpräsident des Freistaates Bayern) ซึ่งมาจากการลงมติของสภารัฐไบเอิร์น มีวาระดำรงตำแหน่งห้าปี มุขมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งรองมุขมนตรีจำนวนหนึ่งคน รัฐมนตรีว่าการทบวงจำนวนสิบเอ็ดคน รัฐมนตรีว่าการเฉพาะกิจไม่เกินหกคน
ส่วนการปกครองไบเอิร์นประกอบด้วย[5]
- ทำเนียบว่าการรัฐ (Staatskanzlei)
- ทบวงมหาดไทย กีฬา และบูรณาการ (Staatsministerium des Innern, für Sport und Integration)
- ทบวงการที่อยู่อาศัย การโยธา และคมนาคม (Staatsministerium für Wohnen, Bau und Verkehr)
- ทบวงยุติธรรม (Staatsministerium der Justiz)
- ทบวงการศึกษาและวัฒนธรรม (Staatsministerium für Bildung und Kultus)
- ทบวงวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Staatsministerium für Wissenschaft und Kunst)
- ทบวงการคลังและเคหการ (Staatsministerium der Finanzen und für Heimat)
- ทบวงเศรษฐกิจ พัฒนาการภูมิภาค และพลังงาน (Staatsministerium für Wirtschaft, Landesentwicklung und Energie)
- ทบวงสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองผู้บริโภค (Staatsministerium für Umwelt und Verbraucherschutz)
- ทบวงอาหาร เกษตรกรรม และป่าไม้ (Staatsministerium für Ernährung, Landwirtschaft und Forsten)
- ทบวงครอบครัว แรงงาน และสังคม (Staatsministerium für Familie, Arbeit und Soziales)
- ทบวงสุขภาพและบริบาล (Staatsministerium für Gesundheit und Pflege)
- ทบวงกิจการดิจิทัล (Staatsministerium für Digitales)
เขตการปกครอง
[แก้]รัฐไบเอิร์นแบ่งออกเป็น 7 ส่วนภูมิภาคเทียบเท่าจังหวัดที่เรียกว่า เรกีรุงชเบเซิร์ค อันประกอบด้วย:
- โอเบอร์ฟรังเคิน (Oberfranken)
- มิทเทิลฟรังเคิน (Mittelfranken)
- อุนเทอร์ฟรังเคิน (Unterfranken)
- ชวาเบิน (Schwaben)
- โอเบิร์พฟัลทซ์ (Oberpfalz)
- โอเบอร์ไบเอิร์น (Oberbayern)
- นีเดอร์ไบเอิร์น (Niederbayern)
-
โอเบอร์ไบเอิร์น
-
นีเดอร์ไบเอิร์น
-
โอเบิร์พฟัลทซ์
-
โอเบอร์ฟรังเคิน
-
มิทเทิลฟรังเคิน
-
อุนเทอร์ฟรังเคิน
-
ชวาเบิน
เมืองใหญ่
[แก้]รายชื่อเมืองใหญ่สุดในรัฐไบเอิร์น
เมือง | ส่วนภูมิภาค | ประชากร (2000) |
ประชากร (2015) |
เปลี่ยนแปลง (%) |
---|---|---|---|---|
มิวนิก | โอเบอร์ไบเอิร์น | 1,210,223 | 1,450,381 | +19.8 |
เนือร์นแบร์ค | มิทเทิลฟรังเคิน | 488,400 | 509,975 | +4.3 |
เอาคส์บวร์ค | ชวาเบิน | 254,982 | 286,374 | +12.6 |
เรเกินส์บวร์ค | โอเบิร์พฟัลทซ์ | 125,676 | 145,465 | +16.0 |
อิงก็อลชตัท | โอเบอร์ไบเอิร์น | 115,722 | 132,438 | +14.8 |
เวือทซ์บวร์ค | อุนเทอร์ฟรังเคิน | 127,966 | 124,873 | -2.3 |
เฟือร์ท | มิทเทิลฟรังเคิน | 110,477 | 124,171 | +12.7 |
แอร์ลังเงิน | มิทเทิลฟรังเคิน | 100,778 | 108,336 | +7.5 |
ไบร็อยท์ | โอเบอร์ฟรังเคิน | 74,153 | 72,148 | −2.7 |
บัมแบร์ค | โอเบอร์ฟรังเคิน | 69,036 | 73,331 | +5.8 |
อชัฟเฟินบวร์ค | อุนเทอร์ฟรังเคิน | 67,592 | 68,986 | +2.0 |
ลันทซ์ฮูท | อุนเทอร์ไบเอิร์น | 58,746 | 69,211 | +17.9 |
เค็มพ์เทิน | ชวาเบิน | 61,389 | 66,947 | +9.1 |
โรเซินไฮม์ | โอเบอร์ไบเอิร์น | 58,908 | 61,844 | +4.9 |
น็อย-อุล์ม | ชวาเบิน | 50,188 | 57,237 | +14.1 |
ชไวน์ฟวร์ท | อุนเทอร์ฟรังเคิน | 54,325 | 51,969 | −4.4 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bevölkerung: Gemeinden, Geschlecht, Quartale, Jahr". Bayerisches Landesamt für Statistik und Datenverarbeitung (ภาษาเยอรมัน). August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ "GDP NRW official statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "State population". Portal of the Federal Statistics Office Germany. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-04-28. สืบค้นเมื่อ 2007-04-25.
- ↑ "Staatsministerien – Bayerisches Landesportal". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 April 2021.