รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)
รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (1916) เกิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวในการบริหารงานของคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมหลายคณะ แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงเปลี่ยนพระทัยโปรดเกล้าฯให้นักการเมืองแนวคิดเสรีนิยม วิกเตอร์ ทอร์น ทำการจัดตั้งรัฐบาลและดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปกติทอร์นเป็นผู้นำที่มีแนวโน้มเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและเขาได้ทำการร้องขอต่อรัฐสภาโดยตรงให้สนับสนุนรัฐบาลของเขาโดยไม่มีเรื่องของปัจเจกชน แนวคิดทางการเมืองและความเชื่อ เขากล่าวว่า "ถ้าท่านต้องการรัฐบาลที่ปฏิบัติงานและสามารถรักษาการ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกพรรคการเมืองต้องสนับสนุนรัฐบาลนี้[1] การสนับสนุนครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมจากทุกพรรคแต่เฉพาะเงื่อนไขเท่านั้นที่แต่ละคนจะถูกเชิญให้ร่วมรัฐบาล ทอร์นถูกทิ้งอย่างไม่มีทางเลือกแต่ก็สามารถกระทำการบริหารได้ ผลของการมีรัฐบาลผสมทั้งหมดซึ่งรวมทุกฝ่ายในการเมืองลักเซมเบิร์ก นอกเหนือจากทอร์นซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างเลออน คลัฟแมนน์และอันโตน เลอฟอร์ท, ฝ่ายสังคมนิยมคือ มิเชล เวลเตอร์และฝ่ายเสรีนิยมคือ เลออน มอติแยร์[2]
แรงกดดันสำคัญของรัฐบาลลักเซมเบิร์กคือ เสบียงอาหาร[3] สงครามทำให้นำเข้าอาหารไม่ได้และความต้องการของชาวเยอรมันผู้ยึดครองย่อมมาก่อนชาวลักเซมเบิร์ก[4] ด้วยระบบการจัดหาอาหารที่ล้มเหลว มิเชล เวลเตอร์ รัฐมนตรีการเกษตรและการค้า ได้ประกาศห้ามส่งออกอาหารออกนอกลักเซมเบิร์ก[5] นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดสิ่งของบางสิ่งและการควบคุมราคาเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการที่สูงขึ้นและทำให้ราคาอาหารไม่แพงมากสำหรับชาวลักเซมเบิร์กที่ยากจน อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ยังไม่ได้ตามที่ต้องการ การเพิ่มจำนวนของชาวลักเซมเบิร์กที่เปลี่ยนไปค้าขายในตลาดมืดมากขึ้น[6]และสร้างความตกใจแก่รัฐบาลลักเซมเบิร์ก กองทัพเยอรมันให้ความช่วยเหลือโดยเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้รัฐบาลได้กล่าวหากองทัพเยอรมันว่ามีส่วนช่วยการผลิตของตลาดมืดโดยปฏิเสธข้อบังคับกฎเกณฑ์และทำการลักลอบนำเข้าสินค้าด้วยกองทัพเยอรมัน[7]
ในปีพ.ศ. 2459 วิกฤตทางอาหารได้เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการเก็บเกี่ยวหัวมันฝรั่งทั่วประเทศต่ำไม่ค่อยดีเช่น ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเบลเยียมอัตราการเก็บเกี่ยวมันฝรั่งลดลงถึง 30%-40% ในปีก่อน[8] ถึงแม้ว่าชาวลักเซมเบิร์กจะมีระดับอัตราปริมาณการบริโภคที่ใกล้ถึงความอดอยาก[9] ประเทศพยายามจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะทุพภิกขภัย ส่วนหนึ่งคือจากการลดจำนวนของทหารเยอรมันเหนือแหล่งอาหารท้องถิ่นแต่มุ่งการนำเข้าจากเยอรมนี[10]
ถึงแม้ว่าจะมีการหลีกเลี่ยงภาวะทุพภิกขภัย รัฐบาลลักเซมเบิร์กได้สูญเสียความศรัทธาจากประชาชนเป็นจำนวนมากโดยนักการเมือง ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2459 มิเชล เวลเตอร์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีที่รับผิดชอบได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในรัฐสภาที่ซึ่งส่งผลถึงการลาออกจากตำแหน่งของเขา นายกรัฐมนตรีทอร์นได้หน่วงเหนี่ยวเวลาเพื่อที่จะหาตัวเลือกแต่การปรับคณะรัฐมนตรีอยู่ที่หัวหน้าพรรคหนึ่งในสามพรรคหลักและไม่พบผู้ใดที่จะมาแทนได้ ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2460 เวลเตอร์ได้ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีแทนที่ด้วยฝ่ายสังคมนิยมอีกคนหนึ่ง คือ เออร์เนสต์ เลอแคร์[2] แม้ภายหลังการเปลี่ยนแปลงและนายพลแห่งกองทัพเยอรมันประจำลักเซมเบิร์ก ริชาร์ด คาร์ล ฟอน เทสมาร์ได้สัญญาว่าทหารในสังกัดของเขาจะประพฤติตนดีขึ้นในอนาคต เลออน คลัฟแมนน์สามารถออกหมายเรียกดำเนินคดีกรณีทหารเยอรมัน 36 นายซึ่งถูกจับกุมในคดีลักลอบนำเข้าเสบียงอาหารในระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2461[11]
ในช่วงความยุ่งยากของประเทศนี้ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงอุทิศพระองค์ในพระราชกรณียกิจด้านกาชาดในลักเซมเบิร์กและทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลแก่ทหารที่ออกรบในแนวหน้า แต่ทางด้านการเมือง ทรงมีความสนพระทัยตลอดช่วงสงครามอย่างไม่ลดน้อยลง
ความไม่พอใจเกิดขึ้นในหมู่ประชากรตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอุตสาหกรรมทางภาคใต้ ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2459 ได้มีการเกิดขึ้นของสหภาพแรงงานครั้งแรกในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ด้วยสหภาพแรงงานได้ลุกฮือขึ้นทั้งในเมืองลักเซมเบิร์กและอิสช์-ซูร์-อัลแซต[2] แม้ว่าจะมีความต้องการในสงคราม ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกลับตกต่ำ[12]ซึ่งนำไปสู่ความไม่มั่นคงในการว่าจ้างงานยิ่งขึ้น ในเดือนมีนาคมและเมษายน ผู้สมัครอิสระ 3 คนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจากเขตปกครองอิสช์-ซูร์-อัลแซตที่ซึ่งมีเศรษฐกิจควบคุมด้วยเหล็กและเหล็กกล้า[2] ในฐานะที่เป็นอิสระซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ได้กลายเป็นฝ่ายค้านเพียงหนึ่งเดียวของรัฐบาลสหภาพแห่งชาติ
ชาวลักเซมเบิร์กหลายคนโดยเฉพาะเหล่าคนงานเหมือง ได้แสดงออกถึงความชิงชังรัฐบาลที่ไม่ได้ผ่านการเลือกมาจากโดยกล่องลงคะแนนเพียงอย่างเดียว การแสดงอารมณ์ที่เป็นไปในทางอารยะขัดขืนหรือแย่กว่านั้น นายพลฟอน เทสมาร์ได้คุกคามบุคคลแต่ละคนที่มีทีท่าว่าจะก่อความรุนแรง (ที่ซึ่งได้ทำการหยุดงานประท้วง) ด้วยโทษประหารสถานเดียว[13]อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 เหล่าคนงานได้พยายามที่จะใช้อาวุธมากที่สุดโดยทำการฝ่าฝืนคำขาดของนายพลฟอน เทสมาร์และทำการทิ้งเครื่องมือ[14] เยอรมนีซึ่งต้องพึ่งพาเหล็กของลักเซมเบิร์ก ขณะที่ราชนาวีอังกฤษได้ทำการกีดขวางเยอรมนีในการเข้าถึงทรัพยากรท้องถิ่น ในปีพ.ศ. 2459 ลักเซมเบิร์กได้ทำการผลิตมากกว่าหนึ่งในเจ็ดของเหล็กดิบของสหภาพศุลกากร[12][15] ดังนั้นเยอรมนีจึงไม่สามารถทำให้เกิดการหยุดงานประท้วงได้เพราะจะทำให้สูญเสียวัตถุดิบสำคัญ
ในการปราบปรามการประท้วง นายพลฟอน เทสมาร์ได้ทำการปราบปรามอย่างรุนแรง แต่เขาไม่ต้องการที่จะประหารชีวิตดังที่เขาได้ข่มขู่ไว้ เพียงเวลา 9 วัน การชุมนุมประท้วงได้กูกปราบปรามจนสิ้นและแกนนำผู้ชุมนุมถูกจับกุม[16] แกนนำผู้ชุมนุม 2 คนได้ถูกพิพากษาโดยศาลทหารเยอรมันที่เมืองเทรียร์ให้จำคุก 10 ปี ด้วยข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล[16] การปฏิเสธอย่างต่อเนื่องโดยอำนาจเยอรมันในการที่จะเคารพรัฐบาลลักเซมเบิร์กเป็นการทำลายเกียรติที่ซึ่งผู้ชุมนุมได้ถูกปราบปรามโดยกองทัพเยอรมันแทนที่จะเป็นกองทหารลักเซมเบิร์ก (Gendarmerie) ซึ่งเป็นเรื่องที่มากเกินกำลังสำหรับนายกรัฐมนตรีทอร์น ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2460 รัฐบาลของทอร์นได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งต่อแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Speech by Thorn to the Luxembourg Chamber of Deputies (in French), February 1916
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Thewes (2003), p. 69.
- ↑ Thewes (2003), p. 68.
- ↑ Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
- ↑ Letter from Tessmar to assorted commanders (in German), 8 May 1916
- ↑ Thewes (2003), p. 68.
- ↑ Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
- ↑ Letter from Hoover to Percy, 7 October 1916
- ↑ Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
- ↑ Letter from Buch to Thorn (in German), 4 October 1916
- ↑ Letter from Kauffmann to Kirsch (in German), 26 September 1918
- ↑ 12.0 12.1 Chambre of Commerce – Groupment des Industries Sidérurgiques Luxembourgeoises. "Graph of iron and steel production" (GIF). Statec. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006.
- ↑ Proclamation by Tessmar to steel workers at Differdange (in German), 10 May 1917
- ↑ Telegram from Thorn to Arendt (in German), 2 June 1917
- ↑ Zollverein pig iron production. National Bureau of Economic Research. Retrieved on 23 July 2006.
- ↑ 16.0 16.1 Letter from Kauffmann to Zimmerman (in German), 3 August 1917