ข้ามไปเนื้อหา

ระบบน้ำเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองของมนุษย์
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินsystema lymphoideum
MeSHD008208
TA98A13.0.00.000
TA25149
FMA7162 74594, 7162
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ระบบน้ำเหลือง (อังกฤษ: lymphatic system หรือ lymphoid system) เป็นส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนและระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วยโครงข่ายขนาดใหญ่ของหลอดน้ำเหลือง อวัยวะน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อน้ำเหลือง[1][2] ภายในหลอดน้ำเหลืองบรรจุและขนส่งของเหลวใส เรียกว่า น้ำเหลือง (lymph; มาจากภาษาละติน lympha หมายถึง "น้ำ")[3] ไปยังหัวใจ ระบบน้ำเหลืองต่างจากระบบไหลเวียนเลือดตรงที่ระบบน้ำเหลืองไม่เป็นระบบปิด ระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์จะนำเลือดโดยเฉลี่ย 20 ลิตรต่อวันกรองผ่านผนังหลอดเลือดฝอย ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายของพลาสมาออกจากเลือด และพลาสมาที่ผ่านการกรองกลับมาประมาณ 17 ลิตรจะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในหลอดเลือดโดยตรง ส่วนที่เหลืออีก 3 ลิตรยังคงอยู่ในสารน้ำแทรก โดยหนึ่งในหน้าที่หลักของระบบน้ำเหลืองก็คือเป็นทางไหลกลับสำหรับของเหลว 3 ลิตรที่เหลือไปยังหลอดเลือด[4]

หน้าที่

[แก้]
  • นำของเหลวที่ซึมอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง
  • ดูดซึมและขนส่งกรดไขมันและไขมันอย่างเช่นน้ำเหลืองปนไขมัน (chyle) จากระบบย่อยอาหาร
  • ขนส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวจากต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่กระดูก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Standring, Susan (2016). Gray's anatomy : the anatomical basis of clinical practice (Forty-first ed.). pp. 68–73. ISBN 9780702052309.
  2. Moore, K (2018). Clinically oriented anatomy (Eighthition ed.). pp. 43–45. ISBN 9781496347213.
  3. "Lymph - Definition and More from the Free Merriam-Webster Dictionary". www.merriam-webster.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-29.
  4. Sherwood, Lauralee (January 1, 2012). Human Physiology: From Cells to Systems. Cengage Learning. ISBN 9781111577438 – โดยทาง Google Books.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]