ข้ามไปเนื้อหา

รหัสไปรษณีย์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รหัสไปรษณีย์สำหรับพื้นที่จำเพาะพบได้ที่ด้านข้างตู้ไปรษณ๊ย์ เช่น ในภาพคือรหัส 82220

รหัสไปรษณีย์ในประเทศไทยมีตัวเลข 5 หน่วย สองหน่วยแรกระบุจังหวัดหรือพื้นที่บริหารพิเศษ (เช่น 43120 สำหรับอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) ส่วน 3 หลักสุดท้ายแทนที่ทำการไปรษณีย์ภายในจังหวัด[1] โดยมีข้อยกเว้น เช่น กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการมีเลขสองหลักแรกเป็น 10xxx เหมือนกัน เป็นเรื่องทั่วไปที่รหัสไปรษณีย์ลงท้ายด้วยเลข 0 เนื่องจากเป็นการมอบหมายให้ที่ทำการไปรษณีย์รับผิดชอบในการส่งไปรษณีย์ไปยังอำเภอหรือเขตนั้น[2] เช่น จดหมายที่ส่งไปยังเขตดุสิตใช้รหัสไปรษณีย์ 10300 ยกเว้นในพื้นที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานที่ใช้รหัสไปรษณีย์ 10303[3] โดย 10300 เป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ดุสิตที่จัดส่งทั่วเขตดุสิต ส่วน 10303 เป็นรหัสไปรษณีย์สำหรับพระตำหนักจิตรลดารโหฐานที่ไม่จัดส่งจดหมายนอกพระราชวัง[4] กระนั้น ในเขตดุสิตยังมีที่ทำการไปรษณีย์อื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์บางกระบือที่มีรหัสไปรษณีย์ 10301

ประเทศไทยนำรหัสไปรษณีย์มาใช้งานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[2] ซึ่งตีพิมพ์โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

รหัสไปรษณีย์
จังหวัด อำเภอ
XX XXX
ไม่ปรากฎในรหัสไปรษณีย์ของประเทศไทย
ตำบล หมู่บ้าน ถนน บ้าน
888/26

พื้นที่ไปรษณีย์ในประเทศไทย

[แก้]

พื้นที่ไปรษณีย์คือตัวเลขหน่วยแรกในรหัสไปรษณ๊ย์ โดยมีตัวเลขจาก 1 ถึง 9 ยกเว้นจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดบึงกาฬที่ใช้เลข 3 แม้ว่าจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน เนื่องจากในช่วงที่สถาปนาจังหวัด มีการใช้งานช่วงเลข 4 ทั้งหมดแล้ว[2]

พื้นที่ไปรษณีย์
รหัส พื้นที่
10xxx - 18xxx 1: ภาคกลาง
20xxx - 27xxx 2: ภาคตะวันออก
30xxx - 39xxx 3: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
40xxx - 49xxx 4: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
50xxx - 58xxx 5: ภาคเหนือตอนบน
60xxx - 67xxx 6: ภาคเหนือตอนล่าง
70xxx - 77xxx 7: ภาคตะวันตก
80xxx - 86xxx 8: ภาคใต้ตอนบน
90xxx - 96xxx 9: ภาคใต้ตอนล่าง

จังหวัดและพื้นที่บริหารพิเศษ

[แก้]

รายการด้านล่างคือรหัส 2 ตัวแรกสำหรับแต่ละจังหวัดหรือพื้นที่บริหารพิเศษ[5]

เขตพิเศษ

[แก้]

รหัสจังหวัด

[แก้]
1: ภาคกลาง
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
กรุงเทพมหานคร 10xxx
สมุทรปราการ 10xxx
นนทบุรี 11xxx
ปทุมธานี 12xxx
พระนครศรีอยุธยา 13xxx
อ่างทอง 14xxx
ลพบุรี 15xxx
สิงห์บุรี 16xxx
ชัยนาท 17xxx
สระบุรี 18xxx
2: ภาคตะวันออก
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
ชลบุรี 20xxx
ระยอง 21xxx
จันทบุรี 22xxx
ตราด 23xxx
ฉะเชิงเทรา 24xxx
ปราจีนบุรี 25xxx
นครนายก 26xxx
สระแก้ว 27xxx
3: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
นครราชสีมา 30xxx
บุรีรัมย์ 31xxx
สุรินทร์ 32xxx
ศรีสะเกษ 33xxx
อุบลราชธานี 34xxx
ยโสธร 35xxx
ชัยภูมิ 36xxx
อำนาจเจริญ 37xxx
บึงกาฬ 38xxx
หนองบัวลำภู 39xxx
4: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
ขอนแก่น 40xxx
อุดรธานี 41xxx
เลย 42xxx
หนองคาย 43xxx
มหาสารคาม 44xxx
ร้อยเอ็ด 45xxx
กาฬสินธุ์ 46xxx
สกลนคร 47xxx
นครพนม 48xxx
มุกดาหาร 49xxx
5: ภาคเหนือตอนบน
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
เชียงใหม่ 50xxx
ลำพูน 51xxx
ลำปาง 52xxx
อุตรดิตถ์ 53xxx
แพร่ 54xxx
น่าน 55xxx
พะเยา 56xxx
เชียงราย 57xxx
แม่ฮ่องสอน 58xxx
6: ภาคเหนือตอนล่าง
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
นครสวรรค์ 60xxx
อุทัยธานี 61xxx
กำแพงเพชร 62xxx
ตาก 63xxx
สุโขทัย 64xxx
พิษณุโลก 65xxx
พิจิตร 66xxx
เพชรบูรณ์ 67xxx
7: ภาคตะวันตก
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
ราชบุรี 70xxx
กาญจนบุรี 71xxx
สสุพรรณบุรี 72xxx
นครปฐม 73xxx
สมุทรสาคร 74xxx
สมุทรสงคราม 75xxx
เพชรบุรี 76xxx
ประจวบคีรีขันธ์ 77xxx
8: ภาคใต้ตอนบน
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
นครศรีธรรมราช 80xxx
กระบี่ 81xxx
พังงา 82xxx
ภูเก็ต 83xxx
สุราษฎร์ธานี 84xxx
ระนอง 85xxx
ชุมพร 86xxx
9: ภาคใต้ตอนล่าง
จังหวัด รหัสไปรษณีย์
สงขลา 90xxx
สตูล 91xxx
ตรัง 92xxx
พัทลุง 93xxx
ปัตตานี 94xxx
ยะลา 95xxx
นราธิวาส 96xxx

ตัวเลขในจังหวัด

[แก้]

ตัวเลขหลักที่สามและสี่ใช้แยกพื้นที่ในจังหวัด ส่วนหมายเลขศูนย์ในหน่วยสุดท้ายใช้สำหรับที่ทำการไปรษณีย์สาขาหลักในการจัดส่งทางไปรษณีย์ ในขณะที่ที่ทำการไปรษณีย์อื่นในพื้นที่มีหมายเลขอื่น

ที่ทำการไปรษณีย์นอกกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการมีรหัสไปรษณีย์ xx000 สำหรับที่ทำการหลักของอำเภอเมืองในแต่ละจังหวัด[2] พื้นที่อื่น ๆ มีตัวเลขที่เรียงตามลำดับ xx110, xx120, xx130, ..., xx190, xx210, ...

ระบบตัวเลขกรุงเทพมหานครแทนที่ระบบที่อยู่ไปรษณีย์ก่อนหน้าที่ระบุเป็นกรุงเทพฯ 1, กรุงเทพฯ 2, ฯลฯ พื้นที่กรุงเทพฯ 1 กลายเป็น 10100, กรุงเทพฯ 2 กลายเป็น 10200, ฯลฯ โดยมีกรณีพิเศษที่กรุงเทพฯ 10 กลายเป็น 10310 ส่วนกรุงเทพฯ 11, 12, ฯลฯ กลายเป็น 10110, 10120, ฯลฯ ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพไม่มีพื้นที่ไปรษณีย์ที่กำหนดตัวเลขเป็น 10000[6]

สิ่งอำนวยความสะดวกทางไปรษณีย์

[แก้]

ใน พ.ศ. 2561 ทางไปรษณีย์ไทยจัดสรรงบ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์"คัดแยกอัตโนมัติ"แห่งใหม่ 2 แห่ง หนึ่งแห่งในจังหวัดชลบุรี และอีกแห่งในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายทำให้การดำเนินการทางไปรษณีย์และการจัดส่งเป็นระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ รวมถึงขั้นตอน back office ใน พ.ศ. 2564[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Reading postal cost". Office of the Royal Society. สืบค้นเมื่อ 2022-02-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Kongmuang, Charatdao (2017). "ประโยชน์ของรหัสไปรษณีย์ มีมากกว่าการส่งจดหมาย". Journal of Social Sciences, Naresuan University (ภาษาThai). 13 (1). doi:10.14456/jssnu.2017.6. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. "รหัสไปรษณีย์ประเทศไทย 77 จังหวัด ครบถ้วนในที่เดียว". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  4. "List of all post offices" (PDF). Thailand Post. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  5. "Postal code according to area" (PDF). Thailand Post. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
  6. "Find Service Point". Thailand Post. สืบค้นเมื่อ 2024-04-17.
  7. Tortermvasana, Komsan (20 August 2018). "Thailand Post aims to upgrade sorting". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 25 August 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]