ยุทธการที่กาซาลา
ยุทธการที่กาซาลา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การทัพทะเลทรายตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
รถถังแพนเซอร์ 3 และยานพาหนะหุ้มเกราะที่รอมเมลบัญชาการอยู่ในทะเลทรายตะวันตกที่อยู่ในช่วงยุทธการกาซาลา | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ไรช์เยอรมัน อิตาลี | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Ettore Bastico แอร์วิน รอมเมิล |
Claude Auchinleck นีล ริตชี | ||||||
กำลัง | |||||||
90,000 men (50,000 German, 40,000 Italian) 560 tanks (228 Italian) 542 aircraft |
110,000 men 843 tanks 604 aircraft | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
German: 3,360 killed, wounded or captured Italian: fewer than the Germans ~400 tanks damaged or destroyed |
50,000 killed, wounded or captured, incl. ป. 32,000 prisoners at Tobruk 1,188 tanks damaged or destroyed |
ยุทธการที่กาซาลา (ใกล้กับเมืองปัจจุบันของ Ayn al Ghazālah) เป็นการสู้รบกันในช่วงการทัพทะเลทรายตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง ทางตะวันตกของท่าเรือของเมืองโทบรุก (Tobruk) ในประเทศลิเบีย ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ทหารฝ่ายอักษะของกองทัพยานเกราะแอฟริกาภายใต้การบัญชาการของจอมพลแอร์วิน รอมเมิลประกอบไปด้วยหน่วยทหารของเยอรมันและอิตาลี ส่วนกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรภายใต้การนำของผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งตะวันออกกลาง นายพล เซอร์ Claude Auchinleck ทหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยอังกฤษ, อินเดีย, แอฟริกาใต้ และเสรีฝรั่งเศส
ฝ่ายอักษะได้เข้าโจมตีฝ่ายอังกฤษด้วยการหลอกล่อโจมตีจากทางเหนือและทำให้เกิดการโจมตีหลักบริเวณรอบปีกตอนใต้ของตำแหน่งกาซาลา การจู่โจมได้เกิดสัมฤทธิ์ผล แต่การป้องกันของทหารรักษาการณ์ฝรั่งเศสของ Bir Hakeim ทางตอนใต้สุดของแนว ทำให้ฝ่ายอักษะมีเส้นทางในการส่งเสบียงที่ยาวและเปราะบางที่อยู่รอบแนวกาซาลา รอมเมิลได้ถอนตัวไปยัง Cauldron ตำแหน่งป้องกันในการช่วยเหลือไปยังเขตทุ่นระเบิดของอังกฤษ การสร้างฐานในท่ามกลางการป้องกันของอังกฤษและทหารช่างวิศวกรอิตาลีได้ทำการกู้ทุ่นระเบิดจากฝั่งตะวันตกของเขตทุ่นระเบิดเพื่อสร้างเส้นทางในการส่งเสบียงผ่านไปยังฝ่ายอักษะ
กองทัพที่แปดได้ทำการโจมตีโต้กลับ ปฏิบัติการ Aberdeen ที่ไม่ค่อยจะประสานงานด้วยกันและพ่ายแพ้อย่างราบคาบ สูญเสียรถถังไปจำนวนมากและฝ่ายอักษะสามารถฟื้นฟูในการริเริ่มการรุกกลับ ฝ่ายอังกฤษได้ถอนกำลังออกจากแนวกาซาลาและกองกำลังฝ่ายอักษะได้รุกเข้าสู่ทูบลักในหนึ่งวัน รอมเมิลได้ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จโดยไล่ติดตามฝ่ายอังกฤษที่เข้าสู่อียิปต์โดยไม่รอเวลาให้ทำการฟื้นฟูจากความพ่ายแพ้ ขณะที่ทั้งสองฝ่ายใกล้จะเริ่มอ่อนล้า กองทัพที่แปดสามารถตรวจสอบในการรุกของฝ่ายอักษะที่ยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่หนึ่ง
การสู้รบครั้งนี้ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาชีพทหารของรอมเมล แต่ปฏิบัติการเฮอร์คิวลีส แผนการที่จะโจมตีที่มอลตา (Malta) ได้ถูกเลื่อนออกไปเพื่อทำการไล่ล่า ฝ่ายอังกฤษสามารถจัดสเบียงที่มอลตาและฟื้นฟูฐานทัพจากการโจมตีขบวนเรือขนส่งของฝ่ายอักษะไปยังลิเบีย ทำให้ฝ่ายอักษะจัดส่งเสบียงได้อย่างยากลำบากไปยังเอล อาลาเมน