ฟุตบอลในประเทศบัลแกเรีย
ฟุตบอลในประเทศบัลแกเรีย | |
---|---|
ประเทศ | บัลแกเรีย |
องค์กรบริหารดูแล | สหภาพฟุตบอลบัลแกเรีย |
ทีมชาติ | ฟุตบอลทีมชาติบัลแกเรีย |
การแข่งขันระดับชาติ | |
การแข่งขันของสโมสร | |
เฟิสต์ลีก เซคันด์ลีก | |
การแข่งขันระดับนานาชาติ | |
ฟุตบอล (บัลแกเรีย: футбол, ฟุตโบล) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศบัลแกเรีย กีฬาชนิดนี้เริ่มรู้จักกันในประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1893–1894 โดยการแนะนำของครูยิมนาสติกชาวสวิส ฟุตบอล (ซึ่งในช่วงแรกถูกเรียกว่า "คิกบอล") ถูกจัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกที่โรงเรียนมัธยมปลายวาร์นาใน ค.ศ. 1894 โดยการแนะนำของยอร์เกส เด เรจีบุส และในปีถัดมา กีฬาชนิดนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังโซเฟียโดยชาลส์ แชมพอด กติกาการแข่งขันฟุตบอลถูกเขียนในภาษาบัลแกเรียนโดยครูชาวสวิสในนิตยสาร Uchilishten pregled ใน ค.ศ. 1897 และฟุตบอลยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลตุรกี กาลาทาซาไร เมื่อ ค.ศ. 1905 เป็นนักเรียนชาวบัลแกเรียนที่ชื่อว่า บลากอย บาลักชิเอฟ และสโมสรฟุตบอลแห่งแรกของบัลแกเรีย เทอร์ทีนโซเฟีย ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1909 ต่อมาได้มีการก่อตั้งสโมสรบอเตฟพลอฟดิฟใน ค.ศ.1912, สลาเวียโซเฟียใน ค.ศ. 1913 และเลฟสกีโซเฟียใน ค.ศ. 1914
ฟุตบอลทีมชาติบัลแกเรียลงแข่งขันครั้งแรกในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1924 ในรอบคัดเลือกโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ด้วยการพ่ายแพ่ต่อออสเตรียที่เวียนนา ในคริสต์ทศวรรษ 1950–1960 ฟุตบอลบัลแกเรียประสบความสำเร็จอย่างมากในโอลิมปิกฤดูร้อนด้วยการจบอันดับที่สามในปี 1956 ที่เมลเบิร์น และจบอันดับที่สองในปี 1968 ที่เม็กซิโกซิตี นอกจากนี้ ยังเคยจบอันดับที่ 5 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1968 ทีมชาติบัลแกเรียผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในปี 1962 ต่อมาในฟุตบอลโลก 1986 บัลแกเรียเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายเป็นครั้งแรก และในปี 1994 บัลแกเรียประสบความสำเร็จมากที่สุดในฟุตบอลโลกด้วยการจบอันดับที่ 4 นอกจากนี้ยังเอาชนะแชมป์เก่าอย่างเยอรมนีในรอบก่อนรองชนะเลิศ และผู้เล่นทีมชาติบัลแกเรีย ฮริสตอ สตออิชคอฟ ก็เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในรายการนั้นด้วย[1][2][3]
ในรายการอื่น ๆ บัลแกเรียชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี สามสมัย และชนะเลิศบอลข่านอีกสามสมัย
การแข่งขันฟุตบอลในประเทศ
[แก้]- แชมเปียนชิป:
- ระดับสูงสุด: เฟิสต์ลีก - 14 ทีม
- ระดับสอง: เซคันด์ลีก - 16 ทีม
- ระดับสาม: เทิร์ดลีก - 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12-18 ทีม
- ระดับสี่: แบ่งตามภูมิภาค
- บัลแกเรียนคัพ
- บัลแกเรียนซูเปอร์คัพ
- คัพออฟบัลแกเรียนอะเมเจอร์ฟุตบอลลีก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bulgaria: Can Soccer Success Mean Business? - Baltimore Sun". Articles.baltimoresun.com. 1994-07-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 2014-03-10.
- ↑ "WORLD CUP '94; Bulgaria, a Small Foot in Soccer, Steps Closer to Glass Slipper - New York Times". Germany; Bulgaria: Nytimes.com. 1994-07-11. สืบค้นเมื่อ 2014-03-10.
- ↑ "BBC SPORT | Football | Euro 2004 | Bulgaria | The alternative guide to Bulgaria". BBC News. 2004-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-03-10.
- Пайташев, Румен (2001). "Футболът в България". Световна футболна енциклопедия. София: КК Труд. pp. 10–11. ISBN 954-528-201-0.