ข้ามไปเนื้อหา

ฟราดาริกา มุนแซ็ญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟราดาริกา มุนแซ็ญ
ฟราดาริกา มุนแซ็ญ อี มัญเญ
กระทรวงสาธารณสุขและนโยบายสังคม (Ministerio de Sanidad y Asistencia Social)
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 – 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1937
ก่อนหน้าฌูแซ็ป ตูมัส อี ปิเอรา (Josep Tomàs i Piera)
ถัดไปเฆซุส เอร์นันเดซ โตมัส (Jesús Hernández Tomás) (สาธารณสุข) และเฌามา ไอกวาเด (Jaume Aiguader) (นโยบายสังคม)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905(1905-02-12)
มาดริด สเปน
เสียชีวิต14 มกราคม ค.ศ. 1994(1994-01-14) (88 ปี)
ตูลูซ ฝรั่งเศส
เชื้อชาติสเปน
คู่สมรสฌาร์มินัล อัซเกลอัส (Germinal Esgleas)
บุตรบิดา อัซเกลอัส มุนแซ็ญ
ฌาร์มินัล อัซเกลอัส มุนแซ็ญ
บลังกา อัซเกลอัส มุนแซ็ญ

ฟราดาริกา มุนแซ็ญ อี มัญเญ (กาตาลา: Frederica Montseny i Mañé, ออกเสียง: [munˈsɛɲ]; ค.ศ. 1905–1994) เป็นนักอนาธิปไตยและปัญญาชนซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขและนโยบายสังคมในรัฐบาลสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ช่วงสงครามกลางเมืองสเปน เธอเป็นที่รู้จักเป็นนักเขียนนวนิยายและความเรียง และการเป็นรัฐมนตรีหญิงคนแรก ๆ ในยุโรปตะวันตก

ชีวประวัติ

[แก้]

ฟราดาริกา มุนแซ็ญ เกิดวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ในมาดริด ประเทศสเปน เธอเป็นลูกที่รอดชีวิตคนเดียวของฌูอัน มุนแซ็ญ (Joan Montseny) กับตาแรซา มัญเญ มิราแบ็ต (Teresa Mañé Miravet) ทั้งสองเป็นครู และเป็นนักอนาธิปไตยเชื้อสายกาตาลา พวกเขาอาศัยอยู่ในมาดริด เนื่องจากพ่อของเธอถูกจำคุกและต้องลี้ภัยในเวลาต่อมาเหตุจากเหตุระเบิดขบวนแห่วันสมโภชพระคริสตวรกายในบาร์เซโลนา ค.ศ. 1896 (1896 Barcelona Corpus Christi procession bombing) ทั้งสองกลับสเปนอย่างลับ ๆ และอาศัยอยู่ในเมืองหลวง ตั้งแต่ ค.ศ. 1898 บุพการีของเธอร่วมกันทำหน้าที่บรรณาธิการวารสารรายปักษ์ชื่อ ลาเรบิสตาบลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในวารสารอนาธิปไตยฉบับที่สำคัญที่สุดในเวลานั้น ครอบครัวเธอใช้เงินเก็บเพื่อหาบ้านในเขตชานเมืองของมาดริด ผู้พัฒนาที่สร้างบ้านพวกเขาขู่ฟ้องร้องพ่อของเธอ เมื่อเขากล่าวหาว่าผู้พัฒนาขโมยเงินจากคนจนที่จ่ายค่าบ้านที่ไม่ถูกสร้างเสียที ทำให้ครอบครัวต้องย้ายออกและใช้เวลาหลายปีหลังจากนั้นในการย้ายที่อยู่ตลอดเวลา และเอาชีวิตรอดด้วยการเขียนและการเพาะปลูกเป็นครั้งคราว ในวัยเด็กของมุนแซ็ญ หน่วยพิทักษ์​พลเรือน​ (Guardia Civil) มักมาเยี่ยมบ้านครอบครัวเธอเพื่อค้นหาพ่อของเธอ เธอถ่วงเวลาให้พวกเขาเข้ามาช้าที่สุดเพื่อให้เวลาพ่อเธอซ่อนตัว[1][2]

มุนแซ็ญได้รับการศึกษาที่บ้านจากบุพการีของเธอ หลังจากที่เธอมีทักษะอ่านเขียนแล้ว แม่ของเธอใช้วิธีการสอนแบบพิพัฒนาการเพื่อเสริมสร้างความอยากรู้อยากเห็นของลูกเธอ ทำให้มุนแซ็ญสามารถอ่านเนื้อหาที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้เธอไล่ตามความสนใจทางปัญญาของตัวเอง มุนแซ็ญได้รู้จักกับทั้งวรรณกรรมและทฤษฎีทางสังคมและการเมือง เธอยังกล่าวว่าการเติบโตในสิ่งแวดล้อมชนบทได้มีส่วนในพัฒนาการทางปัญญาของเธอ ตลอดชั่วชีวิตเธอ เธอจะกลับไปหาธรรมชาติเมื่อต้องจัดการกับปัญหาทางสังคม[3][2] เธอมีลูกสามคนกับฌาร์มินัล อัซเกลอัส[4]

การทำงาน

[แก้]
ฟราดาริกา มุนแซ็ญ กล่าวคำปราศรัยที่งานประชุมครั้งประวัติศาสตร์ของสมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ (Confederación Nacional del Trabajo) ในบาร์เซโลนา ค.ศ. 1977 เป็นครั้งแรกหลังจาก 36 ปีของสเปนภายใต้การนำของฟรังโก
สวนสาธารณะฟราดาริกา มุนแซ็ญ ในปารีส

ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน มุนแซ็ญสนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐ เธอต่อต้านการใช้ความรุนแรงในอาณาเขตของสาธารณรัฐโดยกล่าวว่าเป็น "ความกระหายเลือดที่ก่อนหน้านี้นึกไม่ออกเลยว่าจะเกิดจากมนุษย์สุจริต"[5] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936 ฟรันซิสโก ลาร์โก กาบาเยโร (Francisco Largo Caballero) แต่งตั้งมุนแซ็ญเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข การกระทำครั้งนี้ทำให้เธอได้กลายเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์สเปนที่ได้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี[6]

ลี้ภัย

[แก้]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 เธอและผู้นิยมสาธารณรัฐคนอื่นย้ายไปยังเมืองตูลูซ และกลับมาสเปนใน ค.ศ. 1977 หลังฟรังโกเสียชีวิต ต่อมาเธอเสียชีวิตวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1994 สิริอายุ 88 ปี[7]

มรดก

[แก้]

ถนน สวนสาธารณะ และโรงเรียนหลายแห่งในสเปน โดยเฉพาะแคว้นกาตาลุญญา และในเมืองเช่นปารีส ตั้งชื่อตามเพื่อรำลึกถึงเธอ[8]

งาน

[แก้]

นวนิยาย

[แก้]
  • Horas trágicas (1920)
  • Amor de un día (1920)
  • Ana María (1920)
  • El amor nuevo (1920)
  • El juego del amor y de la vida (1920)
  • La mujer que huía del amor (1920)
  • La vida que empieza (1920)
  • Los caminos del mundo (1920)
  • María Magda (1920)
  • Maternidad (1920)
  • Vampiresa (1920)
  • Florecimiento (1925)
  • La victoria (1925)
  • Vida nueva (1925)
  • ¿Cuál de las tres? (1925)
  • Los hijos de la calle (1926)
  • El otro amor (1926)
  • La última primavera (1926)
  • Resurrección (1926)
  • El hijo de Clara (1927)
  • La hija del verdugo (1927)
  • El rescate de la cautiva (1927)
  • El amor errante (1927)
  • La ruta iluminada (1928)
  • El último amor (1928)
  • Frente al amor (1929)
  • Sol en las cimas (1929)
  • El sueño de una noche de verano (1929)
  • La infinita sed (1930)
  • Sonata patética (1930)
  • Pasionaria (1930)
  • Tú eres la vida (1930)
  • El ocaso de los dioses (1930)
  • Aurora roja (1931)
  • Cara a la vida (1931)
  • El amor que pasa (1931)
  • Nocturno de amor (1931)
  • Una mujer y dos hombres (1932)
  • Amor en venta (1934)
  • Nada más que una mujer (1935)
  • Vidas sombrías (1935)
  • Tres vidas de mujer (1937)
  • La indomable (1938)
  • Una vida (1940)
  • Amor sin mañana
  • La rebelión de los siervos
  • La sombra del pasado
  • Martirio
  • Nuestra Señora del Paralelo
  • Sinfonía apasionada
  • Una historia triste

งานอื่น ๆ

[แก้]
  • La mujer, problema del hombre (1932)
  • Heroínas (1935)
  • Buenaventura Durruti (1936)
  • In Memoriam of Comrade Durruti (1936)
  • La voz de la F.A.I. (1936)
  • El anarquismo militante y la realidad española (1937)
  • La incorporación de las masas populares a la historia: la Commune, primera revolución consciente (1937)
  • Anselmo Lorenzo (1938)
  • Cien días de la vida de una mujer (1949)
  • Jaque a Franco (1949)
  • Mujeres en la cárcel (1949)
  • El problema de los sexos: matrimonio, unión libre y amor sin convivencia (1950)
  • Pasión y muerte de los españoles en Francia (1950)
  • María Silva: la libertaria (1951)
  • El Éxodo: pasión y muerte de españoles en el exilio (1969)
  • Problemas del anarquismo español (1971)
  • Crónicas de CNT: 1960-1961 (1974)
  • Qué es el anarquismo (1974)
  • El éxodo anarquista (1977)
  • Cuatro mujeres (1978)
  • Seis años de mi vida (1978)
  • Mis primeros cuarenta años (1987)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Davies (1998), pp. 137–138.
  2. 2.0 2.1 Fredericks (1976), p. 72.
  3. Davies (1998), pp. 138–139.
  4. Mangini, S.; González, S. M. (1995). Memories of Resistance: Women's Voices from the Spanish Civil War (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. p. 46. ISBN 978-0-300-05816-1.
  5. Beevor, A. (2006). The Battle for Spain. The Spanish Civil War 1936–1939. London: Penguin Books. p. 87 – โดยทาง archive.org. a lust for blood inconceivable in honest man before
  6. Thomas, H. (2001). The Spanish Civil War. London: Penguin Books. p. 458. ISBN 978-0-14-101161-5.
  7. "Federica Montseny, Spanish Minister, 88". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1994-01-24. ISSN 0362-4331.
  8. Ayuso, S. (23 สิงหาคม 2019). "Los españoles que liberaron París". El País (ภาษาสเปน). ISSN 1134-6582. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Davies, C. (1998). Spanish Women's Writing 1849–1996. London/Atlantic Highlands, NJ: Athlone Press.
  • Fredericks, S. F. (1976). "Federica Montseny and Spanish Anarchist Feminism". Frontiers: A Journal of Women Studies. 1 (3): 71–80. doi:10.2307/3346171. JSTOR 3346171.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Alexander, R. J. (1999). The Anarchists in the Spanish Civil War. London: Janus.
  • Ealham, C. (2011). "De la unidad antifascista a la desunión libertaria". Mélanges de la Casa de Velázquez. 41 (1): 121–142. doi:10.4000/mcv.3874.
  • Kern, R. (1978). Red Years, Black Years: A Political History of Spanish Anarchism, 1911–1937. ฟิลาเดลเฟีย: Institute for the Study of Human Issues.
  • Nash, M. (1975). "Dos intelectuales anarquistas frente al problema de la mujer: Federica Montseny y Lucía Sánchez Saornil". Convivium. 44–45: 121–142.
  • Nash, M. (1995). Defying Male Civilization: Women in the Spanish Civil War. เดนเวอร์: Arden Press.
  • Tavera, S. (2005). Federica Montseny: La indomable. มาดริด: Temas de Hoy.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]