พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม
พระเจ้าเลออปอลที่ 3 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ในปี 1934 | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม | |||||
ครองราชย์ | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 (17 ปี 143 วัน) | ||||
ก่อนหน้า | อัลแบร์ที่ 1 | ||||
ถัดไป | โบดวง | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | ดูรายพระนาม
| ||||
นายกรัฐมนตรี | |||||
พระราชสมภพ | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1901 บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม | ||||
สวรรคต | 25 กันยายน ค.ศ. 1983 บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม | (81 ปี)||||
ฝังพระศพ | โบสถ์แม่พระแห่งลาเกิน | ||||
คู่อภิเษก | |||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ |
| ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม | ||||
พระราชมารดา | เอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
ธงประจำพระองค์ | |
การทูล | His Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Your Majesty (พระพุทธเจ้าข้าเพคะ) |
พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม (3 พฤศจิกายน 1901 – 25 กันยายน 1983) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 จนกระทั่งสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1951 โดยครองราชสมบัติต่อของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงผู้เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่
พระราชประวัติ
[แก้]พระเจ้าเลออปอลที่ 3 พระราชสมภพเมื่อ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1901 ที่กรุงบรัสเซลส์ โดยทรงมีพระอิสริยยศคือ เจ้าชายเลออปอลแห่งเบลเยียม เจ้าชายแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระองค์ได้สืบราชบัลลังก์เบลเยียมภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 พระราชบิดาของพระองค์
สงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อุบัติขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 รัฐบาลฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้พยายามโน้มน้าวเบลเยียมให้ร่วมเป็นพันธมิตร แต่พระองค์รวมทั้งรัฐบาลยังคงปฏิเสธ และยังคงยืนกรานที่จะไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด โดยพิจารณาจากการเตรียมการไว้อย่างดีและระมัดระวังต่อการรุกรานที่อาจจะเกิดขึ้นจากกองกำลังฝ่ายอักษะ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนในปี ค.ศ. 1914 จากการรุกรานโดยกองทัพเยอรมัน
ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองทัพเยอรมันได้บุกเข้าประเทศเบลเยียม เพียงหนึ่งวันของการเข้าโจมตีแนวตั้งรับของกองทัพเบลเยียมประจำป้อมเอเบิน-เอมาเอล ได้พ่ายแพ้จากปฏิบัติการโดยกองกำลังทหารร่ม และผ่านเข้าไปได้อย่างง่ายดายก่อนที่กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษจะเดินมาถึง และในที่สุดก็พ่ายแพ้ให้กับการเตรียมการมาอย่างดีของกองทัพเยอรมันที่มีความชำนาญในการรบมากกว่า
การรักษาพรมแดนเบลเยียมนั้นถือเป็นการป้องกันมิให้กองทัพอังกฤษถูกตีขนาบและตัดออกจากชายฝั่ง โดยสามารถที่จะทำการอพยพผ่านปฏิบัติการที่ดังเคิร์กได้ และหลังจากการพ่ายแพ้ของกองทัพเบลเยียมแล้ว พระเจ้าเลออปอลที่ 3 ยังคงประทับอยู่ในกรุงบรัสเซลส์เพื่อจะเผชิญหน้ากับกองทัพผู้รุกราน (ต่างจากสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ที่เผชิญวิกฤติการณ์เดียวกัน) ในขณะที่รัฐบาลนั้นอพยพไปยังปารีส และต่อมายังกรุงลอนดอน
ยอมจำนนต่อสงคราม และวิกฤติการณ์รัฐธรรมนูญ
[แก้]ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 พระองค์ยังคงเป็นผู้บัญชาการของกองทัพเบลเยียม และได้ทรงพบปะคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งคณะรัฐมนตรีนั้นพยายามโน้มน้าวให้พระองค์เสด็จลี้ภัยพร้อมกับรัฐบาล อูแบร์ ปิแยร์โล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้กล่าวเตือนพระองค์ว่าการยอมจำนนต่อสงครามนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล มิใช่ของกษัตริย์ ซึ่งพระองค์ก็ยังคงปฏิเสธที่จะลี้ภัย และยังคงอยู่ในประเทศกับกองทัพของพระองค์ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ตีความว่าพระองค์จะก่อตั้งรัฐบาลปกครองประเทศใหม่ภายใต้การควบคุมของฮิตเลอร์ ซึ่งจะถือว่าพระองค์เป็นกบฏต่อแผ่นดิน ซึ่งพระองค์ทรงคิดว่าหากทรงเสด็จลี้ภัยต่างประเทศแล้วจะกลายเป็นทหารหนีทัพ พระองค์เคยมีพระราชดำรัสไว้ว่า "ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าก็จะยอมร่วมชะตาเดียวกันกับกองทัพของข้าพเจ้า"[1] ซึ่งที่ผ่านมาพระองค์มีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยลงรอยกันกับคณะรัฐมนตรีของพระองค์ ซึ่งมักจะเห็นได้ว่าพระองค์มักจะประพฤติตรงกันข้ามกับรัฐบาลอยู่เสมอ และทรงมักจะหาอุบายเพื่อกำจัดหรือลดอำนาจของรัฐมนตรีลง และเพิ่มอำนาจให้กับพระองค์เอง[1]
ในขณะที่กองทัพฝรั่งเศส อังกฤษ และเบลเยียมถูกล้อมโดยกองทัพเยอรมันที่ยุทธการแห่งดังเกิร์ก พระองค์ทรงพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร โดยโทรเลขเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ว่ากองทัพเบลเยียมกำลังถูกบดขยี้ "ความช่วยเหลือที่เราพึงให้แก่พันธมิตรของเราจะต้องจบสิ้นลงหากกองทัพของเราถูกล้อมไว้สิ้น"[2] และสองวันต่อมา (27 พฤษภาคม ค.ศ. 1940) พระองค์ได้ยอมจำนนต่อกองทัพเยอรมัน
อูแบร์ ปิแยร์โล นายกรัฐมนตรีเบลเยียมได้กล่าวออกอากาศทางสถานีวิทยุฝรั่งเศสว่าการตัดสินใจของพระองค์ในการยอมแพ้นั้นมิใช่พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญของพระองค์ ว่าการตัดสินพระทัยในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการตัดสินทางการทหารเท่านั้น แต่ยังเป็นทางการเมืองด้วย และการที่ทรงประพฤติเช่นนั้นโดยปราศจากการปรึกษากับคณะรัฐมนตรีนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งในครั้งนี้ปิแยร์โลและรัฐบาลเชื่อว่าพระองค์ "ไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไป":
“ | หากพระเจ้าแผ่นดินนั้นไม่สามารถปกครองได้ คณะรัฐมนตรีซึ่งได้รับรู้แก่สภาพที่เป็นเหตุนั้น จะต้องทำการเรียกประชุมรัฐสภาทันที โดยจะต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อปฏิบัติพระราชภารกิจแทน[3] | ” |
สถานการณ์ในขณะนั้นดูจะเป็นไปได้ยากที่จะเรียกประชุมรัฐสภา และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ และภายหลังจากการปลดปล่อยเบลเยียมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1944 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระราชอนุชา เจ้าชายชาลส์ เคานท์แห่งฟลานเดอร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
การยอมจำนนของพระองค์ยังเป็นการจุดชนวนการกล่าวหาว่าเป็นกบฏจากนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส โปล เรโน ซึ่งวาเลอร์ และวาน โกเธิม นักประวัติศาสตร์ชาวเฟลมิชได้เขียนว่าพระองค์ได้กลายเป็น "แพะรับบาปแทนเรโน"[4] เนื่องจากเรโนนั้นค่อนข้างมั่นใจว่าสมรภูมิในฝรั่งเศสนั้นจะต้องพบกับความพ่ายแพ้เป็นแน่
นอกจากนี้ ยังมีการประณามพระองค์โดยวินสตัน เชอร์ชิล ในสภาสามัญชน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ความว่า:
“ | ในช่วงสุดท้ายที่เบลเยียมถูกรุกราน พระเจ้าเลออปอลที่ 3 ทรงเรียกร้องให้เราช่วยเหลือ และในช่วงสุดท้ายเมื่อพวกเราไปถึง พระองค์และกองทัพอันห้าวหาญและมีประสิทธิภาพรวมกว่าครึ่งล้านคน ได้รักษาชายฝั่งเพื่อให้เราล่าถอยได้อย่างปลอดภัย แต่ทันทีทันใด และปราศจากการปรึกษาและตักเตือนใดๆ ปราศจากการปรึกษากับคณะรัฐมนตรีของพระองค์ พระองค์ได้ตัดสินพระทัยส่งทูตผู้มีอำนาจเต็มไปยังกองทัพเยอรมัน ยอมจำนนกองทัพของพระองค์ ซึ่งเป็นการเปิดช่องต่อการรุกรานชายฝั่งอันต้องใช้เป็นสถานที่ถอยทัพของเรา[5] | ” |
ในปี ค.ศ. 1949 การกล่าวของวินสตัน เชอร์ชิลเกี่ยวกับสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ซึ่งตีพิมพ์ใน "เลอ ซัวร์" (12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949) อดีตเลขานุการของพระองค์ได้ส่งจดหมายถึงเชอร์ชิลว่าสิ่งที่เขากล่าวนั้นผิดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเชอร์ชิลได้ส่งสำเนาจดหมายฉบับนี้ไปยังเจ้าชายชาลส์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผ่านทางอ็องเดร เดอ สแตร์ก เลขานุการของพระองค์ ซึ่งมีใจความในจดหมายเขียนโดยเชอร์ชิลว่า
“ | ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อพระเจ้าเลออปอล คำพูดที่กระหม่อมใช้กล่าวในสภาสามัญชนในครั้งนั้นได้เกิดจากการไตร่ตรองอย่างระมัดระวังแล้ว ซึ่งกระหม่อมก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะเปลี่ยนข้อความเหล่านั้น กระหม่อมเห็นเป็นอย่างยิ่งเหมือนผู้อื่นๆว่าพระมหากษัตริย์นั้นจะต้องได้รับคำปรึกษาจากคณะรัฐมนตรีของพระองค์ และจึงไม่ควรที่ได้รับการสนับสนุนที่จะเป็นการยอมจำนนกองทัพเบลเยียม พร้อมทั้งการอ่อนน้อมของราชอาณาจักรเบลเยียมต่อฮิตเลอร์ ซึ่งในที่สุดก็นำพาพวกเขาออกจากสงครามได้ และในที่สุดความชั่วร้ายในครั้งนั้นก็ถูกปัดเป่าไป และในที่สุดก็ดูเหมือนจะเป็นไปด้วยดียิ่ง กระหม่อมยากที่จะกล่าวว่าไม่มีสิ่งอันใดที่กระหม่อมกล่าวในครั้งนั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวและพระเกียรติยศของสมเด็จพระเจ้าเลย[6] | ” |
เดอ สแตร์ก ได้ตอบกลับจดหมายของเชอร์ชิล ว่าเขามีเหตุผลถูกต้องแล้ว: "เจ้าชายผู้สำเร็จราชการฯ คุณสปาก และข้าพเจ้าได้อ่านจดหมายของท่าน ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องจริงและดูเหมือนจะเป็นเรื่องยินดียิ่งแก่พวกเรา"[7]
อ็องเดร เดอ สแตร์ก เป็นหนึ่งในประจักษ์พยานสำคัญของวิกฤตการณ์ของรัฐบาลเบลเยียมในปี ค.ศ. 1940 ซึ่งเป็นไปตามคำร้องของเขา ว่าบันทึกประจำวันที่เขาเขียนขึ้นเกี่ยวกับเจ้าชายชาลส์ (ซึ่งได้เขียนจากการแนะนำของเชอร์ชิล) ให้ตีพิมพ์หลังจากที่เขาถึงแก่กรรมแล้วในปี ค.ศ. 2003 ด้วยความช่วยเหลือ และบทนำโดยนักประวัติศาสตร์เบลเยียม ฌ็อง สเต็นเกอร์ บันทึกเล่มนี้ยังกล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าโบดวง มักจะไม่ทรงโปรดผู้คนที่อยู่ตรงข้ามกับพระราชบิดาในคราที่จะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเดอ สแตร์กก็ได้กลายมาเป็นพระสหายคนสำคัญของพระองค์ ในงานพระราชทานเลี้ยงหลังจากงานพระศพของเจ้าชายชาลส์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1983 พระองค์ประทับอยู่เบื้องซ้ายของเดอ สแตร์ก[8]
ฟรานซิส บาลาส นักประวัติศาสตร์ชาวเบลเยียมได้กล่าวว่าการยอมจำนนในครั้งนั้นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากกองทัพเบลเยียมนั้นไม่อยู่ในสภาพที่จะรบกับกองทัพเยอรมันได้อีกต่อไป[9] แม้ว่าเชอร์ชิลยังยอมรับว่าสถานการณ์ในขณะนั้นวิกฤตยิ่ง ดังปรากฏในโทรเลขถึงจอมพลลอร์ดกอร์ต เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เพียงหนึ่งวันหลังจากการยอมจำนนของเบลเยียม ความว่า "เรากำลังขอให้พวกเขาเสียสละชีวิตพวกเขาให้แก่เรา"[10]
หลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส
[แก้]ภายหลังจากการจำนนของพระองค์ รัฐบาลพลัดถิ่นของเบลเยียมนั้นยังลี้ภัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส และเมื่อฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้แก่สงครามเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 รัฐมนตรีหลายคนพยายามที่จะกลับไปยังเบลเยียม โดยพยายามร้องขอพระบรมราชนุญาติ แต่ถูกพระองค์ทรงมีพระราชปฏิสัณฐานกลับ:
“ | ปิแยร์โล และรัฐบาลของเขาเห็นว่ายุโรปตะวันตกนั้นถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันอย่างราบคาบแล้ว และพยายามที่จะปรับความเข้าใจกับพระมหากษัตริย์ของพวกเขา ว่าจะสามารถเป็นไปได้หรือไม่ที่จะยอมให้พวกเข้ากลับเข้าไปในเบลเยียมและตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่? ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแสดงออกถึงความถือพระองค์ ว่าทรงถูกหมิ่นโดยคณะรัฐมนตรีแล้วคราหนึ่ง..... โดยทรงมีพระราชปฏิสัณฐานกลับสั้น ๆ ว่า: "สถานการณ์สำหรับพระมหากษัตริย์นั้นย่อมไม่เปลี่ยนแปลง พระองค์ไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และพระองค์ไม่จำเป็นต้องรับรองนักการเมือง"[1] | ” |
เนื่องจากความนิยมกษัตริย์ในสมัยนั้นสูงมาก และการลดความนิยมของรัฐบาลในช่วงยุค 1940[11] จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ฝั่งรัฐบาลขึ้น จากหลักฐานจากสำนักพิมพ์ราชสำนัก ความว่า:
“ | การที่ทรงปฏิเสธ (ที่จะปรับความเข้าใจกับคณะรัฐมนตรี) ในครั้งนั้นทำให้พวกเขาไม่เหลือทางเลือกมากนักนอกจากย้ายไปกรุงลอนดอน ซึ่งพวกเขาสามารถที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนของอิสรภาพเบลเยียมได้ จากช่วงแรกที่พวกเขาไปถึงลอนดอน พวกเขายังมั่นใจว่าฝ่ายพันธมิตรจะมีชัยชนะ และถูกปฏิบัติด้วยความเคารพในฐานะพันธมิตร... ปิแอร์โล และสปาก ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับพระองค์ในฐานะของวีรบุรุษเชลยศึก และยังกล่าวอีกว่าชาวเบลเยียมควรจะสนับสนุนพระองค์ แต่พวกเขาไม่อาจทราบได้เลยว่าพระองค์กำลังทำอะไรอยู่ในพระราชวังที่ลาเกิน พระองค์ปฏิเสธที่จะตอบกลับจดหมาย และอยู่อย่างสงบ พระองค์กำลังทำอะไรอยู่? พระองค์กำลังร่วมมือ หรือตอบโต้ฝ่ายเยอรมัน หรือพระองค์ทรงเลือกที่จะอยู่เงียบ และรอว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป[1] | ” |
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1940 รัฐมนตรีหลายคนพบปะกันที่เลอ แปร์ตุส ใกล้กับชายแดนสเปน นายกรัฐมนตรีปิแอร์โล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โปล-อ็องรี สปาก นั้นถูกชักชวนให้ลี้ภัยยังกรุงลอนดอน แต่ก็สามารถเริ่มเดินทางได้เพียงปลายเดือนสิงหาคม และจะต้องผ่านทางสเปนและโปรตุเกสเท่านั้น และเมื่อพวกเขาไปถึงยังสเปน ก็ได้ถูกจับกุมและกักขังโดยการปกครองภายใต้ผู้นำฟรันซิสโก ฟรังโก และต่อมาถูกปล่อยตัวและเดินทางถึงลอนดอนเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น
ทรงพบปะกับฮิตเลอร์
[แก้]พระองค์ทรงไม่ยอมร่วมมือใด ๆ กับนาซี และไม่ยอมปกครองเบลเยียมเป็นหุ่นเชิดตามที่เยอรมันบังคับ จึงทำให้เยอรมันต้องใช้วิธีการตั้งรัฐบาลทหารขึ้น พระองค์ยังพยายามที่จะใช้สิทธิในฐานะของพระมหากษัตริย์และประมุขของรัฐบาลถึงแม้ว่าในความจริงแล้วทรงเป็นเพียงเชลยศึกของเยอรมันเท่านั้น ถึงแม้จะมีท่าทีอันแข็งกร้าวต่อฝ่ายเยอรมัน รัฐบาลพลัดถิ่นของเบลเยียมในกรุงลอนดอนได้กล่าวย้ำว่าพระองค์มิได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลเบลเยียม และไม่อยู่ในฐานะที่จะปกครองในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน กองทัพเยอรมันจึงจับกุมพระองค์ไว้ในพระราชวังที่ลาเกิน ในกรุงบรัสเซลส์ และด้วยความต้องการที่จะพบหน้ากับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ในที่สุดพระองค์ก็ได้พบเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน ซึ่งพระองค์ต้องการให้ฮิตเลอร์ออกแถลงการณ์ถึงอิสรภาพของเบลเยียมในอนาคต ซึ่งฮิตเลอร์ก็ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงอิสรภาพของเบลเยียม หรือแม้กระทั่งออกแถลงการณ์ใด ๆ ที่เกี่ยวกัน ซึ่งจากการปฏิเสธของฮิตเลอร์นั้นได้กลายเป็นคุณต่อพระองค์ในภายภาคหน้าอย่างไม่ได้ตั้งใจ จากการถูกกล่าวหาว่าร่วมมือกับเยอรมนี อันจะเป็นผลให้พระองค์กลายเป็นกบฏต่อแผ่นดินโดยปริยาย ซึ่งจะเป็นเหตุที่ทำให้พระองค์จะถูกบีบให้สละราชสมบัติภายหลังสงคราม "ฮิตเลอร์ได้ช่วยพระองค์ไว้ถึงสองครั้งด้วยกัน"[12]
เสด็จลี้ภัยและสละราชสมบัติ
[แก้]ทรงถูกเนรเทศและลี้ภัย
[แก้]ในปี ค.ศ. 1944 ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส ได้สั่งการให้เนรเทศพระองค์ไปยังเยอรมนี โดยเจ้าหญิงลิเลียนตามเสด็จพร้อมครอบครัวบนรถพระที่นั่งอีกคันหนึ่งภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของหน่วยรักษาความปลอดภัยชุทซ์ชทัฟเฟิล นาซีได้คุมขังพระองค์ไว้ในป้อมปราการแห่งหนึ่งในเมืองฮีรชไตน์ในรัฐซัคเซินเป็นเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จนถึงมีนาคม ค.ศ. 1945 และต่อมาได้ย้ายไปที่ชโตรเบิล ประเทศออสเตรีย
รัฐบาลอังกฤษ และอเมริกันได้แสดงความเป็นห่วงถึงการกลับมาของพระองค์ ชาลส์ ซอว์เยอร์ เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศเบลเยียม ได้เตือนรัฐบาลอเมริกันว่าภายหลังจากการกลับมาของพระองค์จะ "สร้างความยุ่งยากมากขึ้น" "ท่ามกลางความแตกต่างภายในพระราชวงศ์ และสถานการณ์นี้เป็นเสมือนระเบิดเวลาสำหรับเบลเยียม และอาจจะยุโรปด้วย"[13] "กระทรวงการต่างประเทศกลัวว่าการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในเขตวัลลูนนั้นจะเรียกร้องอิสรภาพและปกครองตนเอง หรือไม่ก็รวมดินแดนกับฝรั่งเศส ซึ่ง ฯพณฯ วีแนนท์ เอกอัครราชทูตประจำสำนักเซนต์เจมส์ ได้รายงานมาทางกระทรวงถึงความกังวลที่เกี่ยวเนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อกระแสคลั่งชาติในเขตวัลลูน"[14] และ "เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงบรัสเซลส์... ยังเชื่อได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปล่อยกระแสโฆษณาชวนเชื่อนี้"[15]
พระเจ้าเลออปอลถูกปลดปล่อยจากที่คุมขังโดยกองพันทหารม้าที่ 106 ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 เนื่องจากข้อกังขาของสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำในระหว่างสงคราม พระองค์และพระราชินี รวมถึงพระราชโอรสและธิดานั้นไม่สามารถนิวัติกลับเบลเยียมได้ และใช้เวลาลี้ภัยนานถึงหกปีในเมืองเพรญี-ช็องเบซี ใกล้กับกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพระราชกรณียกิจสำคัญในฐานะของประมุข ได้ถูกผ่านให้กับพระราชอนุชาของพระองค์ เจ้าชายชาลส์แห่งเบลเยียม เคานท์แห่งฟลานเดอร์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามความเห็นชอบของรัฐสภาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944
การต่อต้านการเสด็จนิวัติกลับพระนคร
[แก้]แวน เดน ดันเจิน อธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งบรัสเซลส์ (Université Libre de Bruxelles) ได้เขียนบันทึกส่งถึงพระองค์เมื่อ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1945 มีใจความเกี่ยวกับความวุ่นวายในเขตวัลลูน "คำถามนั้นไม่ใช่ว่าข้อกล่าวหาต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะถูกต้องหรือไม่ (เกรงแต่ว่า...) ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะมิได้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวของเบลเยียมอีกต่อไปเสียแล้ว"[16]
กีญง ประธานวุฒิสภาเบลเยียม ได้กราบทูลฯ ทราบว่ามีความเป็นไปได้ถึงความไม่สงบอย่างรุนแรง "หากมีเพียงสิบหรือยี่สิบคนที่ถูกฆ่าตายแล้ว สถานการณ์ความไม่สงบครั้งนี้จะกลายเป็นความตกต่ำสำหรับองค์พระมหากษัตริย์" [17]
ฟรานซ์ แวน คอเวลลาร์ท ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงความห่วงใยว่าจะเกิดการนัดหยุดงานทั่วไปในเขตวัลลูน และกบฏในลีแยฌ เขาได้เขียนว่า "ประเทศแห่งนี้ไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาความสงบได้อย่างเรียบร้อยเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนกองกำลังตำรวจและการขาดแคลนอาวุธ"[18]
ในปี ค.ศ. 1946 คณะกรรมการตรวจสอบได้เห็นชอบให้พระองค์พ้นข้อกล่าวหากบฏต่อแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม คำถามเกี่ยวกับพระองค์ยังคงดำเนินต่อไป และจนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 ได้มีการลงประชามติเกี่ยวกับอนาคตของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ ซึ่งผลปรากฏว่า ร้อยละ 57 ของผู้มีสิทธิทั้งหมดเห็นชอบต่อการกลับมาของพระองค์ ซึ่งการแบ่งแยกระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านพระองค์นั้นแบ่งตามเขตด้วย (ซึ่งฝ่ายสังคมนิยม และวัลลูนนั้นส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบ- เพียงร้อยละ 42 ของชาววัลลูนที่เห็นชอบ) ในขณะที่ฝ่ายประชาธิปัตย์คริสเตียน และฟลานเดอร์นั้นเป็นฝ่ายสนับสนุนพระองค์ (ร้อยละ 70 เห็นชอบในฝั่งฟลานเดอร์)
การนัดหยุดงานครั้งใหญ่ปี ค.ศ. 1950
[แก้]เมื่อคราวเสด็จนิวัติเบลเยียมในปี ค.ศ. 1950 พระองค์ทรงพบกับการนัดหยุดงานครั้งที่รุนแรงและสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์เบลเยียม ผู้ชุมนุมจำนวนสามคนได้ถูกสังหารเมื่อตำรวจปราบจลาจลได้ยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ทำให้ประเทศนั้นเปิดฉากเข้าสู่สงครามกลางเมือง ธงชาติเบลเยียมได้ถูกปลดลงแทนที่ด้วยธงของเขตวัลลูนในลีแยฌ และเมืองสำคัญต่าง ๆ ในฝั่งเขตวัลลูน[19] จึงทำให้พระองค์ต้องตัดสินพระทัยเพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของอาณาจักร รวมทั้งรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1950 เพื่อเปิดทางให้พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เจ้าชายโบดวง ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 แต่ในความจริงแล้วรัฐบาลได้บังคับให้ทรงตัดสินพระทัยในวันนั้น ซึ่งในการ"เลื่อนการสละราชสมบัติ"ไปอีกปีหนึ่งนั้น[20] พระเจ้าเลออปอลทรงถูกบังคับโดยรัฐบาลเพื่อสละราชสมบัติให้กับพระราชโอรส[21]
พระอิสริยยศ
[แก้]- เจ้าชายเลออปอลแห่งเบลเยียม (ค.ศ. 1901 – ค.ศ. 1909)
- เจ้าชายเลออปอล ดยุกแห่งบราบันต์ มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยียม (ค.ศ. 1909 – ค.ศ. 1934)
- พระเจ้าเลออปอลที่ 3 พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม (ค.ศ. 1934 – ค.ศ. 1951)
- พระเจ้าเลออปอลที่ 3 พระบรมราชชนก (ภายหลังจากทรงสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1951 จนกระทั่งสวรรคต)
พระราชบุตร
[แก้]ประสูติแต่ สมเด็จพระราชินีอัสตริด | |||
พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เจ้าหญิงโฌเซฟีน-ชาร์ล็อต | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1927 | 10 มกราคม ค.ศ. 2005 (77 พรรษา) | เสกสมรสกับแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก มีพระราชบุตร 5 พระองค์ |
สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง | 7 กันยายน ค.ศ. 1930 | 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (62 พรรษา) | ราชาภิเษกสมรสกับฟาบิโอลา เด โมรา อี อารากอน ไม่มีพระราชบุตร |
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1934 (90 พรรษา) | ราชาภิเษกสมรสกับเปาลา รุฟโฟ ดิ คาราเบลีย มีพระราชบุตร 3 พระองค์ (และมีพระราชธิดานอกสมรสอีก 1 พระองค์) | |
ประสูติแต่ ลิเลียน เจ้าหญิงแห่งเรตี | |||
พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | หมายเหตุ |
เจ้าชายอาแล็กซ็องดร์ | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 (67 ปี) | เสกสมรสกับเลอา โวลมัน ไม่มีพระบุตร |
เจ้าหญิงมารี-คริสติน | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 (73 ปี) | เสกสมรสครั้งแรกกับพอล ดูเกอร์ ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสครั้งที่สองกับจีน พอล จอร์จเกอร์ ไม่มีพระบุตรทั้งสองครั้ง | |
เจ้าหญิงมารี-แอ็สเมราลดา | 30 กันยายน ค.ศ. 1956 (68 ปี) | เสกสมรสกับ ซัลวาดอร์ มอนคาดา มีพระบุตร 2 คน |
พงศาวลี
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Marengo (20 ธันวาคม 2007). ""Belgian Royal Question" - the Abdication Crisis of King Leopold III of the Belgians". The Royal Articles.
- ↑ The Miracle of Dunkirk, Walter Lord, New York 1982, page 101, ISBN 0-670-28630-3
- ↑ The Belgian Constitution เก็บถาวร 2007-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Belgian Constitution, Title III, Chapter 3, Art 93
- ↑ De zondebok van Reynaud, ใน Velaers and Van Goethem, Leopold III, (ในภาษาดัตช์), Lannoo, Tielt, 1994, p. 264, ISBN 90-209-2387-0
- ↑ Commons Chamber, War situation. Hansard (Report). Vol. 361. 4 มิถุนายน 1940.
- ↑ Churchill's letter to de Saercke, quoted in English in André de Staercke, Tout cela a passé comme une ombre, Mémoires sur la Régence et la Question royale, Preface of Jean Stengers, Racine, Bruxelles, 2003, p. 279, ISBN 2-87386-316-1
- ↑ Le Prince, Monsieur Spaak et moi-même avons lu (...) votre texte [qui] exprime l'exacte vérité, nous semble parfait. ใน André de Staercke, Tout cela a passé comme une ombre, Mémoires sur la Régence et la Question royale, (ในภาษาฝรั่งเศส), Ibidem, p. 280
- ↑ Preface of Jean Stengers of the book Tout cela a passé comme une ombre, opus citatus, p. 15
- ↑ Francis Balace, Fors l'honneur. Ombres et clartés sur la capitulation belge in Jours de guerre, n° 4, Bruxelles 1991, p. 5–50, ISBN 2-87193-137-2
- ↑ Balace, opus citatus, p. 21
- ↑ Jean Stengers, Léopold III et le gouvernement, opus citatus, pages 128–199
- ↑ Jean Stengers, opus citatus, p. 161
- ↑ United States Department of State Records (USDSR), National Archives, 855.001 Leopold, Sawyer to Secretary of State Edward R. Stettinius, Mar. 29.1945
- ↑ Jonathan E. Helmreich, Dean of Instruction (Allegheny College), United States Policy and the Belgian Royal Question (March – October, 1945)[ลิงก์เสีย]
- ↑ USDSR Ibidem, Winant to Stettinius, 26 May 1945. J. E. Hemelreich adds "There is no further mention in the file of any alleged French activities"
- ↑ Het is niet de vraag of de aantijgingen die tegen U werden ingebracht terecht zijn [maar dat...] U niet langer een symbool is voor de Belgish eenheid. ใน Velaers en Van Goethem Leopold III, (ในภาษาดัตช์), Lannooo, Tielt, 1994, p. 955, ISBN 90-209-2387-0
- ↑ Al vielen er maar tien of twintig doden, de situatie van de koning zou vlug vreselijk worden ใน Velaers en Van Goethem, opus citatus, (ในภาษาดัตช์), p. 968
- ↑ Het land zou de ontlusten niet kunnen bedwingen wegens een ontoereikende politie macht een een tekort aan wapens. ใน Velaers and Van Goethem, opus citatus, (ในภาษาดัตช์), p. 969
- ↑ Philippe Destatte, L'Identité wallonne, Institut Destrée, Charleroi, 1997, p.235, ISBN 2-87035-000-7
- ↑ Jules Gérard-Libois, José Gotovitch, Leopold III, De l'an 40 à l'effacement, Pol-His, Bruxelles, 1991, pp. 304-306, ISBN 2-87311-005-8
- ↑ Els Witte, Jan Craeybeckx, Alain Meynen, Political History of Belgium: From 1830 Onwards, spoke about a forced abdication, Academic and Scentific Publishers, Brussels, 2009, p. 244, ISBN 978-90-5487-517-8
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official biography from the Belgian Royal Family website
- Royal House of Sweden เก็บถาวร 26 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 | พระมหากษัตริย์เบลเยียม (23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1951) |
สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง
| ||
เจ้าชายเลออปอล (สิ้นพระชนม์ก่อนรับราชสมบัติ) |
ดยุกแห่งบราบันต์ (ค.ศ. 1909 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) |
เจ้าชายโบดวง (ภายหลังคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง) |