พระเจ้ามังลอก
พระเจ้ามังลอก နောင်တော်ကြီး | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าฟ้าแห่งดีแบยี่น | |||||
พระมหากษัตริย์พม่า | |||||
ครองราชย์ | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1763[1] | ||||
ราชาภิเษก | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1760 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าอลองพญา | ||||
ถัดไป | พระเจ้ามังระ | ||||
พระราชสมภพ | 10 สิงหาคม ค.ศ. 1734 วันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือนวากอง 1096 ME มุโซ่โบ มังลอก မောင်လောက် | ||||
สวรรคต | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1763 ซะไกง์ | (29 ปี)||||
ฝังพระศพ | ซะไกง์ | ||||
ชายา | Shin Hpo U พระราชินี 6 พระองค์ | ||||
พระราชบุตร | พระราชโอรส 5 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์ รวม: พระเจ้าหม่องหม่อง | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โก้นบอง | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าอลองพญา | ||||
พระราชมารดา | พระนางยู่นซาน | ||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระเจ้ามังลอก (พม่า: ဒီပဲယင်းမင်း ดีแบยี่นมี่น หรือ နောင်တော်ကြီးမင်း นองดอจี้มี่น) เป็นพระโอรสพระองค์โตในบรรดาพระโอรส 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์เนื่องจากทรงเป็น "เอนเฉ่มี่น" หรืออุปราชวังหน้า เมื่อพระเจ้าอลองพญาสวรรคต ในสมัยของพระองค์ได้เกิดการกบฏครั้งสำคัญคือ มังฆ้องนรธา ขุนพลคู่บารมีของพระเจ้าอลองพญา รวมไปถึงการแก่งแย่งอำนาจจากเจ้านายฝ่ายพม่าด้วยกันเอง ทำให้ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต้องทำการปราบกบฏอยู่หลายครั้ง แต่ด้วยอุปนิสัยที่มีเมตตาของพระองค์ จึงทำเพียงขับไล่หรือคุมขังผู้ทำผิดเสียเป็นส่วนมาก แต่ไม่ประหารชีวิต บางครั้งก็ถึงกับอภัยโทษให้ผู้ทำผิดอยู่บ่อย ๆ
ด้านศาสนา
[แก้]พระเจ้ามังลอกเป็นผู้ที่สนใจศึกษาพระศาสนามากที่สุดพระองค์หนึ่ง ทั้งยังให้การทำนุบำรุงพระศาสนาด้วยดีมาตลอด มีการสร้างวัดและให้ความสำคัญกับเรื่องพระธรรมคำสอน โดยเผยแพร่ไปทั่วทั้งอาณาจักร ในสมัยของพระองค์ยังไม่มีแนวคิดที่จะเปิดศึกกับอยุธยา มีเพียงการทำสงครามกับเชียงใหม่ที่จะแยกตัวเท่านั้น
สวรรคต
[แก้]พระเจ้ามังลอกทรงพระประชวรอยู่บ่อยครั้งนับตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ จนสุดท้ายอาการประชวรของพระองค์หนักขึ้นเรื่อย ๆ และพระองค์สวรรคตลงหลังครองราชย์ได้เพียงสามปี ผู้ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมาคือพระเจ้ามังระ พระอนุชาของพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ประกาศสงครามกับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้ามังลอกมีชื่อเรียกในภาษาพม่าว่า นองดอจี้มี่น[2][3]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]มีนักแสดงผู้รับบท พระเจ้ามังลอก ได้แก่
- สกรรจ์ รามบุตร จากละครเรื่อง ฟ้าใหม่ (2547)
- ทุงโกโก จากละครเรื่อง ศรีอโยธยา (2560)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้ามังลอก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bonbaung-1
- ↑ "The Royal Ark: Burma -- Konbaung Dynasty"
- ↑ เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)
ก่อนหน้า | พระเจ้ามังลอก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอลองพญา | พระมหากษัตริย์พม่า (อาณาจักรพม่ายุคที่ 3) (ค.ศ. 1760–1763) |
พระเจ้ามังระ |