พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระภิกษุ พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เจ้าคุณนรฯ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 (72 ปี) |
มรณภาพ | 8 มกราคม พ.ศ. 2514 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 24 มีนาคม พ.ศ. 2469 |
พรรษา | 44 |
พระภิกษุ ธมฺมวิตกฺโก มหาเสวกตรี พระยานรรัตนราชมานิต นามเดิม ตรึก จินตยานนท์ เป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ จำพรรษา ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ตราบจนมรณภาพ
ประวัติ
[แก้]ปฐมวัย
[แก้]พระพระยานรรัตนราชมานิต[1] มีนามเดิมว่า ตรึก จินตยานนท์ (นามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นบุตรของพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์ ภายหลังบวชเป็นพระภิกษุ ฉายา สทฺธมฺมวิจาโร) และนางพุก นรราชภักดี มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 5 คน เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 เวลา 7.40 น. ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา และเป็นวันมาฆบูชาในปีนั้น ที่กรุงเทพมหานคร วัยถึงขั้นสมควร เล่าเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโสมนัสวิหาร และชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน) จนสอบได้ชั้นมัธยมปลาย 5 ได้ลำดับที่ 1 ของประเทศ
ข้าราชการพลเรือน
[แก้]ภายหลังจากที่ท่านได้จบการศึกษาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ภายหลังคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้รับประกาศนียบัตรวิชารัฐศาสตร์ มีบัณฑิตร่วมรุ่น 12 นาย โดยสอบได้ลำดับที่ 1 ในปีการศึกษาสุดท้าย ท่านได้เข้าร่วมซ้อมรบในฐานะสมาชิกกองเสือป่า ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยรับหน้าที่ กองส่งข่าวหลวงรักษาพระองค์ ซึ่งในการซ้อมรบนี้เองได้เปลี่ยนวิถีชีวิต ทำให้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการประจำห้องที่พระบรรทม หลังท่านศึกษาจบ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2459 ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก กระทั่งได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์เป็นพระยานรรัตนราชมานิต ซึ่งแปลว่า "คนดีที่พระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือ" เมื่ออายุเพียง 25 ปี เมื่อปี 2465 สมกับที่ท่านได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด
ประวัติการรับราชการของพระยานรรัตนราชมานิตโดยละเอียดมีดังนี้
- 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 - โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในกรมมหาดเล็ก แผนกตั้งเครื่อง ยศ มหาดเล็กวิเศษ[2]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2458 - เงินเดือน 40 บาท
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายรองเสนองานประภาษ[3]เงินเดือน 60 บาท
- 27 กุมภาพันธ์ 2458 – นายหมู่โท[4]
- รับพระราชทานยศ รองหุ้มแพร
- 1 เมษายน พ.ศ. 2459 - ย้ายไปอยู่กองห้องที่พระบรรทม
- รับพระราชทานยศ หุ้มแพร
- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2459 - รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายเสนองานประภาษ ถือศักดินา ๔๐๐[5]
- 1 กันยายน พ.ศ. 2459 - เงินเดือน 100 บาท
- 1 มกราคม พ.ศ. 2460 - เงินเดือน 200 บาท
- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2460 รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายจ่ายง มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา ๖๐๐[6]
- 31 ตุลาคม พ.ศ. 2461 - รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงศักดิ์นายเวร ถือศักดินา ๘๐๐[7]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2461 - เงินเดือน 300 บาท
- 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 - นายหมวดโท[8]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2463 - เงินเดือน 340 บาท
- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - นายหมวดเอก[9]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 - รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี หัวหมื่นมหาดเล็กต้นเชือกเวรศักดิ์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[10]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2465 - เงินเดือน 500 บาท
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - เจ้ากรมห้องที่พระบรรทม[11]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรรัตนราชมานิต จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐[12]
- 27 กุมภาพันธ์ 2466 – นายกองตรี
- 4 เมษายน พ.ศ. 2467 - องคมนตรีในรัชกาลที่ 6[13]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2467 - รับพระราชทานยศ จางวางตรี[14]
- 2 มีนาคม 2467 – นาวาโทเสือป่า[15]
- 6 มีนาคม พ.ศ. 2468 กราบถวายบังคมลาอุปสมบท[16]
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 - อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- 1 เมษายน พ.ศ. 2469 - เงินเดือน 700 บาท
- 1 เมษายน พ.ศ. 2469 - โปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกตำแหน่งหน้าที่ราชการกรมมหาดเล็กหลวง ให้รับพระราชทานบำนาญเดือนละ 84 บาท 66 2/3 สตางค์
- 4 เมษายน พ.ศ. 2469 - องคมนตรีในรัชกาลที่ 7 (แต่ท่านไม่สึกออกมารับตำแหน่ง ยังคงอยู่ในสมณเพศต่อไป)
บวชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศล
[แก้]ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ สุจริต และกตัญญูกตเวที อย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ดังที่ท่านเคยกล่าวถึงความภักดีต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ต้องตายแทนกันได้" ความกตัญญูกตเวทีที่ท่านได้แสดงนี้ ได้ประจักษ์ชัดเมื่อท่านได้บวชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาาร และพระอุดมศีลคุณ (อิน อคฺคิทตฺโต) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านดำรงเพศสมณะด้วยความเคร่งครัดต่อศีล เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินด่างพร้อยทั้งกาย ใจ เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีปฏิปทาที่มั่นคง เด็ดเดี่ยว เป็นที่ยอมรับ และได้รับความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนว่า ท่านเป็นพระแท้ ที่หาได้ยากยิ่ง เป็นตัวอย่างของสงฆ์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่ใฝ่หาลาภสักการะ ใฝ่หาชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อ พระธรรมวินัย มีความกตัญญูเป็นเลิศ ยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้
มรณภาพ
[แก้]พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ป.ม.,ท.จ. มรณภาพเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2514 ด้วยความชรา จากหนังสือสำนักพระราชวัง ที่ 314 ลว 11 มกราคม 2514 สิริอายุ 74 ปี พรรษา 46 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พร้อมทั้งพระราชทานโกศโถ ฉัตรเบญจา ประกอบเกียรติยศ
และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
คำสอน
[แก้]"ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา" จึงจะชนะ ข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดได้
- - ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วง ทางกาย วาจา ได้ด้วย "ศีล"
- - ชนะความยินดียินร้าย และหลงรักหลงชัง เป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วย "สมาธิ"
- - ชนะความเข้าใจ รู้ผิดเห็นผิดจากความเป็นจริงของ สังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ด้วย "ปัญญา"
ผู้ศึกษาปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา" บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย "
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[17]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[19]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[20]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[21]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[22]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิพระพระยานรรัตนราชมานิต ตรึก จินตยานนท์" เป็นนิติบุคคล
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๙๐๗)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ (หน้า ๖๙)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๓๓๖๒)
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลาอุปสมบท
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๑๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๕, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๗, ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๓๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๗, ๓๑ มกราคม ๒๔๕๗
- บรรณานุกรม
- อนุสรณ์ ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์). พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2515.
- บรรจง มีแสงพราว. อนุสรณ์เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต. พระนคร : อนันต์การพิมพ์, 2515.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2441
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2514
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 7
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3
- สมาชิกกองเสือป่า
- ภิกษุจากวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
- บุคคลจากเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
- บุคคลจากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- เสียชีวิตจากมะเร็ง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์