ข้ามไปเนื้อหา

พระนางเชงสอบู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนางเชงสอบู
မိစဴဗု
ရှင်စောပု
รูปปั้นของพระนางเชงสอบู
พระราชินีนาถเเห่งหงสาวดี
ครองราชย์ค.ศ. 1454–1471
ก่อนหน้ามะมุดตาว
รัชกาลถัดไปพระเจ้าธรรมเจดีย์
พระมเหสีตำหนักกลางแห่งอังวะ
ครองราชย์20 พฤษภาคม ค.ศ. 1426–1429
ก่อนหน้าพระนางเชงสอบู
รัชกาลถัดไปพระนางธัมมเทวีแห่งอังวะ
พระมเหสีตำหนักกลางแห่งอังวะ
ครองราชย์ธันวาคม ค.ศ. 1423 – สิงหาคม ค.ศ. 1425
ก่อนหน้ามินบยาน
รัชกาลถัดไปพระนางเชงสอบู
พระราชสมภพ11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1394
หงสาวดี
สวรรคตค.ศ. 1471 (77 พรรษา)
ตะเกิง
ฝังพระศพสันจวง
คู่อภิเษกพญาบเว (ป. ค.ศ. 1413–1419)
พระเจ้าสีหตู (ค.ศ. 1423–1425)
มี่นเยจอทิ่น (ค.ศ. 1425–1426)
พระเจ้าโม่ญี่นตะโด้ (ค.ศ. 1426–1429)
พระราชบุตรพญาพะโร
มิปาคาธอ
พระนามเต็ม

Ti La Ñaḥ Śri Træ̆ Bhū Wa Nā Di Tya Pa Wa Ra Dham Ta Rāy Lo Kya Nā Tha Ma Hā Dham Rā Ja Da Wǐ
ราชวงศ์หงสาวดี
พระราชบิดาพระเจ้าราชาธิราช
พระราชมารดาทุตธรรมยา
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระนางเชงสอบู (พม่า: ရှင်စောပု, ออกเสียง: [ʃɪ̀ɰ̃.sɔ́.bṵ]; มอญ: မိစဴဗု, ออกเสียง; อักษรโรมัน: Shin Sawbu; ในราชาธิราชทับศัพท์เป็น แสจาโป) หรือ พระนางพระยาท้าว, ตละเจ้าปุ, พระนางพญาท้าว[1], ตละเจ้าท้าว และ นางพระยาตละเจ้าท้าว[2] (พม่า: ဗညားထောဝ်; มอญ: ဨကရာဇ်ဗြဲဗညာထဴ, ออกเสียง; อักษรโรมัน: Binnya Thau) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถเพียงพระองค์เดียวที่ปกครองอาณาจักรมอญเป็นเวลา 17 ปี (ค.ศ. 1454–1471) และถือเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ฟ้ารั่วองค์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรมอญ พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราช หลังจากพระเจ้าราชาธิราชเสด็จสวรรคต ได้มีกษัตริย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนสิ้นรัชทายาทที่เป็นบุรุษ จึงได้ยกพระนางขึ้นปกครองแทน

พระราชประวัติ

[แก้]
มงกุฎของพระนางเชงสอบู ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ V&A, ลอนดอน

พระนางเชงสอบู เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราชแห่งอาณาจักรหงสาวดี เมื่อพระราชบิดาคือพระเจ้าราชาธิราชสวรรคต ผู้ที่ได้สืบราชสมบัติต่อมาคือพญาธรรมราชา แต่พระอนุชาของพระองค์ พระยาราม และพระยาแคง (พญาเกียรติ์) ไม่พอพระทัย จึงไปสวามิภักดิ์พระเจ้าสีหตูแห่งกรุงอังวะ พญาธรรมราชาไม่ปรารถนาที่จะรบพุ่งกับพม่า พระองค์จึงได้ประนีประนอมกับพระอนุชาโดยให้พระยารามเป็นมกุฎราชกุมารไปครองเมืองพะสิม และพระยาแคง (พญาเกียรติ์) ไปครองเมืองเมาะตะมะ ครั้นถึงสมัยรัชกาลของพระยาราม พระองค์ได้นำพระขนิษฐาคือพระนางเชงสอบูส่งไปถวายแก่พระเจ้าสีหตูแห่งกรุงอังวะ ซึ่งเป็นการตอบแทนที่ได้ช่วยเหลือพระองค์ในการครองราชย์ที่กรุงหงสาวดี ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา เป็นแม่ม่ายมีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่พญาพะโร (Binnya Waru), เนตาคาตอ (Netaka Taw) และเนตาคาถิน (Netaka Thin)[3]

ความขัดแย้ง

[แก้]

พระเจ้าสีหตูมีความหลงใหลเสน่หาแก่พระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้พระนางชีนโบ่แม พระมเหสีเก่าซึ่งมีสายสัมพันธ์กับทางไทใหญ่เกิดความอาฆาตริษยา พระนางชีนโบ่แมจึงไปสมคบคิดกับไทใหญ่ให้ยกทัพมาตีอังวะกลายเป็นสงครามที่รุนแรง พระเจ้าสีหตูทรงออกรบเองจนสวรรคตใน ค.ศ. 1425 พระเจ้ามี่นละแง กษัตริย์องค์ต่อมาก็สวรรตเพราะถูกพระนางชีนโบ่แมวางยาพิษ พระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญ พระปิตุลาของพระเจ้ามี่นละแงจึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ต่อมาพระเจ้าโม่ญี่นตะโด้‎ได้โค่นล้มพระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญกับพระนางชีนโบ่แมแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์กรุงอังวะ

คืนสู่หงสาวดี

[แก้]

พระนางเชงสอบูทรงได้นิมนต์สามเณรแห่งวัดศรีปรางค์เข้ามาแสดงพระธรรมเทศนาในพระราชวังเป็นประจำ สามเณรท่านนี้เทศนาได้ดี เป็นที่พอพระทัยของพระองค์ จึงได้รับมาเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อสามเณรท่านนี้มีอายุครบที่จะอุปสมบทได้แล้ว พระองค์ก็ทรงจัดงานอุปสมบทขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติตามธรรมเนียมของเชื้อพระวงศ์ (บุตรบุญธรรม) และได้รับสมญานามว่า "พระมหาปิฏกธร"

พระมหาปิฎกธร ทราบถึงความวุ่นวายทางการเมืองภายในอังวะ และพระนางเชงสอบูไม่สามารถกลับคืนสู่เมืองหงสาวดีได้ จึงพาศิษย์สี่คนคิดกลอุบายพาพระนางเชงสอบูกลับสู่เมืองหงสาวดีได้สำเร็จ พระมหาปิฎกธรมีความรู้สึกไม่สบายใจที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดกลอุบายดังกล่าวจึงขอลาสิกขา ต่อมาพญาพะโร พระโอรสของพระนางเชงสอบูที่เกิดจากพระสวามีเก่า ได้ครองเมืองหงสาวดีในปี ค.ศ. 1446[note 1] อยู่ในราชสมบัติได้เพียง 4 ปีจึงสวรรคต ขณะนั้นไม่เหลือเชื้อสายของพระเจ้าราชาธิราชที่เป็นชายสืบสกุล พระนางเชงสอบูจึงได้ขึ้นเสวยราชย์[4] และได้ตั้งพระมหาปิฎกธรเป็นรัชทายาท พระองค์อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ต่อมาได้มอบราชสมบัติให้พระมหาปิฎกธรเป็นกษัตริย์หงสาวดี และมีพระนามตามจารึกกัลยานีว่า พระเจ้ารามาธิบดี แต่พงศาวดารรามัญเรียกว่า พระเจ้าธรรมเจดีย์ หรือ พระมหาปิฎกธร [5]

พระราชกรณียกิจ

[แก้]

พระนางเชงสอบูทรงเป็นพุทธมามกะซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้งในวัยเยาว์ก็มีพระทัยมุ่งมั่นในการศึกษาพระไตรปิฏก จึงทำให้ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาในเมืองหงสาวดีเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ยังได้บริจาคทองคำเท่าน้ำหนักตัวของพระองค์เพื่อตีเป็นแผ่นหุ้มเจดีย์ชเวดากอง[6] แม้หลังสละราชสมบัติแล้วพระองค์ยังทำนุบำรุงศาสนาพุทธต่อ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1471

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ประชุมพงศาวดารขอม เรียก พระยาแก่ท้าว

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. "ภาพกษัตริย์มอญที่สำคัญ ๙ พระองค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  2. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ).งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2549. หน้า 214
  3. Kala Vol. 2 2006: 58
  4. (Harvey, 1925, 368)
  5. "เอกกษัตรีแห่งแผ่นดินมอญ | ThaiGoodView.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  6. (Halliday, 2000, p. 101)
บรรณานุกรม
  • Forchammer Notes on the Early History and Geography of British Burma – I. The Shwedagon Pagoda, II. The First Buddhist Mission to Suvannabhumi, publ. Superintendent Government Printing, Rangoon 1884.
  • Fraser (1920) "Old Rangoon" Journal of the Burma Research Society, volume X, Part I, pp. 49–60.
  • Furnivall, Syriam Gazetteer.
  • Guillon, Emmanuel (tr. ed. James V. Di Crocco) (1999) The Mons: A civilization of Southeast Asia, Bangkok: The Siam Society.
  • Halliday, Robert (2000) (Christian Bauer ed.) The Mons of Burma and Thailand, Volume 2. Selected Articles, Bangkok: White Lotus.
  • Harvey, G.E. (1925) History of Burma: From the earliest times to 10 March 1824 the beginning of the English conquest, New York: Longmans, Green, and Co.
  • Sayadaw Athwa [The Monk of Athwa], Burmese translation of his Talaing History of Pegu used by Phayre, now in the British Museum, being manuscripts OR 3462-4.
  • Saya Thein (1910) "Shin Sawbu," Journal of the Burma Research Society

[Summarizing the "Thaton-hnwe-mun Yazawin" below, but also giving the slightly different chronology of the Burmese chronicle "Hmannan Yazawin"]

  • Saya Thein (1912) "Rangoon in 1852" Journal of the Burma Research Society.
  • Schmidt, P.W. (1906) Slapat ragawan datow smim ron. Buch des Ragawan, der Konigsgeschichte, publ. for Kais. Akademie der Wissenschaften by Holder, Vienna, pp. 133–135
  • Shorto, Harry Leonard (1958) "The Kyaikmaraw inscriptions," Bulletin of the School of Oriental and African Studies (BSOAS), 21 (2) : 361–367.
  • Shorto (1971) A dictionary of Mon inscriptions from the sixth to the sixteenth centuries. London: Oxford University Press.
  • Shorto (tr.) (no date) Unpublished typescript translation of pp. 34–44, 61–264 of Phra Candakanto (ed.) Nidana Ramadhipati-katha (or as on binding Rajawamsa Dhammaceti Mahapitakadhara), authorship attributed to Bannyadala (c. 1518–1572), Pak Lat, Siam, 1912.
  • Singer, Noel F. (1992) "The Golden Relics of Bana Thau," Arts of Asia, September–October, 1992. [Contains many interesting and original historical interpretations]
  • Thaton-hnwe-mun Yazawin, unpublished manuscript cited in Harvey, p. 117, the facts about Baña Thau in this chronicle are summarised in (Hmawbi Saya Thein, 1910)
  • Athwa, Sayadaw (1785). Mon Yazawin (Slapat Rajawan) (ภาษาพม่า) (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]