ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน/กรุ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุ 1 กรุ 2 กรุ 3

อัลเฟร์โด เอสโตรสแนร์

อัลเฟร์โด เอสโตรสแนร์
ประธานาธิบดีปารากวัย คนที่ 42
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2497 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
ก่อนหน้าโทมัส โรเมโร
(รักษาการ)
ถัดไปอันเดรส โรดิเกส เพดอตตี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455
เอนคาร์เนชัน, ปารากวัย
เสียชีวิต16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 (93 ปี)
บราซีเลีย, บราซิล
เชื้อชาติปารากวัย
พรรคการเมืองพรรคโคโรลาโด
คู่สมรสลิเกีย เอสโตรสแนร์[1]
บุตร3
ศิษย์เก่าAsunción Military Academy / "Field Marshal Francisco Solano López" Military Academy
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ปารากวัย ปารากวัย
สังกัด กองทัพบกปารากวัย
ประจำการ1929–1989
ยศ / พลเอก
บังคับบัญชากองทัพบกปารากวัย
ผ่านศึกสงครามชาโคล สงครามกลางเมืองปารากวัย

อัลเฟร์โด เอสโตรสแนร์ มาเตียอูดา (สเปน: Alfredo Stroessner Matiauda; 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตทหาร อดีตประธานาธิบดีและผู้เผด็จการแห่งประเทศปารากวัย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2497 จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532

เขาทำรัฐประหารในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและพรรคโคโรลาโดซึ่งเขาสังกัดอยู่ในพรรคการเมืองดังกล่าว เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 สิงหาคมปีเดียวกัน เมื่อเขาเข้ามาดำรงตำแหน่งเขาได้จำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างรวดเร็ว และในสมัยของเขามีการปราบปรามผู้ที่ขัดแย้งและต่อต้านการปกครองของเขา รวมถึงต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้น[2][3] แม้พรรคฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งเขาแต่เขาก็ยังสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ และการปราบปรามผู้เห็นต่างได้รุนแรงขึ้นตามลำดับ[4][5] จนกระทั่งวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เขาได้แก้รัฐธรรมนูญให้ตัวเขาสามารถอยู่ตำแหน่งได้ต่อไปโดยไม่มีกำหนด และใน พ.ศ. 2520 เขาได้แก้รัฐธรรมนูญอีกครั้งเพื่อให้ตนเองชนะการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ ซึ่งเขาชนะการเลือกตั้งโดยการทุจริตและเต็มไปด้วยข้อกังขามาตลอดระยะเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนถึง พ.ศ. 2531 หลังการเลือกตั้งเพียงหกเดือน เขาได้ถูกรัฐประหารในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 โดยอันเดรส โรดิเกส เพดอตตีซึ่งเป็นทหารที่สนิทกับเขาและเขาไว้ใจมากที่สุด[6]

หลังจากที่เขาถูกรัฐประหาร เขาได้ถูกเนรเทศไปยังประเทศบราซิล[7] เขาอยู่ที่บราซิลเรื่อยมานับแต่นั้นและได้ถึแก่อสัญกรรมในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549[8]

อ้างอิง

  1. Gunson, Phil (August 17, 2006) "General Alfredo Stroessner – Dictator who mastered the fixing of elections and made Paraguay a smugglers' paradise". The Guardian
  2. Paraguay: A Country Study, "The United States". Lcweb2.loc.gov (February 9, 1987). Retrieved on 2014-08-21.
  3. "Paraguay-U.S. Post-Stroessner Relations". Council on Hemispheric Affairs. September 25, 2006. สืบค้นเมื่อ August 12, 2018.
  4. "Alfredo Stroessner Facts, information, pictures | Encyclopedia.com articles about Alfredo Stroessner". www.encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-07.
  5. "Alfredo Stroessner Biography - life, children, wife, school, mother, son, old, born, college - Newsmakers Cumulation". www.notablebiographies.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-07.
  6. Country profile: Paraguay. Library of Congress Federal Research Division (October 2005). บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  7. Gimlette, p. 29
  8. nbcnews.com: "Ex-Paraguayan dictator Stroessner dies at 93". NBC News (August 16, 2006). Retrieved on 2014-08-21.


เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (เพิ่มเติมข้อมูล)

เขาประสบความสำเร็จในด้านการเมืองอย่างมากในฐานะ "วีรบุรุษสงครามที่ทรงเกียรติที่สุดของฟิลิปปินส์"[1] แต่ฐานะดังกล่าวถูกมองว่าเกินจริงเป็นอย่างมาก[2][3][4] โดยมีเอกสารลับของกองทัพสหรัฐ ระบุว่าเกียรติและการยกย่องเหล่านี้เป็นเรื่องหลอกลวงและไร้สาระ[5] หลังสงครามโลกครั้งที่สองเขาเริ่มทำงานเป็นทนายความและดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2502 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาฟิลิปปินส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2508 เขาชนะการเลือกตั้งและได้เป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2508 ซึ่งเขาสามารถทำให้ประเทศฟิลิปปินส์เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในช่วงที่เขาเริ่มดำรงตำแหน่งในสมัยแรก[6][7][8] เขาดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงรุกซึ่งเขาได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทำให้เขาได้รับความนิยมและความศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างมาก[9][10] แต่เมื่อเขาดำรงตำแหน่งในสมัยที่สองเขากลับวางตัวเป็นเผด็จการ[11][12] เกิดความวุ่นวายทางการเมืองอันเนื่องมาจากการประกาศกฎอัยการศึกโดยตัวเขาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2515 ก่อนที่เขาจะหมดวาระในสมัยที่สอง[13][14] เขาให้รัฐสภาแก้กฎหมายใหม่ให้ตรงกับความต้องการของเขา ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้โดยไม่มีกำหนด นอกจากนี้ เขายังจำกัดเสรีภาพของสื่อสารมวลชน[11][12][15] ใช้ความรุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม[16] กำจัดฝ่ายค้านทางการเมือง[17][18] มุสลิม[19] ผู้ที่มีพฤติการณเป็นคอมมิวนิสต์[20] รวมถึงประชาชนในประเทศ

อ้างอิง

  1. Bueza, Michael (August 20, 2016). "Marcos' World War II 'medals' explained". Rappler.
  2. "Marcos flees at last". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ June 29, 2017.
  3. Maynigo, Benjamin. "Marcos fake medals redux (Part II)". Asian Journal USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016.
  4. Bondoc, Jarius (April 8, 2011). "Suspicions resurface about Marcos heroism". The Philippine Star.
  5. Maynigo, Benjamin. "Marcos fake medals redux (Part I)". Asian Journal USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2017.
  6. "GDP (constant LCU) – Data". data.worldbank.org.
  7. "Under Marcos dictatorship unemployment worsened, prices soared, poverty persisted". IBON Foundation (ภาษาอังกฤษ). November 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  8. de Dios, Emmanuel S. (November 16, 2015). "The truth about the economy under the Marcos regime". Business World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  9. Mendoza, Ronald (February 26, 2016). "Ferdinand Marcos' economic disaster". Rappler.
  10. Galang, Ping (February 21, 2011). "The economic decline that led to Marcos' fall". GMA News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2018. สืบค้นเมื่อ May 29, 2018.
  11. 11.0 11.1 Balbosa, Joven Zamoras (1992). "IMF Stabilization Program and Economic Growth: The Case of the Philippines". Journal of Philippine Development. XIX (35).
  12. 12.0 12.1 Cororaton, Cesar B. "Exchange Rate Movements in the Philippines". DPIDS Discussion Paper Series 97-05: 3, 19.
  13. "Declaration of Martial Law". Official Gazette of the Republic of the Philippines.
  14. "FM Declares Martial Law". Official Gazette of the Republic of the Philippines. Philippines Sunday Express. September 24, 1972.
  15. Rivett, Rohan (March 13, 1973). "The Mark of Marcos – Part I: A deafening silence in the Philippines". The Age.
  16. Kushida, Kenji (2003). "The Political Economy of the Philippines Under Marcos – Property Rights in the Philippines from 1965 to 1986" (PDF). Stanford Journal of East Asian Affairs.
  17. Panti, Llanesca (October 16, 2018). "Imee done with apologizing for atrocities during Marcos regime". GMA News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  18. "Why the Late Philippine Dictator Was No Hero". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). November 8, 2016. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  19. "Philippine Church Leaders Fear Failure of Government-Muslim Negotiations". UCA News (ภาษาอังกฤษ). February 10, 1987. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  20. Cortez, Kath M. (September 21, 2019). "Martial Law veterans recall fighting dark days of dictatorship". Davao Today.

เอากุสโต ปิโนเช (เพิ่มเติมข้อมูล)

ปิโนเชเจริญก้าวหน้าด้านอาชีพทหารเป็นอย่างยิ่ง โดยเขาได้รับตำแหน่งเสนาธิการของกองทัพในช่วงต้นปี พ.ศ. 2515 ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพชิลีในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ต่อมาในวันที่ 11 กันยายนปีเดียวกัน เขาได้ทำรัฐประหารรัฐบาลซัลบาดอร์ อาเยนเด ซึ่งการรัฐประหารของเขาได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ[1][2][3] เพื่อล้มล้างรัฐบาลอาเยนเดและพรรคสหภาพประชาชน จากนั้นเขาได้เป็นประธานาธิบดีแห่งชิลีเต็มตัวใน พ.ศ. 2517 ภายหลังการขึ้นสู่อำนาจ เขาได้สั่งปราบปรามพวกฝ่ายซ้าย นักลัทธิสังคมนิยม และผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของเขา ส่งผมให้มีผูคนมากมายในประเทศถูกกำจัดและสังหารร่วม 1,200 ถึง 3,000[4] คน มีผู้ถูกจำคุกถึง 80,000 คนและมีผู้ถูกซ้อมมรมานนับหมื่นคน[5][6][7] จากข้อมูลของรัฐบาลชิลีกล่าวว่า ในสมัยของปิโนเชมีการประหัตประหารผู้คนและมีการบังคับให้บุคคลสูญหายถึง 3,095 คน[8] ในสมัยของเขาเกิดปฏิบัติการคอนดอร์ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่กำจัดพวกฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกา ซึ่งเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2518[9]

รัฐบาลของเขามีนโยบายทำให้ชิลีเป็นประเทศเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี มีการเปิดเสรีภาพทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน ทั้งนี้ยังยกเลิกการเก็บภาษีของอุตสาหกรรมท้องถิ่น ห้ามสหภาพแรงงาน และการประกันสังคมของเอกชน รัฐบาลของเขามีการตรวจพิจารณาสื่อเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้าม นโยบายที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศชิลีมีการเติบโตในระดับสูง แต่นักวิชาการมองว่า เป็นเพราะนโยบายของเขาทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจในประเทศเมื่อ พ.ศ. 2525[10][11][12]

ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง เขามีทรัพย์สินเป็นจำนวนมากจากบัญชีทางธนาคารทั้งในและต่างประเทศหลายสิบบัญชีของเขา ซึ่งทำให้ภายหลังเขาถูกจับกุมในข้อหายักยอกทรัพย์ ฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมถึงการรับสินบนจากข้อตกลงด้านอาวุธทางทหาร[13]

ใน พ.ศ. 2531 มีการลงประชามติว่าจะให้เขาดำรงตำแหน่งต่อไปหรือไม่ ซึ่ง 56% ไม่เห็นด้วยที่ให้เขาดำรงตำแหน่งต่อ ทำให้ชิลีมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและฟื้นฟูประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ เขาจึงลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2533 แต่เขายังคงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของประเทศชิลีจนเกษียณอายุรัฐการใน พ.ศ. 2541 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีวิต ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เขาถูกจับกุมระหว่างเดินทางไปที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ในข้อหาละเมิดสิทธิมษุยชน เขาได้สู้คดีจนได้รับการปล่อยตัวใน พ.ศ. 2543 ด้วยเหตุผลทางสุขภาพและเดินทางกลับไปยังประเทศชิลี เขาถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สิริอายุได้ 91 ปี[14]

อ้างอิง

  1. Winn, Peter. 2010. "Furies of the Andes." Pp. 239–275 in A Century of Revolution, edited by G. M. Joseph and G. Grandin. Durham, NC: Duke University Press. doi:10.1215/9780822392859. Retrieved 14 January 2014.
  2. Kornbluh, Peter. 2013. The Pinochet File: A Declassified Dossier on Atrocity and Accountability. The New Press. ISBN 1595589120.
  3. Qureshi, Lubna Z. 2009. Nixon, Kissinger, and Allende: U.S. Involvement in the 1973 Coup in Chile. Lexington Books. ISBN 0739126563.
  4. "Chile under Pinochet – a chronology". The Guardian. London. 24 March 1999. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  5. "National Commission for Truth and Reconciliation" (aka the "Rettig Report"). 1 May 1990. – via United States Institute of Peace.
  6. 2004 Commission on Torture เก็บถาวร 5 พฤษภาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (dead link)
  7. "Chile to sue over false reports of Pinochet-era missing". Latin American Studies. 30 December 2008. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  8. Former Chilean army chief charged over 1973 killing of activists. The Guardian. 8 July 2016.
  9. Plummer, Robert (8 June 2005). "Condor legacy haunts South America". BBC. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  10. Angell, Alan (1991). The Cambridge History of Latin America, Vol. VI, 1930 to the Present. Ed. Leslie Bethell. Cambridge; New York: Cambridge University Press. p. 318. ISBN 978-0-521-26652-9.
  11. Leight, Jessica (3 January 2005). "Chile: No todo es como parece". COHA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2008. สืบค้นเมื่อ 5 May 2008.
  12. Esberg, Jane (2020). "Censorship as Reward: Evidence from Pop Culture Censorship in Chile". American Political Science Review (ภาษาอังกฤษ). 114 (3): 821–836. doi:10.1017/S000305542000026X. ISSN 0003-0554.
  13. "Pinochet charged with corruption".
  14. Chile's Gen Pinochet dies at 91 BBC News

ลูอิส เอเชเวียรา

ลูอิส เอเชเวียรา
ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 57
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม พ.ศ. 2513 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
ก่อนหน้ากุสตาโว ดิแอซ ออร์ดาซ
ถัดไปโฆเซ โลเปส ปอร์ติลโล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ลูอิส เอเชเวียรา อาวาเรส

17 มกราคม พ.ศ. 2465 (102 ปี)
เม็กซิโกซิตี, ประเทศเม็กซิโก
พรรคการเมืองพรรคไออารพีเม็กซิโก
คู่สมรสมารียา เอสเตอร์ ซูโน
บุตร8
บุพการีรูดอลโฟ เอเชเวียรา
กาตารีนา อาวาเรส

ลูอิส เอเชเวียรา อาวาเรส (สเปน: Luis Echeverría Álvarez; 17 มกราคม พ.ศ. 2465[1] –) เป็นนักกฎหมาย นักวิชาการ และนักการเมืองชาวเม็กซิโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศเม็กซิโก ระหว่าง พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านี้เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระหว่าง พ.ศ. 2506 จนถึง พ.ศ. 2512 ปัจจุบันเขาเป็นอดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตอยู่และมีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ

เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของกุสตาโว ดิแอซ ออร์ดาซ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน นักศึกษา สื่อมวลชน นักการเมือง หรือนักกิจกรรมที่มีแนวคิดตรงข้ามรัฐบาลถูกกำจัด รวมถึงการจับกุม การทรมาน และวิสามัญฆาตกรรมโดยรัฐ และนำไปสู่การสังหารหมู่ที่ตลาเตโลลโค พ.ศ. 2511 ศึ่งดิแอชและเอเชเวียราถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีส่วนในการก่อการสังหารหมู่ครั้งนี้ ซึ่งดิแอซได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโก เขาจึงขึ้นสู่อำนาจใน พ.ศ. 2513

เอเชเวียราถือเป็นประธานาธิบดีคนสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์เม็กซิโก โดยรัฐบาลของเขาวางตัวเป็นกลางในสงครามเย็น[2] และได้รับผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากรัฐบาลเผด็จการทหารของเอากุสโต ปิโนเชแห่งประเทศชิลี และสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสาธารณรัฐประชาชนจีนหลังจากการเยือนประเทศจีนและเข้าพบเหมา เจ๋อตุง[3] ทั้งนี้ รัฐบาลของเขามีความขัดแย้งกับประเทศอิสราเอลและกลุ่มชาวยิวอเมริกัน อันเนื่องมาจากลัทธิไซออนนิสม์ซึ่งนำมาสู่การเหยียดชาติพันธุ์[4][5]

ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ประเทศเม็กซิโกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะสำคัญ และมีการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสร้างท่าเรือเพื่อการค้า[6] อย่างไรก็ตาม เขาปกครองประเทศแบบเผด็จการ และเขามีส่วนเกี่ยวข้องและพัวพันในการสังหารหมู่ที่คอร์ปัสคริสตี พ.ศ. 2514 รวมถึงสงครามสกปรก ซึ่งทำให้เขาขัดแย้งกับกลุ่มผู้สนับสนุนฝ่ายซ้ายในประเทศ แม้ว่าเขาจะดำเนินนโยบายแบบประชานิยมฝ่ายซ้ายก็ตาม[7][8] ทั้งนี้ มีการบันทึกว่าเที่ยวบินมรณะเกิดขึ้นครั้งแรกในเม็กซิโกสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[9][10] หลังจากหมดวาระตำแหน่งประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2549 เขาถูกฟ้องร้องในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังหารหมู่ที่ตลาเตโลลโคและการสังหารหมู่ที่คอร์ปัสคริสตี[11] แต่ใน พ.ศ. 2552 ศาลได้ยกฟ้องข้อกล่าวหาดังกล่าวทั้งหมด[12]

อ้างอิง

  1. Harris M. Lentz (2014). Heads of States and Governments Since 1945. Routledge. p. 551. ISBN 978-1-134-26490-2.
  2. Narain Roy, Ash (1999). The Third World in the Age of Globalisation: Requiem Or New Agenda?. Zed Books. p. 56. ISBN 9781856497961.
  3. González, Fredy (2017). Paisanos Chinos: Transpacific Politics among Chinese Immigrants in Mexico. University of California Press. p. 177. ISBN 978-0-520-96448-8.
  4. "Mexico Votes for General Assembly Resolution Condemning Zionism". Jewish Telegraphic Agency. 17 December 1975. สืบค้นเมื่อ 8 March 2018.
  5. Riding, Alan (13 December 1975). "Mexico Tells U.S. Jews It Does Not Link Zionism With Racism". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2018.
  6. El sexenio de Luis Echeverría Clío, 1999
  7. "Rights group urges Mexico to resolve "dirty war"". Reuters. 5 April 2007. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  8. Evans, Michael. "The Dawn of Mexico's Dirty War". Gwu.edu. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  9. Tobar, Hector (27 February 2006). "New Details of Mexico's 'Dirty War'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.
  10. Grindle, Merilee (1977). Policy Change in an Authoritarian Regime: Mexico under Echeverria. Cambridge University Press. pp. 523–555.
  11. "Warrant for Mexico ex-president". BBC News. 30 June 2006. สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.
  12. "Exculpa tribunal a Luis Echeverría". La Jornada (ภาษาสเปน). 27 March 2009. สืบค้นเมื่อ 8 March 2018.

เครื่องอิสริยาภรณ์หยกเจิดจรัส

เครื่องอิสริยาภรณ์หยกเจิดจรัส
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายพลเรือน
วันสถาปนา22 ธันวาคม พ.ศ. 2436
ประเทศสาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
จำนวนสำรับ22
ผู้สมควรได้รับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน และประมุขของรัฐต่างประเทศที่สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสาธารณรัฐจีน
สถานะยังมีการมอบ
ประธานประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
ลำดับเกียรติ
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์ซุน ยัต-เซ็น

เครื่องอิสริยาภรณ์หยกเจิดจรัส (อังกฤษ: Order of Brilliant Jade, จีน: 采玉大勳章) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์พลเรือนของสาธารณรัฐจีน สำหรับมอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐเท่านั้น โดยประธานาธิบดีจะมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่เป็นพันธมิตรระหว่างประเทศ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2476[1] ดาราประดับด้วยหยกฝังด้วยทองคำและไข่มุก ตรงกลางดวงดารามีดวงอาทิตย์ล้อมรอบด้วยท้องฟ้าสีครามอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ[2] ก่อนหน้านี้ เครื่องอิสริยาภรณ์หยกเจิดจรัสแบ่งเป็นสองระดับ คือเครื่องอิสริยาภรณ์หยกเจิดจรัสนี้กับเครื่องอิสริยาภรณ์หยกเจิดจรัสที่มี 9 ชั้น

ข้อโต้แย้งและข้อเสนอในการเปลี่ยนชื่ออิสริยาภรณ์

ชื่อในภาษาจีนของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ตั้งตามชื่อมารดาของอดีตประธานาธิบดีเจียง ไคเช็ก ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งไต้หวันเสนอเปลี่ยนชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ใหม่เป็น "เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งไต้หวัน" แต่ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากถูกคัดค้านจากก๊กมินตั๋ง[3]

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. Decorations of Taiwan
  2. "Civilian orders". Presidency Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2017. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
  3. "勳章以蔣介石母親命名 立委提案修法遭國民黨團阻擋 - 政治 - 自由時報電子報". news.ltn.com.tw (ภาษาจีน). 22 September 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2019.
  4. Annuaire Admin Belge, 1965/ page 5
  5. "Two Ancient Lands Strengthen Their Ties". Free China Review. 1 July 1963. สืบค้นเมื่อ 23 April 2020.
  6. "King Faisal meets President Chiang". Taiwan Today. 1 June 1971. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.
  7. DeAeth, Duncan (28 May 2018). "As President of Haiti arrives in Taipei, a crucial test begins for Tsai administration". Taiwan News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 April 2020.
  8. Chinese (Taiwan) Yearbook of International Law and Affairs. Vol. 36. Brill. 9 December 2019. p. 242. ISBN 9789004414181. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 April 2020.

หมวดหมู่:เครื่องอิสริยาภรณ์สาธารณรัฐจีน

อาร์. แอล. สไตน์ (en:R.L. Stine)

อาร์. แอล. สไตน์
R. L. Stine at the 2008 Texas Book Festival
สไตน์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เกิดโรเบิร์ต ลอว์เลนส์ สไตน์
8 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
โอไฮโอ, สหรัฐ
นามปากกาโจเวียล บ็อบ สไตน์
อิริค อาฟาบี
อาร์. แอล. สไตน์
อาชีพ
แนววรรณกรรมเยาวชน, สยองขวัญ, ไซไฟ, นวนิยายแฟนตาซี, ตลก
ผลงานที่สำคัญชมรมขนหัวลุก
คู่สมรสเจน เวลด์ฮอน
บุตร1 คน

ลายมือชื่อลายมือชื่อของสไตน์
เว็บไซต์
www.rlstine.com

โรเบิร์ต ลอว์เลนส์ สไตน์ (อังกฤษ: Robert Lawrence Stine; 8 ตุลาคม พ.ศ. 2486 –) บางครั้งเป็นที่รู้จักในนาม โจเวียล บ็อบ สไตน์, อิริค อาฟาบี และ อาร์. แอล. สไตน์ เป็นนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น ผู้จัดรายการโทรทัศน์ และนักเขียนบทชาวอเมริกัน เขาได้รับสมญานามว่า "สตีเวน คิงแห่งแวดวงวรรณกรรมเยาวชน"[1] เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียนนวนิยายแนวสยองขวัญหลายเรื่อง อาทิ ถนนอาถรรพ์, ชมรมขนหัวลุก, รอทเทินสคูล และ ดิไนท์แมร์รูม และผลงานอื่นๆ ของเขา อาทิ สเปซคาเดจ, หนังสือเกม ฮาคส์ และบันเทิงคดีแนวตลกขบขันนับสิบเรื่อง ใน พ.ศ. 2551 ผลงานของสไตน์มียอดขายมากถึงสี่ร้อยล้านเล่ม

เกิดที่รัฐโอไฮโอ ในครอบครัวชาวยิวที่ยากจน บิดาของเขาประกอบอาชีพพนักงานส่งของ เขาเริ่มหลงไหลในการเขียนหนังสือเมื่ออายุได้ 9 ปี จากการไปพบเครื่องพิมพ์ดีดที่ห้องใต้หลังคาบ้านเขา เขาจึงเริ่มตีพิมพ์บันเทิงคดีแนวตลก ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนมาจากการอ่านหนังสือการ์ตูน เรื่องเล่าจากหลุมศพ และ สุสานปีศาจ เขาสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอใน พ.ศ. 2503 เคยทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสารของมหาวิทยาลัยถึง 3 ปีก่อนที่จะย้ายไปอาศัยอยู่รัฐนิวยอร์กและเริ่มต้นอาชีพนักเขียนอย่างจริงจัง เขาเริ่มเขียนนวนิยายแนวสยองขวัญเรื่องแรกคือ ไบลน์เดธ ต่อมาใน พ.ศ. 2532 เขาได้เขียนนวนิยายเรื่อง ถนนอาถรรพ์ และต่อมาเขาได้ประสบความสำเร็จในนวนิยายเรื่อง ชมรมขนหัวลุก โดยนวนิยายของเขาถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง และเขายังติดอันดับผู้ให้ความบันเทิงที่มีรายได้มากที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 36 จาก 40 อันดับ ด้วยรายได้สุทธิ 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ชีวิตช่วงต้น

สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2486[2] ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ[3][4][5] ในครอบครัวที่ยากจน[6] เป็นบุตรของลูอิสและแอน ไฟน์สไตน์ เขาเริ่มหลงไหลในการเขียนตั้งแต่อายุได้ 9 ปี จกการที่เขาไปพบเครื่องพิมพ์ดีดในห้องใต้หลังคา ต่อมาเขาก็ตีพิมพ์เรื่องสั้นและบันเทิงคดีแนวตลก[7] เขากล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือการ์ตูนเรื่อง เรื่องเล่าจากหลุมศพ และ สุสานปีศาจ ใน พ.ศ. 2503 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ จากคณะศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ[8] ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอเขาได้เป็นบรรณาธิการนิตยาสารแนวอารมณ์ขันของมหาวิทยาลัยเป็นเวลาสามปี ก่อนที่เขาจะย้ายไปยังนิวยอร์กเพื่อเริ่มต้นเส้นทางนักเขียนในเวลาต่อมา

เส้นทางนักเขียน

สไตน์ใน พ.ศ. 2550 (ซ้าย) แจ็ค แบล็ก (ขวา) นักแสดงหลักในภาพยนตร์คืนอัศจรรย์ขนหัวลุกซึ่งได้รับบทเป็นสไตน์

สไตน์เริ่มเขียนวรรณกรรมแนวขบขันสำหรับเด็กหลายสิบเรื่องในนามปากกา "โจเวียล บ็อบ สไตน์" และยังเป็นเจ้าของนิตยสารแนวตลกขบขันสำหรับวัยรุ่นคือ บานานา ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สโกลาติค เพรส และเขาก็ทำงานเป็นนักเขียนมาเรื่อยๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2529 เขาได้เขียนนวนิยายแนวสยองขวัญเรื่องแรกในชื่อ ไบลน์เดธ[9] และนิยายในประเภทเดียวกันอีกมากอาทิ เดอะเบบีซิทเทอ, ฮิตแอนด์รัน และ เดอะเกิร์ลเฟรนด์ ต่อมาใน พ.ศ. 2532 เขาได้เขียนนวนิยายเรื่อง ถนนอาถรรพ์[10] ก่อนเปิดตัวนวนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่าง ชมรมขนหัวลุก นอกจากนี้เขายังเขียนนวนิยายแนวไซไฟเรื่อง สเปซคาเดท, บอซอซออนพาตอล และใน พ.ศ. 2535 นวนิยายของเขาเรื่องชมรมขนหัวลุก ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการซึ่งถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์พาราชูเต[11]

นวนิยายเรื่อง ชมรมขนหัวลุก ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และออกอากาศใน พ.ศ. 2538-2541[12] ทั้งยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก[13] ซึ่งฉายใน พ.ศ. 2558 และ คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก หุ่นฝังแค้น ซึ่งฉายใน พ.ศ. 2561 ซึ่งผู้ที่แสดงเป็นตัวเขาในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องคือแจ็ก แบล็ก[14] ส่วนเขาเป็นนักแสดงรับเชิญในฐานะอาจารย์ชื่อ มิสเตอร์แบล็ค ในคืนอัศจรรย์ขนหัวลุก และได้รับบทเป็น อาจารย์แฮร์ริสัน ในคืนอัศจรรย์ขนหัวลุก หุ่นฝังแค้น นอกจากนี้นวนิยายของเขาเรื่อง ชั่วโมงไล่ล่า ยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ดีวีดีเรื่อง ชั่วโมงไล่ล่า แผ่นที่หนึ่ง : อย่าคิดมาก ผลิตและวางจำหน่ายโดยยูนิเวอร์แซลเอนเตอร์เทนเมนท์ ใน พ.ศ. 2550[15]

ใน พ.ศ. 2562 เขาได้พากย์เป็น "บ็อบ แบ็กซ์เตอร์" ซึ่งเป็นตัวละครหนึ่งในภาพยนตร์ชุดเรื่อง อาเธอร์ ในตอน Fright Night ซึ่งออกอากาศในซีซันที่ 23 ซึ่งเขาแสดงตัวตนของเขาออกมาในฐานะนักเขียนนวนิยายสยองขวัญจากภาพยนตร์ชุดเรื่องดังกล่าว[16]

รางวัลและเกียรติยศ

ตามการจัดอันดับ 40 ผู้ที่ให้ความบันเทิงที่มีรายได้มากที่สุดในโลกใน พ.ศ. 2539 - 2540 โดยนิตยสารฟอบส์ เขาอยู่ในอันดับที่ 36 ด้วยรายได้สุทธิ 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (หรือราว 1,363 ล้านบาทไทย) และผลงานของเขายังสามารถขายได้ถึงสี่ร้อยล้านเล่มใน พ.ศ. 2551[17] และในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ยกย่องให้เขาเป็นนักเขียนที่หนังสือขายดีเป็นอันดับต้นในสหรัฐ[18]

เขายังได้รับรางวัลในฐานะนักเขียนเป็นจำนวนมาก อาทิ แชมป์เปียนออฟรีดดิงอวอร์ดส์ จากห้องสมุดสาธารณะฟิลาเดเฟีย เมื่อ พ.ศ. 2545, รางวัลดิสนีย์แอดเวนเจอร์คิดส์ชอยส์อวอรดส์จากดิสนีย์ สาขาหนังสือสยองขวัญยอดเยี่ยม (ได้รับรางวัลนี้ถึงสามครั้ง), นิเกลโลดิออนคิดส์ชอยส์อวอร์ด (ได้รับรางวัลนี้ถึงสามครั้ง)[18], รางวัลนักเขียนแนวทริลเลอร์แห่งอเมริกา ใน พ.ศ. 2550, รางวัลไลฟ์ไทม์อาร์ชิฟิเมนอวอร์ด จากสมาคมนักเขยีนสยองขวัญในสหรัฐ ใน พ.ศ. 2557[19] และรางวัลอิงค์พอร์ตอวร์ดส์ ใน พ.ศ. 2560[20] นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2546 กินเนสบุ๊คได้ยกให้เขาเป็นนักเขียนหนังสือแนววรรณกรรมเยาวชนที่ขายดีที่สุดตลอดกาล

ชีวิตส่วนตัว

ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2512 เขาสมรสกับเจน เวลด์ฮอน ซึ่งเป็นนักเขียนเช่นเดียวกันกับเขา และต่อมาพวกเขาก็ได้ก่อตั้งสำนักพิมพ์พาราชูเตใน พ.ศ. 2526[21] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันเพียงคนเดียวคือแมทธิว สไตน์ เป็นนักดนตรี[22]

อ้างอิง

  1. "Emily Osment stars in 'R.L. Stine's "The Haunting Hour"". Cape Cod Times. ตุลาคม 26, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 8, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2011.
  2. "R.L. Stine". Ohio Reading Road Trip. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
  3. "The Nightmare Room by R.L. Stine". KidsReads.com. สืบค้นเมื่อ May 11, 2011.
  4. "Stine, R. L. 1943–". encyclopedia.com.
  5. Gordon, Ken (December 9, 2013). "R.L. Stine still scaring up kids' stories". The Columbus Dispatch. สืบค้นเมื่อ November 22, 2014.
  6. ‘อาร์.แอล. สไตน์’ คุณลุงนักเขียน ผู้มีความสุขที่ได้แกล้งเด็กให้กลัวด้วยเรื่องเขย่าขวัญ
  7. MacPherson, Karen (April 8, 2008). "Venture into R.L. Stine's 'HorrorLand' – if you dare!". Pittsburgh Post-Gazette. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
  8. "2011 Thrillermaster: R.L. Stine". ThrillerFest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 17, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2011.
  9. Rosenberg, Joyce M. (October 27, 1996). "Success gives bookstores Goosebumps". The Albany Herald. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
  10. Meister, Cari (2001). R.L. Stine. ABDO Publishing Company. p. 17. ISBN 1-57765-484-6. สืบค้นเมื่อ May 15, 2011.
  11. "About R.L. – For book and school reports". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2013. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
  12. Gunelius, Susan (2008). Harry Potter: The Story of a Global Business Phenomenon. Palgrave Macmillan. p. 58. ISBN 978-0-230-20323-5.
  13. “โมโนแมกซ์” ชวนจับปีศาจสุดป่วนกลับคืนสู่หนังสือ ในภาพยนตร์ “Goosebumps คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก”
  14. Stine, R. L. (May 20, 2014). ".@mdroush Jack Black plays me in the GB movie, now filming in GA. I'm going down to do a cameo next month". Twitter. สืบค้นเมื่อ May 24, 2014.
  15. "Cartoon Network – it's not ..." The Washington Post. August 31, 2007. สืบค้นเมื่อ November 11, 2012.
  16. Smith, Meghan (October 30, 2020). "'Goosebumps' Author R.L. Stine On Frightening Generations And Voicing A Creepy Character For 'Arthur'". GBH. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
  17. "Venture into R.L. Stine's 'HorrorLand' – if you dare!". post-gazette.com. April 8, 2008. สืบค้นเมื่อ May 14, 2011.
  18. 18.0 18.1 "R.L. Stine". Parachute Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2011. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
  19. "Stine, Jones Win Horror Writers Association's Lifetime Achievement Award". Publishers Weekly. February 25, 2014. สืบค้นเมื่อ March 13, 2014.
  20. Inkpot Award
  21. "Books and entertainment kids choose for themselves". Parachute Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 4, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2011.
  22. "Elisabeth Weinberg, Matthew Stine". The New York Times. July 2, 2010. สืบค้นเมื่อ February 25, 2011.

ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ (เพิ่มเติมเนื้อหา)

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

มีร์ซีโยเซฟเกิดเมื่อวันที่ 24 กรฎาคม พ.ศ. 2500 ที่เขตจิซซัค สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก[1] แต่สื่อบางสำนักให้ข้อมูลว่าเขาเกิดในหมู่บ้านยักต์ตัน ในเขตเลนินบัตออบลาสต์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณประเทศทาจิกิสถาน และยังเป็นที่ถกเถียงกันอีกว่าเดิมเขาคือคนทาจิกิสถาน แต่หลังจากการเสาะหาข้อมูลของสื่อบางสำนักกลับยืนยันว่าหมู่บ้านยักต์ตันนั้นเป็นถิ่นพำนักของปู่ของเขา และเขาเป็นคนอุซุเบกิสถานโดยแท้จริง[2][3][4][5][6][7][8] บิดาของเขาคือมิโรโมน มีร์ซีโยเยฟ ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ และบิดาของเขายังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับอุลุนเบก ยาคูบอฟซึ่งเป็นทหารผ่านศึกของสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนมารดาของเขาคือมาริฟัต มีร์ซีโยเซฟ ประกอบอาชีพเป็นพยาบาลและมารดาของเขาเสียชีวิตจากวัณโรคตั้งแต่เขาอายุยังน้อย หลังจากการตายของมารดาของเขา บิดาของเขาก็ได้สมรสใหม่กับหญิงจากตาตาร์สถาน[7][8]

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สถาบันชลประทานและการเยียวยาแห่งทาชเคนต์ เมื่อ พ.ศ. 2524[9] หลังจากนั้นเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1980 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2533 เขาได้รับเลือกให้เป็นรองประธานสภาของสภานิติบัญญัติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ก่อนที่อุซเบกิสถานจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

เส้นทางการเมือง

เขาเริ่มดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเขตจิซซัคตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2544 จากนั้นเขาย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเขตซาร์มาคันต์ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนกระทั่งเขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2546 จากการเสนอชื่อโดยอดีตประธานาธิบดีอิสลาม คารีมอฟเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้รับการอนุมัติจากมติของรัฐสภาอุซเบก หลังจากนั้นเขาจึงมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนที่อุตกีร์ ซุลโตนอฟ และเออร์กัต โซชิมาตอฟดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

อ้างอิง

  1. "Shavkat Mirziyoyev | Biography, Uzbekistan, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-31.
  2. "Выходец из таджикского кишлака? На малой родине отца Шавката Мирзиёева". ИА «Фергана.Ру». สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  3. "Выходец из таджикского кишлака. На малой родине Шавката Мирзияева". TajInfo (источник AsiaPlus). สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  4. "Таджикские родственники Мирзиёева рассказали о его крестьянских корнях". Фонд «Диалог Цивилизаций». 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  5. "Таджикские родственники Мирзиёева рассказали о его крестьянских корнях". ASIA-Plus. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  6. "Ўзбекистон-Тожикистон: Мирзиёев қариндошлари - Президент жуда банд одам". BBC News O'zbek. BBC O'zbek. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  7. 7.0 7.1 "Тожикистонликлар: Мирзиёев ота-боболари юртини унутмасин". BBC News O'zbek. BBC O'zbek. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  8. 8.0 8.1 "27 йил Каримовнинг соясида юрган Мирзиёев ким?". Озодлик Радиоси. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  9. Гахокидзе, Ольга (2 September 2016). "Организацией похорон Каримова займется его возможный преемник" (ภาษารัสเซีย). Readus. สืบค้นเมื่อ 3 September 2016.

อาลิยา ภัตต์

อาลียา ภัตต์
เกิด15 มีนาคม พ.ศ. 2536 (31 ปี)
พลเมืองอังกฤษ[1]
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2555–present
คู่สมรสลานบีร์ กปูร
บิดามารดามาเฮช ภัตต์ (บิดา)
โซนี รัชดัน (มารดา)

อาลียา ภัตต์ (อังกฤษ: Aila Bhatt, 15 มีนาคม พ.ศ. 2536 -) เป็นนักแสดงหญิงชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย[1][2] เธอมีชื่อเสียงจากผลงานภาพยนตร์ภาษาฮินดีเป็นจำนวนมาก เธอได้รับรางวัลและได้รับการยกย่องเป็นจำนวนมาก[3] อาทิ รางวัลฟิล์มแฟร์อวอร์ดส์สี่รางวัล ทั้งนี้ เธอยังถูกจัดอันดับให้เป็นนักแสดงหญิงที่มีรายได้สูงสุดของประเทศอินเดีย และยังปรากฎชื่ออยู่ 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของนิตยสารฟอบส์แห่งประเทศอินเดียตั้งแต่ พ.ศ. 2557

เธอเกิดในตระกูลภัตต์ เป็นธิดาของมาเฮช ภัตต์ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และโซนี รัชดันนักแสดงหญิง เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่ยังเด็กจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง Sangharsh ใน พ.ศ. 2542 ต่อมาเธอได้แสดงภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่อง Student of the Year ใน พ.ศ. 2555 ต่อมาใน พ.ศ. 2557 เธอแสดงภาพยนตร์เรื่อง Highway ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลฟิล์มแฟร์อวอร์ดส์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นอกจากนี้เธอยังแสดงนำในภาพยนตร์หลายเรื่องด้วยกัน อาทิ States (พ.ศ. 2557) , Humpty Sharma Ki Dulhania (พ.ศ. 2557) และ Badrinath Ki Dulhania (พ.ศ. 2560) และละครเรื่อง Dear Zindagi (พ.ศ. 2559)

เธอได้รับรางวัลฟิล์มแฟร์อวอร์ดส์อีกสามรางวัล จาภภาพยนตร์แนวอาชญากรรมเรื่อง Udta Punjab (พ.ศ. 2559) Raazi (พ.ศ. 2561) และละครเรื่อง Gully Boy (พ.ศ. 2562) และต่อมาเธอได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากภาพยนตร์เรื่อง Gangubai Kathiawadi: หญิงแกร่งแห่งมุมไบ ใน พ.ศ. 2565 ซึ่งเธอได้รับบทเป็นคังคุพาอี กาฐิยาวาฑี[4]

นอกจากผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครแล้ว เธอยังได้เปิดตัวธุรกิจเสื้อผ้าและกระเป๋าถือในแบรนด์ของเธอเอง และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโครงการทางนิเวศวิทยา "โกเอ็กซ์ซิตซ์"[5] นอกจากนี้เธอยังร้องเพลงประกอบภาพยนตร์มาแล้ว 7 เพลง[6] ด้านชีวิตส่วนตัวเธอสมรสกับลานบีร์ กปูรซึ่งเป็นนักแสดงชาวอินเดียเช่นกัน[7][8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Singh, Prashant (3 April 2014). "Alia Bhatt can't vote in 2014, encourages youth to cast their votes". Hindustan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.
  2. Sharma, Muskan (29 April 2019). "Akshay, Alia, Jacqueline: Bollywood's 'Foreign' Voters". TheQuint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 March 2021.
  3. Parikh, Urvi (24 September 2013). "Karan Johar's 'students' Sidharth Malhotra, Alia Bhatt and Varun Dhawan perform at Hong Kong". MSN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2014. สืบค้นเมื่อ 18 October 2013.
  4. ประวัติ อาเลีย บาตต์ (Alia Bhatt) นางเอกคังคุไบ Gangubai Kathiawadi
  5. "Alia Bhatt champions the welfare of street cats and dogs". The Times of India. 25 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
  6. "Alia Bhatt to sing 'Samjhawan Unplugged' for Humpty Sharma Ki Dulhania". The Indian Express. 28 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  7. "Ranbir Kapoor, Alia Bhatt Wedding Live Updates: Akash And Shloka Ambani, Kareena And Saif, Navya Naveli And Nandas At Wedding". NDTV. 14 April 2022. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.
  8. "Ranbir Kapoor-Alia Bhatt Wedding LIVE Updates: Alia and Ranbir are officially married; take pheras in the presence of family, friends". The Times of India. 14 April 2022. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สามชั้น
วันสถาปนา28 เมษายน พ.ศ. 2361
ประเทศสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ผู้สมควรได้รับชาวอังกฤษและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งในราชการแห่งสหราชอาณาจักรรวมถึงเครือจักรภพ
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
ประธานสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ลำดับเกียรติ
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิอินเดีย
เสมอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งอินเดีย
หมายเหตุ
แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ (อังกฤษ: The Most Distinguished Order of Saint Michael and Saint George) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสหราชอาณาจักร สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2361 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร[1][2] ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่อัครทูตสวรรค์มีคาเอลและนักบุญจอร์จ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เดิมถูกสร้างมาเพื่อมอบให้กับเจ้าหน้าที่ทางการทหารในสงครามนโปเลียนและส่วนมากสมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์นี้มักเป็นบุรุษ[2] แต่ปัจจุบันเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถจะพระราชทานให้กับบุรุษและสตรีทั้งชาวอังกฤษและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งในราชการแห่งสหราชอาณาจักรรวมถึงเครือจักรภพ[2]

ประวัติ

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ซึ่งขณะนั้นกำลังเป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เพื่อรำลึกถึงเหล่าอารักขาในหมู่เกาะไอโอเนียนซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกบรรจุลงในรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2360 โดยพระราชทานให้แก่ชนพื้นเมืองและเจ้าหน้าที่ในหมู่เกาะไอโอเนียนและเกาะมอลตา รวมถึงเจ้าหน้าที่ทาการทหารในสงครามนโปเลียน[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2404 หมู่เกาะไอโอเนียนตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศกรีซ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จึงพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถ และสำหรับผู้กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อองค์พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถ รวมถึงชาวต่างประเทศ ซึ่งผู้ว่าราชการเมืองในสหราชอาณาจักรคือสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ และโดยส่วนมากสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มักเป็นบุรุษ

ต่อมาใน พ.ศ. 2508 มีการแก้กฎหมายให้มีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่สตรีเป็นครั้งแรก[4] โดยพระราชทานให้แก่อีฟลิน บาร์ค ในชั้นตริตาภรณ์เมื่อ พ.ศ. 2510[5]

ลำดับชั้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นสามชั้น ดังตารางต่อไปนี้

ลำดับชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ[1][2]
ชั้น ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายหน้า) ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายใน) ชั้นตริตาภรณ์ (ฝ่ายหน้า) ชั้นตริตาภรณ์ (ฝ่ายใน) ชั้นสมาชิก
ตำแหน่ง Sir Dame Sir Dame
ชื่อย่อ GCMG KCMG DCMG CMG
ลักษณะ

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์

ชาวไทย

ชาวต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Duckers, Peter (2009) [2004]. British Orders and Decorations. Oxford: Shire Publications. pp. 26–27. ISBN 978-0-7478-0580-9. OCLC 55587484.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 The Royal Household (2009). "Order of St. Michael and St. George". The Official Website of the British Monarchy. London: Crown Copyright. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2009. สืบค้นเมื่อ 25 April 2016.
  3. Townsend, Francis (1828). Calendar of Knights. William Pickering. p. 206.
  4. "Knights/Knighthoods genealogy project". geni_family_tree. สืบค้นเมื่อ 30 June 2017.
  5. Evelyn Bark, article in The Independent
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๐, ๔ ธันวาคม ๒๔๘๒
  7. 7.0 7.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Honorary Knighthoods Awarded 1997-2006". data.parliament.uk. 2009. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.

คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก (en:Goosebumps (film))

บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน/กรุ 3
กำกับร็อบ เร็ทเทอร์แมน
บทภาพยนตร์ดาเรน เล็มเค
เนื้อเรื่องสก็อตต์ อเล็กซานเดอร์และแร์รี่ คาเลเซฟสกี
สร้างจากชมรมขนหัวลุก
โดย อาร์. แอล. สไตน์
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพจาเวียร์ อากูเลซรอฟ
ตัดต่อจิม เมย์
ดนตรีประกอบแดนนี เอลฟ์มัน
บริษัทผู้สร้าง
วันฉาย24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (รอบปฐมทัศน์)
ความยาว103 นาที[2]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาen
ทุนสร้าง58–84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4]
ทำเงิน158.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]

คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก (อังกฤษ: Goosebumps) เป็นภาพยนตร์ตลกสยองขวัญสัญชาติอเมริกัน เค้าโครงเรื่องมาจากนวนิยาย ชมรมขนหัวลุก ซึ่งเป็นผลงานของอาร์. แอล. สไตน์ ภาพยนตร์นี้ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2558 นำแสดงโดยแจ็ก แบล็ก ซึ่งรับบทเป็นสไตน์ และนักแสดงวัยรุ่นได้แก่ดีแลน มินเนตต์ โอดีอา รุช และไรอัน ลี

การสร้างภาพยนตร์จากวรรกรรมเรื่อง ชมรมขนหัวลุก เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2541 แต่มีอันต้องล้มเลิกไปเนื่องจากปัญหาด้านการเขียนบทภาพยนตร์ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2551 โคลัมเบียพิคเจอร์ส ได้ซื้อลิขสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์จากวรรณกรรมเรื่องดังกล่าว และเริ่มถ่ายทำอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และถูกฉายเป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและได้รับการยกย่องในเชิงบวกจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ในเรื่องของความตลกขบขันและการอิงเค้าโครงจากนวนิยายเรื่องชมรมขนหัวลุกได้อย่างดี โดยสามารถทำรายได้ถึง 158 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากงบสร้างหนังเพียง 84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

หลังจากนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาคต่อในเรื่อง คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก หุ่นฝังแค้น ซึ่งออกฉายใน พ.ศ. 2561

เรื่องย่อ

แจ็ก แบล็ก และเหล่านักแสดง ในงาน ซานดิเอโกคอมมิคคอนอินเตอร์เนชันแนล เมื่อ พ.ศ. 2557

แซ็ค คูปเปอร์ (ดีแลน มินเน็ตต์) ได้ตามมารดาย้ายมาอยู่เมืองเมดิสันหลังจากที่บิดาเสียชีวิต มารดาของแซ็คมาเป็นครูประจำโรงเรียนมัธยาเมืองเมดิสัน โดยพวกเขาได้ย้ายไปอาศัยอยู่บ้านที่ใกล้กับอาร์. แอล. สไตน์ (แจ็ก แบล็ก) อยู่มาวันหนึ่งแซ็กได้พบกับแฮนนาห์ สไตน์ (โอดิอา รุช) ซึ่งอยู่บ้านใกล้ๆ กัน ทั้งคู่จึงรู้สึกถูกชะตากัน แต่ทว่าถูกขัดขวางจากสไตน์ซึ่งเป็นบิดาของแฮนนาห์ แซ็กมีเพื่อนสนิทที่โรงเรียนมัธยมเมดิสันคือแชมป์ (ไรอัน ลี)

คืนหนึ่งแฮนนาห์ชวนแซ็คไปเที่ยวข้างนอก และเมื่อกลับมาที่บ้าน สไตน์ได้ไล่แซ็กออกไปและให้เลิกยุ่งกับแฮนนาห์ และด้วยเหตุนี้ทำให้สไตน์และแฮนนาห์ทะเลาะกันในที่สุด

อยู่มาวันหนึ่งแซ็คและแชมป์ได้ไปที่บ้านของสไตน์ เนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัยของแฮนนาห์ซึ่งทะเลาะกับสไตน์อยู่เป็นประจำ ทั้งสองคนเดินขึ้นไปบนบ้านของสไตน์ และได้ไปพบกับห้องเก็บหนังสือนิยาย และทั้งคู่ได้พบกับแฮนนาห์ ทว่าแซ็คเผลอไปแกะหนังสือนิยายต้นฉบับของสไตน์ออก ทำให้ปีศาจหมีขั้วน้ำแข็งหลุดออกมาจากหนังสือ และได้พยายามเข้าทำร้ายพวกเขา และได้หนีออกไป แฮนนาห์จึงไปตามปีศาจหมีขั้วน้ำแข็งนั้นถึงลานสเก็ตน้ำแข็ง เมื่อทั้งสามคนไปถึง ก็ได้พบกับปีศาจหมีขั้วน้ำแข็งตัวดังกล่าว แฮนนาห์พยายามจะเปิดหนังสือเพื่อเอามันกลับไป แต่ปีศาจขั้วน้ำแข็งได้สะบัดหนังสือหลุดจากมือแฮนนาห์และได้เข้าทำร้ายพวกเขา แต่โชคดีที่สไตน์มาช่วยไว้ได้ สไตน์จึงให้ทั้งสามคนขึ้นรถไปกับเขา หลังจากนั้นแซ็คและแชมป์จึงรู้ทันทีว่าพ่อของแฮนนาห์คือสไตน์

เมื่อมาถึงบ้าน สไตน์ได้สั่งให้แฮนนาห์ขนของเพื่อย้ายบ้าน แต่เมื่อไปที่ห้องเก็บหนังสือนิยาย ก็ได้พบกับ สแล็ปปี เดอะ ดัมมี ปีศาจหุ่นเชิดบ้าอำนาจนั่งอยู่บนโซฟา สไตน์พยายามหลอกล่อเพื่อเกลี้ยกล่อมให้สแล็ปปีกลับเข้าไปในหนังสือ แต่สไตน์เผลอไปเรียกสแล็ปปีว่า "เป็นหุ่นเชิดที่ฉลาดยิ่ง" เป็นเหตุให้สแล็ปปีโกรธมาก สแล็ปปีจึงจัดการเผาหนังสือนิยายต้นฉบับทิ้งเพื่อไม่ให้ตัวเองกลับเข้าไปได้อีก จากนั้นสแล็ปปีได้ขนหนังสือนิยายต้นฉบับออกไปทั้งหมด และหนีไปพร้อมกับรถผีสิง ก่อนหนีไปสแล็ปปีได้ปลดปล่อยปีศาจตุ๊กตาคนแคระที่อันตรายออกมา

ในขณะที่สไตน์และเด็กๆ ทั้งสามคนกำลังจะออกไปบ้านเพื่อตามไปกำจัดสแล็ปปี พวกเขาได้พบกับฝูงปีศาจตุ๊กตาคนแคระ จากนั้นฝูงปีศาจตุ๊กตาคนแคระได้กรูทำร้ายพวกเขาทั้งสี่คน และพยายามจะฆ่าสไตน์ จนแซ็คได้จัดการทุบพวกปีศาจตุ๊กตาคนแคระทั้งหมด และปลดเชือกที่พวกมันจับมัดสไตน์เพื่อจะลากเข้าไปในเตาเผา ทว่าฝูงปีศาจตุ๊กตาคนแคระมันกลับฟื้นขึ้นมาได้ ทั้งสี่คนจึงหนีออกไปทางประตูห้องใต้ดินและรอดตายอย่างหวุดหวิด จากนั้นพวกเขาจึงเริ่มปฏิบัติการปราบสแล็ปปีทันที

ตัดภาพไปที่สแล็ปปี ระหว่างผ่านสถานที่ต่างๆ สแล็ปปีได้ปล่อยปีศาจต่างๆ เพื่อออกมาก่อความวุ่นวายในเมืองเมดิสัน ซ้ำร้ายยังปล่อยปีศาจหม้อข้าวหม้อแกงลิงทำลายเสาสัญญาณโทรศัพท์ทำให้สัญญาณโทรศัพท์หาย และในสถานีตำรวจเมืองเมิดสัน บรูค (อแมนดา ลัน) และสตีเฟน (ตีโมตี ซีมอน) ได้พบกับสแล็ปปีนอนอยู่หน้าสถานีตำรวจ สตีเฟนเผลอไปเรียกสแล็ปปีว่าหุ่นเชิด สแล็ปปีไม่พอใจ จึงสั่งให้ปีศาจเอเลียนยิงปืนแช่แข็งใส่บรูคและสตีเฟนโดยทันที และทางฝั่งของลอว์เรน น้าของแซ็คก็ถูกปีศาจสุนัขพยายามรุมขย้ำ

สไตน์และเด็กๆ ขับรถเข้ามาในเมืองเมดิสันก็ได้พบกับสภาพความเสียหายที่เกิดจากฝีมือของสแล็ปปี แซ็คแนะนำให้สไตน์เขียนนิยายขึ้นมาใหม่ แต่สไตน์บอกว่าการที่จะเขียนนิยายขึ้นมาใหม่นั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะต้องใช้เค้าโครงเรื่องของนวนิยาย ชมรมขนหัวลุก จริงๆ แซ็คชวนสไตน์ไปที่ร้านคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์มันขึ้นมา แต่สไตน์บอกว่ามันไม่สามารถทำได้ ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีตสมิธ โคโลนา ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ดีดประจำตัวของเขา จึงจะสามารถนำพวกปีศาจและสัตว์ประหลาดกลับเข้าไปได้ พวกเขาทั้งหมดจึงพากันไปที่โรงเรียนมัธยมเมืองเมดิสันในที่สุด แต่ระหว่างทางพวกเขาต้องพบกับปีศาจมนุษย์ล่องหนและปีศาจตั๊กแตนยักษ์ ทำให้พวกเขาพากันหนีตายอย่างหวุดหวิด และไปซ่อนตัวกันที่ห้างสรรพสินค้า แต่ในห้างสรรพสินค้าพวกเขาก็ต้องไปพบกับปีศาจสุนัขป่าอีก พวกปีศาจสุนัขป่าพยายามไล่ทำร้ายพวกเขา จนกระทั่งพวกเขาสามารถหนีออกมาได้ แต่ปีศาจสุนัขป่ายังตามพวกเขามา แต่สุดท้ายก็ถูกรถของลอว์เรน (จิลเลียน เบลล์) ขับชนจนไปติดในถังขยะ ลอว์เรนพบกับสไตน์ ทั้งคู่ได้ตกหลุมรักกัน แซ็คได้ขอให้ลอง์เรนไปที่สถานีตำรวจเพื่อขอให้ตำรวจตามไปที่โรงเรียนมัธยม

จากนั้นพวกเขาก็เดินทางลัดเข้าไปในป่าช้าหลังโรงเรียนมัธยม ระหว่างทางนั้นแซ็คเห็นแสงแวบวาบในตัวของแฮนนาห์ จึงรู้ทันทีว่าแฮนนาห์ไม่ใช่มนุษย์ แต่ระหว่างที่แซ็คตกตะลึงนั้นก็เจอกับฝูงซอมบี้พยายามไล่ขย้ำพวกเขา พวกเขาสามารถหลบหนีไปได้ และสไตน์ก็ไปพบกับเครื่องพิมพ์ดีดของเขาที่โรงเรียนมัธยมเมืองเมดิสัน เขาจึงหามุมสงบในโรงเรียนเพื่อเขียนนิยายขึ้นมาใหม่ทันที

จากนั้นแซ็คจึงไปเตือนพวกเพื่อนๆ ในงานเต้นรำว่าตอนนี้มีฝูงปีศาจและสัตว์ประหลาดพยายามเข้ามาในโรงเรียน แต่ไม่มีใครเชื่อจนกระทั่งมีเด็กคนหนึ่งถูกปีศาจตั๊กแตนยักษ์ลากตัวออกไป พวกเขาจึงเชื่อ และพากันนำสิ่งของต่างๆ กีดขวางตามหน้าต่างและประตูไม่ให้ฝูงปีศาจเข้ามาได้ แต่พยายามเพียงเท่าไหร่ก็ไม่สามารถขวางพวกมันได้ สไตน์ได้จัดการเผานิยายต้นฉบับที่ขนมาเพื่อไม่ให้ปีศาจตัวใดกลับไปได้อีก

ในขณะที่สไตน์กำลังเขียนนิยายเรื่องใหม่และกำลังจะจบเรื่อง ก็ได้พบกับสแล็ปปี และสแล็ปปีก็เหยียบฝาเครื่องพิมพ์ดีดจนทำให้นิ้วของสไตน์หักในที่สุด จากนั้นสแล็ปปีจึงหนีไป เมื่อฝูงปีศาจกรูเข้ามาในโรงเรียนแล้ว สไตน์ตัดสินใจใช้ตัวเองเป็นเหยื่อล่อเพื่อให้คนในโรงเรียนปลอดภัย เขาจึงนำรถโรงเรียนติดกับระเบิดขับออกไป และทำให้พวกปีศาจตามสไตน์ไป แต่เมื่อเปิดรถออกมาพบว่าเป็นระเบิด ทำให้พวกปีศาจโดนระเบิดไป ทว่าพวกนั้นฟื้นขึ้นมาได้ สแล็ปปีได้สั่งพวกปีศาจให้ตามสไตน์ซึ่งหนีไปที่สวนสนุกร้าง จากนั้นสแล็ปปีก็ได้ปลดปล่อยปีศาจวุ้นเหนียวสีแดงในที่สุด สไตน์จึงขอให้แซ็คจัดการพิมพ์นิยายให้จบ แซ็ค แฮนนาห์ และแชมป์จึงไปซ่อนตัวอยู่ที่ชิงช้าสวรรค์ ส่วนสไตน์เป็นเหยื่อล่อติดอยู่กับเมือกแดง หลังจากแซ็คเขียนนิยายเสร็จ ปีศาจตั๊กแตนยักษ์ได้กรูเข้าไปพังชิงช้าสวรรค์ พวกเขาจึงหลุดไปในป่าลึกและได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แซ็คเห็นว่าถ้าเปิดหนังสือขึ้นมา แฮนนาห์จะถูกดูดไปด้วย แฮนนาห์จึงขอร้องให้แซ็คเปิดและยอมรับชะตากรรมตัวเองที่จะต้องอยู่ในหนังสือต่อไป แฮนนาห์ได้แย่งหนังสือมาจากแซ็คและเปิดออกมา แฮนนาห์ได้จูบแซ็คเป็นการอำลาครั้งสุดท้ายก่อนจะถูกดูดไปพร้อมกับปีศาจตัวอื่นๆ

ต่อมาสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ แซ็คและสไตน์ได้เป็นเพื่อนกัน สไตน์สมัครมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเมืองเมดิสันและได้คบกับลอว์เรน สไตน์ได้เขียนนิยายเรื่องใหม่เพื่อกำหนดให้แฮนนาห์มีตัวตนจริงและมีชีวิตจริง จากนั้นสไตน์จึงเผาต้นฉบับที่เขียนเกี่ยวกับแฮนนาห์ทิ้งเพื่อให้แฮนนาห์กำหนดชีวิตได้ด้วยตัวเอง

นักแสดง

สำหรับอาร์. แอล. สไตน์ ในภาพยนตร์เขาได้รับบทเป็น "แบล็ก" ครูสอนการแสดงของโรงเรียนมัธยมเมืองเมดิสัน[12]

การวางจำหน่าย

การฉายรอบปฐมทัศน์

คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก ฉายในรอบปฐมทัศน์ทั่วโลกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และสำหรับงานเทศกาลภาพยนตร์ซินียุโรปที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน แบล็คได้นำเสนอภาพยนตร์เรื่องนี้บนเวทีในงานด้วยตนเอง[13]

โฮมมีเดีย

คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก วางจำหน่ายในรูปแบบแผ่นบลูเรย์ (ทั้งแบบสองมิติและสามมิติ) รวมถึงรูปแบบดีวีดี ใน พ.ศ. 2559 ซึ่งมีการเผยแพร่ฉากที่ถูกตัดไป เบื้องหลังการถ่ายทำ บทสัมภาษณ์ของนักแสดง และสารคดีเกี่ยวกับสแลปปี เดอะ ดัมมีอีกด้วย

การตอบรับ

แจ็ก แบล็กและร็อบ เบ็ทเทอร์แมนซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้

คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก สามารถทำรายได้ถึง 80.1 ดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐและทวีปอเมริกาเหนือ ปละทำรายได้จากพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกถึง 70.1 ดอลลาร์สหรัฐ รวมแล้วสามารถทำรายได้สูงถึง 150.2 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือราวๆ 533.9 ล้านบาทไทย) ซึ่งมากกว่างบทุนสร้างภาพยนตร์ 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราวๆ 20.6 ล้านบาท)[3][4]

ในสหรัฐและประเทศแคนาดา การติดตามและการรายงานก่อนการเปิดตัวภาพยนตร์เรื่องนี้คาดการณ์ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำรายได้อยู่ที่ 20-31 ล้านเหรียญสหรัฐจากโรงภาพยนตร์ 3,501 โรง อย่างไรก็ตามทางโซนี่พิคเจอร์สเอ็นเตอร์เทนเมนต์คาดการร์ว่าอาจทำรายได้ระหว่าง 12-15 ล้านเหรียญสหรัฐ[14][15][16] ในช่วงสุดสัปดาห์ที่เปิดตัวภาพยนตร์เรื่องนี้ สามารถทำรายได้ถึง 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นภาพยนตร์เรื่องที่สี่ของโซนี่พิคเจอร์สเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่ทำรายได้มากที่สุด[17][18]

สำหรับนอกทวีปอเมริกาเหนือ คืนอัศจรรย์ขนหัวลุกปล่อยฉายใน 66 ประเทศทั่วโลก[19] และประเทศเม็กซิโก เป็นประเทศที่ทำรายได้ได้มากที่สุดสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยรายได้ถึง 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือประเทศออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Rechtshaffen, Michael (October 5, 2015). "'Goosebumps': Film Review". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ May 19, 2018.
  2. "GOOSEBUMPS [2D] (PG)". British Board of Film Classification. September 28, 2015. สืบค้นเมื่อ September 28, 2015.
  3. 3.0 3.1 FilmL.A. (June 15, 2016). "2015 Feature Film Study" (PDF). สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Goosebumps (2015)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 30, 2019.
  5. Pamela McClintock (October 13, 2015). "Box-Office Preview: 'Goosebumps' Could Out-Spook 'Crimson Peak,' 'Bridge of Spies'". The Hollywood Reporter. (Prometheus Global Media). สืบค้นเมื่อ October 14, 2015.
  6. "Goosebumps Feature Film, Starring Jack Black, Starts Principal Photography". ComingSoon.net. April 23, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  7. Foutch, Haleigh (July 26, 2014). "Comic-Con: Director Rob Letterman Talks GOOSEBUMPS, Casting Jack Black as R.L. Stine, Choosing which Monsters to Include, and More". Collider. สืบค้นเมื่อ November 8, 2014.
  8. Sneider, Jeff (February 13, 2014). "'The Giver' Actress Odeya Rush to Join Jack Black in Sony's 'Goosebumps' Movie (Exclusive)". TheWrap. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  9. Cruz, Lisa (October 21, 2015). "The Scariest Thing About the Goosebumps Movie". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ January 21, 2016.
  10. Kroll, Justin (February 14, 2014). "Dylan Minnette to Co-Star With Jack Black in 'Goosebumps'". Variety. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  11. Kroll, Justin (April 23, 2014). "'Super 8′ Actor Joins Sony's 'Goosebumps'". Variety. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  12. Stine, R. L. (May 20, 2014). ".@mdroush Jack Black plays me in the GB movie, now filming in GA. I'm going down to do a cameo next month". Twitter. สืบค้นเมื่อ May 24, 2014.
  13. Ritman, Alex (June 24, 2015). "CineEurope: Sony Unveils New 'Spectre' Footage, Joseph Gordon-Levitt Walks 'The Walk'". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ June 29, 2015.
  14. Anthony D'Alessandro (October 14, 2015). "'Goosebumps' Set To Freak Out, But 'The Martian' Could Scare It Away – Box Office Preview". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ October 15, 2015.
  15. Brad Brevet (October 15, 2015). "Forecast: 'Goosebumps', 'Spies' & 'Crimson Peak' Jostle for Audience Attention". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 16, 2015.
  16. Rebecca Ford (October 16, 2015). "Box Office: 'Crimson Peak' Creeps to $855K, 'Goosebumps' Raises $600K Thursday Night". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 16, 2015.
  17. Anthony D'Alessandro (October 16, 2015). "'Crimson Peak', 'Goosebumps' Raise Hairs On Thursday Night – Box Office". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ October 16, 2015.
  18. Scott Mendelson (October 17, 2015). "Friday Box Office: 'Goosebumps' Tops With Scary Good $7.4M, 'Crimson Peak' Nabs Scary Bad $5.2M". Forbes. สืบค้นเมื่อ October 18, 2015.
  19. Nancy Tartaglione (October 18, 2015). "'Ant-Man' Supersizes With $43.2M China Bow; 'Crimson Peak' Reaps $13.4M – International Box Office". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ October 19, 2015.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเดียว
วันสถาปนาพ.ศ. 2236
ประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก
ผู้สมควรได้รับพระบรมวงศานุวงศ์และประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่มีความสัมพันธไมตรีต่อประเทศเดนมาร์ก
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
ประธานสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
สถิติการมอบ
รายแรกสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
รายล่าสุดเจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร
หมายเหตุ
แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง (เดนมาร์ก: Elefantordenen) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศเดนมาร์ก และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่สร้างสเร็จอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2236 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก[1] และบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศใน พ.ศ. 2392 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะพระราชทานให้สหรับพระบรมวงศานุวงศ์และประมุขรัฐของต่างประเทศเท่านั้น[2]

ประวัติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เริ่มสร้างตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยมีความเชื่อมาจากพระแม่มารีอุ้มพระโอรสของพระนางไว้ภายในพระจันทร์เสี้ยว และล้อมรอบด้วยแสงอาทิตย์ และถูกห้อยจากคอเสื้อเป็นรูปช้างจึงเป็นที่มาของสายสร้อยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แม้จะมีการปฏิรูปประเทศไปแล้วใน พ.ศ. 2079 แต่ก็ยังคงมีการพระราชทานต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์ก จนกระทั่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกปรับปรุงใหม่ในแบบปัจจุบันในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2236 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2392 เดิมเครื่องราชอิสริยาภรณ์ี้จำกัดไว้เฉพาะพระมหากษัตริย์และพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ รวมถึงบุรุษ แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2501 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สามารถพระราชทานให้แก่สตรีได้

ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • สายสร้อย : ทำด้วยทองคำ ประกอบด้วยรูปช้างและหอคอยสลับกันไปมา บนตัวรูปช้างมีตัวอักษร "D" ซึ่งย่อมาจาก "Dania" มักจะสวมในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือพิธีการสคัญของประเทศ
  • ดวงตรา : เป็นรูปช้างที่ทำด้วยทองคำขาว ตัวเรือนสีฟ้า มีความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ด้านหลังรูปช้างซ้อนด้วยรูปหอนาฬิกาที่ทำด้วยอิฐเคลือบสีชมพู ล้อมรอบด้วยเพชรขนาดเล็กที่ผ่านการเจียระไน และมีรูปควาญช้างสวมชุดหลากสีนั่งอยู่บนหลังช้างและถือไม้เท้าทองคำ โดยดวงตราจะห้อยกับสายสร้อยหรือสายสะพาย[3]
  • ดารา : มีลักษณะเป็นดาวสีเงินแปดแฉก ตรงกลางเป็นพื้นสีแดง ประดับด้วยไม้กางเขนสีขาว โดยประดับอยู่ที่หน้าอกด้านซ้าย
  • "สายสะพาย" : เป็นผ้าไหมมัวร์สีฟ้าอ่อน สำหรับบุรุษกว้าง 10 เซนติเมตร สหรับสตรีกว้าง 6 เซนติเมตร ใช้สะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์

ชาวเดนมาร์ก

ชาวไทย

ชาวต่างประเทศอื่นๆ

อ้างอิง

  1. Rosenborg Slot – Objects[ลิงก์เสีย]
  2. "The Royal Orders of Chivalry". The Danish Monarchy. 14 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
  3. In an article entitled "Has anyone seen our elephant?" The 1 July 2004 issue of the Copenhagen Post reported that the original mold for the elephant badge had been stolen from the court jeweler, Georg Jensen.
  4. 4.0 4.1 4.2 Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก)
  5. Slater, Stephen (2013). The Illustrated Book of Heraldry. Wigston, Leicestershire: Lorenz Books. p. 225. ISBN 978-0-7548-2659-0.
  6. Rick Steves (25 June 2013). Rick Steves' Snapshot Copenhagen & the Best of Denmark. Avalon Travel. pp. 104–. ISBN 978-1-59880-632-8.
  7. Kongehuset

วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์ (en:Vigdís Finnbogadóttir)

บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน/กรุ 3
ฟินปอกาโตว์ตีร์ใน พ.ศ. 2528
ประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2523 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536
นายกรัฐมนตรีกูนน์นา โทดอสเซน
สเต็งรึมัวร์ เฮอร์แมนซัน
ฟอสสเตน ปาลัสซัน
เดวิตัว์ อ็อตซัน
ก่อนหน้ากริสติยาน เอลท์จาน
ถัดไปโอลาฟัวร์ แร็กนา กริมินสัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2473 (94 ปี)
เรคยาวิก, ราชอาณาจักรไอซ์แลนด์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีส
มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์เกรโนเบิล
มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์

วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์ เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2539 เธอเป็นสตรีคนแรกของโลกที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตย[1][2] และเธอเป็นสตรีที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของประเทศยาวนานที่สุดในโลกด้วยระยะเวลาถึง 16 ปี ปัจจุบันเธอเป็นตัวแทนของประเทศไอซ์แลนด์ในฐานะทูตสันถวไมตรีของยูเนสโกและเป็นสมาชิกของคลับออฟมาดริต[3] เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงเพียงคนเดียวของประเทศไอซ์แลนด์นับแต่ได้รับเอกราชจากประเทศเดนมาร์ก

ประวัติ

เธอเกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2473 ที่เรคยาวิก เป็นธิดาของฟินโบกิ รูตเตอร์ โฟวาลซัน วิศวกรและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ และซิกิตัว เอดิสด็อตเตอร์ พยาบาลและผู้บริหารของสมาคมพยาบาลของประเทศไอซ์แลนด์ นอกจากนี้เธอยังมีน้องชายอีกหนึ่งคน[4] เธอเข้าศึกษาด้านวรรณกรรมฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์เกรโนเบิลและมหาวิทยาลัยปารีส ในประเทศฝรั่งเศสระหว่าง พ.ศ. 2492 จนถึง พ.ศ. 2496 จากนั้นเธอศึกษาต่อในด้านประวัติศาสตร์วงการละครเวที มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน จนจบปริญญาตรี และยังได้รับปริญญามหาบัณฑิตจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ ต่อมาเธอสมรสกับแพทย์คนหนึ่งใน พ.ศ. 2497 แต่ได้หย่าร้างในเวลาต่อมา จนกระทั่งเธอรับหญิงคนหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรม เธอจึงเป็นหญิงชาวไอซ์แลนด์คนแรกที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกหมายของประเทศ[5]

เธอคือหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมของการประท้วงต่อต้านและขอให้กองทัพสหรัฐถอนฐานทัพออกจากประเทศไอซ์แลนด์เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และกลุ่มผู้ประท้วงนี้มักจะตะโกนด้วยคำว่า อิสลันด์เออร์เนโทเออร์รินบัด (ไอซ์แลนด์ไม่ใช่เนโท กองทัพสหรัฐจงออกไป)

ชีวิตในวงการละครเวทีและสมาคม

หลังสำเร็จการศึกษา เธอได้เป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสและละครเวทีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยในประเทศและทำงานร่วมกับโรงละครขนาดเล็กหลายครั้ง เธอยังทำงานร่วมกับโรงละครเรคยาวิกตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึง พ.ศ. 2500 และกลับมาทำงานให้อีกครั้งใน พ.ศ. 2504 จนถึง พ.ศ. 2507 ในช่วงฤดูร้อน เธอยังทำงานเป็นมัคคุเทศก์อีกด้วย นอกจากนี้ เธอยังเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสอยู่ที่วิทยาลัยเมนตัตโซคินอีเรคยาวิกและวิทยาลัยเมนตัตโซคินอีฮัมมันฮิอัวร์ นอกจากนี้เธอยังเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์และเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของประเทศอีกด้วย[5]

นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้อำนวยการของโรงละครแห่งเรคยาวิกตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2523 ควบคู่ไปกับเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้วนวัฒนธรรมในแถบนอร์ดิก

ในฐานะประธานาธิบดี

เธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศใน พ.ศ. 2523 ด้วยคะแนนเสียงถึงร้อยละ 33.79 แม้ว่าตแหน่งประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์เป็นแค่ในพิธีการอันเนื่องมาจากปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา แต่เธอมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อประเทศไอซ์แลนด์ในฐานะนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและผลกดันวัฒนธรรมและภาษาไอซ์แลนด์ให้เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก[5] เธอยังเป็นทูตทางวัฒนธรรมของประเทศ และเธอยังเน้นย้ำบทบาทของประเทศในเวทีโลก ซึ่งนำไปสู่การเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดระหว่างโรนัลด์ แรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐ และมิฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2529 เธอมีคติประจำตัวเสมอว่า "อย่าทำให้ผู้หญิงด้วยกันต้องผิดหวัง ผู้หญิงก็สามารถมีบทบาทในเวทีโลกได้ทัดเทียมกับผู้ชาย" และเธอยังส่งเสริมสิทธิการศึกษษให้แก่เด็กหญิงภายในประเทศ เธอจึงเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเป็นผู้นำของสตรี[6]

เธอหมดวาระใน พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งถึง 16 ปี และโอลาฟัวร์ แร็กนา กริมินสัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ต่อจากเธอ[7]

เครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องอิสริยาภรณ์ไอซ์แลนด์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. ""Ég missti þann förunaut sem hefði fylgt mér alla ævi"". RÚV (ภาษาไอซ์แลนด์). 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  2. "Club of Madrid: Vigdís Finnbogadóttir". Club of Madrid. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 July 2010.
  3. "Club of Madrid: Full Members". Club of Madrid. 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  4. ""Ég missti þann förunaut sem hefði fylgt mér alla ævi"". RÚV (ภาษาไอซ์แลนด์). 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  5. 5.0 5.1 5.2 "First female head of state, Vigdís Finnbogadóttir, elected 35 years ago today". Iceland Magazine. 2015-06-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-26.
  6. Torild Skard (2014) 'Vigdís Finnbogadóttir' 'Women of power – half a century of female presidents and prime ministers worldwide. Bristol: Policy Press ISBN 978-1-44731-578-0
  7. Kristinsson, Gunnar Helgi (1996). "The presidential election in Iceland 1996". Electoral Studies. 15 (4): 533–537. doi:10.1016/s0261-3794(96)80470-7. ISSN 0261-3794.
  8. "Icelandic Presidency Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  9. Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก)
  10. State visit, 1994, Photo เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Beatrix, Claus and Icelandese President
  11. Boletín Oficial del Estado
  12. "Queen Iceland". สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.

ฟรานโย ตุดมัน (en:Franjo Tuđman)

ฟรานโย ตุดมัน
ตุดมันใน พ.ศ. 2538
ประธานาธิบดีแห่งโครเอเชียคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าตัวเขาเอง (ในฐานะประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย)
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2465
เวลิโกตราโกวิชเซ, ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
เสียชีวิต10 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (77 ปี)
ซาเกร็บ, ประเทศโครเอเชีย
ที่ไว้ศพสุสานมิโรโกจ, ซาเกร็บ, ประเทศโครเอเชีย
คู่สมรสอันกีซา ตุดมัน
บุตร3 คน
บุพการี
  • สเตฟาน ตุดมัน
  • จัสตินา กมัส
ศิษย์เก่า
วิชาชีพนักการเมือง, นักประวัติศาสตร์, sทหาร
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์tudjman.hr
ชื่อเล่น"ฟรานเซก"
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ยูโกสลาเวีย (2479–2504)
 โครเอเชีย (2538–2542)
สังกัดพลพรรคยูโกสลาเวีย (2479–2485)
กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (2488–2504)
กิองทัพโครเอเชีย (2538–2542)
ประจำการ1942–1961
1995–1999
ยศพลตรี (พลพรรคยูโกสลาเวีย)
จอมพล (กองทัพโครเอเชีย)[1][2]
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามยูโกสลาเวีย
สงครามบอสเนีย

ฟรานโย ตุดมัน (โครเอเชีย: Franjo Tuđman, ภาษาไทยนิยมทับศัพท์เป็น ฟราโน ทูดจ์แมน; 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542) เป็นทหารและนักการเมืองของประเทศโครเอเชียซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของโครเอเชียตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2542 และเขาเป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย เมื่อมีการประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยฝ่ายที่สนับสนุนเขามองว่าเขามีบุญคุณต่อชาวโครแอตในฐานะผู้ประกาศเอกราชจากโครเอเชีย แต่ฝ่ายที่ต่อต้านเขาได้มองว่าเขาเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ

ชีวิตช่วงต้น

เขาเกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลิโกตราโกวิชเซซึ่งอยู่ในภูมิภาคซาโกรเซโครเอเชียซึ่งในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย หลังจากที่เขาเกิดได้ไม่นานครอบครัวของเขาก็ย้ายถิ่นฐานออกไป เขาเป็นบุตรของสเตฟาน ตุดมัน ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคกสิกรแห่งโครเอเชีย[3] และจัสตินา นี เกมัซ เขามีพี่สาว 2 คน คือดานิซา อานา (เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก) อีวีซา และน้องชายอีกหนึ่งคนคือสเตฟาน สเตเจ็ค เมื่อตุดมันอายุได้เจ็ดปี มารดาของเขาได้เสียชีวิตลงขณะกำลังคลอดบุตรคนที่ห้า[4][5] วัยเด็กเขาได้รับอิทธิพลจากผู้เป็นบิดาซึ่งมีแนวคิดที่ต่อต้านศาสนา[3] เขาเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่หมู่บ้านของเขาเองตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ถึง พ.ศ. 2476 ซึ่งตลอดเวลาที่เขาศึกษาอยู่เขามีผลการเรียนที่ดีเยี่ยม[6]

ต่อมาเขาเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาใน พ.ศ. 2477 แต่ต้องหยุดเรียนไปเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และไม่มีเงินมากพอที่จะชำระค่าเทอม[7] แต่เพราะความช่วยเหลือจากทางราชการในตำบลและครูที่ปรึกษาของเขา ทำให้เขาได้ศึกษาต่อ เขาฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นเหตุให้เขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 หลังจากที่เขาเข้าร่วมขบวนของนักศึกษาที่เฉลิมฉลองการปฏิวัติรัสเซีย[8]

เส้นทางการเมือง

เมื่อปี พ.ศ. 2484 โครเอเชียอยู่ภายใต้การปกครองของเสรีรัฐแห่งโครเอเชียซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี เขาจึงเข้าร่วมกับพลพรรคยูโกสลาเวียในช่วงต้นปี พ.ศ. 2485 โดยได้รับการคัดเลือกจากมาร์โก เบลินิซ[8] และบิดาของเขาก็เข้าร่วมด้วย และได้ก่อตั้งสภาต่อต้านฟาสซิสต์แห่งรัฐเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติโครเอเชียขึ้นมา เป็นเหตุให้บิดาของเขา พี่ชายของเขาและตัวเขาถูกจับโดยพวกอุซตาซาซซึ่งเป็นกลุ่มพวกลัทธิฟาสซิสต์ที่ปกครองโครเอเชียในเวลานั้น แต่สามารถรอดชีวิตมาได้ยกเว้นพี่ชายของเขาคนหนึ่งคือสเตฟาน สเตเจ็คที่ถูกพวกเกซตาโปฆาตกรรม[8]

หลังเสร็จสิ้นสงคราม เขาได้รับราชการทหารและได้รับตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมของยูโกสลาเวีย ต่อมาเขาได้รับยศพลตรีก่อนที่เขาจะลาออกไปเป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยซาเกร็บ[9] และเขาได้รับปริญญาเอกจากคณะประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2508 จากมหาวิทยาลัยซาดาร์[10] ต่อมาเขาจึงมาเป็นนักประวัติศาสตร์และเขาต่อต้านระบอบการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชียในเวลานั้น เขาจึงได้เข้าร่วมขบวนการโครเอเชียสปริงซึ่งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ทำให้เขาถูกทางการจับกุมและถูกจำคุกใน พ.ศ. 2515[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นเขาจึงได้อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวและสงบจนกระทั่งิ้สนสุดการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เขาจึงเข้าสู่เส้นทางการเมืองใน พ.ศ. 2532 ด้วยการก่อตั้งพรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย ต่อมาพรรคของเขาได้ชนะการเลือกตั้งในโครเอเชีย เขาจึงเป็นประธานาธิบดีโครเอเชียเป็นคนแรก และได้ประกาศเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียและได้รับเอกราชในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หลังจากการลงประชามติโดยชาวโครเอเชียร้อยละ 93

ในฐานะผู้นำในช่วงเวลาของสงครามยูโกสลาเวีย

หลังจากที่โครเอเชียได้รับเอกราช ชนชาติเซิร์บซึ่งอาศัยอยู่ในโครเอเชียจำนวนมาได้ก่อการกบฎและตั้งประเทศเซอร์เบียครายีนาขึ้นมา ซึ่งเซอร์เบียครายีนาได้รับการสนับสนุนจากกองทัพยูโกสลาเวีย มีการสู้รบกันมาจนกระทั่งมีการลงนามสนธิสัญญาหยุดยิงใน พ.ศ. 2535 ทว่าสงครามกลับยืดเยื้อไปที่ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาซึ่งเป็นพันธมิตรของโครเอเชีย แต่ต่อมาความร่วมมือระหว่างบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากับโครเอเชียได้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อรัฐบาลของเขาหันไปสนับสนุนสาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียระหว่างสงครามโครแอต-บอสนีแอก[11] ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบอสนีแอกโดยทหารโครแอต ต่อมาเฮิร์ตแซก-บอสเนียก็ถูกยุบรวมกับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และใน พ.ศ. 2538 เขาได้ลงนามร่วมกับอาลียา อีเซตเบกอวิชเพื่อยุติสงครามโครแอต-บอสเนียกและทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อดำเนินปฏิบัติการสตรอมซึ่งเป็นการหยุดสงครามในโครเอเชียได้สำเร็จจากการที่สามารถปราบปรามกบฎชาวเซิร์บในโครเอเชีย[12] และเขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2540

ถึงแก่อสัญกรรม

ตุดมันป่วยด้วยโรคมะเร็งตั้งแต่ พ.ศ. 2536 และสุขภาพของเขาได้อ่อนแอลงจนทรุดหนักลงตามลำดับ และได้ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542[13] สิริอายุได้ 77 ปี และมีพิธีศพที่ซาเกร็บและศพของเขาถูกฝังไว้ที่นั่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ODLUKA O OZNAKAMA ČINOVA I DUŽNOSTI U ORUŽANIM SNAGAMA REPUBLIKE HRVATSKE" (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
  2. "Rank Vrhovnik". ZASTUPNIČKI DOM SABORA REPUBLIKE HRVATSKE. สืบค้นเมื่อ 15 April 2017.
  3. 3.0 3.1 Sadkovich 2010, p. 38.
  4. Hudelist 2004, p. 15.
  5. Sadkovich 2010, p. 37.
  6. Hudelist 2004, p. 18.
  7. Hudelist 2004, p. 27.
  8. 8.0 8.1 8.2 Sadkovich 2010, p. 50.
  9. "Tudjman, Franjo". Istrapedia (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  10. Sadkovich 2010, p. 119.
  11. Christia 2012, pp. 157–158.
  12. Tanner 2001, p. 294.
  13. "Croats mourn Croatian president". BBC News. 11 December 1999. His organs did not function properly, he was taken off the life support system he had been attached to since his November surgery. Tudjman died at 23:14 (22:14 GMT) on Friday [10 Dec] at the Dubrava clinic in the capital Zagreb, a government spokesman said. Death of Tudjman, cnn.com; 13 December 1999; accessed 16 May 2015.
  14. 14.0 14.1 14.2 Hrvatska Radiotelevizija, บ.ก. (16 พฤษภาคม 2539). "Odlikovanja predsjednika hrvatske Dr. Franje Tuđmana". สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ (en:Order of St. Olav)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์หกชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2390
ประเทศนอร์เวย์ ประเทศนอร์เวย์
ผู้สมควรได้รับพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์นอร์เวย์ และชาวนอร์เวย์ที่กระทำคุณความดี
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาพระเจ้าออสการ์ที่ 1 แห่งสวีเดน
ประธานสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งนอร์เวย์
หมายเหตุ
แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ (นอร์เวย์: Den Kongelige Norske Sankt Olavs Orden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศนอร์เวย์ ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าออสการ์ที่ 1 แห่งสวีเดน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2390 เพื่อถวายเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 2 แห่งนอร์เวย์[1]

ก่อนที่สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์จะล่มสลายใน พ.ศ. 2448 ได้มีการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตแห่งนอร์เวย์โดยสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน แต่เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟกลายเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเดียวของนอร์เวย์ ซึ่งมอบให้กับผู้ที่กระทำคุณประโยชน์ต่อราชการและประเทศนอร์เวย์รวมถึงผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ แต่ใน พ.ศ. 2528 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เปลี่ยนมามอบให้แก่ชาวนอร์เวย์ พระราชวงศ์นอร์เวย์ ประมุขแห่งรัฐ และราชวงศ์ต่างประเทศเท่านั้น และได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งนอร์เวย์สำหรับมอบให้ชาวต่างชาติทั่วไปแทน

ลักษณะ

  • สายสร้อย : ทำด้วยทองคำ มีอักษรย่อ "O" ที่สวมรูปมงกุฎ 5 อัน สลับกับตราแผ่นดินของนอร์เวย์ 5 อัน และไม้กางเขนอีก 10 อันซึ่งขนาบด้วยขวานสีเงิน
  • ดวงตรา : เป็นไม้กางเขนมอลตาเคลือบด้วยสีขาว ชั้นเบญจมาภรณ์จะเป็นสีเงินและชั้นจตุรถาภรณ์ขึ้นไปจะลงยาด้วยสีทอง และอักษรย่อ "O" จะอยู่ระหว่างแขนของไม้กางเขน ตัวดวงตราด้านในจะลงยาด้วยสีแดง มีรูปสิงโตติดอยู่ด้านหน้าตัวดวงตรา ด้านหลังเขียนคำขวัญว่า «Ret og Sandhed» – "ความยุติธรรมและความจริง" และดวงตราถูกประดับด้วยมงกุฎ[2]
  • ดารา (ชั้นประถมาภรณ์) : เป็นดาวแปดแฉก ทำด้วยเพชรและพลอย และมีสัญลักษณ์ดวงตราประดับอยู่ด้านหน้า
  • ดารา (ชั้นทวีติยาภรณ์) : เป็นกางเขนมอลตาสีเงิน มีอักษรย่อ "O" ที่สวมรูปมงกุฎอยู่ระหว่างแขนของไม้กางเขน และตัวดวงตราเป็นสีแดงและมีรูปสิงตติดอยู่ที่ด้านหน้าและมีวงแหวนล้อมรอบตัวกางเขน
  • แพรแถบย่อ : เป็นสีแดงแถบขอบขาว-น้ำเงิน-ขาวซึ่งเป็นสีของธงชาตินอร์เวย์

หากมีการพระราชทานเป็นกรณีพิเศษ อาจมีการพระราชทานเพชรแถมมาด้วย ซึ่งในกรณีนี้ ตัววงแหวนแหวนเพชรของดวงตราและดาราจะมาแทนที่วงแหวนสีเงินและสีทอง[3] นอกจากนี้ อาจมีการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หากได้รับพระราชทานชั้นที่สูงขึ้นหรือเสียชีวิต

ลำดับชั้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มี แกรนด์มาสเตอร์ ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ผู้เป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์[4] และมีลำดับชั้นปกติอยู่ 6 ชั้น ได้แก่

  • ชั้นประถมาภรณ์ (Storkors) : สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ หรือสามัญชนผู้ที่สมควรจะได้รับในกรณีพิเศษ โดยพระราชทานพร้อมกับสายสร้อยและสายสะพายซึ่งสะพายจากบ่าขวาลงทางซ้าย หรืออาจทรงพระราชทานอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ชั้นผู้บังคับบัญชา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่[1]
    • ชั้นทวีติยาภรณ์ (Kommandør med stjerne)  : ประดับดวงตรากับสายคล้องคอและดาราบนหน้าอกซ้าย
    • ชั้นตริตาภรณ์ (Kommandør) : ประดับดวงตรากับสายคล้องคอ
  • ชั้นอัศวิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    • ชั้นจตุรถาภรณ์ (Ridder av 1. klasse) : ประดับดวงตราห้อยกับแพรแถบติดที่หน้าอกด้านซ้าย
    • ชั้นเบญจมาภรณ์ (Ridder) : ประดับดวงตราห้อยกับแพรแถบติดที่หน้าอกด้านซ้าย
แพรแถบ

ชั้นประถมาภรณ์พร้อมสายสร้อย

ชั้นประถมาภรณ์

ชั้นทวีติยาภรณ์

ชั้นตริตาภรณ์

ชั้นจตุรถาภรณ์

ชั้นเบญจมาภรณ์

การพระราชทาน

พระมหากษัตริย์นอร์เวย์จะทรงพระราชทานตามคำขอพระราชทานจากคณะกรรมาธิการแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์หกคน ซึ่งไม่มีสมาชิกของรัฐบาบอยู่ ดยจะมีเพียงนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ รองนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ ลอร์ดแชมเบอร์แลน (เหรัญญิก) และผู้แทนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์อีกสามคน ซึ่งคณะกรรมาธิการเหล่านี้จะเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับ และกราบทูลแก่พระมหากษัตริย์เพื่อทรงอนุมัติและพระราชทานต่อไป[5]

สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ของนอร์เวย์ จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะ[6] ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์นอร์เวย์รายล่าสุดที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เนื่องจากทรงบรรลุนิติภาวะได้แก่เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์[7][8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Hieronymussen & Lundø 1968, p. 102.
  2. Hieronymussen & Lundø 1968, fig. 8, p. 102.
  3. "Utnevnelse til St. Olavs Orden". สืบค้นเมื่อ 21 September 2014.
  4. Statutes, §2
  5. section 5, Statues of the Order of St. Olav
  6. section 3, Statues of the Order of St. Olav
  7. "H.K.H. Prinsessens dekorasjoner". Kongehuset. สืบค้นเมื่อ 18 June 2022.
  8. "Appointment to the Order of St. Olav". The Royal House of Norway. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งยูโกสลาฟ (en:Order of the Yugoslav Star)

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งยูโกสลาฟ
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สี่ชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2497
ประเทศ ยูโกสลาเวีย
 เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
ผู้สมควรได้รับชาวยูโกสลาเวียและชาวต่างประเทศ
สถานะพ้นสมัยการมอบ
ผู้สถาปนายอซีป บรอซ ตีโต
ล้มเลิกพ.ศ. 2549
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ยูโกสลาเวีย
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแห่งยูโกสลาเวีย
หมายเหตุ
แพรแถบเครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งยูโกสลาฟ[a] เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย[1] สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2497 โดยยอซีป บรอซ ตีโต[2] สำหรับมอบให้แก่ผู้กระทำคุณประโยชน์ต่อยูโกสลาเวีย แต่โดยส่วนมากมักจะมอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศเป็นหลัก เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นด้วยกัน 4 ชั้น

ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้อยู่ในลำดับชั้นที่สองรองจากเครื่องอิสริยาภรณ์ยูโกสลาเวีย[3] และเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ได้พ้นสภาพเมื่อ พ.ศ. 2549 หลังการแยกตัวของประเทศมอนเตเนโกรส่งผลให้สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียสิ้นสุดลง

ลำดับชั้น

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นสี่ชั้น ได้แก่

  • มหาดารายูโกสลาฟ
  • ดาราแห่งยูโกสลาฟพร้อมสายสะพาย
  • ดาราแห่งยูโกสลาเวียและสร้อยคอสีทอง
  • ดาราแห่งยูโกสลาเวียและสร้อยคอ

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มักจะมอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ คู่สมรสของประมุข รวมถึงชาวต่างประเทศที่มีเกียรติ สำหรับชั้นมหาดาราแห่งยูโกสลาฟนั้นมีการมอบไป 127 ราย เป็นชาวต่างประเทศ 115 ราย และชาวยูโกสลาเวีย 12 ราย[4] สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์ชั้นมหาดารายูโกสลาฟ อาทิ

เชิงอรรถ

  1. โครเอเชีย: Orden jugoslavenske zvijezde
    เซอร์เบีย: Орден југословенске звезде, Orden jugoslovenske zvezde
    สโลวีเนีย: Red jugoslovanske zvezde
    มาซิโดเนีย: Орден на југословенската ѕвезда, Orden na jugoslovenskata zvezda

อ้างอิง

  1. Orders and Decorations of the Socialist Federal Republic of Yugoslavia, 1945-90 by Lukasz Gaszewski 2000, 2003
  2. Standard magazin: Srbija ponovo deli odlikovanja เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, br.133, 05.12.2008. (ในภาษาเซอร์เบีย)
  3. Orders and Decorations of the Federal Republic of Yugoslavia, 1990- by Lukasz Gaszewski 2000, 2003
  4. Samler.ru: Order of the Yugoslav Grand Star (ในภาษารัสเซีย)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Dragović, Rade (6 April 2011). "Srpski orden na ruskim grudima" [Serbian Medals on Russian Chests] (ภาษาเซอร์เบีย). Večernje novosti. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  6. The Danish Monarchy official site: H.M. Dronningens dekorationer เก็บถาวร 2010-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาเดนมาร์ก)
  7. "Svečani prijem povodom rođendana japanskog cara" (ภาษาเซอร์เบีย). Tendoryu Aikido Novi Sad. 12 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2011. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
  8. Kosova Crisis Center: Gaddafi Given Yugoslavia's Top Medal By Milosevic เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters, October 26, 1999 06:22 AM EDT
  9. "Kim Il Sung". Who's Who in Asian and Australasian Politics. London: Bowker-Saur. 1991. p. 146. ISBN 978-0-86291-593-3.

เครื่องอิสริยาภรณ์หัวใจทองคำ (ประเทศฟิลิปปินส์)

เครื่องอิสริยาภรณ์หัวใจทองคำ
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์หกชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2497
ประเทศ ฟิลิปปินส์
ผู้สมควรได้รับชาวฟิลิปปินส์และชาวต่างประเทศ
มอบเพื่อผู้กระทำคุณความดีต่อรัฐบาลและประชาชนชาวฟิลิปปินส์ในด้านจิตอาสาและการกุศล โดยเป็นไปเพื่อพัฒนาศีลธรรม สังคม และเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนารามอน แมกไซไซ

เครื่องอิสริยาภรณ์หัวใจทองคำ (ตากาล็อก: Orden ng Gintong Puso, อังกฤษ: Order of the Golden Heart) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ตามคำสั่งที่ 40-เอ โดยประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซในชื่อว่า รางวัลหัวใจทองคำจากประธานาธิบดี[1] จนมีการยกฐานะขึ้นเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ใน พ.ศ. 2546[2] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มอบให้แก่ชาวฟิลิปปินส์และชาวต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือต่อรัฐบาลและประชาชนฟิลิปปินส์ในด้านการกุศลและด้านจิตสาธารณะ โดยเป็นไปเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์[2]

ลำดับชั้น

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 6 ชั้น ประกอบไปด้วย[2]

แพรแถบแห่งอิสริยาภรณ์

เบญจมาภรณ์

จตุรถาภรณ์

ตริตาภรณ์

ทวีตริตาภรณ์

ประถมาภรณ์

ชั้นสายสร้อย
  • ชั้นสายสร้อย (Maringal na Kuwintas): มอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐหรือผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ
  • ชั้นประถมาภรณ์ (Maringal na Krus): มอบให้แก่คู่สมรสของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาล รัชทายาท รองประธานาธิบดี รองนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา เอกอัคคราชทูต หรือบุคคลอื่นที่เทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวและผู้ที่สมควรจะได้รับ
  • ชั้นทวีตริตาภรณ์ (Maringal na Pinuno): มอบให้แก่อุปทูต รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ประจำสถานกงสุล ผู้อำนวยการบริหารองค์กร หรือบุคคลอื่นที่เทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวและผู้ที่สมควรจะได้รับ
  • ชั้นตริตาภรณ์ (Komandante): มอบให้แก่ที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขาธิการ เจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ที่ขึ้นกับสถานเอกอัคคราชทูต ผู้อำนวยการองค์กร หรือบุคคลอื่นที่เทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวและผู้ที่สมควรจะได้รับ
  • ชั้นจตุรถาภรณ์ (Pinuno): มอบให้แก่เลขานุการรอง พนักงานกงสุล รองผู้อำนวยการองค์กร หรือบุคคลอื่นที่เทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวและผู้ที่สมควรจะได้รับ
  • ชั้นเบญจมาภรณ์ (Kagawad): มอบให้แก่เลขานุการผู้ช่วย รองกงสุล ทูตที่ต่ำกว่าระดับอุปทูต ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์กร หรือบุคคลอื่นที่เทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวและผู้ที่สมควรจะได้รับ

ลักษณะ

  • แพรแถบย่อ : มีสีแดงล้วน (เดิมเป็นแถบสีน้ำเงิน-ขาว-แดง ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ. 2546)[3]
  • ดวงตรา : เป็นไม้กางเขนมอลตาเคลือบสีเขียวพร้อมเหรียญทองคำรูปวงรี ด้านในเป็นรูปมือที่ถือรูปดวงใจที่ส่องแสงสว่างที่เป็นสีทอง และล้อมด้วยคำขวัญว่า "MANUM TUAM APERVIT INOPE" (คุณเปิดมือและเปิดใจได้ด้วยเมตตา) ตัวดวงตราล้อมรอบด้วยมงกุฎสีเขียวสลับกับกิ่งลูกไม้สีทองและใบไม้สีเขียว
  • ดวงตราเดิมออกแบบโดยกิลเบิร์ต เปเรซ และถูกปรับปรุงใหม่โดยกาโล โอแกมโป[4]

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. Executive Order 40-A Executive Order No. 40-A, s. 1954 Official Gazette of the Republic of the Philippines. Retrieved 15 April 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 Executive Order No. 236, s. 2003 Official Gazette of the Republic of the Philippines. Retrieved 14 April 2013.
  3. www.militaria-agent.com, Order of the Golden Heart
  4. Grand Collar of the Order of the Golden Heart conferred on Dolphy Philippine Presidential Museum and Library. Retrieved 15 April 2013.
  5. "Roster of Recipients of Presidential Awards". สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Getty Images, State visit of Philippines President in Spain, December 2007, Group Photo. Zooming on the collar shows green cross of the Order of the Golden Heart
  7. Photo of Letizia wearing the order
  8. For the sake of identification of the Order of the Golden Heart, here is a page about another recipient

ฆอร์เก ราฟาเอล วีเดลา

ฆอร์เก ราฟาเอล วีเดลา
วีเดลาใน พ.ศ. 2519
ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม พ.ศ. 2519 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2524
แต่งตั้งโดยคณะเผด็จการทหาร
รองประธานาธิบดีไม่มี
ก่อนหน้าอิซเบล เปรอน
ถัดไปโรเบร์โต วีโอลา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 สิงหาคม พ.ศ. 2465
เมอร์ซีเดส, บัวโนสไอเรส, ประเทศอาร์เจนตินา
เสียชีวิต17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (90 ปี)
มาร์โกส ปาซ, บัวโนสไอเรส, ประเทศอาร์เจนตินา
พรรคการเมืองไม่มี
คู่สมรสอาลีเซีบ ราเควล ฮาติเตส
บุตร7 คน
การศึกษาวิทยาลัยการทหารแห่งชาติ
อาชีพทหาร
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ อาร์เจนตินา
สังกัด กองทัพอาร์เจนตินา
ประจำการพ.ศ. 2487–2524
ยศ พลโท
บังคับบัญชากองทัพอาร์เจนตินา
ผ่านศึกปฏิบัติการคอนดอร์ (สงครามสกปรก)
ประวัติอาชญากรรม
ข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ, การละเมิดสิทธิมนุษยชน, การใช้อำนาจโดยมิชอบ, การบังคับให้บุคคลสูญหาย
โทษจำคุกตลอดชีวิต
สถานที่ถูกลงโทษเรือนจำมาร์โกส ปาซ

ฆอร์เก ราฟาเอล วีเดลา (สเปน: Jorge Rafael Videla; 2 สิงหาคม พ.ศ. 2465 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556) เป็นทหารและผู้เผด็จการชาวอาร์เจนตินาซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอาร์เจนตินาตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2519 จนถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2524 ซึ่งระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ในทวีปอเมริกาใต้รวมถึงประเทศอาร์เจนตินาอยู่ในช่วงปฏิบัติการคอนดอร์ซึ่งเป็นการปราบปรามคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ในภูมิภาคละตินอเมริกา

เขาขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีจากการรัฐประหารรัฐบาลของอิซาเบล เปรอนซึ่งเป็นภริยาของฆวน เปรอนอดีตประธานาธิบดี[1] และเขาปกครองประเทศอาร์เจนตินาด้วยความโหดร้าย[1] ในสมัยของเขามีการจับกุมและคุกคามนักเคลื่อนไหว นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักศึกษา สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนภายในประเทศ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตร่วม 13,000[2] ถึง 30,000 ราย[3] และสูญหายนับพันรายโดยไม่ทราบชะตากรรม โดยเขาได้ใช้สารพัดวิธีการลงโทษและปราบปรามผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลของเขา อาทิ การซ้อมทรมาน การใช้เก้าอี้ไฟฟ้า การบังคับให้บุคคลสูญหาย การลักพาตัว การวางยาพิษ การบุกบ้านผู้อื่นยามวิกาล การขับรถยนต์ฟอร์ดไม่มีเลขป้ายทะเบียนไล่ชนเหยื่อ การฝังทั้งเป็น รวมถึงการโยนเหยื่อลงจากเครื่องบินระหว่างบินเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก[1] เป็นต้น นอกจากนี้เขายังถูกกล่าวหาในเรื่องของการลักพาตัวเด็กทารกที่เกิดจากมารดาซึ่งเป็นนักโทษทางการเมืองในสมัยที่เขายังมีอำนาจ[4] การฆาตกรรมนักโทษการเมืองในเรือนจำและอ้างว่านักโทษยิงตัวเอง[1] รวมถึงการปกป้องผู้ลี้ภัยที่เป็นนาซีที่อยู่ในประเทศ จนเขาได้รับการขนานนนามว่าเป็น "ฮิตเลอร์แห่งปัมปา"[5] นอกจากนี้ในสมัยของเขายังประสบกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและการก่อการร้ายในประเทศ และเขาไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ นำไปสู่การลงจากตำแหน่งของเขาใน พ.ศ. 2524[1]

ในปี พ.ศ. 2525 หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน การใช้อำนาจโดยมิชอบ และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ เขาได้กล่าวกับศาลใน พ.ศ. 2553 ว่าจะรับผิดชอบในสิ่งที่เขาก่อไว้ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งหมด[6] เขาถูกกักบริเวณที่บ้านของเขา[7]ก่อนจะถูกศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตในกรณีการเสียชีวิตของนักโทษการเมือง 31 รายระหว่างที่เขามีอำนาจ[8][9][10] และยังถูกพิพากษาให้จำคุก 50 ปี ในข้อหาลักพาตัวเด็กทารกในเรือนจำ[11] ระหว่างที่เขารับโทษทางกฎหมายเขาได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ที่เรือนจำในมาร์โกส ปาซจากการลื่นล้มในห้องน้ำ สิริอายุได้ 87 ปี[12]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ฮอร์เก ราฟาเอล วิเดลา: เผด็จการอาร์เจนตินาผู้ขึ้นชื่อเรื่องการบังคับสูญหาย
  2. "Una duda histórica: no se sabe cuántos son los desaparecidos". 6 October 2003.
  3. "40 years later, the mothers of Argentina's 'disappeared' refuse to be silent". TheGuardian.com. 28 April 2017. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
  4. "El exdictador Videla llama terroristas a las madres de los bebés robados en Argentina". Abc.es. 27 June 2012.
  5. "Jorge Videla, el Hitler de la Pampa | elmundo.es". Elmundo.es. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  6. "Argentina's Videla: 'Troops followed my orders' BBC news". Bbc.co.uk. 6 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 December 2010.
  7. Rosario Gabino (10 October 2008). "Argentina: Videla a la cárcel". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 December 2010.
  8. Life sentence for ex-Argentina leader on Al Jazeera English 23 December 2010 (video)
  9. Popper, Helen (22 December 2010). "Former Argentine dictator Videla jailed for life". Reuters. สืบค้นเมื่อ 23 December 2010.
  10. อดีตผู้นำทหารสังหารหมู่ประชาชนในอาร์เจนติน่า ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
  11. "El dictador Videla, condenado a 50 años de cárcel por el robo de niños". สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  12. "Videla murio golpe cabeza cuando resbalo-ducha", El Comericio

แหล่งข้อมูลอื่น


หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2465 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556 หมวดหมู่:ผู้นำที่ได้อำนาจจากรัฐประหาร หมวดหมู่:ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา หมวดหมู่:ทหารชาวอาร์เจนตินา หมวดหมู่:ฆาตกร หมวดหมู่:อาชญากรชาวอาร์เจนตินา หมวดหมู่:นักโทษ

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว (en:Order of the White Lion)

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2465
ประเทศ เช็กเกีย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับชาวเช็กเกียและชาวต่างประเทศ
มอบเพื่อผู้กระทำคุณความดีต่อรัฐบาลและประชาชนแห่งสาธารณรัฐเช็ก ทั้งชาวเช็กเกียและชาวต่างชาติ
สถานะยังมีการมอบ

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว (เช็ก: Řád Bílého lva) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศเช็กเกีย โดยสืบต่อจากเครื่องอิสริยาภรณ์ชื่อเดียวกันในสมัยเชโกสโลวาเกีย[1] โดยเครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2465 สำหรับชาวต่างประเทศเท่านั้น ก่อนจะมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการมอบแก่พลเรือนของเชโกสโลวาเกียในภายหลัง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกางเขนขุนนางของโบฮิเมียซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และได้มอบแก่ชาวโบฮิเมียไป 37 ราย

ประวัติ

พ.ศ. 2465–2504

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว ถูกสร้างขึ้นมาภายใต้คำสั่งที่ 243/1920 sb. เมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยจะมอบให้กับชาวต่างประเทศเท่านั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ต่อมาเมื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ได้นำมามอบให้แก่ชาวเชโกสโลวาเกียที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านนาซีเยอรมนีที่เข้ามารุกรานประเทศเชโกสโลวาเกีย และได้สร้างเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาวสำหรับมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ทางทหารต่างหากใน พ.ศ. 2488 โดยได้มอบให้แก่ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ทหารชาวอเมริกัน ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองยังคงมีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เรื่อยมา โดยผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ เช เกบารา[2], พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นต้น

พ.ศ. 2504–2535

เมื่อเชโกสโลวาเกียเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังคงมีการมอบเช่นเดิม แต่อยู่ในชั้นที่สองรองจากเครื่องอิสริยาภรณ์เคลเมนต์ ก็อตวอร์ด และปรับเปลี่ยนจำนวนลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์จากห้าชั้นเหลือเพียงสามชั้นเท่านั้น โดยยังมีการมอบเรื่อยมาจนกระทั่งการแยกตัวของเชโกสโลวาเกียและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย

พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน

หลังการเปลี่ยนผ่านประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย และการแยกตัวของเชโกสโลวาเกีย เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังมีการมอบอีกเช่นเคยโดยอยู่ในฐานะเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสาธารณรัฐเช็ก และปรับเปลี่ยนแพรแถบย่อและลักษณะเครื่องอิสริยาภรณ์ใหม่ และเพิ่มจำนวนชั้นเป็นห้าชั้นเช่นเดียวกับสมัยที่เพิ่งสร้างเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งภายใต้คำสั่งที่ 57/1994 sb. โดยมอบให้กับทั้งชาวเช็กเกียและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์และช่วยเหลือกิจการของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเช็ก บางครั้งอาจมีการมอบย้อนหลังการเสียชีวิต ซึ่งเคยมีการมอบย้อนหลังให้แก่วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2555[3] และมีการมอบให้แก่นิโกลัส วินตอนชาวเช็กเกียเชื้อสายยิว เมื่อ พ.ศ. 2557[4][5][6]

โดยคำขวัญของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ คือ Pravda vítězí (ความจริงนำไปสู่ชัยชนะ)[7]

แพรแถบย่อ

แพรแถบย่อของเครื่องอิสริยาภรณ์
สาธารณรัฐเชโกสโลวัก
(พ.ศ. 2465–2504)
สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก
(พ.ศ. 2504–2533)
สหพันธ์สาธารณรัฐเชโกสโลวัก
(พ.ศ. 2533–2535)
สาธารณรัฐเช็ก
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2537)
ชั้นที่ 1
ชั้นที่ 2
ชั้นที่ 3
ชั้นที่ 4
ไม่มี
ชั้นที่ 5
ไม่มี
เหรียญทอง
ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เหรียญเงิน
ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. Viz vládní nařízení č. 362/1922 Sb. a předpisy navazující (261/1924 Sb., 120/1930 Sb., 170/1936 Sb., 10/1961 Sb.).
  2. ""Che" Guevara, condecorado por Checoslovaquia". ABC. 29 de octubre de 1960. Consultado el 13 de octubre de 2014.
  3. ČTK. "Seznam osobností vyznamenaných letos při příležitosti 28. října". ceskenoviny.cz. (in Czech)
  4. "White Lion goes to Winton and Winston". The Prague Post. 28 October 2014.
  5. "Sir Nicholas Winton at 105: the man who gave 669 Czech children the 'greatest gift'". The Daily Telegraph. 21 May 2014.
  6. "Nicholas Winton honoured by Czechs for saving children from Nazis". BBC News.
  7. Příloha zákona č. 157/1994 Sb., stanovy Řádu Bílého lva. Dostupné online.

มาร์กอ เพกอวิช

มาร์กอ เพกอวิช
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดมาร์กอ เพกอวิช (โครเอเชีย: Marko Perković)
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
ที่เกิดชาวอกลาเว, ประเทศโครเอเชีย
แนวเพลง
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงโครเอเชียเรคคอร์ดส์
อดีตสมาชิกทอมป์สัน

มาร์กอ เพกอวิช (โครเอเชีย: Marko Perković, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2509 –) เป็นนักร้องและนักดนตรีแนวร็อกชาวโครเอเชีย และเป็นหัวหน้าวงดนตรีทอมป์สันตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เขาเป็นที่รู้จักจากเพลงที่มีเนื้อหาความเป็นชาตินิยมโครแอตและกลายเป็นสัญลักษณ์ของการเมืองฝ่ายขวาจัดในโครเอเชีย เพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ บอจนาชาวอกลาเว ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2535

ประวัติ

เขาเกิดที่หมู่บ้านขนาดเล็กในชาวอกลาเว ประเทศโครเอเชียในขณะที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เขาเข้าร่วมขบวนการปลดปล่อยประเทศโครเอเชียและเป็นทหารประจำการในช่วงสงครามประกาศเอกราชของโครเอเชียและในช่วงเวลานี้ เข้าได้เข้าสู่วงการเพลงโดยมีผลงานเพลงที่เป็นที่รู้จัก อาทิ บอจนาชาวอกลาเว (2535)[1], อาลีเจกนินซกากรายีจา (2538) เป็นต้น โดยเนื้อหาเพลงของเขาส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่มีความเป็นชาตินิยมของโครเอเชีย และเขาเป็นสัญลักษณ์ของการเมืองฝ่ายขวาจัดในโครเอเชียสมัยใหม่ ซึ่งทำให้เขาและวงดนตรีของเขาถูกระงับการแสดงสดในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์[2] ประเทศออสเตรีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3] และประเทศสโลวีเนีย[4] ด้วยเหตุผลที่เพลงของเขาที่มีเนื้อหาความรุนแรงและแสดงออกในการสนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์[5][6]

เขาเคยคบหากับดานิเยลา มาร์ตินอวิชนักร้องหญิงชาวโครเอเชียก่อนที่จะเลิกรากัน[7] และสมรสใหม่กับซานดรา ลอกิชชาวโครแอตเชื้อสายแคนาดา โดยเขาและลอกิชมีบุตรและธิดารวม 5 คน ทั้งนี้เขายังถือหุ้นร้อยละ 20 ของสถานีวิทยุของโครเอเชียอย่างนารอดานี เรดิโอ[8] และเคยแสดงคอนเสิร์ตต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เมื่อ พ.ศ. 2552[9]

ผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม

อัลบั้มรวมเพลง

อ้างอิง

  1. Milekic, Sven (6 August 2015). "Croats Chant Anti-Serb Slogans at Nationalist Concert". Balkan Insight. BIRN.
  2. "Thompson - domoljub ili fašist? Konačan odgovor je..." Index.hr. 28 December 2003. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  3. "Thompson održao koncert u Švicarskoj, više ga ne optužuju da veliča fašiste" [Thompson held a concert in Switzerland, they are no longer accusing him of glorifying fascists]. Večernji list. 2015-12-8. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. Petkovič, Blaž (17 May 2017). "V Mariboru prepovedali koncert; Thompson se bo obrnil na diplomacijo". vecer.com.
  5. Anamarija Kronast (2009-29-9). "Ne žele "fašiste": Thompsonu zabranjen koncert i ulaz u Švicarsku" [They want no "fascists": Thompson's concert banned and entry to Switzerland declined]. Nacional. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-9-6. สืบค้นเมื่อ 2012-18-4. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  6. "Croatia scores own goal after World Cup success". Financial Times. 21 July 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
  7. Morić, Danijela-Ana (18 October 2016). "Danijela i Thompson: Kemija raspjevanih bivših supružnika". Tportal.hr (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 13 November 2020.
  8. "Thompson kupio 20% Narodnog radija za 4000 kuna". Index.hr (ภาษาโครเอเชีย). 14 April 2004. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
  9. "Papa primio Thompsona dan prije Mesića" [Thompson received by Pope before Mesić] (ภาษาโครเอเชีย). Dnevnik.hr. สืบค้นเมื่อ 18 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

บายา มาลี กนินจา

บายา มาลี กนินจา
Баја Мали Книнџа
เกิดมือร์กอ ปราจชิน
(เซอร์เบีย: Мирко Пајчин)

13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
กูบิน, สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, ยูโกสลาเวีย
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2532–present
บุตร6
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลงSuperton Music

มือร์กอ ปราจชิน (เซอร์เบีย: Мирко Пајчин, 13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 –) หรือที่รู้จักกันในนาม บายา มาลี กนินจา (เซอร์เบีย: Баја Мали Книнџа) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศเซอร์เบีย เขาเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักร้องแนวเทอร์โบโฟล์คและมีเนื้อหาที่ปลุกใจในช่วงสงครามยูโกสลาเวีย[1] โดยเพลงของเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ มอเยตาตาซลอซินาชิสราตา (Moj je tata zločinac iz rata, บิดรของข้าเป็นอาชญากรสงคราม)[2] ซึ่งถูกนำไปเผยแพร่และล้อเลียนโดยนักอินเทอร์เน็ตมีมอย่างกว้างขวาง[2]

ประวัติและเส้นทางในวงการเพลง

บายาเป็นชาวบอสเนียเซิร์บ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ลีฟโบ ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ต่อมาเขาย้ายไปอาศัยที่ประเทศเซอร์เบียในสมัยที่ยังเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียและเริ่มเข้าสู่วงการเพลงใน พ.ศ. 2527 ต่อมาเขาชนะการประกวดร้องเพลงที่เมืองลีฟโบใน พ.ศ. 2532 และเริ่มมีอัลบั้มเพลงเป็นของตัวเองใน พ.ศ. 2533 ซึ่งอยู่ในช่วงที่กำลังเกิดสงครามยูโกสลาเวีย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องที่เพลงมีเนื้อหาปลุกใจและสนับสนุนชาวเซิร์บในช่วงสงคราม และเป็นสัญลักษณ์ความเป็นชาตินิยมของเซอร์เบีย[3] ร่วมกับลอกี บูโลวิชซึ่งเป็นนักร้องแนวชาตินิยมชาวเซิร์บเช่นกัน เนื้อหาเพลงของเขาส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อหาต่อต้านการประกาศเอกราชของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและมีเนื้อหาเพลงที่พาดพิงอาลียา อีเซตเบกอวิช ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาอยู่บ่อยครั้ง เพลงที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ กนีนเยกรายีซนีซี, เนวอลีมเตอาลียา, มอเยตาตาซลอซินาชิสราตา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เขาก็มีเพลงที่เนื้อหาไม่เกี่ยวกับช่วงสงครามยูโกสลาเวีย ได้แก่ "อูมรีบาบา" และ "พอเกออะพารัต"

ชีวิตส่วนตัว

เขาสมรสแล้วและมีบุตรและธิดารวมหกคน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่เซมุน เขาสามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษารัสเซียได้ ทั้งนี้ เขายังเป็นผู้สนับสนุนหลักของพรรคก้าวหน้าของประเทศเซอร์เบียอีกด้วย นอกจากนี้ เขายังมีญาติซึ่งเป็นนักร้องเช่นกัน คือ กเซนียา ปราจชินซึ่งถูกฆาตกรรมโดยสามีของกเซนียาเองเมื่อ พ.ศ. 2553[4][5]

อ้างอิง

  1. Galijaš 2011, S. 284: „Selbst militärische Führer schrieben ihr einen derart hohen Stellenwert zu […]“ u. S. 285: „[…] Hass zu vertiefen. Die Lieder von Baja Mali Knindža leisteten dazu einen wesentlichen Beitrag“ (siehe Literatur)
  2. 2.0 2.1 "Baja Mali Knindza: Moj Je Tata Zlocinac Iz Rata". tekstovi-pesama.com. 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
  3. Ivan Čolović (1994). Bordell der Krieger: Folklore, Politik und Krieg. Osnabrück. p. 111. ISBN 3-929759-08-X.
  4. "Plačem za sestrom Ksenijom". Kurir. 27 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2015. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
  5. "Baja Mali Knindža posvetio pesmu Kseniji Pajčin". Svet. 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นักร้องเซอร์เบีย

ปรีชา เรืองจันทร์


ปรีชา เรืองจันทร์

เกิด4 มิถุนายน พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
อาชีพข้าราชการ
คู่สมรสปิยธิดา เรืองจันทร์
บุตรป. ประภัสนันทน์ เรืองจันทร์
ป. นนทนันทน์ เรืองจันทร์

รองศาสตราจารย์พิเศษ ปรีชา เรืองจันทร์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2496 –) เป็นอดีตข้าราชการชาวไทยซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุราชการ เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลกตามลำดับ ปัจจุบันเขาประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ประวัติ

ปรีชาเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ที่ตำบลวังสำโรง อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในครอบครัวที่ยากจนและประกอบอาชีพเกษตรกรรม[1] เขาเริ่มศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหนองกอไผ่ ด้วยความที่เขาเป็นคนเรียนหังสือดี จึงทำให้ครูไว้วางใจให้เขาเป็นผู้ช่วยครู จนกระทั่งเขาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เขาจึงกลับมาทำเกษตรกรรม จนกระทั่งวันหนึ่งเขามีโอกาสเข้าสู่กรุงเทพมหานครและทำการสอบเทียบจนจบการศึกษาในระดับเทียบเท่า มศ. 5

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยดุษฎีแห่งเซบู ประเทศฟิลิปปินส์[2]

การรับราชการ

ปรีชาบรรจุรับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนระดับ 3 สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ปลัดอำเภอในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ นายอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีษะเกษ นายอำเภอวังทรายพูน และนายอำเภอเมืองพิจิตร ปลัดจังหวัดพิจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งระหว่างที่เขารับราชการนั้นเขาต้องเผชิญปัญหากับผู้มีอิทธิพลในแต่ละท้องที่ รวมถึงการบุกรุกที่ดินสาธารณะในขณะที่เขารับราชการอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ และเนื่องด้วยการบริหารราชการที่ตรงไปตรงมาส่งผลให้เขามีปัญหากับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นถึงขนาดเกือบถูกลอบสังหารในมาหลายครั้งแต่รอดมาได้ โดยเขามักกล่าวกับพนักงานราชการภายใต้บังคับบัญชาของเขาเสมอว่า "หากล้มก็ขอให้ล้มคาหลัก หากตายก็ขอให้ตายคาหลัก"

ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2551 จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก จนกระทั่งเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2557 หลังเกษียณอายุราชการเขาได้รับการแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรโดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 หลังจากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารยืพิเศษ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร[3][4]

ภาพลักษณ์

ปรีชามีภาพลักษณ์เป็นบุคคลเข้าถึงง่าย ติดดิน และไม่ถือตัว[4] เขาเป็นตัวอย่างของข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมถึงพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุขในทุกพื้นที่ที่เขารับราชการ ส่งผลให้เขาเป็นที่ยอมรับและเคารพของประชาชนในหลายพื้นที่รวมถึงได้รับการเชิญให้เป็นวิทยากรในหลายโอกาส[5] ปัจจุบันหลังจากเกษียณอายุราชการเขาได้ใช้เวลาว่างไปกับการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวของเขา[6][7] และเขาเป็นที่จดจำในฐานะผู้ยึดหลักตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง[8]

ชีวิตครอบครัว

ปรีชาสมรสกับปิยธิดา เรืองจันทร์[9] (นามสกุลเดิม : นรารักษ์) มีบุตรและธิดารวม 2 คน ได้แก่ ป. ประภัสนันทน์ เรืองจันทร์ (ชื่อเล่น : นุ่น)[9] อาจารย์ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ ป. นนทนันทน์ เรืองจันทร์ (ชื่อเล่น : นาย)[9]

ผลงานหนังสือ

  • ฉากชนบท (พ.ศ. 2542)
  • คนกินอุดมการณ์ (พ.ศ. 2542)
  • ลูกล่อลูกชนคนทำงาน (พ.ศ. 2542)
  • ก็อดอามี่มณีลอยปลุกราชบุรีเขย่าโลก (พ.ศ. 2543)
  • ขวัญใจชาวบ้าน (พ.ศ. 2544)
  • น้ำฝนน้ำฟ้า น้ำตาน้ำก้อ (พ.ศ. 2544)
  • คนแบกเสบียง (พ.ศ. 2545)
  • สอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น (พ.ศ. 2549)
  • ชีวิตต่าง วางหัวโขน (พ.ศ. 2560)

ผลงานทางวิชาการ

  • หนังสือเสริมการอ่าน “แม่ค้าขายผัก” (พ.ศ. 2528)
  • จอมพล ป. พิบูลสงคราม : นายพลผู้สร้างนครบาลเพชรบูรณ์ (พ.ศ. 2549)
  • การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (พ.ศ. 2559)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. จากเด็กเลี้ยงควายไถนา สู่ผู้ว่าฯ ตงฉิน ‘ปรีชา เรืองจันทร์’
  2. ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผู้ว่าฯ ดีกรีด็อกเตอร์ ใช้ชีวิตหลังเกษียณ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง "ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก"
  3. รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์
  4. 4.0 4.1 ตั้ง ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผวจ.ลูกชาวนา รรท.อธิการบดี ม.นเรศวร
  5. บรรยายพิเศษ “ชีวิตที่มั่นคง บนพื้นฐานของความพอเพียง”
  6. แห่ชื่นชม!อดีตผู้ว่าฯติดดินหลังเกษียณทำนา
  7. ชื่นชมบุคคลตัวอย่าง! ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผู้ว่าฯพิษณุโลก เหชีวิตมาทำไร่ทำนา
  8. ร.10 ทรงมอบกระเช้า "ปรีชา เรืองจันทร์" บุคคลตัวอย่างด้านเศรษฐกิจพอเพียง
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 ตั้งอดีตผู้ว่าฯพอเพียงนั่งรรท.อธิการบดีม.นเรศวร
  10. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจําปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอน ๓๕ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

รอคิ วูลอวิช

รอคิ วูลอวิช
Roki Vulović
เกิดรอดอลยุบ วูลอวิช
(เซอร์เบีย: Rodoljub Vulović)

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
บิเยลยินา, สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, ยูโกสลาเวีย
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2515–ปัจจุบัน
คู่สมรสเยลีซา วูลอวิช
บุตร2 คน
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง

รอดอลยุบ วูลอวิช (เซอร์เบีย: Rodoljub Vulović, 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 –) หรือชื่อที่รู้จักกันดีในนาม รอคิ วูลอวิช (เซอร์เบีย: Roki Vulović) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงชาวเซอร์เบีย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลงที่มีเนื้อหาชาตินิยมของชาวเซิร์บและเป็นหนึ่งในศิลปินชาวเซอร์เบียที่ได้รับความนิยมในช่วงสงครามยูโกสลาเวียเช่นเดียวกับบายา มาลี กนินจา มิลอ เซมเบรัค และเซลยิกอ เกอมูซา เพลงของเขาที่ได้รับความนิยม อาทิ แพนเตอรี - มาอูเซอ (Panteri Mauzer) เซอนีบอมบาเดอร์ (Crni Bombarder) กาเพตาเนลาซิชู (Kapetane Lazicu) เป็นต้น

ประวัติและเริ่มต้นเส้นทางนักร้อง

วูลอวิชเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤกษภาคม พ.ศ. 2498 ที่บิเยลยินา ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (ขณะที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย) ปู่ของเขามาจากมอนเตเนโกร บิดาของเขามาจากเยอรมนีและเคยเป็นเชลยศึกให้กับนาซีเยอรมนีและได้กลับมายังบิเยลยีนาหลังจากเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง

เขาเริ่มเข้าสู่วงการเพลงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 โดยเขาได้ออกอัลบั้มชุดแรกคือ กริสตินา (Kristina) ซึ่งเป็นเพลงแนวโรแมนติก หลังจากนั้นเขาได้ทำผลงานเพลงออกมาเป็นระยะ

มีชื่อเสียงและในช่วงสงครามยูโกสลาเวีย

ในช่วงสงครามยูโกสลาเวีย ที่บิเยลยินาบ้านเกิดของเขาถูกทำลายจนได้รับความเสียหาย ทำให้เขาเข้าร่วมกับกองกำลังเซมเบลียา และได้กลับมาออกผลงานเพลงอีกครั้งในอัลบั้มชุด เซมเบอร์สกียูนาซี (Semberski junaci) โดยวางจำหน่ายใน พ.ศ. 2535 เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากสงคราม และอัลบั้มดังกล่าวทำให้เขามีชื่อเสียงจนถึงจุดสูงสุด โดยเพลงในอัลบั้มดังกล่าวเป็นที่นิยมทุกเพลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเพลง แพนเตอรี - มาอูเซอ (Panteri Mauzer) ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยการ์ดาแพนเตอรีหนึ่งในหน่วยกองกำลังของสาธารณรัฐเซิร์ปสกา เมื่อเขาประสบความสำเร็จจากผลงานอัลบั้มชุดดังกล่าวเขาจึงได้ไปประจำการที่หน่วยการ์ดาแพนเตอรี[1] และออกผลงานเพลงออกมาเป็นระยะ และประสบความสำเร็จอีกครั้งใน พ.ศ. 2538 กับอัลบั้มชุด เซอนีบอมบาเดอร์ (Crni Bombarder) ซึ่งวางจำหน่ายในช่วงที่เนโทได้ทำการทิ้งระเบิดที่สาธารณรัฐเซิร์ปสกา[2] หลังจากนั้นเขาได้ออกอัลบั้มชุดสุดท้ายคือ ซบอคเตเบ (Zbog tebe) ใน พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะหายหน้าไปจากวงการเพลง หลังจากนั้นเขาได้เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเทคนิคมิฮาร์ยิลอ ปูปินและทำหน้าที่เป็นอาจารย์จนถึง พ.ศ. 2556[3][4]

ภาพลักษณ์

แม้ว่าเนื้อหาของเพลงของเขาโดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับความเป็นชาตินิยมเซิร์บและต่อต้านเนโทกับสหรัฐ แต่เนื้อหาเพลงของเขานั้นมีการใช้ถ้อยคำที่สละสลวย สุภาพ และเลี่ยงการใช้คำที่เข้าข่ายคตินิยมเชื้อชาติ[5] ซึ่งแตกต่างไปจากนักร้องชาตินิยมชาวเซิร์บและนักร้องในภูมิภาคบอลข่านคนอื่นในช่วงสงครามยูโกสลาเวีย[6] ประกอบกับเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ส่งผลให้เขาได้รับความนิยมทั้งในเซอร์เบียและภูมิภาคบอลข่านและเป็นนักร้องชาวเซิร์บที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคนหนึ่ง[7][8]

ชีวิตส่วนตัว

เขาสมรสกับเยลีซา วูลอวิชซึ่งเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลง โดยพวกเขามีบุตรและธิดารวมสองคน เขาไปเยือนหลายประเทศในแถบยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามเขาถูกระงับวีซ่าในสหรัฐในหลายครั้งเนื่องมาจากผลงานเพลงของเขาในอดีตที่มีเนื้อหาต่อต้านเนโท[5]

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

  • กริสตินา / Kristina (พ.ศ. 2515)
  • ปาชา / Paša (2531)
  • เซมเบอร์สกียูนาซี / Semberski junaci (พ.ศ. 2535)
  • การ์ดาแพนเตอรี / Garda Panteri (พ.ศ. 2536)
  • ยูนาชิ กอซาสกี / Junaci Kozarski (พ.ศ. 2537)
  • เซอนีบอมบาเดอร์ / Crni bombarder (พ.ศ. 2538)
  • ซบอคเตเบ / Zbog tebe (พ.ศ. 2540)

อ้างอิง

  1. "Gardijska brigada "Panteri"". Srpski Oklop (information and pictures related to Garda Panteri). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. Megvan az első ukrán háborús katonadal
  3. Pechersky, Anton (6 ธันวาคม 2558). "Roki Vulovic, renowned singer of Serbia". Senica (ภาษาบอสเนีย). {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |archive-url= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "JU Tehnička škola "Mihajlo Pupin" Bijeljina" (Official site of Mihajlo Pupin Technical School) (ภาษาบอสเนีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2563.
  5. 5.0 5.1 . 26 ตุลาคม 2557 http://zavtra.ru/blogs/roko-voin-pevets-patriot. {{cite book}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Author= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Title= ถูกละเว้น แนะนำ (|title=) (help)
  6. "Roki Vulović je zvijezda interneta". Radio Televizija BN. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. Echoes of a Turbulent Past: Turbo Folk War Music in Serbia
  8. Ovog Srbina sluša ceo svet a retko ko zna nešto o njemu i njegovim delima!

โครงการวิกิประเทศโครเอเชีย

ทอมป์สัน (วงดนตรี)

ทอมป์สัน
วงทอมป์สันขณะทำการแสดงเมื่อ พ.ศ. 2556
วงทอมป์สันขณะทำการแสดงเมื่อ พ.ศ. 2556
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศโครเอเชีย
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงโครเอเชียเรเคิร์ดส์
สมาชิกมาร์กอ เพกอวิช
ทอมิสลาฟ แมนดาลิช
ตูเย อีวิช
อีวีกา บีลิช อีเก
อีวาน ดราบอ
อดีตสมาชิกอีวาน อีวานกอวิช
เว็บไซต์www.thompson.hr

ทอมป์สัน (โครเอเชีย: Thompson) เป็นกลุ่มดนตรีโฟล์กและฮาร์ดร็อกสัญชาติโครเอเชีย ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2534 โดยมาร์กอ เพกอวิชซึ่งต่อมาคือนักร้องหลักและนักแต่งเพลงประจำวง ร่วมกับทอมิสลาฟ แมนดาลิช อีวาน อีวานกอวิช ตูเย อีวิช และอีวีกา บีลิช อีเก โดยชื่อวงดนตรีนั้นตั้งชื่อตามปืนกลมือทอมป์สันซึ่งเป็นปืนกลมือสัญชาติอเมริกัน

วงดนตรีนี้เป็นที่รู้จักในช่วงสงครามยูโกสลาเวียและสงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย พวกเขาออกผลงานเพลงแรกคือ บอจนาชาโวกลาเว (ทหารกล้าแห่งชาวอกลาวา) เมื่อ พ.ศ. 2534 และเพลงดังกล่าวถูกบรรจุในสูติโออัลบั้มแรกของวงคือ มอลิ มาลา ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นวงดนตรีมีชื่อเสียงและออกผลงานเพลงเรื่อยมา และได้จัดคอนเสิร์ตทัวร์ครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2545 จากการโปรโมทสูตดิโออัลบั้มชุด อีมอจนาโรเด ซึ่งมียอดขายเกิน 60,000 ตลับ/แผ่น[1] จากนั้นวงดนตรีมีโอกาสได้แสดงคอนเสิร์ตที่ซิดนีย์และเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2548[2] และมีโอกาสได้ขึ้นแสงคอนเสิร์ตในหลายประเทศใน พ.ศ. 2549 พร้อมกับสตูดิโออัลบั้ม บีโลเยดินอมอูฮวาตสกอจ โดยจัดการแสดงคอนเสิร์ตทั้งในประเทศแคนาดา สหรัฐ ประเทศเยอรมนีและประเทศสวีเดน

อย่างไรก็ตาม เนื้อหาเพลงของทอมป์สันโดยส่วนใหญ่มักมีเนื้อหาแนวคิดชาตินิยมชาวโครแอต[3] รวมถึงเป็นพวกฝักใฝ่อูสตาเชซึ่งเป็นองค์กรฟาสซิสต์ของประเทศโครเอเชีย ประกอบกับมีเนื้อหาเพลงที่รุนแรงและมีคตินิยมเชื้อชาติต่อชาวเซิร์บเป็นจำนวนมาก[3] ส่งผลให้พวกเขาถูกห้ามมิให้จัดแสดงคอนเสิร์ตในหลายประเทศ[3] อาทิ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศออสเตรีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[4]และประเทศสโลวีเนีย นอกจากนี้ ทอมป์สันยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการคัดอกทำนองเพลงของเซิร์บและเพลงของพวกพลพรรคยูโกสลาเวียหลายเพลง โดยเฉพาะกรณีของเพลง อานีเยกนินสกากรายีนา ซึ่งอยู่ในสตูดิโออัลบั้มชุด วรีเยเมชกอปิออนา (2538) ที่ไปคัดลอกทำนองของหนึ่งในเพลงปลุกใจของพวกเชทนิกส์ คือ นาจกราเยดอมชีวาวราตาเซวา[5][6] รวมถึงเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของวงอย่าง บอจนาชาโวกลาเว ได้ไปคัดลอกทำนองของเพลง ซีวีซอกอเล ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจของพวกพลพรรคยูโกสลาเวีย

สิ่งสืบเนื่อง

หนึ่งในเพลงดังของวงดนตรีอย่าง ลีเยพาลิซี (ช่างสวยงามเหลือเกิน) ซึ่งอยู่ในสตูดิโออัลบั้ม วเยตาซะดินาเร (2541) ถูกใช้บรรเลงและขับร้องโดยชาวโครแอตที่สนับสนุนฟุตบอลทีมชาติโครเอเชียระหว่างการแข่งขันในช่วงครึ่งหลังที่สนามกีฬามักซีมือร์ เมื่อ พ.ศ. 2550[7]

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

อ้างอิง

  1. "Croatia Records". Crorec.hr. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  2. mir.net.au. "BlackCro Presents-MP Thompson 2005 Concert Tour Australia". Mir.net.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2014. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Backgrounder: Marko Perkovic and Thompson". ADL.org. Anti-Defamation League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2008.
  4. "Ne žele "fašiste": Thompsonu zabranjen koncert i ulaz u Švicarsku". Nacional.hr. 29 September 2009.
  5. "Tompson od četničke pesme napravio ustašku?". Vesti.
  6. "PLAGIJATOR: Tompson od četničke pesme napravio ustašku?! (VIDEO)". Telegraf. 8 October 2013.
  7. "Šimunić: Zašto nam nisu pustili Thompsona? - Sport". Index.hr. 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.

บิเซนเต ฟอกซ์

บิเซนเต ฟอกซ์
รูปอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2543
ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 62
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าเอร์เนสโต เซดิโย
ถัดไปเฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฆซา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
รัฐกัวนาฮัวโต ประเทศเม็กซิโก
พรรคการเมืองพรรคก้าวหน้า (พีเอเอ็น)
คู่สมรสมาริตา ซาฆากุน
บุตร4 คน

บิเซนเต ฟอกซ์ กูเอซซาดา (สเปน: Vicente Fox Quesada; 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 –) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวเม็กซิโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 62 ของประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 จนถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เขาคือประธานาธิบดีของเม็กซิโกคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรคปฏิวัติแห่งชาติเม็กซิโก (พีอาร์ไอ) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยเขานั้นสังกัดพรรคก้าวหน้าเม็กซิโก (พีเอเอ็น) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวา[1][2][3][4]

ฟอกซ์ดำเนินนโยบายแบบการเมืองฝ่ายขวาเริ่มนำระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่มาใช้ในประเทศ รัฐบาลของเขามีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสหรัฐในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช[5]ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลก่อนหน้าในเม็กซิโกที่มีจุดยืนที่ขัดแย้งกับสหรัฐมาโดยตลอด รัฐบาลของเขาประสบความล้มเหลวในความพยายามเพิ่มภาษีเภสัชรวมถึงการสร้างสนามบินในภูมิภาคเต็กซ์โกโก[6][7] นอกจากนี้เขายังขัดแย้งกับประเทศคิวบาภายใต้การนำของฟิเดล กัสโตร อีกด้วย[8] การลอบสังหารดิกนา โอชัวซึ่งเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใน พ.ศ. 2544 ทำให้รัฐบาลของเขาถูกตั้งคำถามในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความพยายามที่จะกำจัดมรดกของพรรคพีอาร์ไอ

ก่อนที่รัฐบาลของเขาจะหมดวาระไม่นาน เขาได้มีความขัดแย้งกับอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 65 ซึ่งขณะนั้นโอบราดอร์ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีของเม็กซิโกซิตี โดยฟอกซ์และรัฐบาลพยายามถอดถอนโอบราดอร์ออกจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีและขัดขวางไม่ให้โอบราดอร์ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศในปี พ.ศ. 2549[9][10] นอกจากนี้ รัฐบาลของฟอกซ์ยังมีปัญหาขัดแย้งทางการทูตระหว่างประเทศเวเนซุเอลาและประเทศโบลิเวียอันเนื่องมาจากการสนับสนุนให้สร้างเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาซึ่งถูกคัดค้านโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ[11][12] ใน พ.ศ. 2549 พรรคพีเอเอ็นซึ่งนำโดยเฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฆซาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งคะแนนนำโอบราดอร์เพียงเล็กน้อย โดยการเลือกตั้งครั้งนั้นถูกมองว่ามีการทุจริตจึงทำให้ประชาชนออกมาประท้วงทั้งประเทศ และในปีเดียวกันนั้นเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐวาฮากาซึ่งเป็นการประท้วงเพื่อขับไล่อูเอซิส รูอีซ ออร์ติสซึ่งเป็นผู้ว่าการรัฐวาฮากาในช่วงเวลานั้น[13] รวมถึงยังเกิดการจลาจลที่ซานซัลบาดอร์อาเนโกซึ่งทำให้รัฐบาลของเขาถูกตัดสินโดยศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาว่ามีความผิดฐานละเมิดสิทธิมนุษยนชจากการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงซึ่งความไม่สงบเหล่านี้ส่งผลให้ฟอกซ์เสียคะแนนความนิยมไปมาก[14] อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยอมรับในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและลดอัตราความยากจนของประเทศเม็กซิโกลงจากร้อยละ 43.7 ในปี พ.ศ. 2543 ลดลงเหลือร้อยละ 35.6 ในปี พ.ศ. 2549[15]

เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 ฟอกซ์เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาลและเข้าร่วมการะประชุมเอเปคในปี พ.ศ. 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[16] ซึ่งในขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือทักษิณ ชินวัตร

หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้กลับไปยังรัฐกัวนาฮัวโตอันเป็นบ้านเกิดของเขา เขามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การศึกษา ห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์บิเซนเต ฟอกซ์ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐกัวนาฮัวโต เขายังเคยดำรงตำแหน่ประธานศูนย์กลางประชาธิปไตยนานาชาติ (ซีดีไอ)[17] ซึ่งเป็นสมาคมของพรรคการเมืองฝ่ายขวากลางระดับนานาชาติ ต่อมาฟอกซ์ถูกขับออกจากพรรคพีเอเอ็นใน พ.ศ. 2556 หลังจากการรับรองการสมัครลงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคพีอาร์ไอในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2555[18]

อ้างอิง

  1. Vincent Mosco; Dan Schiller (2001). Continental Order?: Integrating North America for Cybercapitalism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 111. ISBN 9780742509542.
  2. Charles Hauss (1 January 2018). Comparative Politics: Domestic Responses to Global Challenges. p. 391. ISBN 9781337554800.
  3. "El populismo de derecha" (ภาษาสเปน). Proceso. 10 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  4. "Revolución en México". El País (ภาษาสเปน). 4 July 2000. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  5. "Con Estados Unidos a una sana distancia". The Washington Post. 3 March 2006. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  6. "Vicente Fox's rocky first year as president of Mexico". The San Diego Union-Tribune. 13 December 2001. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.
  7. "La Jornada Virtu@l". jornada.com.mx. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  8. "Cuba - Castaneda - Mexico - Castro - Worldpress.org". worldpress.org. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  9. Editorial Desk (7 April 2005). "Let Mexico's Voters Decide". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2005. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
  10. Editorial desk (6 April 2005). "Decision on Democracy". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019.
  11. O'Grady, Mary Anastasia. Why Fox's Outrage? Chavez's Meddling in Mexico. The Wall Street Journal. (Eastern edition). New York, N.Y.: 18 November 2005. pg. A.17
  12. "Chavez renews trade pact attack". 20 November 2005. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
  13. Diana Denham and the C.A.S.A. Collective (บ.ก.). Teaching Rebellion: Stories from the Grassroots Mobilization in Oaxaca.
  14. "Historic Judgment of Inter-American Court Orders Mexico to Punish Repression and Torture in Atenco". CEJIL. 21 December 2018. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
  15. "Solidaridad, Oportunidades y Prospera no disminuyeron la pobreza". Milenio (ภาษาสเปน). 7 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  16. History of diplomatic relations between Mexico and Thailand (in Spanish)
  17. "Who's Who". cdi-idc.com. CDI-IDC. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  18. [archivo.eluniversal.com.mx/nacion/203190.html archivo.eluniversal.com.mx/nacion/203190.html]

แอนะล็อกออเรอ

แอนะล็อกออเรอ (อังกฤษ: Analog Horror) หรือ ความสยองขวัญในรูปแบบสัญญาณแอนะล็อก เป็นประเภทย่อยของกลวิธีเรื่องเล่าแนวสยองขวัญและเป็นประเภทย่อยของรูปแบบการถ่ายทำภาพยนตร์และวิดิโอ[1][2][3] แอนะล็อกออเรอไม่ทราบปีที่กำเนิดอย่างแน่ชัด แต่คาดว่ามีจุดกำเนิดราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21[4][5] หรืออาจมีจุดกำเนิดขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2553

ลักษณะเฉพาะ

แอนะล็อกออเรอมีลักษณะเฉพาะคือกราฟิกที่มีความละเอียดต่ำ ข้อความและรูปภาพลึกลับ รวมถึงองค์ประกอบที่ชวนให้นึกถึงระบบโทรทัศน์แบบแอนะล็อกหรือวิดิโอเทปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[6][7] โดยปกติแล้วฉากในวิดิโอประเภทนี้มักนำแบบมาจากยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ด้วยเหตุนี้รูปแบบวิดิโอประเภทดังกล่าวจึงถูกตั้งชื่อว่า "แอนะล็อกออเรอ" เนื่องจากผสมผสานความสยองขวัญควบคู่กับลักษณะการบันทึกภาพและวิดิโอในยุคแอนะล็อกได้เป็นอย่างดี

มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า แอนะล็อกออเรออาจได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์แนวสยองขวัญทั่วไป อาทิ สอดรู้ สอดเห็น สอดเป็น สอดตาย, เดอะริง[8] รวมไปถึงภาพยนตร์ซีรีส์ อินแลนด์เอมไพรส์ กำกับโดยเดวิด ลันช์ ในตอน โนทรอตโรด และ เพทสคอป ซึ่งเป็นภาพยนตร์สั้นมีการปรากฎรูปแบบแอนะล็อกออเรออยู่ ก่อนที่จะแพร่หลายไปในรูปแบบวิดิโอเกมในเวลาต่อมา[9][10]

แอนะล็อกออเรอมักมีความยาวประมาณหนึ่งถึงสิบห้านาที ไม่มีกฎตายตัวและมักจะยืดหยุ่นแล้วแต่ธีมของวีดีโอรวมถึงจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ มีหลากหลายเนื้อหาทั้งประเภทประกาศเตือนภัยจากธรรมชาติ การส่งสัญญาณด้วยระบบที่แปลกประหลาด รวมถึงการเล่าประวัติศาสตร์แบบโลกคู่ขนานซึ่งชวนให้เกิดความกลัวจากความไม่รู้ของผู้ชม[11][12]

ประวัติศาสตร์

แอนะล็อกออเรอถูกสันนิษฐานว่าอาจเป็นประเภทย่อยของคริปปีปาสตา[13] โดยมีการบันทึกว่าแอนะล็อกออเรอมีจุดกำเนิดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 2000 แต่เป็นรูปธรรมใน พ.ศ. 2553 จากวิดิโอ โนทรอตโรด ของสตีเฟน แชมเปอเรน สื่อประเภทนี้เริ่มเป็นที่นิยมหลังการปรากฎตัวของช่องยูทูบ โลคัลฟิฟตีเอต เมื่อปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเจ้าของคือคริสต์ สตัฟ โดยมีแนวคิด "แอนะล็อกออเรอ ที่ 476 เมกกะเฮิร์ตซ์" ซึ่งทำให้เป็นต้นแบบของสื่อประเภทนี้ที่ตามมาอย่าง เดอะแมนเดลาแคตะลูค เดอะวาเทนไฟล์ รวมไปถึงกรารีนา กรีซีโบฟ ซึ่งเป็นช่องยูทูบสัญชาติโปแลนด์ สื่อประเภทนี้เคยมีแนวคิดจะเผยแพร่ในเน็ตฟลิกซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2563 โดย อาร์ชีฟเอตตีวัน ซึ่งเป็นพอตแคสต์แนวสยองขวัญ แต่ต่อมาได้ถูกยกเลิกไป[14][15]

ตัวอย่าง

โลคัลฟิฟตีเอต

คริสต์ สตัฟ ได้ผลิตวิดิโอชุดภายใต้ช่องยูทูบ โลคัลฟิฟตีเอต ซึ่งเป็นการสมมติชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งที่มักถูกแย่งสัญญาณจากแหล่งปริศนาเป็นประจำ และเนื้อหาส่วนมากมักมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องของพระจันทร์[5] โดยวิดิโอแรกถูกเผยแพร่ในปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ช่วงเทศกาลฮาโลวีน[16][17]

เกมินีโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์

เกมินิโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นผลงานวิดิโอชุดที่เผยแพร่บนยูทูบโดยเดมี อโปฟ ซึ่งเปิดตัวใน พ.ศ. 2562 โดยสมมติตัวเองให้เป็นบริษัทจัดจำหนายเทปวิดิโอที่บันทึกเหตุการณ์ที่ผิดปกติมากมายที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงการปรากฏตัวของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่อันตรายต่อสหรัฐและการโจมตีระบบสุริยะอย่างต่อเนื่องโดยดาวเคราะห์ชื่อ ไอริส โดยวิดิโอชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานพื้นบ้านของชนพื้นเมืองอเมริกันเกี่ยวกับสกินวอล์กเกอร์และเวนดิโก[18]

เดอะแมนเดลาแคตะลูค

เดอะแมนเดลาแคตะลูค เป็นวิดิโอชุดที่เผยแพร่บนยูทูบโดยอเล็กซ์ คริสเตอร์ ในปี พ.ศ. 2563 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับภัยอันตรายในเมืองแมนเดลา รัฐวิสคอนซินในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ซึ่งถูกคุกคามโดยผู้บุกรุกปริศนาที่ไม่มีตัวตนที่มีพลังในการบังคับให้คนกระทำอัตวินิบาตกรรมรวมถึงควบคุมสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ได้[19]

แอนะล็อกออเรอในประเทศไทย

ชโยดม ดิษยวรรณ ซึ่งเป็นเจ้าของช่องยูทูบ แซนไบรต์ ได้อัปโหลดวิดิโอประเภทแอนะล็อกออเรอภายใต้ชื่อ ไทยแอนะล็อกออเรอ – กาประกาศฉุกเฉิน (ฉบับภาษาไทย)[12] ซึ่งแปลมาจาก คอนทิเจนซี ของโลคัลฟิฟตีเอต เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ซึ่งมียอดเข้าชมร่วม 338,503 ครั้ง (ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566) หลังจากนั้นได้มีช่องยูทูบที่ผลิตวิดิโอประเภทดังกล่าวตามมาได้แก่ เฮียส์เตอร์ทีวี โดยธนวัฒน์ ยังทน นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเขาได้เผยแพร่วิดิโอประเภทนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ในชื่อ การนอนหลับอย่างแท้จริง ซึ่งแปลมาจากวิดิโอ เรียลสลีฟ ของโลคัลฟิฟตีเอต หลังจากนั้นธนวัฒน์มีผลงานประเภทดังกล่าวที่เป็นที่รู้จักตามมาภายหลัง อาทิ บทพระรอง กระสืออาละวาดที่เดิมบาง และ บันทึกรักดา-เชษฐ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของความขัดแย้งระหว่าง พิเชษฐ์ สมภักดี และ ดาริกา สุรศักดิ์ช่วงโชติ สองสามีภรรยาคู่หนึ่ง รวมไปถึง ไข้ผีห่า ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคระบาดชนิดหนึ่งที่ไม่มีทางรักษา และ สายที่คุณไม่ควรรับ ซึ่งแปลมาจาก เวทเทอร์เซอร์วิส ของโลคัลฟิฟตีเอต

อ้างอิง

  1. Wehs, Garet (2022-02-22). "Analog horror: The bizarre and the unsettling". The Signal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Georgia State Signal. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  2. Maison, Jordan (14 October 2022). "Everything there is to know about the analog horror genre". Videomaker. สืบค้นเมื่อ 6 February 2023.
  3. Kok, Nestor (March 18, 2022). "Ghosts in the Machine: Trick-Editing, Time Loops, and Terror in "No Through Road"". F Newsmagazine. สืบค้นเมื่อ March 18, 2022. No Through Road” has amassed over two million views, spawned three sequels, and is considered a foundational work for both analog horror enthusiasts and indie found footage buffs.
  4. Cases, Kenneth (2022-09-16). "Local 58: The Analog Horror Series (An Introduction)". Robots.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Robots.net. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  5. 5.0 5.1 Szczesniak, Alicia (2022-01-13). "A look into analog horror". The Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). The Post, Athens OH. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  6. Saucier, Emily (2022-04-25). "What Makes Things Creepy?". The Delta Statement. Delta State University. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  7. Evangelista, Chris (2022-01-11). "Archive 81 Review: Analog Horrors Haunt Netflix's Uneven New Supernatural Series". SlashFilm.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Static Media. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  8. Heath, David (2023-01-24). "12 Scariest Analog Horror Series". Game Rant. gamerant.com. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  9. Peters, Lucia (November 16, 2020). "The Weird Part Of YouTube: The Making Of "No Through Road" And The Power Of Unanswered Questions". The Ghost in My Machine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2020. สืบค้นเมื่อ November 16, 2020.
  10. Moyer, Philip (2020-03-18). "There's Something Hiding in Petscop". EGM. EGM Media LLC. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  11. เมื่อความเก่าทำให้เราหลอน รู้จัก Analog Horror การเล่าเรื่องสยองขวัญที่เล่นกับภาพจำในยุคอนาล็อก
  12. 12.0 12.1 Analog Horror วีดีโอแนวสยองขวัญชวนหลอนประกอบสร้างจากฟุตเตจยุคม้วนวีดีโอ
  13. Tee, Samiee (2022-05-28). "Public Memory: Crafting Analog Horror in Video Games". Uppercut (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Uppercut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-04. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  14. Romanchick, Shane (2021-11-30). "'Archive 81' Images Reveal a Time-Bending Horror Show on Netflix". Collider. สืบค้นเมื่อ 2021-12-21.
  15. Andreeva, Nellie (2022-03-24). "Archive 81 Canceled By Netflix After One Season". Deadline Hollywood. Deadline Hollywood, LLC. สืบค้นเมื่อ 2022-03-24.
  16. Levesque, Eamon (2021-10-29). "This Halloween's Scariest Horror Movie Is a YouTube Series By a Wisconsin 18 Year-Old". GQ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Condé Nast. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  17. Kok, Nestor (2022-02-04). "Ghosts in the Machine: Examining the Origins of Analog Horror in "CH/SS"". F Newsmagazine (ภาษาอังกฤษ). School of the Art Institute of Chicago. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  18. Kok, Nestor (2022-02-15). "Ghosts in the Machine: Archiving the End of the World with "Gemini Home Entertainment"". F Newsmagazine (ภาษาอังกฤษ). School of the Art Institute of Chicago. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  19. Levesque, Eamon (October 29, 2021). "This Halloween's Scariest Horror Movie Is a YouTube Series By a Wisconsin 18 Year-Old". GQ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 17, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

หมวดหมู่:กลวิธีเรื่องเล่า หมวดหมู่:วรรณกรรมประเภทสยองขวัญ

แอ้ม ชลธิชา

แอ้ม ชลธิชา
เกิดชลธิชา ไชยมณี
28 มีนาคม พ.ศ. 2548 (19 ปี)
อำเภอชานุมาน, จังหวัดอำนาจเจริญ, ประเทศไทย
การศึกษาโรงเรียนชานุมานวิทยาคม
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2565–ปัจจุบัน
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลงแกรมมี่โกลด์  · ภูไทเรคคอร์ด

ชลธิชา ไชยมณี (28 มีนาคม พ.ศ. 2548 –) หรือชื่อในวงการคือ แอ้ม ชลธิชา เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์ เธอเป็นที่รู้จักจากผู้ชนะเลิศ 21 สมัยจากรายการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ดวลเพลงชิงทุน[1] ทางช่องวัน 31 และมีผลงานเพลงหลังจากการประกวดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ในชื่อ คำสัญญาที่ชานุมาน

ชีวิตช่วงต้น

เธอเกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ที่ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน บิดามารดาของเธอต้องออกไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้เธอต้องอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่ยังเด็ก เธอรักการร้องเพลงและเดินสายประกวดตามเวทีงานวัดในอำเภอชานุมานมาหลายรายการ ซึ่งถึงแม้จะพลาดรางวัลชนะเลิศแต่ทำให้เธอมั่นใจในความสามารถของเธอมากขึ้น โดยได้ฝึกการร้องเพลงกับยายของเธอ

ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนชานุมานวิทยาคม[2]และเป็นสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วันประจำโรงเรียนเดียวกันกับที่เธอศึกษาอยู่

เข้าสู่วงการบันเทิง

เธอเริ่มเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลง ฝากเพลงถึงยาย ของต่าย อรทัย และได้อัปโหลดผลงานของเธอลงสู่ติกตอกซึ่งมียอดผู้ชมร่วม 2,000,000 ครั้ง หลังจากนั้นเธอได้ออกผลงานซิงเกิลแรกสังกัดภูไทเรคคอร์ด ได้แก่เพลง น้องมาลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังจากนั้นในปีเดียวกันเธอได้เข้าประกวดรายการดวลเพลงชิงทุนและสามารถชิงชนะเลิศแทนชานนท์ คำอ่อนซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศคนก่อนหน้า โดยเธอรักษาในฐานะผู้ชิงชนะเลิศถึง 21 สมัย[2] หลังจากนั้นสลา คุณวุฒิเห็นแววในความเป็นนักร้องของเธอจึงได้ประพันธ์เพลง คำสัญญาที่ชานุมาน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ภูมิลำเนาของเธอเอง[3][4] และได้เผยแพร่ลงยูทูบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมียอดการรับชม 15,871,849 ครั้ง (ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566)

หลังจากนั้นเธอมีผลงานเพลงตามมา อาทิ ขอพรท้าวเวสสุวรรณวัดไร่ขิง, ผาแดงของน้อง (ต้นฉบับคือต่าย อรทัย), ตังหวายอายผู้บ่าว (ต้นฉบับคือศิริพร อำไพพงษ์) และ ห่อข้าวสาวบ้านนอก

เธอได้ลงนามสัญญาการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์อย่างเต็มตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566[3][5] พร้อมกันนี้เธอยังได้รับสมญานามว่า ชานุมานสะท้านทุ่ง อันเนื่องมาจากผลงานเพลงคำสัญญาที่ชานุมานซึ่งเธอเป็นผู้ร้องเพลงดังกล่าว[6]

ผลงานเพลง

ซิงเกิล

ภูไทเรคคอร์ด :

  • น้องมาลา (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)

ซองเดอ :

  • คำสัญญาที่ชานุมาน (ตุลาคม พ.ศ. 2565)
  • ขอพรท้าวเวสสุวรรณวัดไร่ขิง (ธันวาคม พ.ศ. 25665

แกรมมี่โกลด์ :

  • ผาแดงของน้อง (มกราคม พ.ศ. 2566)
  • ตังหวายอายผู้บ่าว (มีนาคม พ.ศ. 2566)
  • ห่อข้าวสาวบ้านนอก (เมษายน พ.ศ. 2566)

อ้างอิง

เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวแห่งฟินแลนด์

เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวแห่งฟินแลนด์
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สิบชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2462
ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฟินแลนด์
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาคาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม
ประธานเซาลี นีนิสเตอ
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งผู้ปลดปล่อย
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตแห่งฟินแลนด์

เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวแห่งฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen Valkoisen Ruusun ritarikunta) เป็นหนึ่งในสามของเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศฟินแลนด์ร่วมกับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งผู้ปลดปล่อยและเครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตแห่งฟินแลนด์ มอบให้แก่ผู้กระทำคุณประโยชน์ต่อราชการและประชาชนชาวฟินแลนด์ทั้งชาวฟินแลนด์และชาวต่างประเทศ[1]

ประวัติ

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2462[2][3] โดยคาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม โดยที่มาของชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์มาจากดอกกุหลาบ 9 ดอกในตราแผ่นดินของฟินแลนด์ โดยบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[4] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ออกแบบโดยอักเซลี การ์เลน-คาเรลา

ลักษณะและลำดับชั้น

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 10 ชั้น โดยมีแพรแถบสีน้ำเงินครามตามสีธงชาติฟินแลนด์[5] ตัวดวงตราจารึกคำขวัญว่า Isänmaan hyväksi (เพื่อปิตุภูมิที่ดี) โดยลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์ดังกล่าวมีดังนี้

  • ประถมาภรณ์พร้อมสายสร้อย
  • ประถมาภรณ์พร้อมสายสะพาย
  • ทวีติยาภรณ์
  • Commander ตริตาภรณ์
  • จัตุรถาภรณ์
  • เบญจมาภรณ์
  • ดวงตรากางเขน
  • เหรียญชั้นที่หนึ่งพร้อมกางเขนสีทอง
  • เหรียญชั้นที่หนึ่ง
  • เหรียญ

ประธานาธิบดีฟินแลนด์ คือประธานของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้[1] และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำเครื่องอิสริยาภรณ์เพื่อค้นหาผู้ที่เหมาะสมและเสนอชื่อเพื่อรับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้[1] โดยสมาชิกอิสริยาภรณ์นี้ที่มีชื่อเสียงอันได้แก่ ยอซีป บรอซ ตีโต ประมุขแห่งยูโกสลาเวีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน บัชชาร อัลอะซัด ประธานาธิบดีซีเรีย[6] เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน ประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งญี่ปุ่น[7] เป็นต้น

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Ritarikuntien organisaatio". Ritarikunnat - Suomen Valkoisen Ruusun ja Suomen Leijonan ritarikunnat (ภาษาฟินแลนด์). 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
  2. "Finnish Orders and Where to Find Them". Tallinn Museum of Orders of Knighthood. December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 23, 2022.
  3. "The Order of the White Rose of Finland". Presidentti.fi. สืบค้นเมื่อ January 23, 2022.
  4. Matikkala 2017, p. 52.
  5. Matikkala 2017, pp. 44–45.
  6. "IS: Syyrian sotarikoksista syytetyllä presidentillä Suomen korkein kunniamerkki". Savon Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). 2013-09-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
  7. "Suomen Valkoisen Ruusun ritarikunnan suurristin ketjuineen ulkomaalaiset saajat". Ritarikunnat (ภาษาฟินแลนด์). 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2023-01-12.

เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์นักบุญเจมส์และดาบ

เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์นักบุญเจมส์และดาบ
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 1718
ประเทศโปรตุเกส ประเทศโปรตุเกส
สถานะยังมีการมอบ
ประธานมาร์แซลู รึเบลู ดึ โซซา
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์เอวีซ
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์อิงฟังตึ เด. เอ็งรีกึ

เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์นักบุญเจมส์และดาบ (โปรตุเกส: Ordem Militar de Sant'Iago da Espada) คือเครื่องอิสริยาภรณ์เก่าแก่ของประเทศโปรตุเกส ร่วมกับเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์หอคอยและดาบ เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์เอวีซ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1718 และถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญสมัยราชอาณาจักรโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2332 ก่อนจะระงับการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ไปใน พ.ศ. 2453 และถูกฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2461[1] เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์นี้มอบให้แก่ผู้กระทำคุณประโยชน์สูงสุดด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวรรณกรรมของประเทศโปรตุเกส[2][3] โดยประธานาธิบดีโปรตุเกสเป็นประธานของเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์นี้[4]

ลำดับชั้น

แต่เดิมเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นห้าชั้น ก่อนจะมีการเพิ่มชั้นสายสร้อยใน พ.ศ. 2505 สำหรับมอบให้แก่ประธานาธิบดีโปรตุเกสและประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ[2] โดยลำดับชั้นของเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์มีดังนี้[5]

  • ชั้นสายสร้อย
  • ชั้นประถมาภรณ์
  • ชั้นทุติยาภรณ์
  • ชั้นตริตาภรณ์
  • ชั้นจัตุรถาภรณ์
  • ชั้นเบญจมาภรณ์

ลักษณะ

ลักษณะของเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสายสร้อยและประถมาภรณ์
  • ดวงตรา มีลักษณะเป็นไม้กางเขนปิดทองเคลือบด้วยสีแดง ล้อมรอบด้วยใบปาล์มเคลือบสีเขียว (ในชั้นสายสร้อยไม่มีใบปาล์ม) พร้อมจารึกคำขวัญว่า Ciência Letras e Artes (วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวรรณกรรม) [6][7]
  • ดารา มีรัศมีล้อมรอบ 22 ดวง และมีรูปลักษณะคล้ายดวงตราอยู่ด้านใน ชั้นสายสร้อยและประถมาภรณ์จะเป็นสีทอง ส่วนชั้นทุติยาภรณ์จะเป็นสีเงิน
  • แพรแถบ มีลักษณะเป็นสีม่วงออกชมพู

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. Restabelecidas as Ordens de Cristo e de S. Tiago da Espada - Decreto n.º 5 030, de 6 de dezembro de 1918
  2. 2.0 2.1 "Lei n.º 5/2011 : Lei das Ordens Honoríficas Portuguesas" (PDF). Diário da República Electrónico, 1.ª série — N.º 43. 2 March 2011. p. 1254-1255. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
  3. Artigo 22º da Lei das Ordens Honoríficas Portuguesas.
  4. Chancelaria das Ordens Honoríficas Portuguesas. "Grão-Mestre".
  5. "Lei n.º 5/2011 : Lei das Ordens Honoríficas Portuguesas" (PDF). Diário da República Electrónico, 1.ª série — N.º 43. 2 March 2011. p. 1253-1254. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
  6. Chancelaria das Ordens Honoríficas Portuguesas. "Distintivo e Insígnias da Ordem Militar de Sant'Iago da Espada".
  7. Artigo 24º da Lei das Ordens Honoríficas Portuguesas.

เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรม (ประเทศยูเครน)

เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรม (ประเทศยูเครน)
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สามชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2539
ประเทศยูเครน ประเทศยูเครน
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาแลออนิด กุชมา
ประธานวอลอดือมือร์ แซแลนสกึย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยารอสเลาผู้รอบรู้
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์บอดัน เคลเมสกึย

เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรม (ยูเครน: Орден «За заслуги») เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ลำดับที่สี่ของประเทศยูเครนรองจากเครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยารอสเลาผู้รอบรู้ มอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การทหาร หรือเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศยูเครน ทั้งชาวยูเครนและชาวต่างชาติ ทั้งนี้ยังสามารถมอบย้อนหลังการเสียชีวิตได้ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2539 โดยแลออนิด กุชมา[1] มีทั้งสิ้น 3 ชั้น

ลำดับชั้นและลักษณะของเครื่องอิสริยาภรณ์

สำหรับสมาชิกที่เป็นฝ่ายทหาร จะมีรูปดาบไขว้ประดับบนแพรแถบ

ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3
แพรแถบ

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. "Про заснування Почесної відзнаки Президента України". Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 2022-06-28.
  2. "Указ Президента України № 335/2011 від 24 березня 2011 року «Про нагородження орденом „За заслуги"»". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  3. Pulver, Andrew (9 November 2022). "Sean Penn loans his Oscar to Ukraine's president Zelenskiy". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 9 November 2022.
  4. Respers France, Lisa (March 4, 2022). "Sean Penn walked to Polish border to leave Ukraine" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). CNN. สืบค้นเมื่อ April 25, 2022.
  5. "Указ Президента України № 435/2012" (ภาษายูเครน). 5 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 October 2012.

แหล่ข้อมูลอื่น

สเตียปาน เมซิช

สเตียปาน เมซิช
เมซิชในปี พ.ศ. 2555
ประธานาธิบดีโครเอเชียคนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอีวีกา ราชาน
อีวอ ซานาเดีย
ยาดรานกา กอซอ
ก่อนหน้าฟราโญ ตุจมัน
ซลาดกอ ทอมซิช (acting)
ถัดไปอีวอ ยอซิปอวิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
ออราฮอวีซา, ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
(ปัจจุบันอยู่ใน ประเทศโครเอเชีย)
พรรคการเมืองอิสระ (2543–ปัจจุบัน)[1]
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งโครเอเชีย (2498–2533)
พรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย (2533–2537)
พรรคประชาธิปไตยอิสรนิยม (2537–2540)
พรรคประชาชนโครเอเชีย (2540–2543)
คู่สมรสมิลกา เมซิช
บุตร2 คน[2]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซาเกร็บ
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

สเตียปาน เมซิช (โครเอเชีย: Stjepan Mesić; 24 ธันวาคม พ.ศ. 2477 –) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวโครเอเชียซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สองของโครเอเชียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี พ.ศ. 2553 ก่อนหน้านี้เขาเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย ประธานาธิบดีคนสุดท้ายของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หลังโครเอเชียได้รับเอกราชเขายังดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภาโครเอเชียตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2537 รวมทั้งยังเป็นผู้พิพากษาที่นาชีเชและนายกเทศมนตรีเมืองออราฮอวิชาซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา[3]

เมซิชเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชียในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จากนั้นได้เว้นว่างงานการเมืองเป็นเวลานานจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 เขาได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชียในนามพรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย และยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก่อนล่มสลายใน พ.ศ. 2534 หลังจากการล่มสลายของยูโกสลาเวีย เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานรัฐสภาโครเอเชีย ก่อนจะลาออกจากพรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชียเพื่อจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยอิสรนิยมแห่งโครเอเชีย ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2540 สมาชิกพรรคดังกล่าวจะรวมกับพรรคประชาชนโครเอเชีย[4]

หลังการถึงแก่อสัญกรรมของฟราโญ ตุจมันในปี พ.ศ. 2542 เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนที่สองของโครเอเชียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เขาเป็นประธานาธิบดีโครเอเชียคนสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยลดอำนาจของประธานาธิบดีลง ต่อมาเขาได้รับการเลือกตั้งกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 ในวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของเขาเป็นช่วงที่เขาได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนโครเอเชียมากที่สุด[5][6]จากการสำรวจความคิดเห็นโดยสื่อภายในประเทศ[7][8]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เมซิชเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[9] และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี[9]

อ้างอิง

  1. "41 7.5.2001 Ustav Republike Hrvatske (pročišćeni tekst)". Narodne-novine.nn.hr. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2013.
  2. "Unuka Sara je trudna: Stjepan Mesić (79) će postati pradjed". 24sata. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013.
  3. "Stipe Mesić profile". Moljac.hr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2013.
  4. url=https://www.youtube.com/watch?v=9w2PMEWh6EM
  5. Robert Bajruši (9 December 2003). "Stjepan Mesić i dalje najpopularniji političar" [Stjepan Mesić still the most popular politician]. Nacional (weekly) (ภาษาโครเอเชีย). No. 421. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2019.
  6. "Najpopularniji Mesić i HDZ, Vladi prosječno trojka". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2005. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007.
  7. "The page cannot be found". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2007.
  8. "Dalmacija vjeruje HDZ-u i Mesiću". Slobodna Dalmacija. 18 มีนาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2007. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007.
  9. 9.0 9.1 สาธารณรัฐโครเอเชีย - กระทรวงการต่างประเทศ

จิโร อัตซึมิ

จิโร อัตซึมิ
渥美二郎
ชื่อเกิดโทชิโอะ อัตซึมิ
(ญี่ปุ่น: 渥美 敏夫)
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
เขตอาดาจิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลงเอ็งกะ
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2519––ปัจจุบัน
ค่ายเพลงโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
นิปปอนโคลัมเบียมิวสิก

จิโร อัตซึมิ (ญี่ปุ่น: 渥美二郎, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 –) เป็นนักร้องชาวญี่ปุ่นแนวเอ็งกะ[1] เขาเป็นที่รู้จักจากเพลง ยูเมะโออิซาเกะ (ญี่ปุ่น: 夢追い酒, ให้สาเกย้อมใจ) ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยทำนองเพลงนี้ถูกนำไปใช้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยในชื่อ รักฉันนั้นเพื่อเธอ ของพิงค์แพนเตอร์ ซึ่งประพันธ์คำร้องโดยชรัส เฟื่องอารมย์ และเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2525[2]

ประวัติและชีวิตในวงการบันเทิง

เขามีชื่อจริงว่า โทชิโอะ อัตซึมิ (ญี่ปุ่น: 渥美 敏夫) เขาเกิดที่เขตอาดาจิ โตเกียว เขาจบการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมโคมาโกเมะ จากนั้นเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นนักร้องที่คิตะเซ็นจู โดยใช้ชื่อในวงการบันเทิงชื่อแรกว่า ทาเคชิ อัตซึมิ โดยได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ ชัยชนะแห่งความตาย ในปี พ.ศ. 2518 หลังจากนั้นเขาได้ออกผลงานเพลงแรกในปี พ.ศ. 2519 สังกัดโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในชื่อ คาวาอีโอมาเอะ (ญี่ปุ่น: 可愛いおまえ, เธอช่างน่ารักเหลือเกิน) แต่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเพลง ยูเมะโออิซาเกะ ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2521 สามารถทำยอดขายร่วม 2,800,000 ตลับ[3] และกลายเป็นเพลงประจำตัวของเขาในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2532 เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ได้ทำการรักษาจนหายขาด ต่อมาเขาได้ย้ายไปสังกัดนิปปอนโคลัมเบียมิวสิก เมื่อปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2559 เขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ เดอะลาซเอ็งกะมาสเตอร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีในวงการบันเทิงของเขา

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

  1. 可愛いおまえ („เธอช่างน่ารัก“, 2519)
  2. 夢追い酒 („ให้สาเกย้อมใจ“, 2521)
  3. 忘れてほしい („ผมอยากให้คุณลืม“, 2522)
  4. いたわり („ความกรุณา“, 2523)
  5. 他人酒 („Another's Sake“, 2524) ทำยอดขายถึง 300,000 ตลับ[4]
  6. 夢よもういちど („ความฝันครั้งหนึ่ง“, 2525)
  7. 想い出のひと („ใครจำได้บ้าง“, 2526)
  8. 釜山港へ帰れ („กลับสู่ปูซาน“, 2526) ทำยอดขายถึง 700,000 ตลับ[4]
  9. 北のものがたり („นิทานจากแดนเหนือ“, 2527)
  10. おまえとしあわせに („โชคดีที่มีเธอ“, 2528)
  11. ふたりの明日 („เช้าวันที่สอง“, 1. Juni 1991)
  12. 浪花夜景 („ยามราตรีของนานิวะ“, 2536) ทำยอดขายถึง 150,000 ตลับ[4]
  13. 霧の港町 („เมืองท่าหมอกปกคลุม“, 2542)
  14. 男の航路 („การเดินทางของชายคนหนึ่ง“, 2544)
  15. おそい春 („ปลายฤดูใบไม้ผลิ“, 2546)
  16. 哀愁 („คิดถึง“, 2549)
  17. 夢落葉 („ใบไม้ในฝัน“, 2549)
  18. 望郷波止場 („คิดถึงบ้านท่าเรือ“, 2551)

อ้างอิง

  1. BS11. 演歌百撰, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560
  2. เปิดเรื่องราว Pink Panther วงดนตรีดังเจ้าของเพลงตำนาน "รักฉันนั้นเพื่อเธอ"
  3. Nagata, Gyoji (2002). 歌謡曲おもしろこぼれ話. Shakai Shisosha. p. 277. ISBN 4390116495. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 Yomiuri Shimbunsha, Kulturabteilung, 『この歌この歌手―運命のドラマ120〈下〉』, Bibliothek für gegenwärtige Kultur, 1997, S. 59, ISBN 4-390-11602-9

ลีเจียนออฟออเนอร์

ลีเจียนออฟออเนอร์
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2491
ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนามานูเอล โรฮัส
ประธานบองบอง มาร์กอส
ลำดับเกียรติ
สูงกว่ากางเขนควรีซอน
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์กาบาเลียซียัง
เสมอเครื่องอิสริยาภรณ์ลาคันดูลา
เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา

ลิเจียนออฟออเนอร์[1] (อังกฤษ: Philippine Legion of Honor, ตากาล็อก: Lehiyong Pandangal ng Pilipinas) หรือชื่อแปลในภาษาไทยคือ เครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติยศแห่งฟิลิปปินส์ เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ มีศักดิ์เสมอกับเครื่องอิสริยาภรณ์ลากันดูลาและเครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา สร้างขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีมานูเอล โรฮัส และออกคำสั่งโดยกองทัพบกฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 โดยดวงตราและดาราได้แบบอย่างมาจากลีเจียนออฟเมอริตของสหรัฐ และมีทั้งสิ้นสี่ชั้นเช่นเดียวกันกับลีเจียนออฟเมอริต ก่อนจะมีการเพิ่มลำดับชั้นเป็นหกชั้นในปี พ.ศ. 2546[2] มอบให้แก่ทหารและพลเรือนทั้งชาวฟิลิปปินส์และชาวต่างชาติที่กระทำคุณประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพฟิลิปปินส์และเป็นไปเพื่อรักษาเกียรติภูมิของประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะมอบให้กับบุคคลอันสมควรจะได้รับในวันชาติฟิลิปปินส์ (12 มิถุนายน) ของทุกปี

ลำดับชั้น

พ.ศ. 2490 - 2546

แพรแถบและลำดับชั้น
สมาชิก
เจ้าพนักงาน
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการสูงสุด

ตั้งแต่ พ.ศ. 2546

แพรแถบและลำดับชั้น
ชั้นเบญจมาภรณ์
ชั้นจัตุรถาภรณ์
ชั้นตริตาภรณ์
ชั้นทุติยาภรณ์
ชั้นประถมาภรณ์
ชั้นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

ชาวฟิลิปปินส์

ชาวต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. The AFP Adjutant General, AFP Awards and Decorations Handbook, 1995, 1997, 2014, OTAG, pp. 18–22.
  2. "Executive Order No. 236, September 19, 2003: Establishing the Honors Code of the Philippines to Create an Order of Precedence of Honors Conferred and For Other Purposes". Supreme Court E-Library. สืบค้นเมื่อ 7 January 2016.
  3. Photo
  4. "Hassanal Bolkiah". Wikipedia (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-11. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Briefer on the Philippine Legion of Honor". Official Gazette of the Republic of the Philippines. Gov.ph. สืบค้นเมื่อ 2013-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • The AFP Adjutant General, AFP Awards and Decorations Handbook, 1995, 1997, 2014 OTAG.
  • "Briefer on the Philippine Legion of Honor". Official Gazette of the Republic of the Philippines. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.

จอร์เจีย เมโลนี

จอร์เจีย เมโลนี
นายกรัฐมนตรีอิตาลีคนที่ 31
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้ามารีโย ดรากี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2520 (47 ปี)
โรม, ประเทศอิตาลี
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคอนุรักษ์นิยมและปฏิรูปนิยมยุโรป
ลายมือชื่อ

จอร์เจีย เมโลนี (อิตาลี: Giorgia Meloni; 15 มกราคม พ.ศ. 2520 –) เป็นนักการเมืองชาวอิตาลีซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นอกจากนี้เธอยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิตาลีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 รวมทั้งยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมและปฏิรูปนิยมยุโรป (อีซีอาร์) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

เธอเกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2520[1][2] ที่กรุงโรม บิดาเป็นนักจัดรายการวิทยุ มารดาเป็นนักแสดง เธอเข้าร่วมกับกลุ่มเยาชนก้าวหน้าของขบวนการสังคมอิตาลี (เอ็มเอสไอ) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวนีโอฟาสซิสต์ และเธอยังได้เป็นแกนนำของอาซียอเนสติวเดนเอซา ซึ่งเป็นขบวนการนักศึกษาของพรรคพันธมิตร (เอเอ็น) ในปี พ.ศ. 2538[2] เธอเริ่มดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะสมาชิกสภากรุงโรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปี พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นเธอได้เป็นประธานกลุ่มกิจเยาวชนของพรรคพันธมิตรในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2551 เธอได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนของอิตาลีในรัฐบาลของซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี[3] ซึ่งในช่วงนั้นเธอได้ก่อตั้งพรรคฟาเตลีอิตาลิยา (เอฟดีไอ) ขึ้นมา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอด จนกระทั่งชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2565 หลังมารีโย ดรากีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในทัศนคติการเมืองของเธอถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มการเมืองฝ่ายขวาจัด[4][5] เธอเป็นสัญลักษณ์ของอนุรักษ์นิยมคริสเตียน และต่อต้านการุณยฆาต ความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้เธอยังถูกมองว่าเป็นพวกคตินิยมเชื้อชาติและต่อต้านมุสลิม เธอเคยสนับสนุนและเห็นชอบกับความสัมพันธ์ที่แนบแน่นต่อประเทศรัสเซียของอิตาลี แต่เมื่อรัสเซียรุกรานยูเครนในปี พ.ศ. 2565 รัฐบาลของเธอได้ให้การสนับสนุนทางอาวุธและสิทธิมนุษยชนกับยูเครน[6]และคัดค้านการรุกรานของรัสเซีย

ในปี พ.ศ. 2565 เธออยู่ในอันดับที่ 7 ของสตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกโดยนิตยสารฟอบส์[7]

อ้างอิง

  1. Pietromarchi, Virginia (19 September 2022). "Who is Italy's leadership hopeful Giorgia Meloni?". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  2. 2.0 2.1 "Biografia del ministro Giorgia Meloni" [Biography of Minister Giorgia Meloni] (ภาษาอิตาลี). Chigi Palace. November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2022.
  3. "Giorgia Meloni". Corsera Magazine (ภาษาอิตาลี). 7 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2007. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
  4. Harlan, Chico; Pitrelli, Stefano (13 September 2022). "A far-right politician is poised to become Italy's first female leader". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  5. Khrebtan-Hörhager, Julia; Pyatovskaya, Evgeniya (19 September 2022). "Giorgia Meloni – the political provocateur set to become Italy's first far-right leader since Mussolini". The Conversation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 13 October 2022.
  6. Ciriaco, Tommaso (21 February 2023). "Le lacrime, il fango, i fiori. Meloni a Bucha nella 'città non sconfitta': "Con voi fino alla fine"". la Repubblica (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 26 March 2023.
  7. "Ursula von der Leyen, Giorgia Meloni, Rihanna: chi sono le 100 donne più potenti del mondo" [Ursula von der Leyen, Giorgia Meloni, Rihanna: who are the 100 most powerful women in the world]. Forbes Italia (ภาษาอิตาลี). 6 December 2022. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Giorgia Meloni

หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2520 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีอิตาลี


สำอางค์ เลิศถวิล

สำอางค์ เลิศถวิล
รู้จักในชื่อยายสำอาง
เกิดพ.ศ. 2467
จังหวัดสมุทรสงคราม
เสียชีวิต30 กันยายน พ.ศ. 2540 (72–73 ปี)
กรุงเทพมหานคร
แนวเพลงเพลงขอทาน  · ลำตัด
อาชีพนักร้อง  · นักดนตรี
เครื่องดนตรีเสียงร้อง  · โทน
ช่วงปีประมาณ พ.ศ. 2470––2531

สำอางศ์ เลิศถวิล (พ.ศ. 2467 – 30 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นนักดนตรีและนักร้องเพลงพื้นบ้านภาคกลางของประเทศไทย[1] เชี่ยวชาญในเรื่องเพลงขอทานและลำตัด นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญการเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอย่างโทน ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น เธอเป็นแรงบันดาลใจให้ยืนยง โอภากุล นักร้องนำวงดนตรีเพื่อชีวิตคาราบาว สำหรับเพลง ยายสำอาง ซึ่งเป็นหนึ่งในเพลงที่มีชื่อเสียงของวง

ประวัติ

สำอางค์เกิดเมื่อราว พ.ศ. 2467 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในครอบครัวชาวจีนอพยพ บิดามารดาได้ทอดทิ้งเธอไว้ที่วัดบางน้อยตั้งแต่แรกเกิดเนื่องจากยึดถือคติความเชื่อแบบจีนในเรื่องของการมีบุตร[2] ต่อมาสองสามีภรรยาที่เป็นวณิพกรับเธอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

ด้วยสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และฐานะยากจนโดยไม่ได้รับการรักษา ทำให้เธอตาบอดตั้งแต่อายุ 4 ปี เธอได้รับการถ่ายทอดวิชาเพลงขอทานจากบิดามารดาบุญธรรม และตระเวนร้องเพลงขอทานตามงานวัดรวมถึงงานรื่นเริงในหลายโอกาส จนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของเพลงขอทานซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้านทางภาคกลางที่พัฒนามาจากลำตัด และมีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับนิทานชาดก หรือนิทานพื้นบ้านในภาคกลาง สำอางมีน้ำเสียงการร้องที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถร้องทั้งในแนวสนุกสนานและแนวเศร้า รวมทั้งยังเชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรีอย่างโทน ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น[2]

ในปี พ.ศ. 2525 เธอตระเวนร้องเพลงขอทานอยู่บริเวณบ้านของอภัย นาคคง อาจารย์ประจำวิทยาลัยเพาะช่าง จนความทราบไปถึงเอนก นาวิกมูล[3] เรื่องราวของเธอจึงถูกบันทึกไว้ในหนังสือ อยู่อย่างชาวสยาม[4][5] และยังถูกเชิญให้ไปแสดงการร้องเพลงขอทานและลำตัดที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ[3] โดยได้มีโอกาสรวมงานกับหวังเต๊ะ ซึ่งเป็นนักร้องแนวลำตัดที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง

เธอเสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2540 ที่กระท่อมหลังเล็กส่วนตัวริมคลองภาษีเจริญ สิริอายุประมาณ 73 ปี

ชีวิตส่วนตัว

สำอางค์เคยมีสามีถึงสามคน แต่ทั้งสามคนเสียชีวิตไปก่อนหน้านั้น โดยที่ไม่มีบุตรและธิดาด้วยกัน นอกจากนี้ เธอเคยถูกดูแลโดยกรมประชาสงเคราะห์ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่ทางกรมประชาสงเคราะห์จะอนุญาตให้เธอออกมาใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบ โดยเธอหันมาทำอาชีพเหลาไม้ปิ้งไก่เพื่อเลี้ยงชีพ

วัฒนธรรมสมัยนิยม

  • ในปี พ.ศ. 2536 ยืนยง โอภากุล ประพันธ์และขับร้องเพลง ยายสำอาง ซึ่งอยู่ในสตูดิโออัลบั้ม ช้างไห้ ซึ่งเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 13 ของคาราบาว โดยเพลงเป็นทำนองจังหวะสามช่าผสมผสานกับเพลงขอทาน และกลายเป็นหนึ่งในเพลงที่มีชื่อเสียงของคาราบาว

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

มเหนทร กปูร

มเหนทร กปูร
เกิด9 มกราคม พ.ศ. 2477
อมฤตสระ, ปัญจาบ, บริติชอินเดีย
เสียชีวิต27 กันยายน พ.ศ. 2551 (74 ปี)
มุมไบ, ประเทศอินเดีย
บุตรโรฮัน กปูร
รางวัล เครื่องอิสริยาภรณ์ปัทมศรี
อาชีพทางดนตรี
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปี2499–2545

มเหนทร กปูร (อังกฤษ: Mahendra Kapoor, ฮินดี: महेन्द्र कपूर; 9 มกราคม พ.ศ. 2477 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551) เป็นนักร้องชายชาวอินเดียที่มีผลงานการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์อินเดียหลายเรื่อง[1] เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุดคือ นีลเลกกันเกตะเล จากภาพยนตร์เรื่อง รอยรักรอยมลทิน เมื่อปี พ.ศ. 2510

เขาเกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2477 ที่อมฤตสระ ก่อนจะย้ายไปยังบอมบ์เบย์ เขาสนใจด้านการร้องเพลงตั้งแต่อายุยังน้อยโดยมีโมฮัมเหม็ด ราฟีเป็นแรงบันดาลใจ เขาเริ่มศึกษาด้านดนตรีในสถาบันวิชาดนตรีหลายแห่ง และยังชนะการประกวดร้องเพลงเมโทรเมอร์ฟีออลอินเดีย ซึ่งทำให้เขาได้มีผลงานเพลงแรกคือ อาดาร์ไฮจันทรามารัตอาดี เพื่อประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง นาวรัง ในปี พ.ศ. 2501[2]

เพลงที่โดดเด่นที่สุดของเขามักเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ที่กำกับโดยบัลเทพ ราช โจประ[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นีลเลกกันเกตะเล จากภาพยนตร์เรื่อง รอยรักรอยมลทิน ซึ่งกำกับโดยโจประเช่นกัน

เขามีบุตรสามคน บุตรชายคนโตคือโรฮัน กปูร ซึ่งเป็นนักร้องและนักแสดงชาวอินเดียเช่นเดียวกันกับเขา

เขาเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพักของเขาที่มุมไบ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด สิริอายุได้ 74 ปี[4][5]

อ้างอิง

  1. "Keeping Score". 27 December 2015.
  2. [1] Mere desh ki dharti' will always be with us
  3. "Mahendra Kapoor: The voice of patriotism". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2010-01-08. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  4. "Singer Mahendra Kapoor dies of heart attack - Indian Express". archive.indianexpress.com.
  5. Singer Mahendra Kapoor passes away

ฆาเวียร์ เกราโด มิเล (en:Javier Milei)

ฆาเวียร์ เกราโด มิเล
ว่าที่ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าอัลเบร์โต เฟร์นันเดซ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
บัวโนสไอเรส, ประเทศอาร์เจนตินา
พรรคการเมืองAvanza Libertad
ลายมือชื่อ

ฆาเวียร์ เกราโด มิเล (สเปน: Javier Gerardo Milei; 22 ตุลาคม พ.ศ. 2513 –) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักเขียน และนักการเมืองฝ่ายขวาชาวอาร์เจนตินา ซึ่งชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอาร์เจนตินาในปี พ.ศ. 2566[1] ทำให้กลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา และจะเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ต่อจากอัลเบร์โต เฟร์นันเดซ

ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ เขาอยู่หนึ่งในแกนนำของออสเตรียนสคูล เขาได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลอาร์เจนตินา นอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค และคณิตศาสตร์สำหรับเศรษฐศาสตร์มานานกว่ายี่สิบปี[2] นอกจากนี้เขายังมีผลงานทางวิชาการและหนังสือหลายเล่ม รวมทั้งยังเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุอีกด้วย เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอาร์เจนตินาในปี พ.ศ. 2564 ต่อมาเขาได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2566 โดยคู่แข่งของเขาคือแซร์กิโอ มาร์ซา จากพรรคเฟรนเตเรโนวาดอร์ พรรคการเมืองสายลัทธิเปรอง ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถึง 56%[3]

ในทางการเมือง เขาจัดอยู่ในการเมืองฝ่ายขวาจัด โดยยึดอุดมการณ์ประชานิยม, เสรีนิยมใหม่, อนุรักษ์นิยมสุดขั้ว และทุนนิยมอนาธิปไตย ซึ่งมุมมองทางการเมืองของเขานั้นโดดเด่นและแปลกใหม่ในบรรดานักการเมืองของอาร์เจนตินา ทำให้เขาได้รับความสนใจจากสื่อและประชาชนภายในประเทศ เขาเสนอให้ยกเลิกธนาคารกลางแห่งอาร์เจนตินา[4] รวมไปถึงการยกเลิกโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่จำเป็น ทั้งนี้เขายังต่อต้านการทำแท้งอย่างหนักแม้ว่าจะเกิดจากการถูกข่มขืนก็ตาม[5] นอกจากนี้เขายังสนับสนุนเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะความหลากหลายทางเพศและยังสนับสนุนการครอบครองอาวุธปืนอย่างถูกกฎหมาย

อ้างอิง

  1. Dadouch, Sarah (14 August 2023). "Who is Javier Milei, Argentina's right-wing presidential front-runner". The Washington Post. ISSN 2641-9599. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2023. สืบค้นเมื่อ 1 September 2023.
  2. https://www.agesor.com.uy. "¿Quién es Javier Milei?". www.agesor.com.uy (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  3. Misculin, Nicolás; Elliott, Lucinda; Bianchi, Walter; Elliott, Lucinda (2023-11-20). "Argentine libertarian Milei pledges new political era after election win". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
  4. "Milei insiste con "volar por los aires el Banco Central" y con su teoria de "Alberto titere"". www.cronista.com (ภาษาสเปน). 2021-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  5. "Milei: El candidato para el que sus padres 'no existen' y el aborto es un 'conflicto de propiedad'". El Canciller (ภาษาสเปน). 2021-10-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.

จิตรฉรีญา บุญธรรม

จิตรฉรีญา บุญธรรม
รู้จักในชื่อหมอลำสาวเสียงห้าว
บิว จิตรฉรีญา
เกิด13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (27 ปี)
จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
แนวเพลงเพลงลูกทุ่ง  · หมอลำกลอน  · หมอลำซิ่ง
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2562–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงประถมเอนเตอร์เทนเมนท์
วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
สมาชิกของประถมบันเทิงศิลป์

จิตรฉรีญา บุญธรรม (ชื่อเล่น : บิว; 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 −) หรือชื่อในวงการ บิว จิตรฉรีญา เป็นนักร้องแนวลูกทุ่ง-หมอลำหญิงชาวไทย และเป็นสมาชิกวงประถมบันเทิงศิลป์ เป็นที่รู้จักจากผลงานเพลง ฮอยกอดภูยอดรวย ซึ่งเผยแพร่ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 เธอโดดเด่นด้วยน้ำเสียงที่แหบห้าวและเสียงทุ้ม และการร้องอันเป็นเอกลักษณ์รวมถึงความเป็นกันเองต่อผู้ฟัง[1] โดยได้รับสมญานามว่า หมอลำสาวเสียงห้าว

ชีวิตช่วงต้น

จิตรฉรีญาเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[2] ที่อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ในครอบครัวที่ยากจน สมัยที่เธอยังเด็กต้องช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมถึงเคยประกอบอาชีพคนเผาถ่านและคนขายสลากกินแบ่งรัฐบาล[3] ชีวิตของเธอในช่วงวัยเด็กจึงค่อนข้างลำบาก[3] อย่างไรก็ตาม เธอมีพรสวรรค์ด้านการร้องเพลงมาตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษา โดยเคยร่วมกิจกรรมร้องเพลงที่บ้านลานธรรม ที่พำนักของพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2557[3]

เธอจบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานาฎศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วงการเพลง

พ.ศ. 2562 – 2566 : จุดเริ่มต้น

เธอเริ่มต้นอาชีพจากการเป็นนักร้องหมอลำซิ่ง จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2564 เธอเข้าสู่วงการเต็มตัวด้วยการเข้าเป็นสมาชิกวงประถมบันเทิงศิลป์ ของสันติ สิมเสน (หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ดาบ ส.) เธอเคยให้สัมภาษณ์ในรายการคุยแซ่บ Showทางช่องวันในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ว่าเธอเคยมีความคิดที่จะลาออกจากวงและยุติบทบาทจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยสมาชิกในวงอันเนื่องมาจากการที่เธอเป็นคนโปรดของหัวหน้าวงและมีชื่อเสียงมากกว่านักร้องคนอื่น ทั้งนี้เธอได้ออกผลงานเพลงแรกคือ จิตรฉรีญาวอนแฟน อันเป็นการแนะนำตัวเธอเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ประพันธ์โดยบิ๊ก ภูมารินทร์ แต่ได้ผลการตอบรับในระดับปานกลาง[1]

พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน : ฮอยกอดภูยอดรวย กับความสำเร็จ

จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เธอได้ออกผลงานซิงเกิล ฮอยกอดภูยอดรวย ผลงานการประพันธ์ของบิ๊ก ภูมารินทร์เช่นเดียวกัน และเผยแพร่ภายใต้สังกัดประถมเอนเตอร์เทนเมนท์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวจากอำเภอศรีเมืองใหม่คนหนึ่งรอคอยความรักจากชายหนุ่มจากอำเภอเขมราฐ ซึ่งผลงานเพลงดังกล่าวประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับเธอ[4][5] ด้วยทำนองและกลอนลำที่ติดหูผู้ฟังจนแพร่กระจายในติ๊กต็อก[6] จากแฮชแท็ก #เยิ้นเยอะเยิ้นเยอะเยิ้นเยิ้น ที่ถูกใช้โดยผู้ใช้งานติ๊กต็อกไปแล้วร่วม 600,000 ครั้ง[6] นอกจากนี้เพลงดังกล่าวยังมียอดผู้ชมในยูทูบถึง 7,100,000 ครั้งในเวลาเพียงหนึ่งเดือน (ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพลงดังกล่าวมียอดผู้ชมในยูทูบทั้งสิ้น 19,902,516 ครั้ง)

หลังประสบความสำเร็จจากเพลงดังกล่าว เธอมีผลงานเพลงอื่นตามมา อาทิ รักซึ้งบึงแก่นนคร[7] ที่ประพันธ์โดยสันติ สิมเสน และ ลำแพนแทนใจ ซึ่งเป็นผลงานเพลงที่สามของเธอที่บิ๊ก ภูมารินทร์ประพันธ์คำร้องและทำนอง[7] ความสำเร็จของเธอส่งผลให้มีโอกาสร่วมงานกับจินตหรา พูนลาภ จากผลงานเพลง คอยอ้ายไหลเรือไฟ ที่เธอได้ร่วมร้องบางส่วน[8]

ชีวิตส่วนตัว

เธอสมรสแล้วในปี พ.ศ. 2565[2] โดยยังไม่มีบุตรและธิดา

ผลงาน

ผลงานเพลง

ปี ชื่อเพลง ค่าย คำร้อง-ทำนอง เรียบเรียง
2566 "จิตรฉรีญาวอนแฟน" อิสระ บิ๊ก ภูมารินทร์ บุญหลง มงคลพร
"ฮอยกอดภูยอดรวย" ประถมเอนเตอร์เทนเมนท์
"ลำแพนแทนใจ"
"รักซึ้งบึงแก่นนคร" สันติ สิมเสน จินนี่ ภูไท
เพลงที่ไปรับเชิญร้อง
ปี ชื่อเพลง ศิลปินร่วม ค่าย คำร้อง-ทำนอง เรียบเรียง
2566 "คอยอ้ายไหลเรือไฟ" จินตหรา พูนลาภ แคทไนน์ สตูดิโอ บิ๊ก ภูมารินทร์ บุญหลง มงคลพร

กรรมการตัดสิน

ทางช่องเวิร์คพอยท์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "บิว จิตรฉรีญา บุญธรรม" หมอลำขนานแท้ จากอุบลราชธานีเมืองนักปราชญ์
  2. 2.0 2.1 HBD "บิว จิตรฉรีญา" อบอุ่น หวานใจโอนให้ 1 แสน
  3. 3.0 3.1 3.2 สู้ชีวิต "บิว จิตรฉรีญา" เคยเผาถ่าน-ขายล็อตเตอรี่
  4. ปีทอง! "บิว จิตรฉรีญา" เชื่อ "ฮอยกอดภูยอดรวย" พาปัง!
  5. “บิว จิตรฉรีญา” เตรียมแก้บน “พญานาคองค์ดำ” หลังเพลงปัง
  6. 6.0 6.1 เนื้อเพลง “ฮอยกอดภูยอดรวย” ไวรัลดังใน Tiktok จาก บิว จิตรฉรีญา
  7. 7.0 7.1 แรงเกินต้าน "บิว จิตรฉรีญา" 3 ซิงเกิลทะลุล้านวิวทั้งหมด
  8. ฮือฮา"จินxบิว"ร้องทะลุ สุดๆ "คอยอ้ายไหลเรือไฟ"
  9. ‘หมอลำไอดอล’ รอบ Feat.ดาวรุ่ง ใครจะได้เป็น 4 คนสุดท้าย วันศุกร์ที่ 8 ธ.ค. นี้ 6 โมงเย็น ช่องเวิร์คพอยท์ 23

แหล่งข้อมูลอื่น

บากองปักสีลาง

บากองปักสีเลียง

เพลงชาติของ
ขบวนการสังคมใหม่ฟิลิปปินส์

เนื้อร้องเรนิ เซเลลิโอ, พ.ศ. 2516
ทำนองเฟลิเป พาลิดา เด เลออง, พ.ศ. 2516
รับไปใช้พ.ศ. 2516
เลิกใช้พ.ศ. 2529
ตัวอย่างเสียง
ตัวอย่างเพลง บากองปักสีเลียง

บากองปักสีลาง (ตากาล็อก: Bagong Pagsilang, อังกฤษ: New Birth or Rebirth, ไทย: นี่คือเวลาแห่งการเกิดใหม่) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มาซานักบากองลีปูนาน (ตากาล็อก: Martsa ng Bagong Lipunan, อังกฤษ: March of the New Society) เป็นเพลงปลุกใจของประเทศฟิลิปปินส์ในยุคของอดีตประธานาธิบดีและอดีตเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงยุคกฎอัยการศึกโดยมาร์กอสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปี พ.ศ. 2529 ซึ่งประพันธ์คำร้องและทำนองโดยเรนิ เซเลลิโอและเรียบเรียงโดยเฟลิเป พาลิดา เด เลออง และถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516[1][2][3][4][5]

ประวัติ

จากคำบอกเล่าของลูกชายคนโตของเด เลออง ผู้เรียบเรียงเพลงนี้ เขากล่าวว่าเพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นหลังการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดีมาร์กอส โดยมีรถถังของกองทัพล้อมบ้านของเด เลอองและขอให้ประพันธ์เพลงปลุกใจตามความประสงค์ของอีเมลดา มาร์กอส สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งฟิลิปปินส์ ณ ขณะนั้น เด เลอองจึงขอความช่วยเหลือจากเขาในการประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมา โดยเขาเริ่มประพันธ์ทำนอง 16 ท่อนแรก ก่อนที่เด เลอองจะนำท่อนที่ตนประพันธ์ไว้มารวมกับของเขาที่ประพันธ์นก่อนหน้านี้จึงแล้วเสร็จ[6] โดยใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลง บทเพลงแห่งการสร้างสรรค์ฟิลิปปินส์ใหม ที่เด เลอองประพันธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2485

เพลงนี้ถูกบรรจุในอัลบั้ม มางาร์อาวิตินอัทตุกตุกอินนักฟิลิปินัสซาบากองลีปูนาน ที่จัดทำขึ้นโดยวงดนตรีและคณะนักร้องประสานเสียงของตำรวจฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2516[7][8][9] และถูกบันทึกไว้ในหนังสือ มางาร์อาวิทซาบากองลีปูนาน ในปี พ.ศ. 2517 ร่วมกับเพลงปลุกใจอื่นและเพลงชาติฟิลิปปินส์[10]

เพลงนี้กลับมาเป็นที่รู้จักในสังคมฟิลิปปินส์อีกครั้งจากการถูกนำมาใช้ในการหาเสียงของบองบอง มาร์กอส ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2565 และยังถูกบรรเลงในการตรวจพลสวนสนามของประธานาธิบดีบองบองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 มาร์กอสและถูกใช้อีกครั้งในระหว่างการเยือนค่ายทหารที่มินดาเนาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ปีเดียวกัน

เนื้อเพลง

"บากองปักสีลาง"
เนื้อเพลงในภาษาตากาล็อก
"บทเพลงแห่งสังคมใหม่"
แปลเป็นภาษาไทย

Koro:
May bagong silang.
May bago nang buhay,
Bagong bansa, bagong galaw
Sa Bagong Lipunan!
Magbabago ang lahat, tungo sa pag-unlad,
At ating itanghal: Bagong Lipunan!

Koro

Ang gabi'y nagmaliw nang ganap,
At lumipas na ang magdamag.
Madaling araw ay nagdiriwang.
May umagang namasdan.
Ngumiti na ang pag-asa
Sa umagang anong ganda!

Koro

ประสานเสียง:
นี่คือเวลาแห่งการจุติขึ้นอีกครั้ง
นี่คือเวลาแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่
ประเทศแบบใหม่ จงเดินหน้าสู่สิ่งใหม่
ด้วยระเบียบสังคมใหม่
ทุกสิ่งทุกอย่างจะวิวัฒนาเพื่อเดินหน้า
จงร่วมป่าวร้องพร้อมเพียงกัน: "นี่คือระเบียบสังคมใหม่"!

ประสานเสียง

ยามราตรีความมืดมานสิ้นสุดแล้ว
วันเวลาสองยามผ่านพ้นไป
ถึงเวลารุ่งอรุณแห่งความสุข
ยามเช้าในสายตาเรา
แห่งความหวัง ความสุขที่ยิ้มให้
แด่รุ่งอรุณ โอ้! อันสวยงามตระการตา

ประสานเสียง


อ้างอิง

  1. "Bagong Lipunan (Hymn of the New Society)". Himig. 2009. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  2. "Bagong Lipunan: The song, the vision, and the nightmare". InterAksyon. September 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2016. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  3. Galarpe, Karen (September 12, 2012). "'Bagong Lipunan', the Metrocom, and my other memories of Martial Law". GMA News. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  4. "Bagong Pagsilang". Internet Archive. Presidential Museum and Library. November 11, 2015. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  5. "Bagong Pagsilang (March of the New Society)". Himig. 2009. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  6. Mirano, Elena Rivera. "Felipe Padilla de Leon: Memories of my Father. An interview with Felipe de Leon Jr". Musika Jornal. 10: 77–78.
  7. "Bagong Lipunan by the Philippine Constabulary Choral Ensemble with Band Accompaniment".
  8. "Philippine Constabulary Band, Philippine Constabulary Choral Ensemble - Mga Awitin at Tugtugin Ng Pilipinas Sa Bagong Lipunan". Discogs. February 23, 2020.
  9. "Filipinas Heritage Library | Biblio".
  10. Hila, Antonio C. (2007). The Musical Arts in the New Society. p. 79.


ลีวาย มิลเลอร์

ลีวาย มิลเลอร์
มิลเลอร์ในปี พ.ศ. 2558
มิลเลอร์ในปี พ.ศ. 2558
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2545 (22 ปี)
บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
อาชีพ
  • นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2553–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นปีเตอร์แพน ใน แพน

ลีวาย มิลเลอร์ (อังกฤษ: Levi Miller; 30 กันยายน พ.ศ. 2545 –) เป็นนักแสดงชายชาวออสเตรเลีย เขาเป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์เรื่อง แพน จากบทบาท[[ปีเตอร์แพน] ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2558 และยังมีผลงานเด่นของเขาหลังจากนั้นตามมา อาทิ โดดเดี่ยว เดี๋ยวก็ตาย (พ.ศ. 2559) และ ย่นเวลาทะลุมิติ (พ.ศ. 2561)

ประวัติและวงการบันเทิง

เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ที่บริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย[1] เขาสนใจด้านการแสดงมาตั้งแต่อายุ 5 ปี เขาเข้าสู่วงการบันเทิงจากการแสดงภาพยนตร์สองเรื่องแรกที่บ้านเกิดของเขา ได้แก่ Akiva ในปี พ.ศ. 2553 และ A Heartbeat Away ในปี พ.ศ. 2554 และยังรับงานแสดงละครโทรทัศน์ในประเทศออสเตรเลียอยู่เป็นระยะ[2] จนกระทั่งเขาเข้าสู่ภาพยนตร์ฮอลีวูดเมื่อปี พ.ศ. 2558 จากบทบาทปีเตอร์แพน ในภาพยนตร์เรื่อง แพน[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 เขาได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง Red Dog: True Blue โดยรับบทเป็น มิก และโด่งดังอีกครั้งจากบทบาท ลูค ในภาพยนตร์เรื่อง โดดเดี่ยว เดี๋ยวก็ตาย ซึ่งฉายในปีเดียวกันโดยเขาได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์เป็นอย่างมากในบทบาทดังกล่าว[4]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาแสดงเป็นแคลวิน โอลีฟ จากภาพยนตร์เรื่อง ย่นเวลาทะลุมิติ[4] และในปี พ.ศ. 2565 เขาร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง คราเวนเดอะฮันเตอร์ ซึ่งเป็นภาคแยกของภาพยนตร์ สไปเดอร์แมน โดยมีกำหนดฉายในปี พ.ศ. 2567 [5]

ผลงาน

ภาพยนตร์

ปี ชื่อเรื่อง บทบาท หมายเหตุ
2010 Akiva ลาวิ ภาพยนตร์สั้น
2554 A Heartbeat Away คนตกปลา
2555 Great Adventures บิลลี (ตอนเด็ก) ภาพยนตร์สั้น
2558 แพน ปีเตอร์แพน
2559 โดดเดี่ยว เดี๋ยวก็ตาย ลูค เลินเนอร์
Red Dog: True Blue มิก
2560 แจสเปอร์ โจนส์ ชาร์ลี บัคติน[6]
2561 ย่นเวลาทะลุมิติ แคลวิน โอลีฟ
2562 American Exit ลีโอ
2564 สตรีมไลน์ เบนจามิน [7]
2565 Before Dawn จิม คอลลินส์ [8]
2024 คราเวนเดอะฮันเตอร์ คราเวนเดอะฮันเตอร์ (ตอนหนุ่ม) ถ่ายทำเสร็จสิ้น

อ้างอิง

  1. "Boy Wonder Meet Levi Miller". Standard UK. August 27, 2015. สืบค้นเมื่อ February 10, 2018.
  2. Rookwood, Dan (27 August 2015). "Boy Wonder: meet Levi Miller, the 12-year-old Pan star who's friends with Cara Delevingne and models for Ralph Lauren". Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 24 September 2017.
  3. Justin Kroll (18 March 2014). "Levi Miller Tapped to Play Peter Pan in Warner Bros.' Pan (EXCLUSIVE)" Variety.
  4. 4.0 4.1 Brayson, Johnny (March 11, 2018). "Levi Miller Has An Impressive Résumé". BUSTLE. สืบค้นเมื่อ March 25, 2018.
  5. ลีวาย มิลเลอร์ สมทบหนังซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวล “Kraven the Hunter” ของโซนี พิคเจอร์ส
  6. Hugo Weaving, Toni Collette join all-star cast of Jasper Jones, The Sydney Morning Herald, Linda Morris, 18 October 2015, เก็บถาวร 24 ตุลาคม 2558
  7. Kay, Jeremy. "Levi Miller to star, Jason Isaacs in talks to join Streamline for Arclight (exclusive)". ScreenDaily. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. "Before Dawn to visit Bunbury Airport in Jul". Bumbury Mail. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

ฮอยกอดภูยอดรวย

"ฮอยกอดภูยอดรวย"
ซิงเกิลโดยจิตรฉรีญา บุญธรรม
วางจำหน่าย19 กันยายน พ.ศ. 2566
แนวเพลงลูกทุ่ง, หมอลำ, หมอลำซิ่ง
ความยาว4:27
ค่ายเพลงประถมเอนเตอร์เทนเมนต์
ผู้ประพันธ์เพลงบิ๊ก ภูมารินทร์
มิวสิกวิดีโอ
"ฮอยกอดภูยอดรวย" ที่ยูทูบ

ฮอยกอดภูยอดรวย (อังกฤษ: Our Past Love at Phu Yod Ruai) เป็นซิงเกิลที่สามของนักร้องหมอลำ จิตรฉรีญา บุญธรรม หนึ่งในสมาชิกวงประถมบันเทิงศิลป์ เพลงนี้ถูกเผยแพร่บนยูทูบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ประพันธ์เนื้อร้อง-ทำนองโดยบิ๊ก ภูมารินทร์ และเรียบเรียงโดยบุญหลง มงคลพร โดยเนื้อหาเพลงเกี่ยวกับหญิงสาวชาวอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ผิดหวังรักจากชายหนุ่มในพื้นที่อำเภอเขมราฐซึ่งเคยให้สัญญากับหญิงสาวว่าจะกลับมาหา แต่เมื่อหญิงสาวรอคอยนานแรมปีกลับไม่พบชายหนุ่มจากอำเภอเขมราฐอีกเลย แต่หญิงสาวรายดังกล่าวยังคงรอคอยชายหนุ่มที่ตนรักเสมอ[1]

ฮอยกอดภูยอดรวย มียอดการเข้าชมในยูทูบถึง 7,000,000 ครั้งภายในหนึ่งเดือน ทั้งยังแพร่กระจายในติ๊กต๊อกจนเกิดแฮชแท็ก #เยิ้นเยอะเยิ้นเยอะเยิ้นเยิ้น ที่ถูกใช้ในติ๊กต๊อกร่วม 600,000 ครั้ง[2] นอกจากนี้ยังติดชาร์ตของ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ส่งผลให้เพลงนี้เป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของจิตรฉรีญา[3][4] ทั้งนี้ยังสร้างชื่อเสียงให้กับผู้ประพันธ์เพลงซึ่งได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก[5] รวมถึงสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2564 ซึ่งได้ชื่นชมผู้ประพันธ์เพลงนี้เช่นกัน[6]

แม้เพลงนี้ได้รับเสียงชื่นชมและได้รับความนิยม แต่ในปลายปี พ.ศ. 2566 เพลงนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในยูทูบ เมื่อผู้ใช้ยูทูบรายหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นขอให้ลบบทเพลงนี้ออกจากยูทูบเนื่องจากมีบางท่อนของบทเพลงที่มีคำคล้ายชื่อบิดาของผู้แสดงความคิดเห็น[7] อย่างไรก็ตามจิตรฉรีญามิได้ลบเพลงนี้ตามที่ถูกคัดค้านแต่อย่างใด[7]

ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567 เพลงนี้มียอดการเข้าชมในยูทูบทั้งสิ้น 24,586,852 ครั้ง

อ้างอิง