ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Noobythailand/ทดลองเขียน 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียโดยเนโท
ส่วนหนึ่งของ สงครามคอซอวอ

นครนอวีซาด ของยูโกสลาเวียขณะถูกทิ้งระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ในปี 1999
วันที่24 มีนาคม – 10 มิถุนายน 1999 (2 เดือน 2 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
ผล เนโทชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติฉบับที่ 1244; ให้คอซอวอแยกตัวออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียในทางปฏิบัติและให้อยู่ภายใต้ภารกิจการบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในคอซอวอ
คู่สงคราม
 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหรัฐอเมริกา จอห์น วี. เฮนดริกซ์
กำลัง
เนโท:
  • เครื่องบิน 1,031+ ลำ
  • เรือรบและเรือดำน้ำ 30 ลำ
  • Task Force Hawk
  • ทหารประจำการ 114,000 คน
  • ตำรวจ 20,000 คน
  • รถถัง 1,270 คัน
  • ยานเกราะ 825 คัน
  • ปืนใหญ่ 1,400 กระบอก
  • แท่นยิงขีปนาวุธพื้นสู่พื้น 100 แท่น
  • เครื่องบินรบทันสมัย 14 ลำ
ความสูญเสีย
  • เครื่องบินขับไล่ 3 ลำถูกทำลาย
  • เครื่องบินขับไล่ 3 ลำได้รับความเสียหาย
  • เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำถูกทำลาย
  • โดรน 46 ลำถูกทำลาย [1]
  • ทหาร 2 คนถูกเสียชีวิต
  • ทหาร 3 คนถูกจับกุม
การประมาณการของกระทรวงกลาโหมเซอร์เบียปี 2013:
  • 1,008 คนเสียชีวิต (ทหาร 659 คนและตำรวจ 349 คน)
  • 5,173 คนสูญหาย[2]
ตามที่ระบุโดยศูนย์กฎหมายมนุษยธรรม:
ทหารและตำรวจ 304 คน [3]

ความสูญเสีย:
การประมาณการโดยเนโท:
[4]
  • รถถัง 93 คันถูกทำลาย
  • ยานเกราะล้อยาง 153 คันถูกทำลาย
  • ปืนใหญ่ 389 กระบอกถูกทำลาย
  • ยานพาหนะอื่น ๆ 339 คันถูกทำลาย
  • เครื่องบิน 121 ลำถูกทำลาย
การประมารการโดยยูโกสลาเวีย:
  • รถถัง 13 คันถูกทำลาย
  • ยานเกราะ 6 คันถูกทำลาย
  • ปืนใหญ่ 6 กระบอกถูกทำลาย
การประมาณการโดย นิวส์วีก:
  • รถถัง 14 คันถูกทำลาย
  • ยานเกราะ 18 คันถูกทำลาย
  • ปืนใหญ่ 20 กระบอกถูกทำลาย

การประมารการโดยฮิวแมนไรตส์วอตช์: 489–528 คนเสียชีวิต (60% ของอยู่ในคอซอวอ)
การประมาณการโดยยูโกสลาเวีย: 1,200–2,000 คนเสียชีวิต[5]และอีก 6,000 คนสูญหาย[6]
ศูนย์กฎหมายมนุษยธรรม: ชาวแอลเบเนีย 218 คน , ชาวเซิร์บ 204 คน และอื่นๆ 30 คน

จีน ชาวจีน 3 คนเสียชีวิตใน การทิ้งระเบิดสถานทูตจีนในกรุงเบลเกรดโดยเนโท

การปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) เกิดขึ้นในช่วงสงครามคอซอวอ ซึ่งดำเนินการทิ้งระเบิดจากวันที่ 24 มีนาคม 1999 ถึง 10 มิถุนายน 1999 โดยการทิ้งระเบิดได้ดำเนินต่อไปจนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่นำไปสู่การถอนทัพของกองกำลังยูโกสลาเวียจากคอซอวอ และการจัดตั้งคณะผู้แทนสหประชาชาติในคอซอวอ (UNMIK) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในคอซอวอ ชื่อรหัสทางการของปฏิบัติการของเนโทคือ ปฏิบัติการกำลังพันธมิตร (เซอร์เบีย: Савезничка сила / Saveznička sila) ขณะที่สหรัฐอเมริกามีชื่อเรียกปฏิบัติการนี้ว่า ปฏิบัติการกริ่งเหล็กศักดิ์สิทธิ์ (เซอร์เบีย: Племенити наковањ / Plemeniti nakovanj);ในยูโกสลาเวีย ปฏิบัติการนี้ถูกเรียกผิดว่า ปฏิบัติการนางฟ้าผู้มีเมตตา (เซอร์เบีย: Милосрдни анђео / Milosrdni anđeo), อาจเป็นผลมาจากการเข้าใจผิดหรือการแปลผิด[7]

การแทรกแซงของเนโทเกิดขึ้นจากการสังหารหมู่และการล้างชาติพันธุ์ชาวแอลเบเนียในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งทำให้ชาวแอลเบเนียหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านและทำให้ภูมิภาคนี้ไม่มั่นคง การกระทำของยูโกสลาเวียได้ก่อให้เกิดการประณามจากองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สหประชาชาติ, เนโท และองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ [8][9] การปฏิเสธของยูโกสลาเวียที่จะลงนามในข้อตกลงแรมบุยเลต์ ถูกนำเสนอเป็นเหตุผลในการใช้กำลังของเนโทเริ่มแรก ประเทศสมาชิกเนโทพยายามขออนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อดำเนินการทางทหาร แต่ถูกคัดค้านโดยจีนและรัสเซีย ซึ่งแสดงท่าทีว่าจะใช้สิทธิ์ยับยั้งการดำเนินการดังกล่าว [ต้องการอ้างอิง] ผลจากนั้นเนดทได้เริ่มปฏิบัติการของตนโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสหประชาชาติ โดยระบุว่าเป็นการแทรกแซงทางมนุษยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผล ข้อตกลงในกฎหมายของสหประชาชาติห้ามการใช้กำลังยกเว้นในกรณีที่มีการตัดสินใจจากคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้บทความ 42 หรือภายใต้บทความ 51 หรือบทความ 53 ของกฎบัตรสหประชาชาติ[10] สามวันหลังจากการเริ่มต้นการทิ้งระเบิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1999 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ปฏิเสธคำเรียกร้องของรัสเซีย เบลารุส และอินเดียให้ยุติการใช้กำลังต่อยูโกสลาเวีย[11]

จนถึงสิ้นสุดสงคราม ชาวยูโกสลาเวียได้ถูกสังหารไป 1,500 ถึง 2,131 คน[12][13] มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายไป 10,317 คน ซึ่ง 85% ของผู้เสียชีวิตหรือสูญหายเป็นชาวแอลเบเนียคอซอวอ และมีผู้ถูกขับไล่ออกจากคอซอวอประมาณ 848,000 คน[14] การทิ้งระเบิดของเนโทคร่าชีวิตสมาชิกของกองกำลังของยูโกสลาเวียประมาณ 1,000 คน นอกเหนือจากพลเรือนที่เสียชีวิตระหว่าง 489 ถึง 528 คน การทิ้งระเบิดในครั้งนี้สร้างความเสียหายแก่สะพาน โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน อนุสาวรีย์ทางวัฒนธรรม สถานประกอบธุรกิจ รวมถึงค่ายทหารและสถานที่ทหาร รวมทั้งหมดแล้ว มีการทิ้งยูเรเนียมประมาณ 9 ถึง 11 ตันทั่วทั้งยูโกสลาเวีย[15] ในช่วงหลายวันหลังจากการถอนตัวของกองกำลังยูโกสลาเวีย มีชาวเซิร์บมากกว่า 164,000 คนและชาวโรมานี 24,000 คนที่ออกจากคอซอวอ ส่วนคนที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นพลเรือนที่ไม่ใช่ชาวแอลเบเนียเป็นเหยื่อของการทารุณกรรม ซึ่งรวมถึงการตี การลักพาตัว และการฆาตกรรม[16][17][18][19][20] หลังจากสงครามคอซอวอและสงครามยูโกสลาเวีย เซอร์เบียกลายเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (รวมถึงชาวเซิร์บ) จำนวนมากที่สุดในยุโรป[21][22][23]

การทิ้งระเบิดครั้งนี้เป็นปฏิบัติการครั้งที่สองที่สำคัญของเนโทหลังจากการทิ้งระเบิดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปี 1995 นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่เนดทใช้กำลังทหารโดยไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และดังนั้นจึงไม่มีการอนุมัติทางกฎหมายระหว่างประเทศ[24] ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมของการแทรกแซง

  1. "Officially confirmed / documented NATO UAV losses". 8 March 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2001.
  2. "Stradalo 1.008 vojnika i policajaca". RTS. 11 February 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
  3. "Human losses in NATO bombing (Serbia Kosovo, Montenegro)". FHP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2022.
  4. Grant, Rebecca (1 August 2000). "True Blue: Behind the Kosovo Numbers Game". Air & Space Forces Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2024. สืบค้นเมื่อ 23 September 2024.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hrw.org
  6. „Шеснаеста годишњица НАТО бомбардовања“ เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, РТС, 24. март 2015.
  7. RTS: "Порекло имена 'Милосрдни анђео'" ("On the origin of the name 'Merciful Angel'") เก็บถาวร 2 พฤศจิกายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 March 2009 (ในภาษาเซอร์เบีย)
  8. Jordan, Robert S. (2001). International organizations: A comparative approach to the management of cooperation. Greenwood Publishing Group. p. 129. ISBN 9780275965495.
  9. Yoshihara, Susan Fink (2006). "Kosovo". ใน Reveron, Derek S.; Murer, Jeffrey Stevenson (บ.ก.). Flashpoints in the War on Terrorism. Routledge. pp. 67–68. ISBN 9781135449315.
  10. O'Connell, Mary Ellen (2000). "The UN, NATO, and International Law after Kosovo". Human Rights Quarterly. 22 (1): 57–89. doi:10.1353/hrq.2000.0012. ISSN 0275-0392. JSTOR 4489267. S2CID 146137597.
  11. "SECURITY COUNCIL REJECTS DEMAND FOR CESSATION OF USE OF FORCE AGAINST FEDERAL REPUBLIC OF YUGOSLAVIA". SC/6659. United Nations. Security Council. 26 March 1999.
  12. Daalder, Ivo H.; O'Hanlon, Michel E. (2000). Winning Ugly: NATO's War to Save Kosovo (2004 ed.). Washington, D.C.: Brookings Institution Press. p. 151. ISBN 978-0815798422. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021 – โดยทาง Google Books.
  13. "Kosovo Memory Book Database Presentation and Expert Evaluation" (PDF). Humanitarian Law Center. 4 February 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021.
  14. Judah, Tim (1997). The Serbs: History, Myth and the Destruction of Yugoslavia (2009, 3rd ed.). New Haven, Connecticut: Yale University Press. p. 150. ISBN 978-0-300-15826-7. สืบค้นเมื่อ 3 January 2021 – โดยทาง Google Books. the Serbian police began clearing ... people [who] were marched down to the station and deported... the UNCHR registered 848,000 people who had either been forcibly expelled or had fled
  15. Miljević, Nada; Marković, Mirjana; Todorović, Dragana; Cvijović, Mirjana; Dušan, Golobočanin; Orlić, Milan; Veselinović, Dragan; Biočanin, Rade (2001). "Uranium content in the soil of the Federal Republic of Yugoslavia after NATO intervention" (PDF). Archive of Oncology. 9 (4): 245-249. สืบค้นเมื่อ 31 March 2024.
  16. "Abuses against Serbs and Roma in the new Kosovo". Human Rights Watch. August 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.
  17. Hudson, Robert; Bowman, Glenn (2012). After Yugoslavia: Identities and Politics Within the Successor States. Palgrave Macmillan. p. 30. ISBN 9780230201316.
  18. "Kosovo Crisis Update". United Nations High Commission for Refugees. 4 August 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.
  19. "Forced Expulsion of Kosovo Roma, Ashkali and Egyptians from OSCE Participated state to Kosovo". OSCE. 6 October 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.
  20. Siobhán Wills (26 February 2009). Protecting Civilians: The Obligations of Peacekeepers. Oxford University Press. p. 219. ISBN 978-0-19-953387-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 24 February 2013.
  21. "Serbia home to highest number of refugees and IDPs in Europe". B92. 20 June 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2017. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
  22. "Serbia: Europe's largest proctracted refugee situation". OSCE. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2017. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
  23. S. Cross, S. Kentera, R. Vukadinovic, R. Nation (7 May 2013). Shaping South East Europe's Security Community for the Twenty-First Century: Trust, Partnership, Integration. Springer. p. 169. ISBN 9781137010209. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Zyla, Benjamin (2020). The End of European Security Institutions?: The EU's Common Foreign and Security Policy and NATO After Brexit. Springer. p. 40. ISBN 9783030421601. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2022. สืบค้นเมื่อ 22 July 2022.