ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศแคนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคนาดา

Canada (อังกฤษ) (ฝรั่งเศส)
A vertical triband design (red, white, red) with a red maple leaf in the center.
ธงชาติ

ที่ตั้งของประเทศแคนาดา
เมืองหลวงออตตาวา
45°24′N 75°40′W / 45.400°N 75.667°W / 45.400; -75.667
เมืองใหญ่สุดโทรอนโต
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2016)[2]
รายชื่อกลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)[3]
เดมะนิมชาวแคนาดา
การปกครองสหพันธ์ ระบบรัฐสภา
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[4]
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
แมรี เมย์ ไซมอน
จัสติน ทรูโด
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาสามัญชน
เป็นเอกราช 
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867
11 ธันวาคม ค.ศ. 1931
17 เมษายน ค.ศ. 1982
พื้นที่
• พื้นที่รวม
9,984,670 ตารางกิโลเมตร (3,855,100 ตารางไมล์) (อันดับที่ 2)
11.76 (ใน ค.ศ. 2015)[5]
• พื้นดินทั้งหมด
9,093,507 ตารางกิโลเมตร (3,511,023 ตารางไมล์)
ประชากร
• ไตรมาสที่ 2 ค.ศ. 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 38,246,108 [6] (อันดับที่ 37)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2016
35,151,728[7]
3.92 ต่อตารางกิโลเมตร (10.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 185)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.027 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 15)
เพิ่มขึ้น 53,089 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 24)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.016 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 9)
เพิ่มขึ้น 52,791 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 15)
จีนี (ค.ศ. 2018)positive decrease 30.3[9]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.929[10]
สูงมาก · อันดับที่ 16
สกุลเงินดอลลาร์แคนาดา ($) (CAD)
เขตเวลาUTC−3.5 ถึง −8
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC−2.5 ถึง −7
รูปแบบวันที่ปปปป-ดด-วว (ค.ศ.)[11]
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+1
รหัส ISO 3166CA
โดเมนบนสุด.ca

แคนาดา (อังกฤษและฝรั่งเศส: Canada, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈkænədə/ , เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [kanada] ) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3  เป็นพระมหากษัตริย์

ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ใน ค.ศ. 1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ใน ค.ศ. 1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่าง ๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ใน ค.ศ. 1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาใน ค.ศ. 1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ

ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง ทิศเหนือจรดมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้จรดสหรัฐ ทิศตะวันออกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิกและรัฐอะแลสกาของสหรัฐ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อาณานิคมยุโรป

[แก้]

ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองแคนาดาฝั่งตะวันออกใน พ.ศ. 2077 (ค.ศ. 1534) และได้เริ่มตั้งถิ่นฐานใน พ.ศ. 2147 (ค.ศ. 1604) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) อันเนื่องจากเหตุผลด้านการประมงและการค้าขนสัตว์ ซึ่งในที่สุดดินแดนแคนาดาก็ตกเป็นของอังกฤษ

ศตวรรษที่ 20

[แก้]

พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) แคนาดาได้รับการยอมรับในสิทธิการปกครองตนเอง และต่อมา พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) ได้มีการจัดตั้ง ประเทศแคนาดาในเครือจักรภพ (Dominion of Canada) ในลักษณะของสหพันธรัฐซึ่งประกอบด้วยอัปเปอร์แคนาดา (Upper Canada) และโลว์เออร์แคนาดา (Lower Canada) (ได้แก่ ออนแทรีโอ เกแบ็ก โนวาสโกเชีย และนิวบรันสวิกในปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาได้ขยายออกไปทางภาคตะวันตกจนถึงรัฐบริติชโคลัมเบีย

พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แคนาดาได้รับสถานะเป็นประเทศที่เท่าเทียมกับอังกฤษโดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นพระประมุข และต่อมาใน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐที่สิบของแคนาดา

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

แคนาดาเป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 10 รัฐ (อังกฤษและฝรั่งเศส: province) และ 3 ดินแดน (อังกฤษ: territory; ฝรั่งเศส: territoire) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างรัฐกับดินแดนคือ รัฐของแคนาดาได้รับมอบอำนาจจากบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรง ขณะที่ดินแดนของแคนาดาจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายของสหพันธรัฐ ดังนั้น รัฐบาลสหพันธ์จึงมีอำนาจโดยตรงในการควบคุมดูแลดินแดน ส่วนรัฐบาลของรัฐนั้นจะมีอำนาจและสิทธิในการปกครองตนเองมากกว่า

รัฐและดินแดนของแคนาดามีรายชื่อดังต่อไปนี้

แผนที่เขตการปกครองของแคนาดา

รัฐ

[แก้]

ดินแดน

[แก้]

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้างเศรษฐกิจ

[แก้]

แคนาดาเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม 7 ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แคนาดาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ถึงร้อยละ 45 สำหรับการส่งออก และร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้า รูปแบบการค้าและการลงทุนของแคนาดาจะพึ่งพิงกับสหรัฐเป็นหลัก ทั้งสหรัฐและแคนาดาเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดระหว่างกันทั้งการนำเข้าและการส่งออก อีกทั้งยังมีการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement: NAFTA) ซึ่งยิ่งช่วยเสริมมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น

สถานการณ์เศรษฐกิจ

[แก้]

สำหรับระบบภาษีนำเข้าของแคนาดาประมาณ ร้อยละ 90 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 อีกทั้งยังให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศด้อยพัฒนา ยกเว้นในสินค้าประเภทนม สัตว์ปีกและไข่

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ ทองคำ ถ่านหิน เหล็ก นิกเกิล โพแทช ยูเรเนียม สังกะสี รวมทั้งป่าไม้

อุตสาหกรรมที่สำคัญของแคนาดา ได้แก่ อุตสาหกรรมป่าไม้ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารและคมนาคม เหมืองแร่ และพลังงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินแร่ เครื่องยนต์ รถยนต์ กระดาษ ไม้เนื้ออ่อน พลังงานปิโตรเลียมดิบ แก๊สธรรมชาติ ไฟฟ้า อะลูมิเนียม อุปกรณ์สื่อสาร ชิ้นส่วนอากาศยาน ระบบคอมพิวเตอร์

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เม็กซิโก และเยอรมนี

ภาคการบริการเป็นภาคกิจการที่สำคัญที่สุดของแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของภาคเศรษฐกิจของประเทศ ธนาคารชั้นนำของแคนาดา 6 แห่ง เป็นหนึ่งใน 100 ธนาคารชั้นนำของโลก และมีสาขาอยู่ในต่างประเทศทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ รวมถึงธนาคารโนวาสโกเชียซึ่งมีสาขาอยู่ในไทยด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ทำให้แคนาดาสามารถพัฒนาความก้าวหน้าในภาคกิจการนี้เป็นอย่างมาก

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

จำนวนประชากร:37.59 ล้านคน (2562)

สังคมของแคนาดาเป็นสังคมที่มีส่วนผสมของชนชาติต่าง ๆ มากมาย โดยชนชาติที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2543 คือคนจากเอเชีย (จีน อินเดีย ปากีสถาน ลาว เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อิหร่าน) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.5 ของคนเข้าเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานในแคนาดา

โดยใน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) รัฐสภาแคนาดาได้ออกกฎหมายคนเข้าเมืองตามข้อเสนอของพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งยังคงมีผลบังคับใช้จนทุกวันนี้ สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวคือการยกเลิกการเลือกปฏิบัติ (ก่อนหน้านี้ มีการออกกฎหมาย พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) เพื่อกีดกันการเข้าเมืองของคนจีน และต่อมา ค.ศ. 1910 ได้ออกกฎหมายที่ใช้หลักการแหล่งกำเนิด แบ่งเป็น preferred ซึ่งคือ กลุ่มคนยุโรป และ non-preferred ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ใช่ยุโรป) กล่าวคือ การเปิดรับคนเข้าเมืองจากทุกที่อย่างเป็นทางการทั่วไป และการใช้วิธีการคิดคะแนนประเมินน้ำหนัก (point system) ว่าสมควรรับผู้ใดเข้าไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดา ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า แคนาดามองเรื่องการรับคนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอย่างเป็นการถาวร เพื่อเป็นฐานการเก็บภาษีให้แก่รัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐ

ค่านิยมหลักของสังคมแคนาดาที่ฝังลึกในทุกคนคือ การส่งเสริมและเคารพในสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สังคมแคนาดาจะสนใจอย่างยิ่งต่อพัฒนาการในประเทศที่มีระบอบการปกครองที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ศาสนา

[แก้]

โรมันคาทอลิก (39.0%) คริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่น ๆ (28.3%) ไม่มีศาสนา (23.9%) อิสลาม (3.2%) ฮินดู (1.5%) ซิกข์ (1.4%) พุทธ (1.1%) ยิว (1.0%) ศาสนาอื่น ๆ (0.6%)

ภาษา

[แก้]

ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการ ภาษาพื้นเมือง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Royal Anthem". Government of Canada. August 11, 2017. สืบค้นเมื่อ December 18, 2020.
  2. "2016 Census of Population—Ethnic Origin, Catalog no. 98-400-X2016187". Statistics Canada. October 25, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2017.
  3. "2011 National Household Survey". Statistics Canada. May 8, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2013.
  4. Dowding, Keith; Dumont, Patrick (2014). The Selection of Ministers around the World. Taylor & Francis. p. 395. ISBN 978-1-317-63444-7.
  5. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ October 11, 2020.
  6. Government of Canada, Statistics Canada (2021-09-29). "The Daily — Canada's population estimates, second quarter 2021". www150.statcan.gc.ca. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  7. "Population size and growth in Canada: Key results from the 2016 Census". Statistics Canada. February 8, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2017. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "World Economic Outlook Database". International Monetary Fund. October 2021. สืบค้นเมื่อ April 6, 2020.
  9. "Income inequality". OECD. สืบค้นเมื่อ July 16, 2021.
  10. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  11. The Government of Canada and Standards Council of Canada prescribe ISO 8601 as the country's official all-numeric date format: Public Works and Government Services Canada Translation Bureau (1997). "5.14: Dates". The Canadian style: A guide to writing and editing (Revised ed.). Dundurn Press. p. 97. ISBN 978-1-55002-276-6. The dd/mm/yy and mm/dd/yy formats also remain in common use; see Date and time notation in Canada.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

ภาพรวม

วัฒนธรรม

ประชากรศาสตร์และสถิติ

เศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับการทหาร

ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ

รัฐบาลและกฎหมาย

ประวัติศาสตร์

สวัสดิการสังคม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลทั่วไป

รัฐบาล

ท่องเที่ยว

การศึกษา