ปมประสาท
ปมประสาท (Ganglion) | |
---|---|
ภาพจุลทรรศน์ของปมประสาท (H&E stain) | |
รายละเอียด | |
ระบบ | ระบบประสาท |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | ganglion |
MeSH | D005724 |
TA98 | A14.2.00.002 |
FMA | 5884 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ปมประสาท[1] (อังกฤษ: ganglion) เป็นกลุ่มเซลล์ประสาท/นิวรอน[2] หรือเป็นกลุ่มตัวเซลล์ประสาทที่อยู่ในระบบประสาทอิสระและระบบประสาทรับความรู้สึก ซึ่งโดยมากอยู่นอกระบบประสาทกลางยกเว้นนิวเคลียสบางกลุ่ม[3][4] ปมประสาทมีตัวเซลล์ของเส้นใยประสาทนำเข้า (afferent nerve) และเส้นใยประสาทนำออก (efferent nerve) ส่วนปมประสาทเทียม (pseudoganglion) ดูเหมือนกับปมประสาท แต่มีเพียงใยประสาทโดยไม่มีตัวเซลล์.
โครงสร้าง
[แก้]ปมประสาทโดยหลักประกอบด้วยตัวเซลล์ (soma) และเดนไดรต์ซึ่งอยู่รวมกันหรือเชื่อมกัน บ่อยครั้งเชื่อมกับปมประสาทอื่น ๆ โดยเป็นระบบปมประสาทที่ซับซ้อนซึ่งเรียกว่า nerve plexus เป็นสถานีส่งต่อ เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาทนอกส่วนกลางกับระบบประสาทกลาง
สัตว์มีกระดูกสันหลังมีปมประสาทหลัก ๆ 3 กลุ่ม คือ
- ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion) หรือปมประสาทไขสันหลัง (spinal ganglia) มีตัวเซลล์ของเซลล์ประสาทนำ(ความรู้สึก)เข้า
- ปมประสาทสมอง (cranial nerve ganglion) มีตัวเซลล์ของเส้นประสาทสมอง
- ปมประสาทอิสระ (autonomic ganglion) มีตัวเซลล์ของเส้นประสาทของระบบประสาทอิสระ
ในระบบประสาทอิสระ ใยประสาทจากระบบประสาทกลางไปยังปมประสาทเรียกว่า preganglionic fiber และใยจากปมประสาทไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน (effector organ) เรียกว่า postganglionic fiber
Basal ganglia
[แก้]คำว่า ganglion มุ่งใช้ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง[5] แต่ในสมองซึ่งเป็นส่วนของระบบประสาทกลางก็มี "basal ganglia" ซึ่งเป็นกลุ่มนิวเคลียสที่เชื่อมต่อกับเปลือกสมอง ทาลามัส และก้านสมอง โดยมีหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการสั่งการ (motor control) ประชาน/การรับรู้ อารมณ์ และการเรียนรู้
เพราะความกำกวมเช่นนี้ มาตรฐานสากล Terminologia Anatomica จึงแนะนำให้ใช้คำว่า basal nuclei แทนคำว่า basal ganglia แต่นี่ก็ไม่ได้ยอมรับกันอย่างทั่วไป
ปมประสาทเทียม
[แก้]ปมประสาทเทียม (pseudoganglion) เป็นส่วนที่หนาขึ้นของเส้นประสาทที่ปรากฏเหมือนปมประสาท[6] แต่มีแค่ใยประสาท ไม่มีตัวเซลล์ ซึ่งพบได้ในกล้ามเนื้อ teres minor muscle ซึ่งเกี่ยวข้องกับแขน[7] และ radial nerve[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "ganglion", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) ๑. ปมประสาท [= ganglion, nerve] ๒. แกงเกลียน
- ↑ Sadava, David; Heller, H. Craig; Orians, Gordon H.; Purves, William K.; Hillis, David M. (2008). Life: The Science of Biology (8th ed.). W. H. Freeman. p. 943. ISBN 9780716776710.
- ↑ ganglion ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
- ↑ Brodal, Per (2010). The Central Nervous System. Oxford University Press. p. 5. ISBN 9780195381153.
In the CNS, such a group is called a nucleus and in the peripheral nervous system (PNS), a ganglion.
- ↑ "UNSW Embryology- Glossary G". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- ↑ "pseudoganglion". The Free Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2016-12-19.
- ↑ Gitlin, G. (Oct 1957). "Concerning the gangliform enlargement (pseudoganglion) on the nerve to the teres minor muscle". Journal of Anatomy. 91 (4): 466–70. PMC 1244902. PMID 13475146.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ganglia