บากะ
บากะ (馬鹿, ばか เขียนด้วยอักษรฮิรางานะ หรือ バカ เขียนด้วยอักษรคาตากานะ) มีความหมายว่า "คนโง่" หรือ "โง่เขลา" (คำนามคุณศัพท์) และเป็นคำดูถูกที่ใช้บ่อยที่สุดในภาษาญี่ปุ่น[1] คำว่าบากะนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีศัพทมูลวิทยาที่ไม่แน่นอน (อาจมาจากภาษาสันสกฤตหรือภาษาจีนโบราณ) และมีความซับซ้อนทางภาษาศาสตร์
คำ
[แก้]ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่เขียนคำว่าบากะในฐานะคำดูถูกด้วยอักษรคาตากานะว่า バカ เขียนด้วยอักษรฮิรางานะว่า ばか หรือเขียนด้วยอักษรคันจิเสียงอ่านแบบอาเตจิว่า 馬鹿 (แปลตรงตัวว่า "กวางม้า") ก่อนหน้านี้มีการเขียนด้วยอักษรคันจิเสียงอ่านแบบอาเตจิเป็น 莫迦, 母嫁, 馬嫁, หรือ 破家 [2]
ประวัติศาสตร์
[แก้]การใช้คำว่าบากะปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ (ค.ศ. 1336–1392) เมื่อ "ราชสำนักเหนือและใต้" รบกัน
ในตัวอย่างแรกสุดปรากฏในมหากาพย์ประวัติศาสตร์ไทเฮกิ มีการบันทึกคำว่า บากาโมโนะ (馬鹿者) ใช้เป็นคำดูถูกในปี ค.ศ. 1342[3] โทกิ โยริโต (土岐頼遠) แม่ทัพของตระกูลอาชิกางะ (土岐頼遠) ไม่ยอมถวายบังคมต่ออดีตจักรพรรดิโคงง (ครองราชย์ ค.ศ. 1313–1364) “โยริโตซึ่งน่าจะกำลังมึนเมา ถามเสียงดังด้วยความอยากรู้ว่าคนโง่ (บากาโมโนะ) เยี่ยงไรที่ถือดีมาสั่งให้ตนลงจากหลังม้า” อ้างถึงข้อเขียนของนักพจนานุกรมชื่อไมเคิล คาร์: "ชินมูระ [อิซูรุ] พบว่าฉบับดั้งเดิม (ศตวรรษที่สิบสี่) ของไทเฮกิ มีคำว่า บากะ ที่เขียนว่า バカ [ในขณะที่]ฉบับพกพาในภายหลัง (ราวปี ค.ศ. 1600) เขียนด้วยอักษรว่า 馬鹿"[4] [5]
พจนานุกรมเซ็ตสึโชยูฉบับรัชศกบุนเม (ค.ศ. 1469–1487) บันทึกว่า บากะ 馬鹿 ซึ่งมีเขียนแบบอื่น ๆ ว่า 母嫁 (แปลว่า "เจ้าสาวแม่"), 馬嫁 (แปลว่า "เจ้าสาวม้า") หรือ 破家 (แปลว่า "ทำลายครอบครัว") มีความหมายว่า โรเซกิ 狼藉 "ความผิดปกติ ความสับสน" [6]
ตำราภาษาญี่ปุ่นโบราณจำนวนมากใช้คำว่าบากะ ตัวอย่างเช่น พงศาวดารสงครามโคโยกุงกัง (ราวปี ค.ศ. 1616) เขียนคำว่า บากะ เป็น 馬嫁 ในโคโชกุ อิจิได โอโตโกะ (好色好色一代男; "ชีวประวัติของชายเจ้าชู้") ของอิฮาระ ไซกากุ (ค.ศ. 1682) ซึ่งเป็นหนังสือประเภทอูกิโยโซชิ เขียน บากะ ด้วยอักษรคันจิสมัยใหม่ว่า 馬鹿
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำที่เกี่ยวข้อง
[แก้]อักษร 馬鹿 "กวางม้า" ตัวเดียวกับที่ใช้กับคำว่าบากะ ยังใช้สำหรับชื่อในระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยาจีนและในตำนานญี่ปุ่น
คำภาษาจีน หม่าลู่ (馬鹿 mǎlù) หมายถึง กวางแดง (Cervus elaphus) ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า อากาชิกะ (赤鹿 akashika)
มูมาชิกะ เป็นคำอ่านภาษาญี่ปุ่นที่หาได้ยากของ 馬鹿 ที่ตั้งเป็นชื่อปีศาจโยไก ที่มีหัวเป็นม้าและตัวเป็นกวาง เฮียกกิ ยาเกียว เอมากิ (百鬼夜行絵巻; " Hyakki Yagyō emakimono ") วาดลักษณะของมูมาชิกะว่ามีตาข้างเดียว มีปากและหูเป็นม้า และเขาและกีบเท้าเป็นกวาง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ばか 【馬鹿/莫迦】". デジタル大辞泉 [Digital Daijisen dictionary]. Tokyo: Shogakukan. 2001.
- ↑ "ばか 【馬鹿・莫迦・破家】". 日本国語大辞典 [Shogakukan Unabridged Dictionary of the Japanese Language]. Tokyo: Shogakukan. 2007.
- ↑ Varley, Paul (1994). Warriors of Japan: As Portrayed in the War Tales. University of Hawaii Press. p. 210. ISBN 978-0-8248-1601-8. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Carr, Michael (1982). "Baka and Fool". The Review of Liberal Arts. 63: 1–18.
- ↑ Shinmura Izuru 新村出 (1971). "馬鹿考 [Baka ko]". 新村出全集 [Shinmura Izuru zenshū]. Chikuma. pp. 100–104.
- ↑ Shinmura Izuru 新村出 (1971). "馬鹿考 [Baka ko]". 新村出全集 [Shinmura Izuru zenshū]. Chikuma. pp. 100–104., p.