นิโคล เทริโอ
นิโคล เทริโอ | |
---|---|
นิโคลในปี 2542 | |
เกิด | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515 รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
สัญชาติ |
|
ชื่ออื่น | นิกกี้ เทริโอ |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยแฟรมิงแฮม วิทยาลัยโคลัมเบีย |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2533–ปัจจุบัน |
องค์การ | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2541–2556; 2560–ปัจจุบัน) สหภาพดนตรี (2557–2558) มิวซิกมูฟ (2558–2560) |
ผลงานเด่น | กะ-โป-โล-คลับ (2541) บุษบาหน้าเป็น (2542) |
คู่สมรส | จิระศักดิ์ ปานพุ่ม (2547–2551) |
บุตร | อชิระ เทริโอ |
บิดามารดา |
|
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
นิโคล เทริโอ (อังกฤษ: Nicole Theriault; ชื่อเล่น: กี้ หรือ นิกกี้; เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515) เป็นนักร้องหญิงลูกครึ่งไทย-อเมริกัน-ฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 จากผลงานเพลงในอัลบั้ม กะ-โป-โล-คลับ (2541) และ บุษบาหน้าเป็น (2542) ซึ่งทำให้เธอเป็นศิลปินหญิงคนสุดท้ายจากค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ที่สามารถทำยอดขายอัลบั้มได้เกินสองล้านตลับ[1][2]
ปฐมวัยและการศึกษา
[แก้]นิโคลเกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน-ฝรั่งเศส เป็นบุตรของนางพรทิพย์ และนายโรเบิร์ต เทริโอ[3] เกิดและเติบโตที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ เธอและครอบครัวนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[3]
เธอเริ่มศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลทวิงเคิลสตาร์ ต่อมาจบการศึกษาระดับเกรด 1 ถึงเกรด 3 ที่โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Preparatory School ในระดับเกรด 4 ถึงเกรด 6 ที่สหรัฐ ก่อนที่จะกลับมาไทยอีกครั้ง และศึกษาต่อที่โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดีจนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อมาศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในช่วง 2 ปีแรก ก่อนที่จะได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอีกครั้งในช่วง 2 ปีหลัง โดยสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี 2 ใบ คือ B.A. In Art จากวิทยาลัยเฟรมิงแฮม (Framingham College) รัฐแมสซาชูเซตส์ และ B.A. Business จากวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia College) ชิคาโก รัฐอิลลินอย
อาชีพทางดนตรีและวงการบันเทิง
[แก้]นิโคลเข้าสู่วงการบันเทิงตอนอายุ 14-15 ปี โดยเริ่มจากงานถ่ายแบบเสื้อผ้าวัยรุ่น ลงในนิตยสารเธอกับฉัน, วัยหวาน, วัยน่ารัก, สุดสัปดาห์ และงานโฆษณาสินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะโฆษณายาสีฟันใกล้ชิด ซึ่งเป็นโฆษณาชิ้นแรกของเธอในปี พ.ศ. 2533 แสดงคู่กับ อำพล ลำพูน[4]
เธอเริ่มประกวดร้องเพลงของสตาร์เซิร์ชใน พ.ศ. 2539 ต่อมาใน พ.ศ. 2540 เธอได้ร้องเพลง "ไม่แน่ใจ" ซึ่งเป็นเพลงแรกที่เธอได้ร้อง โดยเป็นเพลงประกอบละคร เงามรณะ ก่อนที่ในปีถัดมา จะได้ออกอัลบั้มแรก ชื่อ กะ-โป-โล-คลับ ซึ่งมีแนวเพลงป็อปทันสมัย แนวเพลง สดใส สื่อออกมาตามสไตล์ของตัวเธอ โดยมิวสิควิดีโอเพลง "กะโปโล" ในอัลบั้มนี้เอง ได้รับเลือกไปการประกวดงาน MTV Video Music Awards Asian Viewers Choice 1998 อัลบั้มชุดนี้มียอดขาย 1.2 ล้านตลับ[5]
ต่อมาใน พ.ศ. 2542 เธอได้ออกอัลบั้ม บุษบาหน้าเป็น โดยมีเพลงที่มีชื่อเสียงตามชื่ออัลบั้ม คือเพลง "บุษบา" ทำให้ชื่อบุษบากลายเป็นคำเรียกติดปากแทนตัวเธอ เพลงอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง อาทิ "ทำไมเป็นคนแบบนี้", "ใจร้าย", "เปรี้ยวใจ", "ไมใช่ ไม่ใช่", "ใต้แสงตะวัน", "ดอกไม้ที่ทำตก", "อยู่ที่ใจ" "วันหนึ่ง...จะทำเพื่อเธอ" ปลายปีเดียวกันนี้เอง เธอปล่อยอัลบั้มพิเศษ บุษบาหน้าเป็น อะคูสติกเวอร์ชัน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี ผลสำรวจหลายแห่งยกให้เธอเป็นนักร้องหญิงวัยรุ่นยอดนิยม รวมถึงได้เป็นพรีเซนเตอร์ให้แก่เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM2WATT ส่งผลให้ยอดขายในอัลบั้มชุดนี้ทะยานสูงถึง 2.6 ล้านตลับ และเป็นการปิดฉาก 2 ล้านตลับของแกรมมี่เป็นคนสุดท้ายอีกด้วย[1][2][6]
พ.ศ. 2544 เธอปล่อยอัลบั้ม พันธุ์ดุ ซึ่งเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเธอให้ดูเข้มขึ้น และมีเพลงที่ใช้ประกอบละคร รัน...รักอันตราย ถึง 3 เพลงด้วยกัน ได้แก่ "ฉันก็สู้คน", "คนที่ไม่มีใครต้องการ และ "เพิ่งรู้" โดยเพลง "ฉันก็สู้คน" เป็นเพลงแนวพังค์ร็อคที่มีลักษณะที่ตรงกับแบบแผนของอัลบั้มมากที่สุด ส่วนเพลงอื่น ๆ ยังคงไม่แตกต่างจากแนวเพลงในอัลบั้มก่อนหน้าที่เป็นแนวป็อปและแฝงด้วยเครื่องดนตรีแบบอะคูสติกในบางเพลง สองปีถัดมา เธอปล่อยอัลบั้ม หัวใจเดินทาง (On the way) เป็นอัลบั้มที่เธอได้ร่วมงานกับทีมโปรดิวเซอร์ใหม่ โดยได้อพิสิษฏ์ ณ ตะกั่วทุ่ง, บุญฤทธิ์ สุขเสรีทรัพย์ และจักราวุธ แสวงผล เป็นแกนนำ ส่วนในด้านดนตรีก็มีจุดเด่น เช่น การใช้ Loop Drum เพิ่มจังหวะเพลงเร็ว, การนำแนวเพลงเร้กเก้และฮิพฮอพมาผสม รวมถึงร็อกมารวมไว้ นอกจากนี้ เธอยังได้พัฒนาวิธีการร้องให้เข้ากับเพลง เช่น การร้องหนักในเพลงเร็วแนวร็อก ไม่เน้นลูกเอื้อน และการร้องแบบกึ่งพูดกึ่งแร็พในเพลงเร้กเก้ ฮิพฮอพ นอกจากนี้ เธอยังร้องคอรัสเองอีกด้วย
พ.ศ. 2557 เธอปล่อยซิงเกิล "อีกครั้งนึง" ภายใต้สังกัดใหม่ สหภาพดนตรี พร้อมกับเปลี่ยนชื่อตนเป็น "นิกกี้ เทริโอ" ก่อนที่จะเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อ "นิโคล เทริโอ" เหมือนเดิมในเพลง "ตัวติดกัน"
นิโคล ยังมีผลงานการแสดงอื่น ๆ อาทิ ละครโทรทัศน์ (รัน! รักอันตราย), ละครเวที (อโรคา จอมยากับยาใจ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์เมื่อปี 2543)[7], ภาพยนตร์ (คืนไร้เงา ONE NIGHT HUSBAND) และการประกวดเต้นในรายการ แดนซิงวิทเดอะสตาร์ไทยแลนด์ ซึ่งเธอแสดงคู่กับณัฎฐภัทร รุ่งรักษา แต่เธอได้ถอนตัวจากการแข่งขันหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บในการซ้อม
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]นิโคลเคยสมรสกับจิระศักดิ์ ปานพุ่ม นักร้องชาวไทย เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2547 ด้วยพิธีการอย่างคาทอลิกที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ[3] มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ "ทิกเกอร์" อชิระ เทริโอ[8] ซึ่งปัจจุบันก็เป็นศิลปินในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เช่นกัน นิโคลกับจีระศักดิ์แยกทางกันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[9]
ผลงานเพลง
[แก้]ผลงานเพลงของนิโคล เทริโอ | |
---|---|
นิโคลในคอนเสิร์ตแกรมมี่ อาร์เอส ไนน์ตีส์เวอร์ซารี เมื่อปี 2566 | |
สตูดิโออัลบั้ม | 4 |
สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
กะ-โป-โล-คลับ |
|
|
บุษบาหน้าเป็น (Funny Lady) |
|
|
พันธุ์ดุ |
|
|
หัวใจเดินทาง (ON THE WAY) |
|
|
อัลบั้มรวมเพลงฮิต
[แก้]- 2543 - อัลบั้ม รวมฮิต บิวตี้โฟร์
- 2545 - อัลบั้ม The Best Selected
- 2542 - อัลบั้ม Grammy Hot Hit Vote 2000
- 2555 - อัลบั้ม Forever Love Hits by Nicole
อัลบั้มพิเศษ
[แก้]- 2541 - อัลบั้ม Super Network Super Star (ร้อยใจเราเป็นหนึ่งเดียว, พรจากดวงดาว, OH OH, อยากมีภาระ)
- 2542 - อัลบั้ม บุษบาหน้าเป็น Acoustic Version
- 2543 - อัลบั้ม Another Part Of Me (อัลบั้มภาษาอังกฤษ)
- 2544 - อัลบั้ม Playtime Vol.1 (อัลบั้มภาษาอังกฤษ และไทย)
- 2544 - อัลบั้ม Playtime Vol.2 (อัลบั้มภาษาอังกฤษ และไทย)
- 2545 - อัลบั้ม Two Faces Of Love (อัลบั้มนำเพลงเก่ายอดนิยมจากศิลปินอื่นมาร้องใหม่)
- 2550 - อัลบั้ม Beautiful Life (อัลบั้มนำเพลงเก่ายอดนิยมจากศิลปินอื่นมาร้องใหม่)
อัลบั้มร่วมกับศิลปินอื่น
[แก้]- 2543 - อัลบั้ม Seven
- 2545 - อัลบั้ม ยินยอม พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ 2 (เพลง ยินยอม)
- 2545 - อัลบั้ม We Love Carpenters
ซิงเกิล
[แก้]ปี | ชื่อเพลง | อัลบั้ม | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | ||||||
2540 | "ไม่แน่ใจ" (เพลงประกอบละคร เงามรณะ) | กะ-โป-โล-คลับ | ||||
2541 | "กะโปโล" | |||||
"Oh Oh" | ||||||
"พอแล้ว" | ||||||
"ต่อไปนี้นะ" | ||||||
2542 | "วันที่อ่อนไหว" | |||||
"ฉันจะอยู่กับเธอ" (เพลงประกอบภาพยนตร์ กำแพง) |
เพลงประกอบภาพยนตร์ กำแพง | |||||
"บุษบา" | บุษบาหน้าเป็น | |||||
"ใจร้าย" | ||||||
"เปรี้ยวใจ" | ||||||
"ทำไมเป็นคนแบบนี้" | ||||||
"วันหนึ่ง...ฉันจะทำเพื่อเธอ" | ||||||
"ไม่ใช่ไม่ใช่" | ||||||
2543 | "ดอกไม้ที่ทำตก (Acoustic Ver.)" | บุษบาหน้าเป็น Acoustic Version | ||||
"ไม่ใช่ ไม่ใช่ (Acoustic Ver.)" | ||||||
"เปรี้ยวใจ (Acoustic Ver.)" | ||||||
2544 | "ฉันก็สู้คน" (เพลงประกอบละคร รัน! รักอันตราย) | พันธุ์ดุ | ||||
"เพิ่งรู้" (เพลงประกอบละคร รัน! รักอันตราย) | ||||||
"คนที่ไม่มีใครต้องการ" (เพลงประกอบละคร รัน! รักอันตราย) | ||||||
"ไม่มีใครขอ" | ||||||
"ไม่มาก ไม่บ่อย แต่ไม่หาย" | ||||||
2546 | "ร้านขายยา" | หัวใจเดินทาง | ||||
"ถ้าเป็นเมื่อก่อน" | ||||||
"ไม่มีเหตุผล" | ||||||
2550 | "รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง" | Beautiful Life | ||||
"ยิ้มให้กับความผิดหวัง" | ||||||
2552 | "น้ำตาหยดไหน" | Single Female | ||||
2556 | "เติมฝัน" (เพลงประกอบละครเวที ลัดดาแลนด์) (ต้นฉบับ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร) | ไม่มีอัลบั้ม | ||||
ค่ายสหภาพดนตรี | ||||||
2557 | "อีกครั้งหนึ่ง" | ไม่มีอัลบั้ม | ||||
"ตัวติดกัน" | ||||||
2558 | "เหมือนใจจะขาด" | |||||
ค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | ||||||
2560 | "อยากหมุนเวลา" (Cover Version) (ต้นฉบับ เจตริน วรรธนะสิน) | ไม่มีอัลบั้ม | ||||
ค่ายโมโนมิวสิค | ||||||
2561 | "ให้โอกาสฉัน" | ไม่มีอัลบั้ม | ||||
ค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | ||||||
2563 | "บุษบา" | เพลงประกอบละคร ฉันชื่อบุษบา | ||||
"ไม่แน่ใจ" | เพลงประกอบละคร พงศธร | |||||
2565 | "ใต้แสงตะวัน" | เพลงประกอบละคร ศุภณัฐ |
คอนเสิร์ต
[แก้]- มหกรรมคอนเสิร์ตถูกใจคนไทย (ปี 2545)
- คอนเสิร์ต 25 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค (ปี 2550)
- Bam's Love Song (ปี 2553)
- บริษัทสร้างสุข (ปี 2553)
- Green Concert # 16 : Seven Return (ปี 2556)
- The Friendship concert (ปี 2557)
- คอนเสิร์ตล้านตลับ (7-9 ตุลาคม 2559)
- GREEN CONCERT #21 DANCE FEVER (ปี 2561)
- คอนเสิร์ต Cassette Festival Concert (24–26 พฤษภาคม 2562)
- คอนเสิร์ต Y2K CONFEST (เมษายน 2566)
- คอนเสิร์ต Grammy X RS : 90's Versary Concert (29-30 กรกฎาคม 2566)
- คอนเสิร์ต Cover Night Live (3 ธันวาคม 2566)
ผลงานการแสดง
[แก้]ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- 2546 - คืนไร้เงา รับบทเป็น สิปาง
- 2552 - ห้าแพร่ง (ตอน รถมือสอง) รับบทเป็น นุช
- 2555 - รักแรกกระแทกจิ้น รับบทเป็น ธิดา
- 2558 - Zero Tolerance รับบทเป็น Ploy
- 2560 - Face Off ครีมมนุษย์ รับบทเป็น คุณหมอ
- 2564 - ปริศนารูหลอน รับบทเป็น ใหม่
ผลงานละครเวที
[แก้]- 2543 - แบบ เบิร์ด เบิร์ด โชว์ ครั้งที่ 7 ตอน อโรคา จอมยากับยาใจ
- 2552 - ลมหายใจ เดอะมิวสิคัล
- 2556 - ลัดดาแลนด์
- 2561 - Still On My Mind The Musical
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]ผลงานรายการโทรทัศน์
[แก้]- 2561 เดอะเน็กซ์บอย/เกิร์ลแบนด์ไทยแลนด์ ช่อง 7 โปรดิวเซอร์ทีมเกิร์ล
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- ชนะเลิศการประกวดร้องเพลง Star Search รุ่นที่ 1
- นักร้องเดี่ยวยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัล ท็อปอวอร์ด 2000
- นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด คืนไร้เงา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ล้านตลับ! ย้อนดู 15 อัลบั้มยอดขายสูงสุด นักร้องหญิงแกรมมี่!". ไทยรัฐ. 2017-04-18. สืบค้นเมื่อ 2023-09-27.
- ↑ 2.0 2.1 "ชมความยิ่งใหญ่ของ 6 ศิลปินหญิงเจ้าของตำนาน "ล้านตลับ"". สนุก.คอม. 2016-07-15. สืบค้นเมื่อ 2023-09-27.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ย้อนรอย..ข่าววิวาห์หวาน"นิคกี้+แมว"
- ↑ "นิโคล เทริโอ / Nicole Theriault". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ อัลบั้ม กะ-โป-โล-คลับ
- ↑ อัลบั้ม บุษบาหน้าเป็น
- ↑ ""ฮัลโหลวันหยุด" ย้อนวันวาน "แบบเบิร์ด เบิร์ด โชว์". อาร์วายทีไนท์. 2012-06-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "Polyplus - อชิระ เทริโอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
- ↑ ""แมว" รับเป็นสามีที่ไม่ดีของ "นิโคล" ยันเหตุหย่าไม่เกี่ยวมือที่สาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-02-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2515
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักร้องหญิงชาวไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นางแบบไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- นักร้องป็อปไทย
- ชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน
- ชาวไทยเชื้อสายฝรั่งเศส
- ศิลปินสังกัดสหภาพดนตรี
- ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี
- นักร้องเพลงภาษาอังกฤษชาวไทย