นาซีเยอรมนี
52°31′N 13°24′E / 52.517°N 13.400°E
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไรช์เยอรมัน (ค.ศ. 1933–1943) Deutsches Reich ไรช์เยอรมันใหญ่ (ค.ศ. 1943–1945) Großdeutsches Reich | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1933–ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||
ธง
(1935–1945) ตราแผ่นดิน
(1935–1945) | |||||||||||||||
ดินแดนของเยอรมนีในช่วงที่แผ่ไพศาลที่สุด ขยายพื้นที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (ปลาย ค.ศ. 1942):
| |||||||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | เบอร์ลิน 52°31′N 13°23′E / 52.517°N 13.383°E | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เยอรมัน | ||||||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||||||
เดมะนิม | ชาวเยอรมัน | ||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยวนาซี รัฐพรรคการเมืองเดียว เผด็จการแบบฟาสซิสต์ ภายใต้ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จของเผด็จการ | ||||||||||||||
ประมุขแห่งรัฐ | |||||||||||||||
• 1933–1934 | เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค[c] | ||||||||||||||
• 1934–1945 | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์[d] | ||||||||||||||
• 1945 | คาร์ล เดอนิทซ์[c] | ||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||
• 1933–1945 | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ | ||||||||||||||
• 1945 (1 วัน) | โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ | ||||||||||||||
• พฤษภาคม ค.ศ. 1945 | ลุทซ์ ฟ็อน โครซิค | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | ไรชส์ทาค | ||||||||||||||
• สภาสูง | ไรชส์ราท (ยุบใน ค.ศ. 1934) | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ระหว่างสงคราม • สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||||||||
• ยึดอำนาจ | 30 มกราคม ค.ศ. 1933 | ||||||||||||||
23 มีนาคม ค.ศ. 1933 | |||||||||||||||
• อันชลุส | 12 มีนาคม ค.ศ. 1938 | ||||||||||||||
1 กันยายน ค.ศ. 1939 | |||||||||||||||
30 เมษายน ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||
• ยอมจำนน | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 | ||||||||||||||
23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
1939[e] | 633,786 ตารางกิโลเมตร (244,706 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
สกุลเงิน | ไรชส์มาร์ค (ℛℳ) | ||||||||||||||
|
นาซีเยอรมนี (อังกฤษ: Nazi Germany) บ้างเรียก ไรช์ที่สาม (เยอรมัน: Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Reich) คือชื่อเรียกประเทศเยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 อาณาจักรที่สามซึ่งแสดงให้เห็นภาพของนาซีที่มีต่อนาซีเยอรมนีว่าเป็นผู้สืบทอดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (800-1806) และจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871-1918
ประธานาธิบดีเยอรมนี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค แต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 ทำให้พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ หลังจากที่ฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 ฮิตเลอร์กลายเป็นผู้นำเผด็จการแห่งเยอรมนีจากการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี ในวันที่ 19 สิงหาคม 1934 มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเพื่อทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีแต่เพียงผู้เดียว โดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือ และคำสั่งของเขาถือเป็นกฎหมายที่สูงสุด รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยงานที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่กระจัดกระจายแก่งแย่งอำนาจและความนิยมชมชอบจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยทุ่มไปกับรายจ่ายทางทหารและเศรษฐกิจแบบผสม[2] มีการดำเนินการนโยบายสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมถึงการก่อสร้างเอาโทบาน และการคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจช่วยส่งเสริมความนิยมในระบอบนาซีเพิ่มพูนขึ้น
การเหยียดเชื้อชาติ (อังกฤษ: racism) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นหัวใจหลักของอุดมการณ์นาซีเยอรมนี โดยถือว่ากลุ่มชนเจอร์แมนิกเป็นเชื้อสายอารยันที่บริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นชนชาติปกครอง (master race) การเลือกปฏิบัติและสังหารชาวยิวและชาวโรมานี (ชื่ออื่น: ยิปซี) เริ่มต้นขึ้นหลังจากการยึดครองอำนาจ ค่ายกักกันค่ายแรกสร้างขึ้นในเดือนมีนาคมปี 1933 ชาวยิวและคนกลุ่มอื่นที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกคุมขัง กลุ่มคอมมิวนิสต์ สังคมนิยมและเสรีนิยมต่างถูกสังหาร คุมขัง หรือต้องลี้ภัย โบสถ์ของคริสเตียนและประชาชนที่ต่อต้านการปกครองโดยฮิตเลอร์ถูกกดขี่และแกนนำหลายคนถูกคุมขัง ด้านการศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่ชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และการเสริมสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกลดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เพื่อนำเสนอนาซีเยอรมนีในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ได้ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล[3] รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น[4]
เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนอง จนในที่สุดนาซีเข้ายึดออสเตรียและพื้นที่ของเชโกสโลวาเกียเกือบทั้งหมดในปี 1938 และ 1939 หลังจากนั้นฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป จนกระทั่งต้นปี 1941 นาซีเยอรมนีได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในยุโรป ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทเข้าไปควบคุมพื้นที่ที่นาซีเยอรมนียึดครอง มีการจัดตั้งรัฐบาลทั่วไปในส่วนที่เหลือของโปแลนด์ ขณะเดียวกันเยอรมนีก็ได้ยึดครองทรัพยากรและแรงงานจากพื้นที่ ๆ เข้าไปครอบครอง
หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยเริ่มนโยบายการขจัดนาซีและนำตัวผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค ส่วนนาซีเยอรมนีถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองหลังสงครามเช่นเดียวกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่อ
[แก้]ชื่ออย่างเป็นทางการของรัฐ คือ ดอยท์เชิสไรช์ ("ไรช์เยอรมัน") ตั้งแต่ปี 1933 ถึง 1943 และโกรสดอยท์เชิสไรช์ ("ไรช์เยอรมันใหญ่") ตั้งแต่ปี 1943 ถึง 1945 ในภาษาอังกฤษมักแปลคำว่าดอยท์เชิสไรช์เป็นจักรวรรดิเยอรมัน[5] ซึ่งคำว่า "ไรช์" นี้มีความหมายว่า "แผ่นดิน" อันหมายถึงอาณาจักรของไกเซอร์
ส่วนคำว่า "ไรช์ที่สาม" นั้น พวกนาซีรับมา ใช้ครั้งแรกในนวนิยายเมื่อปี 1923 โดยอาร์ทัวร์ เมิลเลอร์ ฟัน เดน บรุค[6] ซึ่งนับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในสมัยกลาง (962–1806) เป็นไรช์ที่หนึ่ง และจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1871–1918) เป็นไรช์ที่สอง ปัจจุบันชาวเยอรมันเรียกสมัยนี้ว่า ไซท์เดสนาซิโยนนัลโซซีอัลอิสมุส หรือย่อเป็น เอ็นเอส-ไซท์ ("สมัยชาติสังคมนิยม") หรือ นาซิโยนนัลโซซีอัลอิสทิสเชอ เกวัลแทร์ชัฟท์ ("ทรราชชาติสังคมนิยม")
ประวัติศาสตร์
[แก้]บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์เยอรมนี |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง |
ระบอบนาซี |
---|
สมัยสาธารณรัฐไวมาร์
[แก้]เศรษฐกิจเยอรมนีถดถอยอย่างหนักหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติ บางส่วนเนื่องจากการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามที่กำหนดภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายปี 1919 รัฐบาลพิมพ์เงินเพื่อชำระเงินและจ่ายคืนหนี้สงครามของประเทศ ภาวะเงินเฟ้อเกินที่เกิดตามมานำให้ราคาสินค้าบริโภคแพงขึ้น ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและการจลาจลอาหาร[7] เมื่อรัฐบาลไม่สามารถชำระค่าปฏิกรรมในเดือนมกราคม 1923 ทหารฝรั่งเศสยึดครองพื้นที่อุตสาหกรรมของเยอรมนีในเขตรูร์ เกิดความไม่สงบของประชาชนกว้างขวางตามมา[8]
พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) ที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคกรรมกรเยอรมันซึ่งตั้งขึ้นในปี 1919 เป็นพรรคการเมืองขวาจัดพรรคหนึ่งที่ดำเนินการอยู่ในประเทศเยอรมนีขณะนั้น[9] แนวนโยบายของพรรค ได้แก่ การขจัดสาธารณรัฐไวมาร์ การปฏิเสธเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซาย การต่อต้านยิวอย่างรุนแรง และการต่อต้านบอลเชวิค[10] นาซีสัญญาว่าจะตั้งรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง เพิ่มเลเบินส์เราม์ (พื้นที่อยู่อาศัย) สำหรับชนเจอร์แมนิก การสร้างชุมชนชาติที่ยึดเชื้อชาติ และการทำเชื้อชาติให้บริสุทธิ์โดยการปราบปรามยิวอย่างแข็งขัน ซึ่งชาวยิวจะถูกถอดความเป็นพลเมืองและสิทธิพลเมือง[11] นาซีเสนอการฟื้นฟูชาติและวัฒนธรรมโดยยึดขบวนการเฟิลคิช[12]
ตั้งแต่ปี 1925 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 รัฐบาลเยอรมันเปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยเป็นรัฐอำนาจนิยม ชาตินิยมและอนุรักษนิยมภายใต้ประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค วีรบุรุษสงคราม ผู้ไม่นิยมระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างในสาธารณรัฐไวมาร์[13] ผลการเลือกตั้งสหพันธรัฐในปี 1928 ปรากฏพรรคนาซีได้รับคะแนนเสียงต่ำมาก เพียง 12 ที่นั่ง เนื่องจากความเชื่อมโยงระหว่างฮิตเลอร์กับกบฏโรงเบียร์[14] เมื่อตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐตกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1929 ผลกระทบในเยอรมนีนั้นร้ายแรงมาก หลายล้านคนตกงาน และธนาคารหลักหลายแห่งล้มละลาย ฮิตเลอร์และพรรคนาซีเตรียมฉวยโอกาสจากภาวะฉุกเฉินนี้เพื่อให้พรรคได้รับการสนับสนุน พวกเขาสัญญาจะเสริมสร้างเศรษฐกิจและจัดหางาน[15] ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจว่าพรรคนาซีสามารถฟื้นฟูระเบียบ ปราบปรามความไม่สงบ และปรับปรุงชื่อเสียงของเยอรมนีในระดับนานาชาติได้ หลังการเลือกตั้งสหพันธรัฐปี 1932 พรรคนาซีเป็นพรรคใหญ่สุดในไรช์ซทัก โดยครอง 230 ที่นั่ง และได้รับคะแนนเสียงคิดเป็นร้อยละ 37.4[16]
การยึดอำนาจของนาซี
[แก้]แม้นาซีจะมีสัดส่วนคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุดในการเลือกตั้งทั่วไปไรชส์ทาคสองครั้งในปี 1932 แต่ก็ยังมิได้ครองเสียงข้างมาก ฉะนั้นฮิตเลอร์จึงนำรัฐบาลผสมที่มีอายุสั้นตั้งโดยพรรคนาซีและพรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน (DNVP)[17] วันที่ 30 มกราคม 1933 ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์ค ภายใต้แรงกดดันจากนักการเมือง นักอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ แต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ มัคท์แอร์ไกรฟุง ("การยึดอำนาจ") ในอีกหลายเดือนต่อมา พรรคนาซีใช้กระบวนการที่เรียก ไกลช์ชัลทุง ("การประสานงาน") เพื่อนำทุกแง่มุมของชีวิตมาอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคอย่างรวดเร็ว[18] องค์การพลเรือนทุกองค์การ รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรรม องค์การอาสาสมัครและสโมสรกีฬา มีการเปลี่ยนตัวผู้นำเป็นผู้ฝักใฝ่นาซีหรือสมาชิกพรรค เมื่อถึงเดือนมิถุนายน 1933 องค์การที่ยังไม่อยู่ในการควบคุมของพรรคนาซีเหลือเพียงกองทัพและศาสนจักรเท่านั้น[19]
คืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1933 อาคารไรชส์ทาคถูกวางเพลิง มารีนึส ฟัน เดอร์ลึบเบอ ชาวดัตช์หัวคอมมิวนิสต์ ถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานวางเพลิง นาซีอ้างว่าเหตุลอบวางเพลิงดังกล่าวเป็นสัญญาณของการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ เกิดการปราบปรามคอมมิวนิสต์รุนแรงโดยชตวร์มอัพไทลุง (SA) ทั่วประเทศ และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีสี่พันคนถูกจับ กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค กำหนดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1933 เพิกถอนเสรีภาพพลเมืองส่วนใหญ่ของเยอรมนีเพื่อปราบปรามคู่แข่งทางการเมือง รวมทั้งสิทธิในการชุมนุมและเสรีภาพสื่อ กฤษฎีกาดังกล่าวยังให้ตำรวจมีอำนาจกักขังบุคคลโดยไม่มีกำหนดโดยไม่ต้องมีการตั้งข้อหาหรือคำสั่งศาล กฎหมายนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งนำให้สาธารณะสนับสนุนมาตรการดังกล่าว[20]
เดือนมีนาคม 1933 รัฐบัญญัติมอบอำนาจ ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเยอรมัน ผ่านความเห็นชอบของสภาไรชส์ทาคด้วยคะแนนเสียง 444 ต่อ 94[21] การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้อำนาจฮิตเลอร์และคณะรัฐมนตรีผ่านกฎหมายซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ได้ โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของประธานาธิบดีหรือไรชส์ทาค[22] เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวต้องการฝ่ายข้างมากสองในสามจึงจะผ่าน นาซีจึงใช้บทบัญญํติแห่งกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคกันมิให้ผู้แทนพรรคสังคมประชาธิปไตยเข้าร่วมประชุม โดยนักคอมมิวนิสต์ถูกห้ามไปก่อนแล้ว[23][24] วันที่ 10 พฤษภาคม รัฐบาลยึดทรัพย์สินของนักสังคมประชาธิปไตย และถูกห้ามในเดือนมิถุนายน[25] พรรคการเมืองที่เหลือถูกยุบ และในวันที่ 14 กรกฎาคม 1933 เยอรมนีกลายมาเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพฤตินัย เพราะมีการห้ามตั้งพรรคการเมืองใหม่[26] การเลือกตั้งต่อมาในปลายปี 1933, 1936 และ 1938 อยู่ใต้การควบคุมของนาซีโดยสมบูรณ์ และมีเพียงนาซีและนักการเมืองอิสระจำนวนน้อยที่ได้รับเลือกตั้ง รัฐสภารัฐภูมิภาคและไรช์สรัท (สภาสูงสหพันธรัฐ) ถูกยุบในเดือนมกราคม 1934[27]
ระบอบนาซีเลิกสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐไวมาร์ รวมทั้งธงไตรรงค์ดำ-แดง-ทอง และใช้สัญลักษณ์นิยมจักรวรรดิที่ปรับปรุงใหม่ ไตรรงค์ดำ-ขาว-แดงสมัยจักรวรรดิเดิมถูกรื้อฟื้นเป็นหนึ่งในสองธงชาติอย่างเป็นทางการของเยอรมนี ธงที่สองนั้นเป็นธงสวัสดิกะของพรรคนาซี ซึ่งกลายเป็นธงชาติเยอรมันอย่างเดียวในปี 1935 เพลงประจำพรรคนาซี "เพลงฮอสท์ เว็สเซิล" กลายเป็นเพลงชาติเพลงที่สอง[28]
ในสมัยนี้ ประเทศเยอรมนียังตกอยู่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย ประชาชนหลายล้านคนว่างงานและการขาดดุลการค้ายังน่ากลัว ฮิตเลอร์ทราบว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจสำคัญ ในปี 1934 มีการใช้โครงการโยธาสาธารณะขาดดุล ชาวเยอรมันรวม 1.7 ล้านคนถูกส่งไปทำงานในโครงการต่าง ๆ ในปี 1934 ปีเดียว[29] ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงและต่อสัปดาห์เริ่มเพิ่มขึ้น[30]
ข้อเรียกร้องเพิ่มอำนาจทางการเมืองและทหารของเอสเอก่อให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้นำทางทหาร อุตสาหกรรมและการเมือง ฮิตเลอร์สนองโดยกวาดล้างผู้นำเอสเอทั้งหมดในคืนมีดยาว ซึ่งกินเวลาระหว่างวันที่ 30 มิถุนายนถึง 2 กรกฎาคม 1934 ฮิตเลอร์กำหนดแอร์นสท์ เริมและผู้นำเอสเออื่นเป็นเป้าหมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ตลอดจนศัตรูการเมืองของฮิตเลอร์อีกจำนวนหนึ่ง (เช่น เกรกอร์ ชตรัสเซอร์และอดีตนายกรัฐมนตรี ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์) ถูกล้อมจับและยิง[31]
วันที่ 2 สิงหาคม 1934 ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรม แต่หนึ่งวันก่อน คณะรัฐมนตรีได้ตรา "กฎหมายว่าด้วยตำแหน่งรัฐสูงสุดแห่งไรช์" ซึ่งมีใจความว่า ครั้นฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งประธานาธิบดีจะถูกยุบและรวมอำนาจเข้ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฉะนั้นฮิตเลอร์จึงกลายเป็นประมุขแห่งรัฐเช่นเดียวกับหัวหน้ารัฐบาล เขาได้รับแต่งตั้งเป็น "ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์" อย่างเป็นทางการ บัดนี้ ประเทศเยอรมนีเป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยมีฮิตเลอร์เป็นประมุข ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ กฎหมายใหม่เปลี่ยนคำสาบานความภักดีของทหารให้ยืนยันความภักดีต่อฮิตเลอร์ที่เป็นบุคคลมิใช่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารหรือรัฐ วันที่ 19 สิงหาคม ผู้มีสิทธิออกเสียงร้อยละ 90 ลงประชามติอนุมัติการรวมตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี
ชาวเยอรมันส่วนใหญ่โล่งใจว่าความขัดแย้งและการต่อสู้ตามถนนในสมัยไวมาร์ได้ยุติลง ทั้งได้รับการโฆษณาชวนเชื่อที่โยเซฟ เกิบเบลส์เป็นผู้สั่งการ ซึ่งสัญญาสันติภาพและความบริบูรณ์แก่ประชาชนทุกคนในประเทศเอกภาพปลอดมากซิสต์โดยไม่มีข้อผูกมัดแห่งสนธิสัญญาแวร์ซาย มีการเปิดค่ายกักกันนาซีหลักแห่งแรกซึ่งเดิมใช้ขังนักโทษการเมืองที่ดาเคาในปี 1933[32] มีการตั้งค่ายเหล่านี้หลายร้อยแห่งหลากขนาดและหลากหน้าที่เมื่อสงครามสิ้นสุด[33] เมื่อยึดอำนาจ นาซีใช้มาตรการกดขี่ต่อการคัดค้านทางการเมืองและเริ่มการกีดกันอย่างกว้างขวางต่อบุคคลที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาทางสังคม นาซีรวบอำนาจมหาศาลโดยใช้ข้ออ้างการต่อสู้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์บังหน้า นอกเหนือจากนี้ การรณรงค์ต่อชาวยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนียังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 1933 มีการเริ่มมาตรการต่าง ๆ ซึ่งนิยามสถานภาพยิวและสิทธิของยิวในระดับภูมิภาคและชาติ[34] การริเริ่มและการมอบอำนาจกฎหมายต่อชาวยิวลงเอยด้วยการจัดตั้งกฎหมายเนือร์นแบร์คปี 1935 ซึ่งริบสิทธิขั้นพื้นฐานของยิว[35] นาซีจะยึดความมั่งคั่ง การสมรสกับผู้มิใช่ยิว และสิทธิการเข้าทำงานในสาขาต่าง ๆ (เช่น ด้านกฎหมาย แพทยศาสตร์หรือเป็นครูอาจารย์) จนสุดท้ายประกาศว่ายิวไม่พึงปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับพลเมืองและสังคมเยอรมัน ซึ่งยิ่งลดความเป็นมนุษย์ของยิว อาจแย้งได้ว่า การกระทำเหล่านี้ทำให้ชาวเยอรมันเฉยชาถึงขั้นว่าทำให้ลงเอยด้วยฮอโลคอสต์ ชาติพันธุ์เยอรมันผู้ปฏิเสธการผลักไสยิวหรือแสดงสัญญาณใด ๆ ของการต่อต้านโฆษณาชวนเชื่อของนาซีจะถูกเกสตาโปตรวจตรา ถูกริบสิทธิ หรือถูกส่งไปค่ายกักกัน[36]
นโยบายต่างประเทศแสนยนิยม
[แก้]เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1933 ฮิตเลอร์ประกาศว่าจะต้องสร้างเสริมอาวุธยุทธภัณฑ์ โดยทีแรกกระทำในทางลับ เนื่องจากการดังกล่าวเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย ปีต่อมาเขาบอกผู้นำทหารว่าปี 1942 เป็นวันที่เป้าหมายสำหรับการเข้าสู่สงครามในทางตะวันออก[37] เขาพาประเทศเยอรมนีออกจากสันนิบาตชาติในปี 1933 โดยอ้างว่า ข้อกำหนดการลดกำลังรบขององค์การฯ ไม่ยุติธรรม เนื่องจากมีผลบังคับต่อเฉพาะประเทศเยอรมนี[38] ซาร์ลันท์ซึ่งถูกกำหนดภายใต้การควบคุมดูแลของสันนิบาตชาติเป็นเวลา 15 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุด ออกเสียงลงคะแนนในเดือนมกราคม 1935 เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี[39] ในเดือนมีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ประกาศว่าไรช์สเวร์จะเพิ่มกำลังเป็น 550,000 นายและเขาจะตั้งกองทัพอากาศ[40] บริเตนเห็นชอบว่าชาวเยอรมนีควรได้รับอนุญาตให้สร้างกองทัพเรือโดยการลงนามความตกลงนาวีอังกฤษ-เยอรมันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1935[41]
เมื่อการบุกครองเอธิโอเปียของอิตาลีนำสู่การประท้วงเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศส วันที่ 7 มีนาคม 1936 ฮิตเลอร์ใช้สนธิสัญญาความช่วยเหลือกันฝรั่งเศส-โซเวียตเป็นข้ออ้างในการสั่งกองทัพบกให้เคลื่อนกำลัง 3,000 นายเข้าสู่เขตปลอดทหารในไรน์ลันท์เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย[42] เนื่องจากดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี รัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศสจึงไม่รู้สึกว่าการพยายามบังคับใช้สนธิสัญญาฯ จะคุ้มความเสี่ยงสงคราม[43] ในการเลือกตั้งพรรคเดียวซึ่งจัดในวันที่ 29 มีนาคม พรรคนาซีได้รับการสนับสนุนร้อยละ 98.9[43] ในปี 1936 ฮิตเลอร์ลงนามกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นกับประเทศญี่ปุ่น และความตกลงไม่รุกรานกับนายกรัฐมนตรีเบนิโต มุสโสลินี แห่งฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งไม่นานเรียกว่า "อักษะโรม-เบอร์ลิน"[44]
ฮิตเลอร์ส่งหน่วยอากาศและยานเกราะสนับสนุนพลเอก ฟรันซิสโก ฟรังโก และกำลังชาตินิยมในสงครามกลางเมืองสเปนซึ่งปะทุในเดือนกรกฎาคม 1936 สหภาพโซเวียตส่งกำลังที่เล็กกว่าเข้าช่วยรัฐบาลสาธารณรัฐนิยม ฝ่ายชาตินิยมของฟรังโกชนะในปี 1939 และกลายเป็นพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของนาซีเยอรมนี[45]
ออสเตรียและเชโกสโลวาเกีย
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ 1938 ฮิตเลอร์เน้นย้ำความจำเป็นของเยอรมนีในการรักษาความปลอดภัยเขตแดนแก่นายกรัฐมนตรีออสเตรีย ควร์ท ชุชนิค ชุชนิคจัดการลงประชามติว่าด้วยเอกราชของออสเตรียในวันที่ 13 มีนาคม แต่ฮิตเลอร์เรียกร้องให้ยกเลิก วันที่ 11 มีนาคม ฮิตเลอร์ยื่นคำขาดแก่ชุชนิคเรียกร้องให้เขายื่นอำนาจทั้งหมดแก่พรรคนาซีออสเตรียหรือเผชิญการรุกราน แวร์มัคท์ยาตราเข้าออสเตรียวันรุ่งขึ้นและได้รับการต้อนรับอย่างกระตือรือร้นจากประชาชน[46]
สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียเป็นที่พำนักของชนกลุ่มน้อยเยอรมันจำนวนพอสมควรซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในซูเดเทินลันด์ ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพรรคเยอรมันซูเดเทิน รัฐบาลเชโกสโลวาเกียเสนอสัมปทานเศรษฐกิจแก่ภูมิภาคดังกล่าว[47] ฮิตเลอร์ตั้งสินใจผนวกทั้งประเทศเชโกสโลวาเกียมิใช่เพียงซูเดเทินลันด์เข้าสู่ไรช์[48] นาซีดำเนินการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อเพื่อพยายามปลุกเร้าการสนับสนุนการบุกครอง[49] ผู้นำสูงสุดของกองทัพไม่เห็นชอบกับแผนดังกล่าวเพราะเยอรมนียังไม่พร้อมทำสงคราม[50] วิกฤตการณ์ดังกล่าวนำให้บริเตน เชโกสโลวาเกียและฝรั่งเศส (พันธมิตรของเชโกสโลวาเกีย) ตระเตรียมสงคราม ในความพยายามเลี่ยงสงคราม นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เนวิล เชมเบอร์ลินจัดการประชุมหลายครั้งซึ่งผลลัพธ์คือ ความตกลงมิวนิก ซึ่งลงนามในวันที่ 29 กันยายน 1938 รัฐบาลเชโกสโลวาเกียถูกบีบให้ยอมรับการผนวกซูเดเทินลันด์เข้ากับประเทศเยอรมนี เชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับด้วยเสียงสันบสนุนเมื่อเขาลงจอดในกรุงลอนดอน เขาว่าเป็น "สันติภาพสำหรับยุคของเรา"[51] ความตกลงดังกล่าวกินเวลาหกเดือนก่อนฮิตเลอร์ยึดดินแดนเช็กเกียที่เหลือในเดือนมีนาคม 1939[52] มีการตั้งรัฐหุ่นในสโลวาเกีย[53]
สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 การบุกครองโปแลนด์เริ่มต้นขึ้น อีกสองวันถัดมา สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนี แต่ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน โปแลนด์ก็ถูกแบ่งออกเป็นเขตการยึดครองของเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ตามข้อตกลงลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพซึ่งลงนามไว้ก่อนหน้านี้[54] ไม่มีการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างเยอรมนีกับฝ่ายสัมพันธมิตรราว 6 เดือนหลังจากโปแลนด์พ่าย[55] จนกระทั่งการทัพนอร์เวย์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 เยอรมนีได้ขยายดินแดนไปทางเหนือ ตามด้วยการรุกรานฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ในเดือนพฤษภาคม
ในยุทธการแห่งบริเตน ซึ่งเป็นการเตรียมการสำหรับการบุกครองเกาะอังกฤษทางบก[56] การทิ้งระเบิดใส่กรุงลอนดอนโดยอุบัติเหตุซึ่งขัดคำสั่งของฮิตเลอร์ ได้เปลี่ยนเส้นทางของสงคราม[57] อังกฤษตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดกรุงเบอร์ลิน ทำให้ฮิตเลอร์โกรธมาก จึงได้สั่งให้มีการทิ้งระเบิดตามหัวเมืองอังกฤษอย่างหนัก[58] ซึ่งได้เปิดโอกาสให้แก่กองทัพอากาศอังกฤษ ความพ่ายแพ้เหนือน่านฟ้าอังกฤษเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของเยอรมนี[59] ฮิตเลอร์จึงหันไปให้ความสนใจในการโจมตีสหภาพโซเวียตแทน[60]
ในช่วงปี 1940-1941 เยอรมนีสามารถยึดครองเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป โดยส่งทหารรุกรานยูโกสลาเวีย กรีซ เกาะครีตและในแถบคาบสมุทรบอลข่าน[61] ในทวีปแอฟริกา กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปถึงอียิปต์[62] ด้วยสภาวะเช่นนี้ เยอรมนีต้องทำศึกหลายด้าน หากแต่แผนการรุกรานสหภาพโซเวียตยังคงดำเนินการต่อไป ซึ่งนับว่าผิดหลักยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หากแต่มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วงปลายปีปี 1941 กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในสหภาพโซเวียตถึง 1,689 กิโลเมตร[63] ล้อมชานนครเลนินกราด[64] แต่ก็ถูกหยุดยั้งที่มอสโกในฤดูหนาวที่โหดร้าย[65] อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร
ในปี 1942 การโจมตีโต้กลับของกองทัพแดงในแผ่นดินโซเวียตได้ขับไล่กองทัพอักษะออกจากชานเมืองกรุงมอสโก ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ กองทัพฝ่ายอักษะได้โจมตีทุ่งปิโตรเลียมแถบเทือกเขาคอเคซัสและแม่น้ำวอลกาครั้งใหญ่ หากแต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่สตาลินกราดได้สร้างความสูญเสียครั้งมโหฬารจนไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้อีก ในปีเดียวกัน ทางด้านตะวันตก เยอรมนีเผชิญกับการทิ้งระเบิดทางอากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายแก่พลเมืองและสาธารณูปโภค[66] พอถึงปี 1943 ในการทัพแอฟริกาเหนือ กองทัพอักษะล่าถอยจากอียิปต์ไปจนถึงตูนิเซีย[67] และเกาะซิซิลีของอิตาลี และในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันก็ถูกผลักดันออกมาจากเลนินกราดและสตาลินกราด[68] เช่นเดียวกับความพยายามที่ล้มเหลวในการตีโต้ที่เคิสก์[69] และในปี 1944 ปฏิบัติการขนาดใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตร – ปฏิบัติการบากราติออนและปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด – ส่งผลให้กองทัพแดงรุกถึงโปแลนด์ในแนวรบด้านตะวันออก[70] และฝ่ายสัมพันธมิตรรุกถึงแม่น้ำไรน์ในแนวรบด้านตะวันตก[71]
ปฏิบัติการในการยับยั้งกองทัพสัมพันธมิตรล้วนแต่ประสบความล้มเหลว และราวเดือนเมษายน 1945 กองทัพสัมพันธมิตรได้รุกเข้าสู่เยอรมนีทั้งทางตะวันตกและทางตะวันออก กรุงเบอร์ลินตกอยู่ใต้วงล้อมของกองทัพโซเวียต ฮิตเลอร์เครียดหนักและตัดสินใจฆ่าตัวตาย[72] โดยส่งมอบอำนาจต่อให้แก่พลเรือเอก คาร์ล เดอนิทซ์[73]
ยอมจำนนและล่มสลาย
[แก้]เดอนิตช์พยายามที่จะติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขอยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข[74] เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945 ได้มีการยอมจำนนอย่างเป็นทางการ[75] ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดการคงอยู่ของนาซีเยอรมนี[76]
ในเดือนสิงหาคม ได้มีการจัดการประชุมพ็อทซ์ดัมระหว่างผู้นำมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อกำหนดข้อตกลงและแนวทางสำหรับอนาคตของเยอรมนี รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของเยอรมนีอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับการพิจารณาคดีอาชญากรสงครามผู้นำและนายทหารระดับสูงของนาซีที่เนือร์นแบร์ค[77] จำเลยทั้งหมดถูกพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้อกล่าวหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่ถูกตัดสินประหารชีวิตและบางส่วนถูกตัดสินจำคุก
การแบ่งแยกปกครองเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นภายใต้การจัดตั้งสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร และแบ่งเยอรมนีและกรุงเบอร์ลินออกเป็น 4 ส่วน ให้อยู่ในการควบคุมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต โดยส่วนที่ปกครองโดยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รวมตัวกันเป็นเยอรมนีตะวันตก และส่วนที่สหภาพโซเวียตปกครองกลายมาเป็นเยอรมนีตะวันออก เยอรมนีทั้งสองเป็นสนามรบของสงครามเย็นในทวีปยุโรป ก่อนที่จะมีการรวมประเทศอีกครั้งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
ภูมิศาสตร์
[แก้]เยอรมนีตั้งอยู่ในเขตที่ราบต่ำตอนกลางทวีปยุโรป[78] มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนอยู่สามแห่ง ได้แก่ เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เขตภูเขาตอนกลาง และเขตที่ราบสูงและลุ่มแม่น้ำทางใต้ ดินทางตอนเหนือนั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาก และมีป่าสนกินอาณาเขตกว้างขวางตามตีนเขาของเทือกเขาที่ลากผ่านตอนกลางของประเทศ[79]
ด้านการคมนาคม ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เยอรมนีมีทางน้ำในประเทศความยาวรวมกว่า 7,000 ไมล์ ซึ่งในจำนวนนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจถึง 4,830 ไมล์[80] มีเมืองท่าที่สำคัญ คือ ดืสบวร์ค-รูรอร์ท ฮัมบวร์ค และเบอร์ลิน[80] เช่นเดียวกับคลองคีล ซึ่งมีสินค้าผ่านคลองกว่า 9.4 ล้านตันต่อปี ในปี 1936[81] นอกจากนั้น เยอรมนียังมีทางรถไฟยาวกว่า 43,000 ไมล์[81]; ในปี 1937 เยอรมนีมีโครงข่ายถนนยาว 134,000 ไมล์ และทางหลวงพิเศษ (เอาโทบาน) ยาว 3,150 ไมล์ ในปี 1939[82]
เกษตรกรรมในประเทศประสบความสำเร็จอย่างมาก และสามารถปลูกพืชได้หลายชนิด ในปี 1936 ราว 61% ของพื้นที่ทั้งประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูก[83] โดยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวไรย์ มันฝรั่ง ชูการ์บีต และไม้องุ่น[84] มีทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตรเลียม[85] ทองแดง สังกะสี และดีเกลือ[86]
การเปลี่ยนแปลงดินแดนก่อนสงคราม
[แก้]ผลจากความปราชัยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งติดตามมา ประเทศเยอรมนีเสียอัลซาซ-ลอแรน นอร์เทิร์นชเลสวิชและเมเมล ซาร์ลันท์เป็นรัฐในอารักขาของประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่าภายหลังผู้อยู่อาศัยจะลงประชามติตัดสินว่าจะเข้ากับประเทศใด ประเทศโปแลนด์แยกออกมาเป็นอีกประเทศหนึ่งและได้ทางออกสู่ทะเลโดยการสถาปนาฉนวนโปแลนด์ ซึ่งคั่นปรัสเซียจากประเทศเยอรมนีส่วนที่เหลือ ดันท์ซิชกลายเป็นเสรีนคร[87]
ประเทศเยอรมนีเข้าควบคุมซาร์ลันท์อีกครั้งผ่านการลงประชามติซึ่งจัดขึ้นในปี 1935 และผนวกออสเตรียในอันชลุสส์ปี 1938[88] ความตกลงมิวนิกปี 1938 ทำให้เยอรมนีได้ควบคุมซูเดเทินลันด์และยึดเชโกสโลวาเกียส่วนที่เหลืออีกหกเดือนต่อมา[51] ภายใต้คำขู่การบุกครองทางทะเล ประเทศลิทัวเนียยอมยกเขตเมเมลในเดือนมีนาคม 1939[89]
ระหว่างปี 1939 ถึง 1941 กองทัพเยอรมันบุกครองประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และสหภาพโซเวียต[90] มุสโสลินียกตรีเยสเต เซาท์ไทรอลและอิสเตรียให้ประเทศเยอรมนีในปี 1943 มีการจัดตั้งเขตหุ่นเชิดสองเขตในพื้นที่ คือ เขตปฏิบัติการลิตโตรัลเอเดรียติก (Operational Zone of the Adriatic Littoral) และเขตปฏิบัติการตีนเขาแอลพ์ (Operational Zone of the Alpine Foothills)[91]
การขยายอาณาเขตยามสงคราม
[แก้]ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่ซึ่งมีพลเมืองชาวเยอรมันอาศัยอยู่ อย่างเช่น ออสเตรีย ซูเดเทินลันด์, ดินแดนมาเมล รวมทั้งดินแดนซึ่งผนวกรวมภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ ได้แก่ ออยเปน-เอท-มัลเมอดี, อัลซาซ-ลอร์เรน, ดันท์ซิช และดินแดนของโปแลนด์ นอกจากนั้น ระหว่างปี 1939-1945 แคว้นโบฮีเมียและโบราเวีย ถูกปกครองในฐานะรัฐในอารักขาของไรช์[92] ซึ่งเยอรมนีมีอำนาจควบคุมและบริหารประเทศ แต่ยังอนุญาตให้มีเงินตราของตัวเอง เช็กไซลีเชียรวมเข้ากับจังหวัดไซลีเชียในช่วงเวลาเดียวกัน ในปี 1942 ลักเซมเบิร์กถูกผนวกรวมกับเยอรมนีโดยตรง[93] โปแลนด์ตอนกลางและแคว้นกาลิเซียถูกปกครองโดยเจอเนอรัลโกอูเวอร์เนเมนท์ (เยอรมัน: Generalgouvernement) ที่เยอรมนีบริหาร[94] ท้ายสุด ชาวโปแลนด์จะถูกอพยพ และจัดให้ชาวเยอรมันห้าล้านคนเข้าไปอาศัยอยู่แทน ปลายปี 1943 นาซีเยอรมนีพิชิตเซาธ์ไทรอล และอิสเตรีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ก่อนปี 1919 และยึดตรีเยสเตหลังรัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลี (ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรฝ่ายอักษะ) ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เขตการปกครองหุ่นเชิดสองเขตถูกจัดตั้งขึ้นแทนที่
การเปลี่ยนแปลงหลังสงคราม
[แก้]พรมแดนโดยพฤตินัยของนาซีเยอรมนีเปลี่ยนแปลงมานานก่อนการล่มสลายในเดือนพฤษภาคม 1945 เพราะกองทัพแดงคืบหน้ามาทางตะวันออก พร้อมกับที่ประชากรเยอรมันหลบหนีมายังแผ่นดินเยอรมนี และสัมพันธมิตรตะวันตกรุกคืบมาทางตะวันออกจากฝรั่งเศส เมื่อสงครามยุติ มีเพียงผืนดินเล็ก ๆ จากออสเตรียถึงโบฮีเมียและโมราเวีย และภูมิภาคที่ถูกโดดเดี่ยวอื่น ๆ เท่านั้นที่ยังไม่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาสถาปนาเขตยึดครอง ดินแดนเยอรมนีก่อนสงครามทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นีซเซ (อันประกอบด้วย ปรัสเซียตะวันออก ไซลีเชีย ปรัสเซียตะวันตก ราวสองในสามของพอเมอเรเนีย และบางส่วนของบรันเดินบวร์ค) และสเทททิน และบริเวณโดยรอบ (เกือบ 25% ของดินแดนเยอรมนีก่อนสงครามเมื่อปี 1937) อยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์และโซเวียต โดยแบ่งให้โปแลนด์และโซเวียตผนวก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของแคว้นซาร์ ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมถ่านหินที่สำคัญของเยอรมนีที่เหลืออีกด้วย ดินแดนส่วนใหญ่ที่เยอรมนีเสียไปนี้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ยกเว้น อัปเปอร์ไซลีเชีย ซึ่งเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรขับไล่ผู้อยู่อาศัยชาวเยอรมัน ในปี 1947 สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเลิกปรัสเซียด้วยกฎหมาย ที่ 46 (20 พฤษภาคม 1947) ตามการประชุมพ็อทซ์ดัม ดินแดนปรัสเซียทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นีซเซถูกแบ่งแยกและปกครองโดยโปแลนด์และมณฑลคาลินินกราด ตามสนธิสัญญาสันิภาพขั้นสุดท้าย ภายหลัง โดยการลงนามสนธิสัญญากรุงวอร์ซอ (ค.ศ. 1970) และสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี (ค.ศ. 1990) เยอรมนีสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่เสียไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
การเปลี่ยนแปลงดินแดนดังกล่าวส่งผลกระทบให้ชาวเยอรมันราว 14 ล้านคน[95] ถูกขับออกจากดินแดนซึ่งอยู่นอกพรมแดนประเทศเยอรมนีใหม่ มีผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์นี้ประมาณ 1-2 ล้านคน[95] เช่นเดียวกับเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย เช่น ชเท็ททิน, เคอนิชส์แบร์ค, เบร็สเลา, เอ็ลบิง และดันท์ซิช ที่ได้ขับชาวเยอรมันออกจากเมืองเช่นกัน
การเมืองการปกครอง
[แก้]ไรช์ยกย่องฮิตเลอร์ว่าเป็น ฟือเรอร์ ที่รวมศูนย์อำนาจทั้งหมดไว้ในมือ การโฆษณาชวนเชื่อนาซีมีศูนย์กลางอยู่ที่ฮิตเลอร์และสร้างสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "เรื่องปรัมปราฮิตเลอร์" คือ ฮิตเลอร์เป็นผู้รู้แจ้งและความผิดพลาดหรือความล้มเหลวใด ๆ ของผู้อื่นจะถูกแก้ไขให้ถูกต้องหากเขาให้ความสนใจ แต่ในความเป็นจริง ฮิตเลอร์มีความสนใจแคบ และการวินิจฉัยสั่งการกระจายกันระหว่างศูนย์อำนาจที่ซ้ำซ้อนและขัดแย้งกัน ฮิตเลอร์ไม่มีปฏิกิริยาในบางประเด็น เพียงแต่เห็นพ้องกับแรงกดดันจากผู้ใดก็ตามที่เขารับฟัง ข้าราชการระดับสูงรายงานตรงต่อฮิตเลอร์และปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐาน แต่ยังมีความเป็นอิสระในงานประจำวันพอสมควร ผ่านการบรรจุสมาชิกพรรคนาซีในตำแหน่งหน้าที่รัฐบาลส่วนใหญ่ จนถึงปี 1935 รัฐบาลแห่งชาติเยอรมันและพรรคนาซีก็แทบจะเป็นหนึ่งเดียวกัน จนถึงปี 1938 ผ่านนโยบายไกลช์ชัลทุง รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐสูญเสียอำนาจนิติบัญญัติทั้งหมดและสนองตอบผู้นำพรรคนาซีในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า "เกาไลเทอร์"
การแบ่งเขตการปกครองในไรช์
[แก้]เพื่อให้การควบคุมเยอรมนีของฮิตเลอร์เป็นไปโดยรัดกุมยิ่งขึ้น ในปี 1935 ระบอบนาซีแทนที่การปกครองแลนเดอร์ (เยอรมัน: länder) ด้วย "เกา" (เยอรมัน: gau) ซึ่งนำโดยผู้ว่าการที่ตอบสนองต่อรัฐบาลกลางในกรุงเบอร์ลิน การจัดระเบียบใหม่นี้ทำให้ปรัสเซียอ่อนแอลงในทางการเมือง ซึ่งในอดีตปรัสเซียเคยครอบงำการเมืองเยอรมนี เริ่มแรกนั้น เยอรมนีแบ่งออกเป็น 32 เกา และระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมนีสามารถยึดครองดินแดนอื่นได้[96] จึงได้จัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ เรียกว่า "ไรชส์เกา" (เยอรมัน: reichsgau) กระทั่งปี 1945 นาซีเยอรมนีมีเขตการปกครองรวมทั้งสิ้น 42 เกา[97]
โครงสร้างรัฐบาลไรช์
[แก้]นาซีเยอรมนีประกอบขึ้นจากหลายโครงสร้างอำนาจที่แข่งขันกัน ทั้งหมดล้วนพยายามสร้างความประทับใจแก่ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฉะนั้นกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับจึงได้รับผลกระทบและถูกแทนที่ด้วยการตีความสิ่งที่ฮิตเลอร์ต้องการ ข้าราชการระดับสูงของพรรคหรือรัฐบาลคนใดสามารถนำหนึ่งในความเห็นของฮิตเลอร์และเปลี่ยนให้เป็นกฎหมายใหม่ได้ ซึ่งฮิตเลอร์อาจอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไม่เป็นทางการ จึงกลายมาเป็นที่รู้จักกันว่า "การทำงานมุ่งสู่ฟือเรอร์" เพราะรัฐบาลมิได้เป็นองค์การที่ประสานร่วมมือกัน หากเป็นการรวมปัจเจกบุคคลที่ต่างพยายามสร้างความประทับใจและมีอิทธิพลเหนือฟือเรอร์ บ่อยครั้งจึงทำให้รัฐบาลสับสนยุ่งยากและแตกแยกกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนโยบายที่กำกวมของฮิตเลอร์ในการสร้างตำแหน่งหน้าที่ที่คล้ายกันโดยมีอำนาจทับซ้อนกัน ขบวนการนี้ทำให้นาซีที่ไม่ซื่อสัตย์และทะเยอทะยานกว่าออกไปนำอุดมการณ์ส่วนที่หัวรุนแรงและสุดโต่งกว่าของฮิตเลอร์ เช่น ต่อต้านยิว ทำให้ได้รับความประทับใจทางการเมือง โดยได้รับการปกป้องจากจักรกลโฆษณาชวนเชื่อทรงประสิทธิภาพอย่างยิ่งของเกิบเบิลส์ ซึ่งพรรณารัฐบาลว่าเป็นชุดที่อุทิศตัว รับผิดชอบต่อหน้าที่และมีประสิทธิภาพ การแข่งขันอย่างรุนแรงและการตรากฎหมายอันยุ่งเหยิงจึงสามารถบานปลายได้ ความคิดเห็นทางประวัติศาสตร์แตกกันระหว่าง "กลุ่มเจตนา" ซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์สร้างระบบนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นวิถีทางเดียวในการประกันทั้งความจงรักภักดีสมบูรณ์และการอุทิศตนของผู้สนับสนุนเขาและการพ้นวิสัยการคบคิด และ "กลุ่มโครงสร้างนิยม" ที่เชื่อว่าระบบนี้พัฒนาขึ้นเอง และเป็นการจำกัดอำนาจที่ควรจะเผด็จการเบ็ดเสร็จของฮิตเลอร์
คณะรัฐบาลไรช์ดำรงอยู่เป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 1933 ถึงวันที่ 30 เมษายน 1945 หลังฮิตเลอร์ยิงตัวตายในฟือเรอร์บุงเคอร์ เขาส่งต่ออำนาจให้แก่จอมพลเรือ คาร์ล เดอนิทซ์ ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพเรือ ด้วยความปรารถนาที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาต่อไปอีก
โครงสร้างและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในรัฐบาลไรช์ ประกอบด้วย
- คณะบริหาร
- คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์ (1933–1945)
- คณะรัฐมนตรีชเวรีน ฟ็อน โครซิค (พฤษภาคม 1945)
- สำนักงานส่วนกลาง
- ทำเนียบฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี (ฟิลิป บูเลอร์)
- สำนักงานที่ทำการพรรค (มาร์ทีน บอร์มัน)
- สำนักทำเนียบประธานาธิบดี (ออทโท ไมส์ซแนร์)
- สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ (ฮันส์ ลัมแมร์ส)
- สภาคณะรัฐมนตรีลับ (ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท)
- กระทรวงไรช์
- กระทรวงมหาดไทยไรช์ (วิลเฮล์ม ฟริค, ไฮน์ริช ฮิมเลอร์)
- กระทรวงโฆษณาแถลงข่าวและโฆษณาชวนเชื่อไรช์ (โยเซฟ เกิบเบิลส์)
- กระทรวงเดินอากาศไรช์ (แฮร์มัน เกอริง)
- กระทรวงการคลัง (ลุทซ์ กราฟ ชเวรีน ฟ็อน โครซิค)
- กระทรวงยุติธรรมไรช์ (ฟรันซ์ เกือร์ทแนร์, ออทโท ไทรัค)
- กระทรวงเศรษฐกิจไรช์ (อัลเฟรด ฮูเกนแบร์ก, ควร์ท ชมิทท์, ฮยัลมาร์ ชัคท์, แฮร์มันน์ เกอริง, วัลเทอร์ ฟุงค์)
- กระทรวงโภชนาการและกสิกรรมไรช์ (รีชาร์ด วัลเทอร์ ดาร์เร, แฮร์แบร์ท บัคเคอ)
- กระทรวงแรงงานไรช์ (ฟรันซ์ เชลด์เทอ)
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศึกษาธิการ และวัฒนธรรมไรช์ (แบร์นฮาร์ด รุสท์)
- กระทรวงกิจการสงฆ์ไรช์ (ฮันนส์ เคอรรล์)
- กระทรวงคมนาคมไรช์ (ยูลีอุส ดอร์พมึลเลอร์)
- กระทรวงการไปรษณีย์ไรช์ (วิลเฮล์ม โอเนซอร์เกอ)
- กระทรวงยุทธภัณฑ์และผลิตกรรมสงครามไรช์ (ฟริทซ์ ท็อดท์, อัลแบร์ท ชแปร์)
- กระทรวงดินแดนตะวันออกในยึดครองของไรช์ (อัลเฟรด โรเซินแบร์ก)
- รัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง (ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท, ฮันส์ ฟรังค์, ฮยัลมาร์ ชัคท์, อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท)
- สำนักงานไรช์
- สำนักงานแผนสี่ปี (แฮร์มันน์ เกอริง)
- สำนักงานผู้ตรวจการทางหลวง
- สำนักงานประธานธนาคารไรช์
- ทบวงกลางความมั่นคงไรช์ (ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช)
- สำนักงานพนักงานป่าไม้ไรช์ (แฮร์มันน์ เกอริง)
- สำนักงานเยาวชนไรช์
- สำนักงานกองคลังไรช์
- ผู้ตรวจการใหญ่นครหลวงไรช์
- สำนักงานสมาชิกสภาเมืองหลวงขบวนการ (มิวนิก)
- สำนักงานพรรคนาซี
- สำนักงานนโยบายเชื้อชาติ
- สำนักงานนโยบายอาณานิคม
- สำนักงานการต่างประเทศ
- อัมท์ โรเซินแบร์ค
รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค (1945)
[แก้]คณะรัฐบาลเฟล็นส์บวร์คเป็นรัฐบาลชั่วคราวของไรช์หลังวันที่ 30 เมษายน 1945 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งจอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ เป็นประธานาธิบดีไรช์ เดอนิทซ์ย้ายที่ทำการรัฐบาลจากกรุงเบอร์ลินไปยังเฟล็นส์บวร์ค ใกล้กับชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก เป้าหมายของเขาก็คือ การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกองทัพสัมพันธมิตรที่รุกมาทางตะวันตก มิใช่กับกองทัพโซเวียตผู้รุกรานมาทางทิศตะวันออก คณะรัฐบาลเฟล็นส์บวร์คสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดถูกจับกุมตัวโดยกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1945
คณะรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค ประกอบด้วยความโง่
- ประธานาธิบดี: จอมพลเรือ คาร์ล เดอนิทซ์ (ควบตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์)
- ลุทซ์ กราฟ ชเวรีน ฟ็อน โครซิค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นประธานคณะรัฐมนตรี
- ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถูกปลดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)
- อัลเฟรท โรเซินแบร์ค (ถูกปลดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)
- ดร. วิลเฮล์ม สทุคอาร์ท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทนฮิมเลอร์
- อัลแบร์ท ชแปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการผลิต
- ดร. แฮร์แบร์ท บัคเคอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหาร กระทรวงเกษตรกรรมและป่าไม้
- ดร. ฟรานซ์ เชลตท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกิจการสังคม
- ดร. ยูไลอัส ดอร์พมึลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และคมนาคม
อุดมการณ์ของไรช์
[แก้]ชาติสังคมนิยมมีองค์ประกอบอุดมการณ์สำคัญบางอย่างของลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งเดิมพัฒนาขึ้นในอิตาลีภายใต้เบนิโต มุสโสลินี อย่างไรก็ดี นาซีไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าตนเป็นฟาสซิสต์ อุดมการณ์ทั้งสองเกี่ยวข้องกับการใช้แสนยนิยม ชาตินิยม ต่อต้านคอมมิวนิสต์และกำลังกึ่งทหารในทางการเมือง และทั้งคู่ตั้งใจจะสร้างรัฐเผด็จการ แต่นาซีจะมีปัจจัยทางด้านเชื้อชาติ(อย่างมีนัยสำคัญ)มากกว่าฟาสซิสต์ในอิตาลี โปรตุเกส และสเปน นาซียังเจตนาสร้างรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างสมบูรณ์ ไม่เหมือนกับฟาสซิสต์อิตาลีที่แม้จะสนับสนุนรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ แต่อนุญาตให้มีเสรีภาพส่วนบุคคลแก่พลเมืองของตนมากกว่า ข้อแตกต่างนี้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อิตาลียังดำรงอยู่ได้และมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการบางอย่าง อย่างไรก็ดี นาซีลอกสัญลักษณ์นิยมของตนจำนวนมากจากฟาสซิสต์ในอิตาลี เช่น การลอกการทำความเคารพแบบโรมันมาเป็นการทำความเคารพแบบนาซี การใช้การชุมนุมมวลชน ทั้งคู่ใช้กำลังกึ่งทหารในเครื่องแบบที่อุทิศตนต่อพรรค (เอสเอในเยอรมนีและเชิ้ตดำในอิตาลี) ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีถูกเรียกว่า "ผู้นำ" (ฟือเรอร์ในภาษาเยอรมัน ดูเชในภาษาอิตาลี) ทั้งคู่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทั้งคู่ต้องการรัฐที่ขับเคลื่อนทางอุดมการณ์ และทั้งคู่สนับสนุนทางสายกลางระหว่างทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่า บรรษัทนิยม ตัวพรรคเองปฏิเสธการจัดอยู่ในกลุ่มฟาสซิสต์ โดยอ้างว่าชาติสังคมนิยมเป็นอุดมการณ์เอกลักษณ์เฉพาะของเยอรมนี
ลักษณะรวบอำนาจเบ็ดเสร็จของพรรคนาซีเป็นหนึ่งในหลักสำคัญของพรรค นาซียืนยันว่าทุกความสำเร็จลุล่วงอันยิ่งใหญ่ในอดีตของชาติและประชาชนชาวเยอรมันล้วนเกี่ยวข้องกับอุดมคติชาติสังคมนิยม ก่อนที่อุดมการณ์นั้นจะมีขึ้นจริง ๆ เสียอีก การโฆษณาชวนเชื่อถือว่าการรวบรวมอุดมคตินาซีและความสำเร็จของระบอบเป็นของฟือเรอร์ของระบอบ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้ถูกพรรณาว่าเป็นอัจฉริยะเบื้องหลังความสำเร็จของพรรคนาซีและผู้ช่วยให้รอดของเยอรมนี
"ปัญหาเยอรมัน" ที่มักกล่าวถึงในหมู่นักวิชาการอังกฤษ มุ่งประเด็นการปกครองภูมิภาคเยอรมนีในยุโรปเหนือและยุโรปกลาง ซึ่งเป็นแก่นสำคัญตลอดประวัติศาสตร์เยอรมนี[98] "ตรรกะ" การรักษาให้เยอรมนีมีพื้นที่เล็ก ๆ ได้รับการสนับสนุนจากคู่แข่งเศรษฐกิจรายสำคัญ และเป็นแรงขับในการสร้างรัฐโปแลนด์ขึ้นใหม่ เป้าหมายคือ เพื่อ "ถ่วงดุลอำนาจของเยอรมนี"
นาซีสนับสนุนมโนทัศน์กรอสส์ดอยท์ชลันด์ หรือมหาเยอรมนี และเชื่อว่าการรวมชาวเยอรมันอยู่ในชาติเดียวเป็นก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จแห่งชาติของตน การสนับสนุนมโนทัศน์มหาเยอรมนีอย่างหลงใหลของนาซีนี้เองที่นำไปสู่การขยายอาณาเขตของเยอรมนี ที่ให้ความชอบธรรมและการสนับสนุนที่จำเป็นแก่ไรช์ที่สามในการเดินหน้าพิชิตดินแดนที่ประชากรมิใช่ชาวเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ที่เสียไปนานมาแล้ว เช่น อดีตดินแดนที่ปรัสเซียเคยได้ในโปแลนด์และเสียให้แก่รัสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือเพื่อเข้ายึดดินแดนที่มีประชากรชาวเยอรมันเช่นออสเตรียบางส่วน มโนทัศน์เลเบินส์เราม์ หรือที่เจาะจงกว่านั้น ความจำเป็นในการขยายประชากรชาวเยอรมัน ก็ถูกระบอบนาซีอ้างเป็นเหตุในการขยายอาณาเขตดินแดน
สองประเด็นสำคัญ คือ การบริหารให้ฉนวนโปแลนด์และดันท์ซิชเข้าสู่ไรช์ ขณะที่นโยบายเชื้อชาติขยายขึ้น โครงการเลเบินส์เราม์ก็เชื่อมโยงกับผลประโยชน์คล้ายกัน นาซีกำหนดว่ายุโรปตะวันออกจะถูกตั้งถิ่นฐานโดยชาติพันธุ์เยอรมัน และประชากรสลาฟที่เข้ามาตรฐานเชื้อชาติของนาซีจะถูกกลืนเข้าสู่ไรช์ ส่วนผู้ที่ไม่เหมาะกับมาตรฐานเชื้อชาติจะถูกใช้เป็นแรงงานกรรมกรราคาถูกหรือเนรเทศไปทางตะวันออก
เป้าหมายที่สำคัญสำหรับพรรคนาซีได้แก่การยุบรวมเอาฉนวนโปแลนด์และเสรีนครดันท์ซิชเข้าสู่ไรช์ที่สาม ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของนโยบายการแบ่งแยกเชื้อชาติของนาซี แผนการ Lebensraum มีส่วนที่เกี่ยวข้องกันหลายประการ กล่าวคือ พรรคนาซีเชื่อว่ายุโรปตะวันออกควรจะเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมัน และประชาชนชาวสลาฟที่อยู่ในแผ่นดินของนาซีเยอรมนี พวกเขาเหล่านั้นจะถูกใช้เป็นแรงงานราคาถูกหรือถูกเนรเทศไปทางทิศตะวันออกต่อไป[99]
การเหยียดสีผิวและคตินิยมเชื้อชาติเป็นมุมมองสำคัญของสังคมในไรช์ที่สาม นาซีรวมการต่อต้านยิวเข้ากับอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยพิจารณาขบวนการลัทธิอยู่ร่วมกันระหว่างประเทศฝ่ายซ้าย เช่นเดียวกับทุนนิยมตลาดระหว่างประเทศ ว่าเป็นผลงานของ "ยิวที่สมรู้ร่วมคิด" นาซียังเอ่ยถึงขบวนการเช่นนี้ด้วยคำอย่าง "การปฏิวัติของพวกต่ำกว่ามนุษย์ยิว-บอลเชวิค"[100] แนวนโยบายดังกล่าวออกมาในรูปการย้ายประชากร การกักกันและการกำจัดประชากร 11–12 ล้านคนอย่างเป็นระบบระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งราวครึ่งหนึ่งเป็นยิวที่ถูกเป้าหมายในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่เรียกว่า ฮอโลคอสต์ ชาติพันธุ์โปแลนด์ 3 ล้านคนเสียชีวิตด้วยผลของการสงคราม พันธุฆาต การตอบโต้ แรงงานเกณฑ์หรือทุพภิกขภัย[101] และอีก 100,000–1,000,000 คนเป็นชาวโรมานี ที่ถูกฆ่าใน Porajmos เหยื่ออื่น ๆ ของการเบียดเบียนโดยนาซี รวมถึงพวกคอมมิวนิสต์ คู่แข่งทางการเมืองทั้งหลาย, ผู้ที่ถูกขับออกจากสังคม, รักร่วมเพศ, นักคิดเสรี, ผู้คัดค้านศาสนา เช่น ผู้นับถือพยานพระยะโฮวา, คริสตาเดลเฟียน, คริสตจักรสารภาพและฟรีเมสัน[102]
กฎหมาย
[แก้]โครงสร้างการศาลและประมวลกฎหมายส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐไวมาร์ยังคงใช้อยู่ระหว่างและหลังไรช์ที่สาม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในประมวลการศาล (judicial code) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญในคำวินิจฉัยของศาล พรรคนาซีเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายพรรคเดียวในเยอรมนี และพรรคการเมืองอื่นทั้งหมดถูกห้าม สิทธิมนุษยชนส่วนมากในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ถูกระงับโดยไรช์ซเกเซทเซอ ("กฎหมายของไรช์") หลายฉบับ ชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก เช่น ยิว นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเชลยศึกถูกเพิกถอนสิทธิและความรับผิดชอบส่วนใหญ่ แผนการเพื่อผ่านโฟล์คซซทรัฟเกเซทซบุค ("ประมวลกระบวนการยุติธรรมทางอาญาประชาชน") มีขึ้นไม่นานหลังปี 1933 แต่ไม่ได้นำปมาใช้จริงกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติ
มีการตั้งศาลประเภทใหม่ โฟล์คซดกริชท์ชอฟ ("ศาลประชาชน") ขึ้นในปี 1934 เพียงเพื่อจัดการกับคดีที่มีความสำคัญทางการเมืองเท่านั้น ตั้งแต่ปี 1934 – กันยายน 1944 ศาลมีคำสั่งประหารชีวิต 5,375 คน ไม่นับรวมโทษประหารชีวิตตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 1944 – เมษายน 1945 ซึ่งประเมินที่ 2,000 คน ตุลาการคนที่โดดเด่นที่สุด คือ โรลันด์ ไฟรซเลอร์ หัวหน้าศาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1942 – กุมภาพันธ์ 1945
เศรษฐกิจ
[แก้]เมื่อพรรคนาซีเป็นรัฐบาลใหม่ ๆ นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจที่กดดันมากที่สุด คือ อัตราการว่างงานที่สูงถึงประมาณ 30%[103] ในตอนเริ่มต้น นโยบายเศรษฐกิจของไรช์ที่สามเป็นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ ดร. ยัลมาร์ ชัคท์ ประธานไรช์บังค์ (ค.ศ. 1933) และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ (ค.ศ. 1934) ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในการนำนโยบายการพัฒนาใหม่ของนาซี การกลับมาปรับให้เป็นอุตสาหกรรม และการสร้างเสริมอาวุธยุทธภัณฑ์ ในอดีต เขาเคยเป็นผู้ตรวจการเงินตราสาธารณรัฐไวมาร์และประธานไรช์บังค์[104] ในตำแหน่งหน้าที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ชัคท์เป็นหนึ่งในรัฐมนตรีจำนวนน้อยที่ใช้ประโยชน์จากเสรีภาพด้านการบริหารที่เป็นผลจากการถอนเงินตราไรช์มาร์คจากมาตรฐานทองคำ เพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยต่ำ และการขาดดุลงบประมาณสูง การโยธาอย่างกว้างขวาง เช่น เอาโทบาน การลดการว่างงาน เป็นนโยบายเงินทุนขาดดุล[104] ผลการบริหารของรัฐมนตรีเศรษฐกิจชัคท์ทำให้อัตราการว่างงานลดลงอย่างมาก ถือว่าเร็วที่สุดในทุกประเทศระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[104] ท้ายสุด นโยบายเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์นี้ได้รับการสนับสนุนโดยการเพิ่มอุปสงค์การผลิตของการสงคราม การเพิ่มงบประมาณทางการทหาร และเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาล ไรช์เวร์ ซึ่งเดิมมีทหาร 100,000 นายในกองทัพบก ขยายเป็นหลายล้านนาย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแวร์มัคท์ในปี 1935[104][105]
ขณะที่รัฐแทรกแซงเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด และนโยบายการสร้างเสริมแสนยานุภาพขนานใหญ่ เกือบทำให้มีการจ้างงานเต็มอัตราระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 (แต่สถิติไม่นับรวมผู้ที่มิใช่พลเมืองหรือสตรี) ค่าจ้างแท้จริงในเยอรมนีลดลงราว 25% ระหว่างปี 1933 ถึง 1938[104] สหภาพแรงงานถูกยกเลิก เช่นเดียวกับการร่วมเจรจาต่อรองกับสิทธิในการนัดหยุดงาน[104] สิทธิในการลาออกก็หายไปเช่นกัน มีการริเริ่มสมุดแรงงาน (labour book) ในปี 1935 และต้องการความยินยอมของผู้ว่าจ้างคนก่อนเพื่อได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งงานใหม่[104]
การควบคุมธุรกิจของนาซีจำกัดการลงทุนแรงกระตุ้นกำไรลดลง ซึ่งถูกควบคุมด้วยการวางระเบียบทางเศรษฐกิจที่ประนีประนอมการทำหน้าที่ของบริษัทกับข้อกำหนดการผลิตแห่งชาติของไรช์ กระทั่งการคลังภาครัฐกลายมาครอบงำการลงทุนเอกชน ในช่วงปี 1933–34 สัดส่วนหลักทรัพย์เอกชนลดลงจากกว่า 50% ของทั้งหมด ลงเหลือประมาณ 10% ในช่วงปี 1935–38 ภาษีกำไรมหาศาลจำกัดบริษัทที่จัดหาเงินทุนเอง และในทางปฏิบัติ บริษัทขนาดใหญ่ที่สุด (ซึ่งโดยปกติเป็นผู้รับจ้างรัฐบาล) ส่วนใหญ่กำไรได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ปีเตอร์ เทมิน เขียนว่า การควบคุมของรัฐบาลอนุญาต "เพียงเปลือกกรรมสิทธิ์เอกชน" ในเศรษฐกิจไรช์ที่สามเท่านั้น[106] ในทางตรงข้าม คริสตอฟ บุชไฮม์ และโยนัส แชร์แนร์ แย้งว่า แม้การควบคุมภาครัฐ ธุรกิจยังมีเสรีภาพในการผลิตและการวางแผนการลงทุนอยู่มาก ขณะที่เศรษฐกิจยังถูกควบคุมทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ก็ "ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า กรรมสิทธิ์การประกอบการของเอกชนจะไม่มีความสำคัญใด ๆ [...] เพราะแม้กิจกรรมวางระเบียบอย่างกว้างขวางโดยการบริหารรัฐกิจแบบเข้าแทรกแซง แต่บริษัทห้างร้านยังสงวนภาวะอิสระของตนอยู่มากแม้ภายใต้ระบอบนาซี"[107]
ในปี 1937 แฮร์มันน์ เกอริงเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแทนฮยัลมาร์ ชัคท์ และเสนอแผนสี่ปีเพื่อทำให้เศรษฐกิจเยอรมันสามารถพึ่งตนเองได้จนสามารถก่อสงคราม โดยลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ตรึงค่าจ้างและราคา ซึ่งผู้ละเมิดจะถูกนำตัวไปกักกันที่ค่าย เงินปันผลหลักทรัพย์ถูกจำกัดที่ 6% ของทุนบัญชี ฯลฯ เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ คือ เพื่อให้บรรลุโดยไม่สนใจราคา ดังเช่นในเศรษฐกิจโซเวียต ฉะนั้น จึงมีการสร้างโรงงานยางสังเคราะห์ โรงงานเหล็กกล้า โรงงานสิ่งทออัตโนมัติ ฯลฯ อย่างรวดเร็ว[104] แผนสี่ปีมีการอภิปรายในรายงานฮอสส์บัค (5 พฤศจิกายน 1937) การประชุมสรุปของฮิตเลอร์และผู้นำทางทหารและนโยบายต่างประเทศที่วางแผนทำสงครามรุกราน ถึงกระนั้น เมื่อนาซีเยอรมนีเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในเดือนกันยายน 1939 แผนสี่ปียังไม่หมดอายุกระทั่งปี 1940 รัฐมนตรีเศรษฐกิจ เกอริง ตั้งสำนักงานแผนสี่ปีเพื่อควบคุมเศรษฐกิจไรช์
เศรษฐกิจยามสงครามและแรงงานเกณฑ์
[แก้]เช่นเดียวกับการผสานความเชื่อทางการเมืองของฟาสซิสต์ เศรษฐกิจสงครามของนาซีเป็นเศรษฐกิจแบบผสมระหว่างตลาดเสรีกับการวางแผนจากส่วนกลาง นักประวัติศาสตร์ ริชาร์ด โอเวรี รายงานว่า "เศรษฐกิจเยอรมนีอยู่ระหว่างม้านั่งสองตัว ไม่มีการบัญชาเศรษฐกิจเพียงพอจะทำอย่างที่ระบบโซเวียตทำได้ แต่ก็ไม่เป็นทุนนิยมเพียงพอจะพึ่งพาการสรรหาวิสาหกิจเอกชนอย่างของอเมริกา"[108]
ค.ศ. 1942 หลังการเสียชีวิตของฟริทซ์ ทอดท์ ฮิตเลอร์แต่งตั้งสถาปนิกคนโปรด อัลแบร์ท ชแปร์ ให้บัญชาเศรษฐกิจภายในประเทศ[109] ชแปร์สถาปนาเศรษฐกิจสงครามในนาซีเยอรมนี ซึ่งลดการบริโภคของพลเรือนและทำให้เศรษฐกิจสงครามมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น[110] จนถึงปี 1944 สงครามกิน 75% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเยอรมนี เทียบกับ 60% ในสหภาพโซเวียต 55% ในอังกฤษ และ 45% ของสหรัฐอเมริกา[111]
ลำดับความสำคัญสูงสุดตกแก่การผลิตเครื่องบินรบ ซึ่งมีการประสานงานอย่างเลวและพึ่งพาแรงงานฝีมือที่ขาดแคลนมากเกินไป ชแปร์ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นมากหลังปี 1942 วิธีการของเขารวมถึงการจัดองค์การเส้นกระแส คือ การใช้เครื่องจักรวัตถุประสงค์เดี่ยวที่เดินโดยแรงงานไร้ฝีมือ การจัดสรรวิธีการผลิตให้เหมาะสม และการประสานงานที่ดีขึ้นระหว่างหลายรูปแบบที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบหลายหมื่นชนิด โรงงานถูกย้ายให้ห่างจากลานรถไฟซึ่งเป็นเป้าหมายการทิ้งระเบิด ท้ายสุด ระบบนี้ตามทันการผลิตของอังกฤษในปี 1944 แต่ถึงขณะนั้น ก็สายเกินไปและปริมาณแกโซลีนที่เหลืออยู่น้อยหมายความว่า เครื่องบินรบใหม่มีเวลาการบินสั้น[112][113]
ขณะนี้ เศรษฐกิจพึ่งพาการจัดหาผู้ใช้แรงงานเกณฑ์ขนานใหญ่ เพื่อช่วยปฏิบัติงานโรงงานและไร่นา เยอรมนีจึงนำประชากร 12 ล้านคน จากราว 20 ประเทศยุโรป เข้าประเทศ ประมาณ 75% เป็นชาวยุโรปตะวันออก[114] ผู้ใช้แรงงานเกณฑ์ทำงานเป็นเวลานาน โดยทั่วไปในโรงงานยุทโธปกรณ์ หลายคนได้รับมอบหมายให้เก็บกวาดซากอาคารหลังการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิด พวกเขาได้รับการคุ้มครองการตีโฉบฉวยทางอากาศที่เลว และหลายคนเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร สภาพความเป็นอยู่ที่เลวมากทำให้มีอัตราการเจ็บป่วย บาดเจ็บและเสียชีวิตสูง เช่นเดียวกับการก่อวินาศกรรมและการก่ออาชญากรรม[115]
สตรีมีบทบาทใหญ่เพิ่มขึ้น ฮาเกมันน์รายงานว่า ในปี 1944 สตรีกว่าครึ่งล้านคนเป็นกองหนุนในกองทัพเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยต่อต้านอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอ กว่าครึ่งล้านคนทำงานในการป้องกันทางอากาศพลเรือน และ 400,000 คนเป็นพยาบาลอาสาสมัครในโรงพยาบาล สตรีจำนวนมากแทนที่บุรุษที่ถูกเกณฑ์ในเศรษฐกิจยามสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไร่นาและร้านค้าขนาดเล็กที่เป็นกิจการของครอบครัว[116]
การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์อย่างหนักมากโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษมุ่งไปยังระบบขนส่งของเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลานรถไฟ[117] คลองและโรงกลั่นผลิตน้ำมันสังเคราะห์และแกโซลีน ลุฟท์วัฟเฟอพยายามป้องกันเป้าหมายเหล่านี้แต่กลับถูกทำลายเสียเองเพราะเนื่องจากความแข็งแกร่งของกองทัพอากาศสัมพันธมิตรทำให้สามารถยึดครองน่านฟ้ายุโรปได้ น้ำมัน ดีเซลและแกโซลีนสำรองหมดไปในปลายปี 1944 และทางรถไฟถูกรบกวนเสียจนเศรษฐกิจกลายเป็นเกลียวมรณะ[118] โอเวรีแย้งว่า การทิ้งระเบิดไม่เพียงแต่สร้างความแตกแยกทางสังคมครั้งใหญ่เท่านั้น แต่ยังสร้างการสนองเชิงรับที่ขึงเศรษฐกิจสงครามของเยอรมนีและบังคับให้เยอรมนีหันเหกำลังคนและอุตสาหกรรมถึงหนึ่งในสี่ไปกับทรัพยากรต่อต้านอากาศยาน โอเวรีสรุปว่าการทัพทิ้งระเบิดอาจย่นระยะเวลาของสงคราม[119]
ฮิตเลอร์ได้พยายามแก้ไขปัญหาในเรื่องของน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำศึกสงครามต่อไปในระยะยาวได้และต้องฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงสงคราม ดังนั้นจึงตัดสินใจทำการบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซาเพื่อบุกเข้ายึดแหล่งน้ำมันในเทือกเขาคอเคซัสทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียตและคาดหวังจะใช้ผลประโยชน์จากดินแดนโซเวียตและแรงงานทาสของประชากรชาวรัสเซียเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่กองทัพเยอรมันกลับไม่สามารถเข้ายึดได้สำเร็จและต้องประสบความปราชัยในที่สุด
ในช่วงปลายสงคราม กองทัพสัมพันธมิตรได้รุกมาจากแนวรบตะวันตกและตะวันออกทำให้เยอรมนีต้องรับศึกอย่างหนักและปราชัยอย่างต่อเนื่อง ฮิตเลอร์ได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดที่มีนำไปใช้ในการป้องกันการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรและทำการวิจัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น รถถังทีเกอร์ 2, จรวดวี-2 และอื่นรวมไปถึงการวิจัยในการสร้างระเบิดปรมาณูเพื่อหาทางให้ได้มาซึ่งชัยชนะแก่อาณาจักรไรช์ที่สามที่เขาสร้างมากับมือแต่ทว่ากลับต้องประสบความล้มเหลวและทรัพยากรก็ถูกล้างผลาญไปจนเกือบหมด
เมื่อวิกฤตของไรช์ที่สามได้มาถึง เมื่อกองทัพสัมพันธมิตรได้รุกเข้าสู่เยอรมนีและกรุงเบอร์ลินถูกล้อม ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งแก่อัลแบร์ท ชแปร์ ให้ทำลายโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดในกรุงเบอร์ลินและเยอรมนีเพื่อไม่ให้ไปตกอยู่ในมือของสัมพันธมิตร แต่ชแปร์กลับขัดคำสั่งของฮิตเลอร์และแจ้งให้ฮิตเลอร์ทราบแต่ฮิตเลอร์กลับไม่ได้ต่อว่าและรู้สึกเฉย ๆ เหมือนกลับปลงทุกสิ่ง จนกระทั่งฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมและเยอรมนียอมแพ้สงคราม โรงงานและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเยอรมนีทั้งตะวันตกและตะวันออกถูกยึดครองโดยสี่ประเทศคือสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต
การทหาร
[แก้]ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เปลี่ยนชื่อกองทัพเยอรมันจาก ไรชส์แวร์ ไปเป็น แวร์มัคท์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองทัพของเยอรมนีตั้งแต่ปี 1935–1945 โดยมีแฮร์ (กองทัพบก) ครีกซมารีเนอ (กองทัพเรือ) ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) และองค์การกึ่งทหาร วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ซึ่งโดยพฤตินัยเป็นเหล่าทัพที่สี่ของแวร์มัคท์
สนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้กองกำลังทางบก (ไรชส์แฮร์) มีกำลังพลได้ไม่เกิน 100,000 นาย แต่ฮิตเลอร์แอบสร้างเสริมแสนยานุภาพอย่างลับ ๆ จากนั้นก็สั่งระดมพลทั่วประเทศในปี 1935 ซึ่งชาวเยอรมันอายุตั้งแต่ 18–45 ปีต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร รวมถึงจัดตั้งกองทัพอากาศในปีเดียวกันด้วย ทว่า อังกฤษและฝรั่งเศสต่างไม่ได้ต่อต้านแต่ประการใด เพราะเชื่อมั่นว่าฮิตเลอร์ปรารถนาสันติภาพ ต่อมา ก็มีการทำข้อตกลงการเดินเรืออังกฤษ–เยอรมัน ซึ่งเป็นการขยายขนาดกองทัพเรือเยอรมัน
มโนทัศน์ก้าวหน้าของกองทัพบกเยอรมันบุกเบิกระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการรวมกำลังภาคพื้นและทางอากาศมาเป็นชุดอาวุธผสม ประกอบกับวิธีการสู้รบสงครามแต่เดิม เช่น การโอบล้อมและ "การยุทธ์การทำลายล้าง" กองทัพเยอรมันจึงคว้าชัยชนะรวดเร็วปานสายฟ้าหลายครั้งในปีแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้นักหนังสือพิมพ์ต่างชาติสร้างคำใหม่แก่สิ่งที่เขาพบเห็นว่า บลิทซครีก จำนวนทหารทั้งหมดที่รับรัฐการในแวร์มัคท์ระหว่างที่มีอยู่ตั้งแต่ปี 1935–1945 เชื่อกันว่าถึง 18.2 ล้านนาย ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่ามีทหารเยอรมันเสียชีวิตตลอดสงครามราว 5.3 ล้านนาย
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคนาซีใช้กองทัพในฮอโลคอสต์[120] ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีตั้งแต่นายทหารชั้นสัญญาบัตรจนถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง[121] และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมและการสังหารหมู่ประชาชนในเขตยึดครอง[122] ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามต่อมวลมนุษยชาติ
การพัฒนาทางด้านการทหารของนาซีเยอรมนีเจริญไปจนถึงขั้นมีโครงการทดลองระเบิดปรมาณูของตัวเอง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สองคน ออทโท ฮานและฟริทซ์ สทรัซซ์มันน์ ซึ่งได้ยืนยันผลการทดลองขั้นแรกของตนเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1939[123] [124] แต่ทว่าเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมนี ดังนั้นการทดลองจึงยังไม่สัมฤทธิ์ผล[125]
สังคม
[แก้]การศึกษา
[แก้]การศึกษาภายใต้ระบอบนาซีเยอรมนีมุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมรรถภาพทางกาย[126] การศึกษาทางทหารกลายมาเป็นองค์ประกอบศูนย์กลางของพลศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมชาวเยอรมันในการสงครามทั้งทางจิตใจ จิตวิญญาณ และร่างกาย[127] ตำราเรียนวิทยาศาสตร์นำเสนอการคัดเลือกโดยธรรมชาติในแง่ที่เน้นมโนทัศน์ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ[128]
นโยบายต่อต้านยิวนำไปสู่การขับครู ศาสตราจารย์และเจ้าหน้าที่ชาวยิวทั้งหมดจากระบบการศึกษาในปี 1933 ครูที่ไม่พึงปรารถนาทางการเมือง เช่น นักสังคมนิยม ถูกขับเช่นกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "กฎหมายเพื่อการฟื้นฟูรัฐการพลเรือน" ครูส่วนมากถูกกำหนดให้เป็นสมาชิกของสมาคมครูชาติสังคมนิยม" ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยทุกคนถูกกำหนดให้เป็นสมาชิกน่าเชื่อถือของสมาคมผู้บรรยายมหาวิทยาลัยชาติสังคมนิยม[129]
วิธีการสอนที่ระบอบชาติสังคมนิยมสนับสนุนนั้นเป็นเชิงประสบการณ์และมีประสิทธิภาพในการแนะแนว อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่เป็นการต่อขยายทัศนคติต่อต้านสติปัญญาของผู้นำนาซี และมิใช่ความพยายามหลักเพื่อทดลองกับวิธีการคำสอน
ในการแสวงหนทางเพื่อให้การศึกษาเป็นนามธรรมลดลง ใช้สติปัญญาลดลงและห่างไกลจากเด็กลดลง นักการศึกษาจึงเรียกร้องให้บทบาทภาพยนตร์ขยายขึ้นมาก ไรช์ซฟิลมินเทนดันท์และหัวหน้าส่วนภาพยนตร์ในกระทรวงโฆษณาการ ฟริทซ์ ฮิพเพลอร์ เขียนว่า ภาพยนตร์กระทบต่อประชาชน "ส่วนใหญ่ในระดับสายตาและอารมณ์ นั่นคือ ระดับที่ไม่ใช่สติปัญญา"[130] ผู้นำนาซียังมองภาพยนตร์ว่าเป็นสื่อที่ตนสามารถพูดคุยกับเด็กได้โดยตรง ดร. แบร์นฮาร์ด รุสท์ มองภาพยนตร์ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยกล่าวว่า "รัฐชาติสังคมนิยมทำให้ภาพยนตร์เป็นเครื่องส่งอุดมการณ์ของรัฐอย่างแน่นอนและโดยไตร่ตรอง"[131]
สวัสดิภาพสังคม
[แก้]งานวิจัยล่าสุดโดยนักวิชาการเช่นเกิทซ์ อาลือ ได้เน้นบทบาทของโครงการสวัสดิภาพสังคมขนานใหญ่ของนาซีซึ่งมุ่งจัดหางานแก่พลเมืองเยอรมันและประกันมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำสุด ที่มุ่งเน้นอย่างหนัก คือ ความคิดชุมชนสัญชาติเยอรมันหรือโฟลค์ซเกไมน์ชัฟท์[132] เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกของชุมชน ประสบการณ์กรรมกรและความบันเทิงของชาวเยอรมัน จากเทศกาล ถึงการเดินทางวันหยุดและโรงหนังกลางแปลง ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง" (Kraft durch Freude, KdF) การนำบริการกรรมกรแห่งชาติ (National Labour Service) และองค์การยุวชนฮิตเลอร์ไปปฏิบัติโดยบังคับให้เป็นสมาชิกสำคัญต่อการสร้างความจงรักภักดีและมิตรภาพ นอกเหนือจากนี้ ยังมีการดำเนินโครงการสถาปัตยกรรมจำนวนหนึ่ง คาเดเอฟสร้างคาเดเอฟวาเกน ที่ภายหลังรู้จักกันในชื่อ ฟ็อลคส์วาเกิน ("รถของประชาชน") ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้เป็นรถยนต์ที่พลเมืองเยอรมันทุกคนสามารถซื้อได้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ รถดังกล่าวถูกแปลงเป็นพาหนะทางทหารและการผลิตฝ่ายพลเรือนถูกหยุดลง อีกโครงการแห่งชาติหนึ่ง คือ การก่อสร้างเอาโทบาน เป็นระบบถนนไม่จำกัดความเร็วแห่งแรกของโลก
การรณรงค์บรรเทาฤดูหนาวไม่เพียงเป็นการรวบรวมเงินบริจาคแก่ผู้อาภัพเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนพิธีกรรมเพื่อสร้างอารมณ์สาธารณะ[133] ส่วนหนึ่งของการรวมศูนย์อำนาจนาซีเยอรมนี ใบปิดประกาศกระตุ้นให้ประชาชนบริจาคแทนที่จะให้ขอทานโดยตรง[134]
สาธารณสุข
[แก้]นาซีเยอรมนีให้ความสำคัญด้านสาธารณสุขอย่างมาก ต่างจากที่หลายคนเข้าใจ[135] จากการศึกษาวิจัยของโรเบิร์ต เอ็น. พร็อกเตอร์ ในหนังสือ The Nazi War on Cancer ของเขา[136][137] นาซีเยอรมนีอาจเป็นประเทศที่มีการต่อต้านบุหรี่อย่างหนักที่สุดในโลกก็ว่าได้ คณะวิจัยเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างแข็งขัน[138] และนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันสามารถพิสูจน์ได้ว่าควันพิษจากบุหรี่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเป็นครั้งแรกของโลก[139][140][141][142] ต่อมา การวิจัยบุกเบิกด้านระบาดวิทยาเชิงทดลองนำไปสู่งานวิจัยโดยฟรันซ์ ฮา มึลเลอร์ในปี 1939 และงานวิจัยโดยเอเบอร์ฮาร์ด ไชแรร์ และเอริช เชอนีแกร์ในปี 1943 ซึ่งแสดงให้เห็นแน่ชัดว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด[143] รัฐบาลกระตุ้นให้แพทย์ชาวเยอรมันให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยต่อต้านการสูบบุหรี่ การวิจัยของเยอรมนีต่ออันตรายของบุหรี่เงียบหายไปหลังสงครามยุติ และอันตรายของบุหรี่กลับมาถูกค้นพบอีกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและอังกฤษในต้นคริสต์ทศวรรษ 1950[135] โดยมีความลงรอยทางการแพทย์เกิดขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันยังพิสูจน์ว่าแร่ใยหินมีอันตรายต่อสุขภาพ และในปี 1943 เยอรมนีรับรองโรคที่เกิดจากใยหิน เช่น มะเร็งปอด เป็นโรคจากการประกอบอาชีพที่มีคุณสมบัติได้รับเงินชดเชย ซึ่งนับเป็นชาติแรกในโลกที่เสนอประโยชน์นี้
ในส่วนหนึ่งของการรณรงค์สาธารณสุขทั่วไปในนาซีเยอรมนี น้ำประปาถูกทำให้สะอาดขึ้น ตะกั่วและปรอทถูกนำออกจากสินค้าผู้บริโภค และสตรีถูกกระตุ้นให้เข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำ[136][137]
ระบบสาธารณสุขของนาซียังถือเป็นแนวคิดกลางของมโนทัศน์สุพันธุศาสตร์ คนบางกลุ่มถูกมองว่าเป็นพวก "ด้อยพันธุ์" และตกเป็นเป้าถูกกำจัดผ่านการทำหมันผ่านคำสั่งศาลอนามัยวงศ์ตระกูล (Erbgesundheitsgericht) หรือถูกฆ่าหมดสิ้นด้วยมาตรการ T4 ผู้เชี่ยวชาญข้อมูลทางการแพทย์ใช้ขบวนการและเทคโนโลยีใหม่ เช่น ระบบบัตรเจาะรูและการวิเคราะห์ราคา เพื่อช่วยในขบวนการและคำนวณประโยชน์ต่อสังคมจากการฆ่าเหล่านี้[144](
นโยบายเชื้อชาติ
[แก้]เป็นที่ประจักษ์ว่าชุมชนยิวในเยอรมนีเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังตั้งแต่การปราศรัยและงานเขียนแรก ๆ ของฮิตเลอร์ อุดมการณ์นาซีวางกฎเข้มงวดเกี่ยวกับว่าใครเป็นหรือไม่เป็นสายเลือด "อารยัน" บริสุทธิ์ มีการกำหนดการปฏิบัติเพื่อทำให้เชื้อชาติอารยันบริสุทธิ์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นหนึ่งเดียวกับเชื้อชาตินอร์ดิก ตามด้วยเชื้อชาติรองที่เล็กกว่าของเชื้อชาติอารยันเพื่อเป็นตัวแทนของเชื้อชาติปกครองที่เป็นอุดมคติและบริสุทธิ์ ผลของนโยบายสังคมนาซีในเยอรมนีแบ่งแยกระหว่างผู้ที่ถูกมองว่าเป็น "อารยัน" กับ "มิใช่อารยัน" ยิว หรือส่วนหนึ่งของกลุ่มชนกลุ่มน้อยอื่น สำหรับเชื้อชาติอารยัน การดำเนินโยบายสังคมจำนวนมากที่เอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มนี้โดยระบอบนาซีเพิ่มขึ้นตามกาล รวมถึงการคัดค้านการสูบบุหรี่โดยรัฐ การล้างมลทินแก่เด็กอารยันที่เกิดแก่บิดามารดานอกสมรส เช่นเดียวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ครอบครัวเยอรมันอารยันที่ให้กำเนิดบุตร[145] วันที่ 1 เมษายน 1933 ฮิตเลอร์ประกาศคว่ำบาตรสถานประกอบธุรกิจยิวทั้งประเทศ ครอบครัวยิวจำนวนมากเตรียมตัวออกนอกประเทศ แต่อีกหลายครอบครัวหวังว่าการดำรงชีพของพวกตนและทรัพย์สินจะปลอดภัย เพราะตนเป็นพลเมืองเยอรมัน
พรรคนาซีดำเนินนโยบายเชื้อชาติและสังคมผ่านการเบียดเบียนและการสังหารผู้ที่ถูกมองว่าเป็นผู้ที่สังคมไม่พึงปรารถนาหรือ "ศัตรูแห่งไรช์" ที่ตกเป็นเป้าพิเศษ คือ ชนกลุ่มน้อยเช่น ยิว โรมานี (หรือยิปซี) ผู้นับถือพยานพระยะโฮวาห์[146] ผู้ที่มีความพิการทางจิตหรือทางกาย และพวกรักร่วมเพศ ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แผนเพื่อโดดเดี่ยวและกำจัดยิวอย่างสมบูรณ์ในเยอรมนีท้ายสุด เริ่มจากการก่อสร้างเกตโต ค่ายกักกัน และค่ายใช้แรงงาน โดยมีการก่อสร้างค่ายกักกันดาเชาเป็นแห่งแรกในปี 1933 เมื่อไฮน์ริช ฮิมเลอร์อธิบายอย่างเป็นทางการว่าเป็น "ค่ายกักกันศัตรูทางการเมืองแห่งแรก" [147]
ช่วงปีหลังนาซีเถลิงอำนาจ ยิวหลายคนถูกกระตุ้นให้เดินทางออกนอกประเทศและทำเช่นนั้น ในปี 1935 มีการตรากฎหมายเนือร์นแบร์คขึ้น มีใจความเพิกถอนสัญชาติเยอรมันของยิว และปฏิเสธการจ้างงานภาครัฐ ขณะนี้ชาวยิวส่วนมากที่ชาวเยอรมันว่าจ้างเสียตำแหน่งงาน ซึ่งถูกแทนที่โดยชาวเยอรมันที่ว่างงาน นอกจากนี้ การสมรสระหว่างยิวกับอารยันถูกห้าม ยิวสูญเสียสิทธิเพิ่มขึ้นในช่วงอีกไม่กี่ปีถัดมา ยิวถูกแยกออกไปจากหลายวิชาชีพ และมิให้จับจ่ายซื้อของในร้านค้าจำนวนมาก หลายเมืองติดป้ายห้ามมิให้ยิวเข้า ที่โดดเด่น คือ ความพยายามของรัฐบาลในการส่งชาวยิวเยอรมันที่มีเชื้อสายโปแลนด์ 17,000 คนกลับประเทศโปแลนด์ จนทำให้ในเดือนพฤศจิกายน 1938 แฮร์เชล กรึนซพัน ชายหนุ่มชาวยิวในกรุงปารีส ลอบสังหารแอร์นสท์ ฟอม รัท เอกอัครราชทูตเยอรมัน เพื่อเป็นการประท้วงการปฏิบัติต่อครอบครัวของเขาในเยอรมนี พรรคนาซีใช้ความพยายามดังกล่าวปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังชุมชนยิวในเยอรมนี เป็นบริบทของโพกรมเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1938 ซึ่งเจาะจงธุรกิจยิวเป็นพิเศษ เอสเอได้รับมอบหมายให้โจมตีสุเหร่ายิวและทรัพย์สินของยิวทั่วประเทศเยอรมนี ระหว่างคริสทัลล์นัคท์ ("คืนกระจกแตก" หรือความหมายตามตัวอักษรว่า คืนคริสตัล) เหตุที่ใช้การเกลื่อนคำดังกล่าวเพราะหน้าต่างที่แตกจำนวนมากทำให้ถนนมองดูเหมือนปกคลุมด้วยคริสตัล เหตุการณ์นี้ทำให้มีชาวยิวเยอรมันเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คน และทรัพย์สินยิวถูกทำลายถ้วนหน้า การกีดกันระยะนี้ทำให้เป็นที่ชัดเจนมากว่ายิวในเยอรมนีจะเป็นเป้าหมายในอนาคต เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ชุมชนยิวถูกปรับหนึ่งล้านมาร์คและได้รับการบอกกล่าวว่า พวกเขาจะไม่ได้รับเงินตอบแทนจากความสูญเสีย จนถึงเดือนกันยายน 1939 ยิวกว่า 200,000 คนเดินทางออกนอกประเทศเยอรมนี โดยรัฐบาลยึดทรัพย์สินใด ๆ ที่พวกเขาทิ้งไว้เบื้องหลัง
นาซียังดำเนินโครงการที่พุ่งเป้าไม่ยังผู้ที่ "อ่อนแอ" หรือ "ไม่มีสมรรถภาพ" เช่น โครงการการุณยฆาตเท4 ซึ่งคร่าชีวิตผู้พิการและชางเยอรมันที่ป่วยหลายหมื่นคน ในความพยายามที่จะ "ธำรงความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติปกครองอารยัน" (เยอรมัน: Herrenvolk) ดังที่นักโฆษณาของนาซีอธิบาย เทคนิคการสังหารจำนวนมากที่พัฒนาในความพยายามเหล่านี้ภายหลังถูกใช้ในฮอโลคอสต์ ภายใต้กฎหมายที่ผ่านในปี 1933 ระบอบนาซีดำเนินการบังคับทำหมันปัจเจกบุคคล 400,00 คน ที่ถูกหมายว่ามีความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งมีตั้งแต่การป่วยทางจิตไปจนถึงติดแอลกอฮอล์
อีกส่วนประกอบของโครงการสร้างความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติของนาซี คือ เลเบินส์เราม์ หรือ "น้ำพุแห่งชีวิต" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1935 โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ทหารเยอรมัน หรือเอ็สเอ็สเป็นหลัก สืบพันธุ์ ซึ่งรวมถึงการเสนอบริหารสนับสนุนครอบครัวเอ็สเอ็ส (รวมถึงการรับเลี้ยงเด็กที่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์เข้าสู่ครอบครัวเอ็สเอ็สที่เหมาะสม) และจัดหาที่อยู่ให้สตรีที่มีคุณค่าทางเชื้อชาติ ที่ตั้งครรภ์เด็กของชายเอ็สเอ็สเป็นหลัก ในสถานพักฟื้นในเยอรมนีและทั่วยุโรปที่ถูกยึดครอง เลเบินส์เราม์ยังขยายไปครอบคลุมการฝากเด็กที่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์ที่บังคับยึดมาจากประเทศที่ถูกยึดครอง เช่น โปแลนด์ กับครอบครัวชาวเยอรมัน
ในปี 1941 เยอรมนีตัดสินใจทำลายชาติโปแลนด์อย่างสมบูรณ์และผู้นำเยอรมันตัดสินใจว่าในอีก 10 ถึง 20 ปี ชาวโปแลนด์ในรัฐโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนีจะถูกกวาดล้างอย่างสมบูรณ์ และให้ผู้อยู่ในนิคมชาวเยอรมันเข้าไปตั้งถิ่นฐานแทน[148] นาซีมองว่า ยิว ชาวโรมานี ชาวโปแลนด์อยู่ในกลุ่มเดียวกับชนสลาฟ เช่น ชาวรัสเซีย ชาวยูเครน ชาวเช็ก และอีกหลายเชื้อชาติที่มิใช่ "ชาวอารยัน" ตามศัพทวิทยาเชื้อชาตินาซีร่วมสมัยเป็นด้อยมนุษย์ (Untermensch) แม้ชนสลาฟจำนวนมากจะถูกมองและได้รับการยอมรับว่าเป็นชาวอารยัน นาซีใช้เหตุผลตัดสินว่าชาวอารยันมีสิทธิทางชีววิทยาในการแทนที่ กำจัดและจับผู้ที่ด้อยกว่าเป็นทาส[149][150] หลังสงคราม ภายใต้ "แผนใหญ่" เจเนรัลพลันโอสท์ (เยอรมัน: Generalplan Ost) คาดการณ์การเนรเทศประชากรที่ไม่สามารถถูกแผลงเป็นเยอรมัน (non-Germanizable) 45 ล้านคนจากยุโรปตะวันออกไปยังไซบีเรียตะวันตกล่วงหน้า[151] และราว 14 ล้านคนจะยังอยู่ แต่จะถูกปฏิบัติเหมือนทาส[152][153] ส่วนชาวเยอรมันจะตั้งถิ่นฐานแทนที่ในเลเบินส์เราม์ที่ต่อขยายไปของจักรวรรดิพันปี[154]
แฮร์แบร์ท บาเคอเป็นหนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังแผนความหิว (Hunger Plan) ซึ่งเป็นแผนให้ชนสลาฟหลายสิบล้านคนอดอยากเพื่อประกันเสบียงอาหารแก่ประชาชนและทหารเยอรมัน[155] ในระยะยาว นาซีต้องการกำจัดชนสลาฟราว 30–45 ล้านคน[156] ตามข้อมูลของมิคาเอล ดอร์แลนด์ "ดังที่นักประวัติศาสตร์เยล ทีโมธี ซไนเดอร์เตือนเรา หากนาซีประสบความสำเร็จในสงครามกับรัสเซีย การนำอีกสองมิติของฮอโลคอสต์ไปปฏิบัติ แผนความหิวและเจเนรัลพลันโอสท์ จะนำไปสู่การกำจัดคนอีก 80 ล้านคนในเบลารุส รัสเซียเหนือและสหภาพโซเวียตผ่านความอดอยาก"[157]
ต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ทางการเยอรมนีในเจเนรัลกออูแวร์เนเมนท์ในโปแลนด์ที่ถูกยึดครองสั่งให้ยิวทุกคนถูกบังคับใช้แรงงาน และผู้ที่ด้อยสมรรถภาพทางกาย เช่น หญิงและเด็ก ถูกกักกันอยู่ในเกตโต[158] สำหรับนาซีแล้ว มีหลายแนวคิดปรากฏขึ้นว่าจะตอบ "ปัญหาชาวยิว" อย่างไร วิธีหนึ่ง คือ การบังคับเนรเทศยิวขนานใหญ่ อดอล์ฟ ไอชมันน์เสนอให้ยิวถูกบังคับอพยพไปยังปาเลสไตน์[158] ฟรันซ์ ราเดมาแคร์เสนอให้ยิวถูกเนรเทศไปยังมาดากัสการ์ ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนโดยฮิมเลอร์ และมีการถกโดยฮิตเลอร์และผู้เผด็จการอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี แต่ภายหลังล้มเลิกไปเพราะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเมื่อปี 1942[158] ความคิดการเนรเทศต่อเนื่องไปยังโปแลนด์ที่ถูกยึดครองถูกผู้ว่าการ ฮันส์ ฟรังค์แห่งเจเนรัลกออูแวร์เนเมนท์ ปฏิเสธ เพราะแฟรงค์ปฏิเสธจะยอมรับการเนรเทศยิวมาเพิ่มยังดินแดนที่มียิวจำนวนมากอยู่แล้ว[158] ในปี 1942 ที่การประชุมวันน์เซ เจ้าหน้าที่นาซีตัดสินใจกำจัดยิวทั้งหมด ดังที่อภิปราย "การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย" ค่ายกักกันเช่นเอาชวิทซ์ ถูกแปลงและใช้ห้องรมแก๊สเพื่อสังหารยิวให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จนถึงปี 1945 ค่ายกักกันจำนวนหนึ่งถูกกองทัพสัมพันธมิตรปลดปล่อย และพวกเขาพบว่าผู้รอดชีวิตขาดอาหารอย่างรุนแรง ฝ่ายสัมพันธมิตรยังพบหลักฐานว่า นาซีค้ากำไรจากการสังหารหมู่ยิวไม่เพียงแต่โดยการยึดทรัพย์สินและสิ่งของมีค่าส่วนบุคคลแล้ว แต่ยังโดยการแยกสารอุดฟันทองคำจากร่างของยิวบางคนที่ถูกขังในค่ายกักกันด้วย
บทบาทของสตรีและครอบครัว
[แก้]สตรีในนาซีเยอรมนีเป็นนโยบายสังคมเสาหลักของนาซี นาซีคัดค้านขบวนการคตินิยมสิทธิสตรี โดยอ้างว่ามีวาระฝ่ายซ้าย เทียบได้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ และแย่สำหรับทั้งหญิงและชาย ระบอบนาซีสนับสนุนสังคมอำนาจฝ่ายบิดา ขณะที่สตรีเยอรมันจะรับรองว่า "โลกเป็นสามีของเธอ ครอบครัวของเธอ ลูกของเธอและบ้านของเธอ"[159] ฮิตเลอร์อ้างว่า การที่สตรียึดอาชีพสำคัญจากบุรุษระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่นั้นเป็นผลเสียต่อครอบครัวในทางเศรษฐกิจ เพราะสตรีได้รับค่าจ้างเพียง 66% ของที่บุรุษได้รับ[159] รัฐบาลเรียกร้องให้สตรีสนับสนุนรัฐในกิจการสตรีอย่างแข็งขัน พร้อมกับเรียกร้องให้สตรีเลิกทำงานนอกบ้าน ในปี 1933 ฮิตเลอร์แต่งตั้งแกร์ทรุด ชอลทซ์-คลิงก์เป็นผู้นำสันนิบาตสตรีชาติสังคมนิยม ซึ่งสอนสตรีว่าบทบาทหลักของพวกเธอในสังคม คือ ให้กำเนิดบุตรและสตรีจักรับใช้บุรุษ และเคยกล่าวว่า "ภารกิจของสตรีคือ จัดการสิ่งจำเป็นในชีวิตตั้งแต่การมีอยู่ขณะแรกจนขณะสุดท้ายของบุรุษในบ้านและในวิชาชีพ"[159] การคาดหมายนี้ยังใช้กับสตรีอารยันที่สมรสกับบุรุษยิว ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการประท้วงโรเซนซทรัสเซอในปี 1943 ซึ่งสตรีเยอรมัน 1,800 คน กับญาติอีก 4,200 คน ทวงรัฐนาซีให้ปล่อยตัวสามียิวของพวกเธอ ฐานะนี้ยึดถือกันรุนแรงเสียจนทำให้การเกณฑ์สตรีรับงานสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองยากยิ่ง[160]
ระบอบนาซีกีดกันสตรีมิให้แสวงการศึกษาระดับสูงขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย จำนวนสตรีที่ได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยลดลงมากภายใต้ระบอบนาซี คือ จากประมาณ 128,000 คนในปี 1933 ลดเหลือ 51,000 คนในปี 1938 การลงทะเบียนเรียนของสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาก็ลดลงจาก 437,000 คนในปี 1926 เหลือ 205,000 คนในปี 1937 อย่างไรก็ดี ด้วยการกำหนดให้ชายถูกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพเยอรมันระหว่างสงคราม เมื่อถึงปี 1944 สตรีจึงคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทะเบียนเรียนในระบบการศึกษา[161]
อีกด้านหนึ่ง สตรีถูกคาดหวังให้แข็งแรง มีสุขภาพดีและมีชีวิตชีวา ภาพถ่ายคำบรรยายใต้ภาพว่า "อนาคตมารดา" แสดงวัยรุ่นหญิงแต่งกายเล่นกีฬาและถือแหลน[162] สตรีชาวนาที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำงานกับดินและให้กำเนิดบุตรที่แข็งแรง เป็นอุดมคติ และเป็นสาเหตุของการยกย่องสตรีคล้ายนักกีฬาที่ผิวเป็นสีแทนเพราะทำงานกลางแจ้ง[163]
มีการจัดตั้งองค์การเพื่อปลูกฝังค่านิยมนาซีแก่สตรีเยอรมัน องค์การเหล่านี้อาทิ สันนิบาตเด็กหญิง (Jungmädelbund) สำหรับเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 10 ถึง 14 ปี, สันนิบาตสาวเยอรมัน (Bund Deutscher Mädel) สำหรับเด็กสาววัย 14 ถึง 18 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีองค์กรอย่างสันนิบาตสตรีชาติสังคมนิยม (NS-Frauenschaft) ที่สามารถตีพิมพ์นิตยสารของตนเองซึ่งเป็นนิตยสารสตรีเพียงเล่มเดียวที่ผ่านการอนุมัติในนาซีเยอรมนี[164]
กิจกรรมของเบเดเอ็มครอบคลุมพลศึกษา รวมถึงการวิ่ง กระโดดไกล ตีลังกา เดินบนลวด และว่ายน้ำ[165] ดัสดอยท์เชอแมเดลเน้นการผจญภัยน้อยกว่าแดร์พิมพฟ์ของเด็กชาย[166] แต่เน้นสตรีเยอรมันที่แข็งแรงและคล่องแคล่วกว่าในเอ็นเอส-เฟราเอน-วาร์เทอมาก[167] นอกจากนี้ ก่อนเข้างานอาชีพหรือการศึกษาระดับสูงใด ๆ เด็กหญิงต้องสำเร็จรัฐการทางบกก่อนหนึ่งปี เช่นเดียวกับเด็กชายในยุวชนฮิตเลอร์[168]
แม้บทบาทของสตรีในสังคมเยอรมันจะลดลงไปมาก แต่สตรีบางคนก็ยังมีบทบาทสำคัญ จนการยกย่องสรรเสริญและประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น ฮันนา ไรท์ช นักบินประจำตัวฮิตเลอร์ และเลนี ไรเฟนสทาล ผู้กำกับภาพยนตร์และดารา
ในประเด็นกิจการทางเพศเกี่ยวกับสตรี บิดดิสคอมเบอแย้งว่า นาซีแตกต่างจากท่าทีจำกัดบทบาทของสตรีในสังคมอย่างมาก ระบอบนาซีสนับสนุนจรรยาบรรณเสรีนิยมที่คำนึงถึงประเด็นทางเพศ และเห็นใจสตรีที่เกิดลูกนอกสมรส[169] การล่มสลายของศีลธรรมคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในเยอรมนีถูกเร่งขึ้นระหว่างไรช์ที่สาม บางส่วนเป็นเพราะนาซี และส่วนใหญ่เนื่องมาจากผลของสงคราม การสำส่อนเพิ่มขึ้นมากเมื่อสงครามดำเนินไป ด้วยทหารที่ไม่แต่งงานมักสนิทสนมกับสตรีหลายคนพร้อมกัน สตรีที่สมรสแล้วมักข้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับบุรุษหลายคนพร้อมกัน กับทั้งทหาร พลเรือนหรือผู้ใช้แรงงานทาส "หญิงดูแลไร่บางคนในเวือร์ทเทิมแบร์คเริ่มใช้เพศสัมพันธ์เป็นโภคภัณฑ์แล้ว โดยจ่ายรสชาติเนื้อหนังมังสาเป็นวิธีการได้งานเต็มวันจากกรรมกรต่างด้าว"[169] กระนั้น การโฆษณาชวนเชื่อนาซีคัดค้านการทำชู้และสนับสนุนความศักดิ์สิทธิ์ของการสมรสอย่างเปิดเผย[170] ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ถ่ายทำในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงวัสดุที่มา ให้สตรีเผชิญความตายจากการละเมิดทางเพศแทนที่จะเป็นชาย สะท้อนให้เห็นว่าความผิดเป็นของใคร[171] เมื่อมีความพยายามล้างมลทินแก่บุตรนอกกฎหมาย บ้านเลเบินส์เราม์ถูกนำเสนอแก่สาธารณะสำหรับสตรีสมรสแล้ว[172] ถ้อยแถลงต่อต้านการสมรสอย่างเปิดเผย เช่น ถ้อยแถลงของฮิมเลอร์เกี่ยวกับการดูแลเด็กนอกสมรสของทหารที่เสียชีวิต ได้รับการประท้วงเป็นเสียงตอบรับ[173] อิลซา แมคคีหมายเหตุว่า การบรรยายของยุวชนฮิตเลอร์และเบเดเอ็มเกี่ยวกับความจำเป็นในการผลิตเด็กเพิ่มขึ้นเพิ่มจำนวนเด็กนอกกฎหมายอย่างมาก ซึ่งมารดาหรือบิดาที่เป็นไปได้ต่างไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหา[174]
การสมรสหรือความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุคคลที่ถูกมองว่าเป็น "อารยัน" กับผู้ที่ไม่ถูกจัดเป็นรัสเนชันเดอถูกห้ามและมีบทลงโทษ อารยันที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดอาจถูกนำตัวไปกักขังในค่ายกักกัน ขณะที่ผู้ที่มิใช่อารยันอาจเผชิญโทษประหารชีวิต มีจุลสารสั่งให้สตรีเยอรมันทุกคนหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์กับกรรมกรต่างด้าวทั้งหมดที่นำเข้ามาในประเทศเยอรมนีว่าเป็นอันตรายต่อเลือดของพวกเธอ[175]
การทำแท้งถูกลงโทษอย่างหนักในนาซีเยอรมนีเว้นเสียแต่อยู่บนเหตุผลของ "สาธารณสุขเชื้อชาติ" ตั้งแต่ปี 1943 นักรีดลูกเผชิญโทษประหารชีวิต[176] การแสดงการคุมกำเนิดไม่ได้รับอนุญาต และฮิตเลอร์เองอธิบายการคุมกำเนิดว่าเป็น "การละเมิดธรรมชาติ เป็นการทำลายความเป็นหญิง ความเป็นแม่และความรัก"[177]
สิ่งแวดล้อมนิยม
[แก้]ในปี 1935 รัฐบาลนาซีตรากฎหมาย "รัฐบัญญัติคุ้มครองธรรมชาติไรช์" แม้มิใช่กฎหมายนาซีบริสุทธิ์ เพราะบางส่วนได้รับอิทธิพลมาก่อนนาซีเถลิงอำนาจ กระนั้นกฎหมายนี้ก็สะท้อนอุดมการณ์นาซี มโนทัศน์เดาแอร์วัลด์ (น่าจะแปลได้ว่า ป่านิรันดร์) ซึ่งรวมมโนทัศน์อย่างการจัดการป่า และการคุ้มครองได้รับการสนับสนุน ตลอดจนมีความพยายามจัดการกับมลพิษทางอากาศ[178][179]
ในทางปฏิบัติ กฎหมายและนโยบายที่ได้รับการตราเผชิญกับการขัดขืนจากหลายกระทรวงที่มุ่งบั่นทอนกฎหมายและนโยบายเหล่านี้ และจากลำดับความสำคัญที่ความพยายามของสงครามมาก่อนการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
นโยบายการคุ้มครองสัตว์
[แก้]นาซีมีส่วนซึ่งสนับสนุนสิทธิสัตว์ สวนสัตว์และสัตว์ป่า[180] และดำเนินหลายมาตรการเพื่อประกันการคุ้มครองสัตว์[181] ในปี 1933 รัฐบาลตรากฎหมายคุ้มครองสัตว์ที่เข้มงวด[182][183] ผู้นำพรรคนาซีหลายคน รวมทั้งฮิตเลอร์และเกอริง เป็นผู้สนับสนุนการคุ้มครองสัตว์ นาซีหลายคนเป็นนักสิ่งแวดล้อมนิยม (ที่โดดเด่น คือ รูดอล์ฟ เฮสส์) และการคุ้มครองสปีชีส์และสวัสดิภาพสัตว์เป็นประเด็นสำคัญในระบอบนาซี[184] ฮิมเลอร์พยายามห้ามการล่าสัตว์[185] เกอริงเป็นคนรักสัตว์และนักอนุรักษ์[186] กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ปัจจุบันในเยอรมนีก็รับมาจากกฎหมายที่ริเริ่มขึ้นในระบอบนาซี[187]
แม้มีการตรากฎหมายหลายฉบับเพื่อการคุ้มครองสัตว์ แต่ก็ขาดการบังคับใช้ ตามข้อมูลของพฟูแกร์สอาร์คิฟเฟือร์ไดเกซัมเทฟีซิโอโลจี (กรุสรีรวิทยาทั้งหมดพฟูแกร์ส) วารสารวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น มีการทดลองกับสัตว์หลายการทดลองระหว่างระบอบนาซี[188] ระบอบนาซียุบองค์การไม่เป็นทางการจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมนิยมและการคุ้มครองสัตว์ เช่น เฟรนด์สออฟเนเจอร์[189]
วัฒนธรรม
[แก้]ศิลปะ
[แก้]ระบอบนาซีมุ่งฟื้นฟูค่านิยมดั้งเดิมในวัฒนธรรมเยอรมัน ศิลปวัฒนธรรมที่นิยามสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ถูกปราบปราม ทัศนศิลป์ถูกเฝ้าสังเกตอย่างเข้มงวดและเป็นแบบประเพณี เน้นยกตัวอย่างแก่นเยอรมัน ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ แสนยนิยม คตินิยมวีรบุรุษ อำนาจ ความเข้มแข็งและความเชื่อฟัง ศิลปะนามธรรมสมัยใหม่และศิลปะอาวองการ์ดถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ และถูกจัดแสดงเป็นพิเศษว่าเป็น "ศิลปะเสื่อม" ที่ซึ่งผลงานเหล่านี้จะถูกเยาะหยัน ในตัวอย่างที่โดดเด่นครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1937 ฝูงชนขนาดใหญ่ยืนเข้าแถวเพื่อชมการจัดแสดงพิเศษ "ศิลปะเสื่อม" ในมิวนิก รูปแบบศิลปะที่ถูกมองว่าเสื่อม มีคติดาด บาศกนิยม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ คติโฟวิสต์ ลัทธิประทับใจ ปรวิสัยใหม่ และลัทธิเหนือจริง วรรณกรรมที่เขียนโดยชาวยิว ชนที่มิใช่อารยันอื่น พวกรักร่วมเพศหรือผู้ประพันธ์ที่คัดค้านนาซีจะถูกรัฐบาลทำลาย การทำลายวรรณกรรมที่ฉาวโฉ่ที่สุด คือ การเผาหนังสือโดยนักเรียนเยอรมันในปี 1933
แม้ความพยายามอย่างเป็นทางการในการสร้างวัฒนธรรมเยอรมันบริสุทธิ์ พื้นที่หลักหนึ่งของศิลปะและสถาปัตยกรรมภายใต้การชี้นำส่วนตัวของฮิตเลอร์เป็นลัทธิคลาสสิกใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบที่อิงสถาปัตยกรรมโรมโบราณ รูปแบบนี้ขัดและค้านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ใหม่กว่า เป็นเสรีนิยมกว่า และได้รับความนิยมกว่าในสมัยนั้นอย่างอลังการศิลป์ อาคารโรมันจำนวนมากได้รับการพิจารณาโดยสถาปนิกของรัฐ อัลแบร์ท ชแปร์ สำหรับแบบสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐ ชแปร์ก่อสร้างอาคารขนาดมหึมาและโอ่อ่า เช่น ในลานชุมนุมพรรคนาซีในเนือร์นแบร์คและอาคารทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์หลังใหม่ในกรุงเบอร์ลิน แบบหนึ่งที่ไม่ได้สร้างจริงเป็นพาร์เธนอนในกรุงโรม เรียกว่า "โฟล์คชัลเลอ" เป็นศูนย์กลางกึ่งศาสนาของระบอบนาซีในกรุงเบอร์ลินที่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เยอรมาเนีย" ซึ่งจะเป็น "เมืองหลวงของโลก" (เวลเทาพท์สทัดท์) นอกจากนี้ ที่จะก่อสร้าง คือ ประตูชัยที่ใหญ่กว่าในกรุงปารีสหลายเท่า ซึ่งอาศัยแบบคลาสสิกเช่นกัน การออกแบบจำนวนมากสำหรับเยอรมาเนียไม่สามารถก่อสร้างได้จริง เพราะขนาดและดินเลนใต้กรุงเบอร์ลิน ภายหลัง วัสดุที่จะใช้ก่อสร้างถูกเปลี่ยนไปใช้ในความพยายามของสงครามแทน
ภาพยนตร์และสื่อ
[แก้]ภาพยนตร์เยอรมันแห่งยุคส่วนมากตั้งใจให้เป็นผลงานการบันเทิงเป็นหลัก การนำเข้าภาพยนตร์ถูกกฎหมายห้ามหลังปี 1936 และอุตสาหกรรมเยอรมัน ซึ่งถูกโอนเป็นของรัฐในปี 1937 จำต้องชดเชยสำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่ขาดไป การบันเทิงยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อโรงภาพยนตร์เป็นสิ่งหย่อนใจจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรและความพ่ายแพ้ติด ๆ กันของเยอรมนี ในปี 1943 และ 1944 การยอมรับโรงภาพยนตร์ในเยอรมนีเกินหนึ่งพันล้าน[190] และภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดยามสงคราม คือ ดีกรอเซอลีเบอ (1942) และวุนชคอนแซร์ท (1941) ซึ่งทั้งสองเรื่องประกอบด้วยส่วนที่เป็นดนตรี นิยายวีรคติยามสงครามและโฆษณาชวนเชื่อรักชาติ เฟราเอนซินด์ดอคเบสเซเรอดีโพลมาเทน (1941) ดนตรีตลกซึ่งเป็นหนึ่งในภาพยนตร์สีเรื่องแรก ๆ ของเยอรมนี และวีนแนร์บลุท (1942) การดัดแปลงจุลอุปรากรตลกของโยฮันน์ สเทราสส์ ความสำคัญของโรงภาพยนตร์ในฐานะเครื่องมือของรัฐ ทั้งคุณค่าการโฆษณาชวนเชื่อ และความสามารถในการทำให้ประชาชนได้รับความบันเทิงอย่างต่อเนื่อง พบเห็นได้ในประวัติการถ่ายทำภาพยนตร์ โคลแบร์ก (1945) ของไฟท์ ฮาร์ลัน ภาพยนตร์ที่แพงที่สุดแห่งยุค สำหรับการถ่ายทำ ซึ่งทหารหลายหมื่นนายถูกเปลี่ยนจากตำแหน่งทางทหารมาแสดงเป็นตัวประกอบ
แม้การอพยพออกนอกประเทศของผู้ผลิตภาพยนตร์จำนวนมากและการจำกัดทางการเมือง แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเยอรมนีก็มิได้ขาดนวัตกรรมทางเทคนิคและสุนทรีย์ การริเริ่มการผลิตภาพยนตร์อักฟาโคลอร์เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นอันหนึ่ง ความสำเร็จทางเทคนิคและสุนทรีย์ยังอาจมาถึงคราวสิ้นสุดในไรช์ที่สามได้เหมือนกัน ที่เห็นได้ชัดในผลางานของเลนี รีเฟนสทาล ไทรอัมฟ์ออฟเดอะวิล (1935) ของรีเฟนสทาล ซึ่งบันทึกเหตุการณ์การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค (1934) และโอลิมเปีย (1938) ที่บันทึกเหตุการณ์โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 บุกเบิกเทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องและการตัดต่อที่มีอิทธิพลต่อภาพยนตร์สมัยหลังจำนวนมาก ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไททรอัมฟ์ออฟเดอะวิล ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างสูง เพราะคุณค่าสุนทรีย์นั้นแยกขาดจากการโฆษณาชวนเชื่ออุดมคติชาติสังคมนิยมไม่ได้ ศิลปินที่ไม่สามารถแทนกันได้ที่ดูเหมาะกับอุดมคติชาติสังคมนิยม เช่น มารีคา รอคค์ และโยฮันเนส เฮสแทร์ส ถูกนำขึ้นรายการกอทท์เบกนาเดเทน ("ผู้มีพรสวรรค์จากพระเจ้า") โดยเกิบเบิลส์ระหว่างสงคราม[191]
ศาสนา
[แก้]สำมะโนประชากรเยอรมนี เดือนพฤษภาคม 1939 บ่งชี้ว่า ชาวเยอรมัน 54% มองว่าตนเองนับถือนิกายโปรแตสแตนต์ และ 40% มองว่าตนนับถือคาทอลิก โดยมีเพียง 3.5% เท่านั้นที่อ้างว่าเป็น "ผู้เชื่อในพระเจ้า" เพเกินใหม่ และ 1.5% ไม่เชื่อในพระเจ้า สำมะโนนี้ออกมาหลังเข้าสู่ยุคนาซีมาแล้วหกปี[192]
การกีฬา
[แก้]กีฬามีบทบาทศูนย์กลางในเป้าหมายการสร้างนักกีฬาหนุ่มสาวที่เข้มแข็งของนาซี เพื่อสร้างเชื้อชาติที่ "ดีเลิศ" และช่วยสร้างเยอรมนีเป็นมหาอำนาจทางกีฬา สัญนิยมทางการเมืองมวลชนที่มีร่างกายเกือบเปลือยบุรุษเพศครอบครองพื้นที่สาธารณะเข้ากับระบบการโฆษณาชวนเชื่ออย่างง่ายดาย โดยมีตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ "โอลิมเปีย" ในปี 1938 ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงโอลิมปิกฤดูร้อนกรุงเบอร์ลิน 1936[193]
"สันนิบาติชาติสังคมนิยมแห่งไรช์เพื่อกายบริหาร" (NSRBL) เป็นองค์การดูแลกีฬาระหว่างไรช์ที่สาม มีการจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรมเยอรมันสองครั้งหลักที่มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 และที่ศาลาเยอรมันที่นิทรรศการระหว่างประเทศในปี 1937 โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ตั้งใจให้แสดงให้โลกเห็นความเหนือกว่าชาติอื่นของเยอรมนี นักกีฬาเยอรมันได้ถูกคัดสรรอย่างมาอย่างดีไม่เพียงแต่พละกำลังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลักษณะภายนอกที่เป็นอารยันด้วย[194]
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1933, Reichsinnenminister วิลเฮ็ล์ม ฟริค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้เล่นเพลงฮอสท์-เวสเซิล-ลีดหลังจากเพลงชาติ ดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน (Tümmler 2010, p. 63)
- ↑ รวมรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียและเขตปกครองสามัญ
- ↑ 3.0 3.1 ในฐานะประธานาธิบดี
- ↑ ในฐานะฟือเรอร์
- ↑ ในค.ศ. 1939 ก่อนประเทศเยอรมนีได้มาซึ่งการควบคุมสองภูมิภาคสุดท้ายซึ่งเคยอยู่ในการควบคุมของเยอรมนีก่อนสนธิสัญญาแวร์ซาย ได้แก่ อาลซัส-ลอแรน ดันซิกและฉนวนโปแลนด์ เยอรมนีมีพื้นที่ 633,786 ตารางกิโลเมตร ดู Statistisches Jahrbuch 2006
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ericksen & Heschel 1999, p. 10.
- ↑ Robert O. Paxton; Julie Hessler (2011). Europe in the Twentieth Century. Cengage. p. 286.
- ↑ Peter Watson (2002). Modern Mind: An Intellectual History of the 20th Century. HarperCollins. p. 328.
- ↑ Stephen J. Lee (1996). Weimar and Nazi Germany. Heinemann. p. 56.
- ↑ van Wie, Paul D. (1999). Image, History and Politics: The Coinage of Modern Europe. Lanham, Md: University Press of America ". p. 37. ISBN 978-0-7618-1221-0.
- ↑ The man who invented the Third Reich: the life and times of Arthur Moeller van den Bruck. Npi Media Ltd. May 1, 1999. ISBN 978-0-75-091866-4.
- ↑ Evans 2003, p. 103–108.
- ↑ Evans 2003, pp. 186–187.
- ↑ Evans 2003, pp. 170–171.
- ↑ Goldhagen 1996, p. 85.
- ↑ Goldhagen 1996, pp. 202–203.
- ↑ Kershaw 2008, p. 81.
- ↑ Mary Fulbrook. The Divided Nation: A History of Germany, 1918-1990. Oxford UP, 1992, 45
- ↑ Broszat, M. (1987), Hitler and the Collapse of Weimar Germany, Oxford: Berg Publishers, p. 9, ISBN 0854965092.
- ↑ Shirer 1960, pp. 136–137.
- ↑ Kolb 2005, p. 224–225.
- ↑ Evans 2003, pp. 293, 302.
- ↑ McNab 2009, p. 14.
- ↑ Evans 2005, p. 14.
- ↑ Evans 2003, pp. 329–334.
- ↑ Evans 2003, p. 354.
- ↑ Evans 2003, p. 351.
- ↑ Shirer 1960, p. 196.
- ↑ Evans 2003, p. 336.
- ↑ Evans 2003, pp. 358–359.
- ↑ Shirer 1960, p. 201.
- ↑ Evans 2005, p. 109.
- ↑ Cuomo 1995, p. 231.
- ↑ McNab 2009, p. 54.
- ↑ McNab 2009, p. 56.
- ↑ Evans 2005, pp. 31–34.
- ↑ Evans 2003, p. 344.
- ↑ Evans 2008, map, p. 366.
- ↑ Walk 1996, pp. 1–128.
- ↑ Friedländer 2009, pp. 44–53.
- ↑ Fritzsche 2008, pp. 76–142.
- ↑ Evans 2005, pp. 338–339.
- ↑ Evans 2005, p. 618.
- ↑ Evans 2005, p. 623.
- ↑ Kitchen 2006, p. 271.
- ↑ Evans 2005, p. 629.
- ↑ Evans 2005, pp. 633.
- ↑ 43.0 43.1 Evans 2005, pp. 632–637.
- ↑ Evans 2005, p. 641.
- ↑ Steiner 2011, pp. 181–251.
- ↑ Evans 2005, pp. 646–652.
- ↑ Evans 2005, p. 667.
- ↑ Kershaw 2008, p. 417.
- ↑ Kershaw 2008, p. 419.
- ↑ Evans 2005, pp. 668–669.
- ↑ 51.0 51.1 Evans 2005, pp. 671–674.
- ↑ Evans 2005, p. 683.
- ↑ Beevor 2012, p. 24.
- ↑ Zachary Shore. What Hitler Knew: The Battle for Information in Nazi Foreign Policy. Published by Oxford University Press US, 2005 ISBN 0-19-518261-8, 978-0-19-518261-3, p. 108
- ↑ Weinberg, Gerhard L. (1995), A World at Arms: A Global History of World War II, Cambridge University Press, ISBN 0-521-55879-4, p. 95 & 121
- ↑ Kelly, Nigel; Rees, Rosemary; Shuter, Jane. 'Twentieth Century World, pg. 38
- ↑ "History - British Bombing Strategy in World War Two". BBC. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
- ↑ Chronological Summary of Royal Air Force Bomber Command Operations เก็บถาวร 2009-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Your Archives
- ↑ Bungay, Stephen. The Most Dangerous Enemy: A History of the Battle of Britain. London: Aurum Press, 2000. pp 370-373.
- ↑ Fleming, Peter. (1958). Invasion 1940. Readers Union, London, p. 273.
- ↑ Weinberg, Gerhard L. (1995), A World at Arms: A Global History of World War II, Cambridge University Press, ISBN 0-521-55879-4. pp 229.
- ↑ Murray, Williamson; Millett, Allan Reed (2001), A War to Be Won: Fighting the Second World War, Harvard University Press, ISBN 0-674-00680-1. pp 263-267.
- ↑ Glantz, David, The Soviet-German War 1941–45: Myths and Realities: A Survey Essay, 11 October 2001, page 7
- ↑ Siege of Leningrad (Soviet history)". Encyclopædia Britannica.
- ↑ Taylor, A.J.P. and Mayer, S.L., eds. (1974). A History of World War Two. London: Octopus Books. ISBN 0-7064-0399-1. p.109
- ↑ Germany's forgotten victims. Guardian.co.uk. October 22, 2003.
- ↑ Collier, Paul. The Second World War (4) : The Mediterranean 1940-1945, pg. 11
- ↑ Gilbert, Sir Martin, The Second World War: A Complete History, Macmillan, 2004 ISBN 0-8050-7623-9, pages 397–400
- ↑ Kershaw, Ian. Hitler, 1936–1945: Nemesis, W. W. Norton & Company, 2001, ISBN 0-393-32252-1,p. 592
- ↑ Military Strategy: Sixtieth Anniversary of Operation Bagration เก็บถาวร 2010-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Embassy of the Republic of Belarus in the United States of America. สืบค้นเมื่อ 11-02-2010.
- ↑ C.P. Stacey. Official History of the Canadian Army in the Second World War: Volume II The Victory Campaign p. 295
- ↑ Joachimsthaler, Anton. The Last Days of Hitler - The Legends - The Evidence - The Truth, Brockhampton Press, 1999, pp 160-167.
- ↑ Kershaw, Ian (2001), Hitler, 1936–1945: Nemesis, W. W. Norton & Company, ISBN 0-393-32252-1. p.823
- ↑ William Shirer. The Rise and Fall of the Third Reich. Fawcett Crest. New York. 1983. ISBN 0-449-21977-1
- ↑ Donnelly, Mark. Britain in the Second World War, pg. xiv
- ↑ "...also based on the fact that after the debellatio of Germany, the Allied powers have been the local sovereigns in Germany.". United Nations War Crimes Commission. Law reports of trials of war criminals. William S. Hein & Co., Inc. p. 14
- ↑ Richard Overy. World Wars in-depth Nuremberg: Nazis On Trial. BBC. สืบค้นเมื่อ 07-02-2010.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 293.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 118-119.
- ↑ 80.0 80.1 M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 122.
- ↑ 81.0 81.1 M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 123.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 125.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 126.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 126-127.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 130.
- ↑ M. Ali Khan, A.Sherieff, A.Balakishan. pp. 132-133.
- ↑ Evans 2003, p. 62.
- ↑ Evans 2005, pp. 623, 646–652.
- ↑ Shirer 1960, pp. 461–462.
- ↑ Shirer 1960, pp. 696–730.
- ↑ Wedekind 2005, p. 111.
- ↑ Hugh LeCaine Agnew. The Czechs and the lands of the Bohemian crown. Hoover Institutition Press. p.208
- ↑ Raphael Lemkin, Samantha Power. Axis rule in occupied Europe: laws of occupation, analysis of government. Rumford Press, Concord N.M. p. 193
- ↑ Raphael Lemkin, Samantha Power. Axis rule in occupied Europe: laws of occupation, analysis of government. Rumford Press, Concord N.M. p. 225-226.
- ↑ 95.0 95.1 de Zayas, Alfred-Maurice: A Terrible Revenge: The Ethnic Cleansing of the Eastern European Germans 1944-1950, New York: St. Martin's Press, 1994
- ↑ Gau (NSDAP) - Kontinuität der Gaugliederung nach 1933 Historisches Lexikon Bayerns
- ↑ The Organization of the Nazi Party & State เก็บถาวร 2016-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nizkor Project
- ↑ Bischof, Günter, “The Historical Roots of a Special Relationship: Austro-German Relations Between Hegemony and Equality”. In Unequal Partners, ed. Harald von Riekhoff and Hanspeter Neuhold. San Francisco: Westview Press, 1993
- ↑ "Hitler's Plan, Dac.neu.edu". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
- ↑ http://www.ess.uwe.ac.uk/genocide/ssnur1.htm เก็บถาวร 2010-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ess.uwe.ac.uk
- ↑ The Russian Academy of Science Rossiiskaia Akademiia nauk. Liudskie poteri SSSR v period vtoroi mirovoi voiny:sbornik statei. Sankt-Peterburg 1995 ISBN 5-86789-023-6(figure of 13.7 million includes 2.0 million deaths in the annexed territories which are also included with Poland's war dead)
- ↑ "Siege of Leningrad (Soviet history)". Encyclopædia Britannica.
- ↑ }} {{cite web | url = http://econ161.berkeley.edu/TCEH/Slouch_Purge15.html เก็บถาวร 2008-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | title = http://econ161.berkeley.edu/TCEH/Slouch_Purge15.html เก็บถาวร 2008-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | accessdate = | publisher = (อังกฤษ)
- ↑ 104.0 104.1 104.2 104.3 104.4 104.5 104.6 104.7 DeLong 1997.
- ↑ Haskew, Michael, The Wehrmacht 2011, p. 13
- ↑ Temin, Peter (November 1991). Economic History Review, New Series. 44 (4): 573–593.
{{cite journal}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Christoph Buchheim (27Jun2006). "The Role of Private Property in the Nazi Economy: The Case of Industry". The Journal of Economic History: 390–416.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Overy 1995, p. 205.
- ↑ Albert Speer (1970). Inside the Third Reich: Memoirs. Macmillan. ISBN 978-1-4395-0212-9.
- ↑ Bernhard R. Kroener (2003). Germany and the Second World War: Volume V/II: Organization and Mobilization in the German Sphere of Power: Wartime Administration, Economy, and Manpower Resources 1942–1944/5. Clarendon Press. ISBN 978-0-19-820873-0.
- ↑ Richard J. Evans (2008). The Third Reich at war. Penguin. p. 333. ISBN 978-1-59420-206-3.
- ↑ Hans-Joachim Braun, "Aero-Engine Production in the Third Reich," History of Technology, 1992, Vol. 14, pp 1-15
- ↑ Jonathan Zeitlin, "Flexibility and Mass Production at War: Aircraft Manufacture in Britain, the United States, and Germany, 1939–1945," Technology and Culture (1955) 36#1 pp 46-79 in JSTOR
- ↑ John C. Beyer; Stephen A. Schneider. "Forced Labour under Third Reich – Part 1" (PDF). Nathan Associates Inc. and John C. Beyer; Stephen A. Schneider. "Forced Labour under Third Reich – Part 2" (PDF). Nathan Associates Inc.
- ↑ Panikos Panayi, "Exploitation, Criminality, Resistance. The Everyday Life of Foreign Workers and Prisoners of War in the German Town of Osnabrck, 1939-49," Journal of Contemporary History (2005) 40#3 pp 483-502 in JSTOR
- ↑ Karen Hagemann, "Mobilizing Women for War: The History, Historiography, and Memory of German Women's War Service in the Two World Wars," Journal of Military History, (Oct 2011) 75#4 pp 1055-1094,
- ↑ Richard G. Davis, "German Rail Yards and Cities: U.S. Bombing Policy 1944–1945," Air Power History, (Summer 1995) 42#2 pp46-63
- ↑ Alfred C. Mierzejewski (1988). The Collapse of the German War Economy, 1944–1945: Allied Air Power and the German National Railway. U of North Carolina press. ISBN 978-0-8078-1792-6.
- ↑ Richard Overy (1997). Why the Allies Won. W. W. Norton. pp. 128–30. ISBN 978-0-393-31619-3.
- ↑ Lukas, Richard C. Forgotten Holocaust: The Poles Under German Occupation 1939-1944. Davies, Norman. Hippocrene Books. ISBN 0-7818-0901-0.
- ↑ ,http://www.dailymail.co.uk/pages/live/femail/article.html?in_article_id=469883&in_page_id=1879
- ↑ "55 Dni Wehrmachtu w Polsce" Szymon Datner Warsaw 1967 page 67 "Zanotowano szereg faktów gwałcenia kobiet i dziewcząt żydowskich"(Numerous cases of rapes made upon Jewish women and girls were noted)
- ↑ O. R. Frisch Physical Evidence for the Division of Heavy Nuclei under Neutron Bombardment, Nature, Volume 143, Number 3616, 276-276 (18 February 1939) เก็บถาวร 2009-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The paper is dated 17 January 1939. [The experiment for this letter to the editor was conducted on 13 January 1939; see Richard Rhodes The Making of the Atomic Bomb 263 and 268 (Simon and Schuster, 1986).]
- ↑ In 1944, Hahn received the Nobel Prize for Chemistry for the discovery of nuclear fission. Some historians have documented the history of the discovery of nuclear fission and believe Meitner should have been awarded the Nobel Prize with Hahn. See the following references: Ruth Lewin Sime From Exceptional Prominence to Prominent Exception: Lise Meitner at the Kaiser Wilhelm Institute for Chemistry Ergebnisse 24 Forschungsprogramm Geschichte der Kaiser-Wilhelm-Gesellschaft im Nationalsozialismus (2005) ; Ruth Lewin Sime Lise Meitner: A Life in Physics (University of California, 1997) ; and Elisabeth Crawford, Ruth Lewin Sime, and Mark Walker A Nobel Tale of Postwar Injustice, Physics Today Volume 50, Issue 9, 26-32 (1997).
- ↑ Walker, 1993, 83-84, 170, 183, and Reference #85 on p. 247. See also Manfred von Ardenne Erinnerungen, fortgeschrieben. Ein Forscherleben im Jahrhudert des Wandels der Wissenschaften und politischen Systeme. (Droste, 1997).
- ↑ Pauley, Bruce F. Hitler, Stalin and Mussolini: Totalitarianism in the Twentieth Century. 2nd Edition. 2003. Wheeling, Illinois, USA: Harlan Davidson Inc. Pp. 118.
- ↑ Farago, Ladislas (1972) [1942]. German Psychological Warfare. International propaganda and communications. New York: Arno Press. p. 65. ISBN 978-0-405-04747-3.
- ↑ Bowen, James (1981) [1972]. A History of Western Education. Vol. 3. p. 480.
- ↑ Mehdi Khan Nakosteen, The History and Philosophy of Education (1965) p 386
- ↑ Mary-Elizabeth O'Brien, Nazi Cinema as Enchantment: The Politics of Entertainment in the Third Reich (2006) p 8
- ↑ David Stewart Hull, Film in the Third Reich: A Study of the German Cinema, 1933–1945 (1969) p 51
- ↑ Grunberger 1971, p. 18.
- ↑ Grunberger 1971, p. 79.
- ↑ Claudia Koonz, The Nazi Conscience, p 71 ISBN 0-674-01172-4
- ↑ 135.0 135.1 แพทยศาสตร์และนโยบายด้านสาธารณสุขของนาซีเยอรมนี เก็บถาวร 2012-12-05 ที่ archive.today (อังกฤษ)
- ↑ 136.0 136.1 Nazi Medicine and Public Health Policy เก็บถาวร 2012-12-05 ที่ archive.today Robert N. Proctor, Dimensions: A Journal of Holocaust Studies.
- ↑ 137.0 137.1 Review of "The Nazi War on Cancer" Canadian Journal of History, Aug 2001 by Ian Dowbiggin
- ↑ Proctor, Robert N. (1996), Nazi Medicine and Public Health Policy, Dimensions, Anti-Defamation League, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05, สืบค้นเมื่อ 2008-08-24
- ↑ Robert N. Proctor, Pennsylvania State University, "The anti-tobacco campaign of the Nazis: a little known aspect of public health in Germany, 1933-45", British Medical Journal, 313 (7070): 1450–3, PMC 2352989, PMID 8973234, สืบค้นเมื่อ 2008-06-01
- ↑ Proctor, Robert N., Nazi Medicine and Public Health Policy, Dimensions, p. 173
- ↑ Johan P. Mackenbach (June 2005), "Odol, Autobahne and a non-smoking Führer: Reflections on the innocence of public health", International Journal of Epidemiology, 34 (3): 537–9, PMID 15746205, สืบค้นเมื่อ 2008-06-01
- ↑ Gilman, Sander L.; Zhou, Xun (2004), Smoke: A Global History of Smoking, Reaktion Books, p. 328, ISBN 1-86189-200-4
- ↑ Young, T. Kue (2005), Population Health: Concepts and Methods, Oxford University Press, p. 252, ISBN 0-19-515854-7
- ↑ The Nazi Census, Götz Aly and Karl Heinz Roth, Temple University Press, 2004
- ↑ Perry Biddiscombe "Dangerous Liaisons: The Anti-Fraternization Movement in the US Occupation Zones of Germany and Austria, 1945-1948", Journal of Social History 34.3 (2001) 611-647
- ↑ United States Holocaust Memorial Museum"ushmm.org". สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
- ↑ จากหน้า http://www.mazal.org/archive/DACHPHO/Dach02.htm เก็บถาวร 2012-12-04 ที่ archive.today ซึ่งสามารถแปลได้ว่า: "หัวหน้าหน่วยตำรวจแห่งกรุงมิวนิก, ฮิมเลอร์, ได้ออกประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า: เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ค่ายกักกันแห่งแรกได้เปิดใช้งานที่ดาเชาโดยจัดให้มีนักโทษกว่า 5,000 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นพวกคอมมิวนิสต์และพวกไรช์บันเนอร์และเจ้าหน้าที่พรรคสังคมประชาธิปไตยผู้ซึ่งได้คุกคามความปลอดภัยของรัฐจะถูกจับกุมด้วยถ้าจำเป็น ซึ่งในระยะยาวแล้วมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บตัวนักโทษให้แยกจากกันในเรือนจำของรัฐ และบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถถูกปล่อยตัวได้เนื่องจากความพยายามของพวกเขาที่จะยืนกรานและเจตนาที่จะสร้างความวุ่นวายในประเทศ ทันทีที่พวกเขาได้รับการปล่อยตัว"
- ↑ Berghahn, Volker R. (1999). "Germans and Poles 1871–1945". Germany and Eastern Europe: Cultural Identities and Cultural Differences. Rodopi.
- ↑ Hitler's Plans for Eastern Europe. Selections from: "Poland under Nazi Occupation", by Janusz Gumkowkski and Kazimierz Leszczynski
- ↑ Heinrich Himmler Speech before SS Group Leaders Posen, Poland 1943. Hanover College Department of History
- ↑ Hans-Walter Schmuhl. The Kaiser Wilhelm Institute for Anthropology, Human Heredity, and Eugenics, 1927–1945: crossing boundaries. Volume 259 of Boston studies in the philosophy of science. Coutts MyiLibrary. SpringerLink Humanities, Social Science & LawAuthor. Springer, 2008. ISBN 1-4020-6599-X, 9781402065996, p. 348-349
- ↑ Robert Gellately. Revieved works: Vom Generalplan Ost zum Generalsiedlungsplan by Czeslaw Madajczyk. Der "Generalplan Ost." Hauptlinien der nationalsozialistischen Planungs- und Vernichtungspolitik by Mechtild Rössler; Sabine Schleiermacher. Central European History, Vol. 29, No. 2 (1996), pp. 270–274
- ↑ Roger Chickering, Stig Förster, Bernd Greiner, German Historical Institute (Washington, D.C.) (2005). A world at total war: global conflict and the politics of destruction, 1937–1945. Cambridge University Press. p.65. ISBN 0-521-83432-5
- ↑ Joseph Poprzeczny, Odilo Globocnik, Hitler's Man in the East, McFarland, 2004, ISBN 0-7864-1625-4, Google Print, p.186
- ↑ Tooze, Adam, The Wages of Destruction, Viking, 2007, pp. 476–85, 538–49, ISBN 0-670-03826-1
- ↑ Dan Stone (2010). Histories of the Holocaust. Oxford University Press. p.212. ISBN 0-19-956680-1.
- ↑ Michael Dorland (2009). Cadaverland: inventing a pathology of catastrophe for Holocaust survival : the limits of medical knowledge and memory in France. UPNE. p.6. ISBN 1-58465-784-7
- ↑ 158.0 158.1 158.2 158.3 Kershaw 2000, p. 111.
- ↑ 159.0 159.1 159.2 "spartacus.schoolnet.co.uk". สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
- ↑ William L. O'Neill, A Democracy At War: America's Fight At Home and Abroad in World War II, p 99-100 ISBN 0-02-923678-9
- ↑ Bruce F. Pauley, Hitler, Stalin, and Mussolini: Totalitarianism in the Twentieth Century (2003) p 119-37
- ↑ Richard Overy, The Dictators: Hitler's Germany, Stalin's Russia, p248 ISBN 0-393-02030-4
- ↑ Rupp 1978, pp. 45–46.
- ↑ "NS-Frauenwarte: Paper of the National Socialist Women's League"
- ↑ Grunberger 1971, p. 278.
- ↑ "Material from "Das deutsche Mädel"
- ↑ Rupp 1978, p. 45.
- ↑ Arvo L. Vercamer "HJ-Landdienst"
- ↑ 169.0 169.1 Biddiscombe, Perry (2001). "Dangerous Liaisons: The Anti-Fraternization Movement in the US Occupation Zones of Germany and Austria, 1945–1948". Journal of Social History. 34 (3): 611–647. doi:10.1353/jsh.2001.0002.
- ↑ Cinzia Romani, Tainted Goddesses: Female Film Stars of the Third Reich p20 ISBN 0-9627613-1-1
- ↑ Grunberger 1971, p. 382.
- ↑ Grunberger 1971, p. 246.
- ↑ Himmler's Response to Complaints regarding his "Procreation Decree" of 28 October 1939 (30 January 1940)
- ↑ George Mosse, Nazi culture: intellectual, cultural and social life in the Third Reich p 277 ISBN 978-0-299-19304-1
- ↑ Rupp 1978, pp. 124–125.
- ↑ Potts, Malcolm; Diggory, Peter; Peel, John (1977). Abortion. Cambridge; New York: Cambridge University Press. p. 382. ISBN 0-521-29150-X. OCLC 2645117.
- ↑ "History of Contraception". Glowm.com. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
- ↑ JONATHAN OLSEN "How Green Were the Nazis? Nature, Environment, and Nation in the Third Reich (review)" Technology and Culture – Volume 48, Number 1, January 2007, pp. 207–208
- ↑ Review of Franz-Josef Brueggemeier, Marc Cioc, and Thomas Zeller, eds, "How Green Were the Nazis?: Nature, Environment, and Nation in the Third Reich" Wilko Graf von Hardenberg, H-Environment, H-Net Reviews, October, 2006.
- ↑ Thomas R. DeGregori (2002). Bountiful Harvest: Technology, Food Safety, and the Environment. Cato Institute. pp. 153. ISBN 1-930865-31-7.
- ↑ Arnold Arluke, Clinton Sanders (1996). Regarding Animals. Temple University Press. pp. 132. ISBN 1-56639-441-4.
- ↑ Hartmut M. Hanauske-Abel, Not a slippery slope or sudden subversion: German medicine and National Socialism in 1933, BMJ 1996; pp. 1453–1463 (7 December)
- ↑ "kaltio.fi". สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
- ↑ Robert Proctor (1999). The Nazi War on Cancer. Princeton University Press. pp. 5. ISBN 0-691-07051-2.
- ↑ Kitchen 2006, p. 278.
- ↑ Seymour Rossel (1992). The Holocaust: The World and the Jews, 1933–1945. Behrman House, Inc. pp. 79. ISBN 0-87441-526-8.
- ↑ Bruce Braun, Noel Castree (1998). Remaking Reality: Nature at the Millenium. Routledge. p. 92. ISBN 0-415-14493-0. [ตามต้นฉบับ]
- ↑ C. Ray Greek, Jean Swingle Greek (2002). Sacred Cows and Golden Geese: The Human Cost of Experiments on Animals. Continuum International Publishing Group. pp. 90. ISBN 0-8264-1402-8.
- ↑ Boria Sax (2000). Animals in the Third Reich: Pets, Scapegoats, and the Holocaust. Continuum International Publishing Group. pp. 41. ISBN 0-8264-1289-0.
- ↑ Kinobesuche in Deutschland 1925 bis 2004 Spitzenorganisation der Filmwirtschaft e. V
- ↑ "Nederlanderse-entertainer-sin-Duitsland". Die Welt (ภาษาดัตช์). 17 April 2010. สืบค้นเมื่อ 7 April 2011.
- ↑ Johnson, Eric (2000). Nazi Terror: The Gestapo, Jews, and Ordinary Germans. New York: Basic Books, p. 10.
- ↑ Nadine Rossol, "Performing the Nation: Sports, Spectacles, and Aesthetics in Germany, 1926–1936," Central European History Dec 2010, Vol. 43 Issue 4, pp 616–638
- ↑ Anton Rippon, Hitler's Olympics: The Story of the 1936 Nazi Games (2006)
บรรณานุกรม
[แก้]- Bartrop, Paul R.; Jacobs, Leonard, บ.ก. (2014). "Einsatzgruppen". Modern Genocide: The Definitive Resource and Document Collection. Vol. 1. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. ISBN 978-1-61069-363-9.
- Beevor, Antony (2002). Berlin: The Downfall 1945. London: Viking-Penguin Books. ISBN 978-0-670-03041-5.
- Beevor, Antony (2012). The Second World War. New York: Little, Brown. ISBN 978-0-316-02374-0.
- Bendersky, Joseph W. (2007). A Concise History of Nazi Germany: 1919–1945. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-5363-7.
- Berben, Paul (1975). Dachau 1933–1945: The Official History. London: Norfolk Press. ISBN 978-0-85211-009-6.
- Berghahn, Volker R. (1999). "Germans and Poles, 1871–1945". ใน Bullivant, Keith; Giles, Geoffrey; Pape, Walter (บ.ก.). Germany and Eastern Europe: Cultural Identities and Cultural Differences. Yearbook of European Studies. Amsterdam; Atlanta, GA: Rodopi. ISBN 978-90-420-0688-1.
- Beyer, John C.; Schneider, Stephen A., Forced Labour under the Third Reich – Part 1 (PDF), Nathan Associates, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 พฤษภาคม 2013, สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013.
- Biddiscombe, Perry (2001). "Dangerous Liaisons: The Anti-Fraternization Movement in the US Occupation Zones of Germany and Austria, 1945–1948". Journal of Social History. 34 (3): 611–647. doi:10.1353/jsh.2001.0002. S2CID 145470893.
- Boeckl-Klamper, Elisabeth; Mang, Thomas; Neugebauer, Wolfgang (2018). Gestapo-Leitstelle Wien 1938–1945 (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Steinbauer. ISBN 978-3-902494-83-2.
- Bracher, Karl Dietrich (1970). The German Dictatorship. แปลโดย Steinberg, Jean. New York: Penguin Books. ISBN 978-0-14-013724-8.
- Browning, Christopher (2005). The Origins of the Final Solution: The Evolution of Nazi Jewish Policy, September 1939 – March 1942. UK: Arrow. ISBN 978-0-8032-5979-9.
- Busse, Reinhard; Riesberg, Annette (2004), Health Care Systems in Transition: Germany (PDF), Copenhagen: WHO Regional Office for Europe on behalf of the European Observatory on Health Systems and Policies, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-21, สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
- Bytwerk, Randall (1998). "Goebbels' 1943 Speech on Total War". German Propaganda Archive. Calvin College. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
- Childers, Thomas (2017). The Third Reich: A History of Nazi Germany. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-1-45165-113-3.
- Clark, Lloyd (2012). Kursk: The Greatest Battle: Eastern Front 1943. London: Headline Review. ISBN 978-0-7553-3639-5.
- Closmann, Charles (2005). "Legalizing a Volksgemeinschaft: Nazi Germany's Reich Nature Protection Law of 1935". ใน Brüggemeier, Franz-Josef; Cioc, Mark; Zeller, Thomas (บ.ก.). How Green Were the Nazis?: Nature, Environment, and Nation in the Third Reich. Athens: Ohio University Press. ISBN 978-0-8214-1646-4.
- Constable, George, บ.ก. (1988). Fists of Steel. The Third Reich. Alexandria, VA: Time-Life Books. ISBN 978-0-8094-6966-6.
- Conway, John S (2001). The Nazi Persecution of the Churches, 1933–1945. Vancouver: Regent College Publishing. ISBN 978-1-57383-080-5.
- Cox, John M. (2009). Circles of Resistance: Jewish, Leftist, and Youth Dissidence in Nazi Germany. New York: Peter Lang. ISBN 978-1-4331-0557-9.
- Cuomo, Glenn R. (1995). National Socialist Cultural Policy. New York: Palgrave MacMillan. ISBN 978-0-312-09094-4.
- Davies, Norman (2003). Rising '44: the Battle for Warsaw. New York: Viking. ISBN 978-0-670-03284-6.
- Davis, Richard G. (1995). "German Rail Yards and Cities: U.S. Bombing Policy 1944–1945". Air Power History. 42 (2): 46–63.
- DeGregori, Thomas R. (2002). Bountiful Harvest: Technology, Food Safety, and the Environment. Washington: Cato Institute. ISBN 978-1-930865-31-0.
- DeLong, J. Bradford (กุมภาพันธ์ 1997). "Slouching Towards Utopia?: The Economic History of the Twentieth Century. XV. Nazis and Soviets". econ161.berkeley.edu. University of California at Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2013.
- Die Bevölkerung des Deutschen Reichs nach den Ergebnissen der Volkszählung 1939 [Population of the German Realm according to the 1939 census], Berlin, 1941.
- Dönitz, Karl (2012) [1958]. Memoirs: Ten Years and Twenty Days. London: Frontline. ISBN 978-1-84832-644-6.
- Dorland, Michael (2009). Cadaverland: Inventing a Pathology of Catastrophe for Holocaust Survival: The Limits of Medical Knowledge and Memory in France. Tauber Institute for the Study of European Jewry series. Waltham, Mass: University Press of New England. ISBN 978-1-58465-784-2.
- Dussel, Konrad (2010). "Wie erfolgreich war die nationalsozlalistische Presselenkung?" [How Successful was National Socialist Control of the Daily Press?]. Vierteljahrshefte für Zeitgeschichte (ภาษาเยอรมัน). 58 (4): 543–561. doi:10.1524/vfzg.2010.0026. S2CID 147376008. (ต้องรับบริการ)
- Encyklopedia Powszechna PWN (ภาษาโปแลนด์). Vol. 3. Warsaw: Państwowe Wydawnictwo Naukowe. 2004. ISBN 978-83-01-14179-0.
- Ericksen, Robert P.; Heschel, Susannah (1999). Betrayal: German Churches and the Holocaust. Minneapolis: Augsberg Fortress. ISBN 978-0-8006-2931-1.
- ""Euthanasie" im Nationalsozialismus". Das Bundesarchiv (ภาษาเยอรมัน). Government of Germany. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013.
- Evans, Richard J. (2003). The Coming of the Third Reich. New York: Penguin. ISBN 978-0-14-303469-8.
- Evans, Richard J. (2005). The Third Reich in Power. New York: Penguin. ISBN 978-0-14-303790-3.
- Evans, Richard J. (2008). The Third Reich at War. New York: Penguin. ISBN 978-0-14-311671-4.
- Evans, Richard J. (2009). Cosmopolitan Islanders: British Historians and the European Continent. Cambridge; New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-19998-8.
- Farago, Ladislas (1972) [1942]. German Psychological Warfare. International Propaganda and Communications. New York: Arno Press. ISBN 978-0-405-04747-3.
- Fest, Joachim (1996). Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler 1933–1945. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-0-297-81774-1.
- Fest, Joachim (1999). Speer: The Final Verdict. แปลโดย Osers, Ewald; Dring, Alexandra. San Diego: Harcourt. ISBN 978-0-15-100556-7.
- Fischer, Klaus P. (1995). Nazi Germany: A New History. London: Constable and Company. ISBN 978-0-09-474910-8.
- Fleming, Michael (Spring 2014). "Allied Knowledge of Auschwitz: A (Further) Challenge to the 'Elusiveness' Narrative". Holocaust and Genocide Studies. 28 (1): 31–57. doi:10.1093/hgs/dcu014. S2CID 143736579.
- Freeman, Michael J. (1995). Atlas of Nazi Germany: A Political, Economic, and Social Anatomy of the Third Reich. London; New York: Longman. ISBN 978-0-582-23924-1.
- Friedländer, Saul (2009). Nazi Germany and the Jews, 1933–1945. New York: Harper Perennial. ISBN 978-0-06-135027-6.
- Gellately, Robert (1996). "Reviewed work(s): Vom Generalplan Ost zum Generalsiedlungsplan by Czeslaw Madajczyk. Der "Generalplan Ost". Hauptlinien der nationalsozialistischen Planungs- und Vernichtungspolitik by Mechtild Rössler; Sabine Schleiermacher". Central European History. 29 (2): 270–274. doi:10.1017/S0008938900013170.
- Gellately, Robert (2001). Social Outsiders in Nazi Germany. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-08684-2.
- Germany (West) Presse- und Informationsamt (1961). Germany Reports. With an introduction by Konrad Adenauer (ภาษาเยอรมัน). Wiesbaden: F. Steiner. OCLC 5092689.
- Gill, Anton (1994). An Honourable Defeat: A History of the German Resistance to Hitler. London: Heinemann.
- Gill, Roger (2006). Theory and Practice of Leadership. London: SAGE Publications. ISBN 978-0-7619-7176-4.
- Glantz, David M. (1995). When Titans Clashed: How the Red Army Stopped Hitler. Lawrence, KS: University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-0899-7.
- Goebel, Nicole (28 September 2017). "Auschwitz-Birkenau: 4 out of 10 German students don't know what it was". Deutsche Welle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
- Goeschel, Christian (2009). Suicide in Nazi Germany. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-953256-8.
- Goldhagen, Daniel (1996). Hitler's Willing Executioners: Ordinary Germans and the Holocaust. New York: Knopf. ISBN 978-0-679-44695-8.
- Grunberger, Richard (1971). The 12-Year Reich: A Social History of Nazi Germany 1933–1945. New York: Holt Rinehart and Winston. ISBN 978-0-03-076435-6.
- Hamblet, Wendy C. (2008). "Book Review: Götz Aly: Hitler's Beneficiaries: Plunder, Racial War, and the Nazi Welfare State". Genocide Studies and Prevention. 3 (2): 267–268. doi:10.1353/gsp.2011.0076. S2CID 143661188.
- Hanauske-Abel, Hartmut M. (7 December 1996). "Not a slippery slope or sudden subversion: German medicine and National Socialism in 1933" (PDF). BMJ. 313 (7070): 1453–1463. doi:10.1136/bmj.313.7070.1453. PMC 2352969. PMID 8973235. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- Harding, Thomas (23 August 2006). "Battle of Britain was won at sea. Discuss". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
- Heinemann, Isabel; Oberkrome, Willi; Schleiermacher, Sabine; Wagner, Patrick (2006). Nauka, planowanie, wypędzenia : Generalny Plan Wschodni narodowych socjalistów : katalog wystawy Niemieckiej Współnoty Badawczej (PDF) (ภาษาโปแลนด์). Bonn: Deutsche Forschungsgemeinschaft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- Richter, Heinz A. (1998). Greece in World War II (ภาษากรีก). transl by Kostas Sarropoulos. Athens: Govostis. ISBN 978-960-270-789-0.
- Hildebrand, Klaus (1984). The Third Reich. Boston: George Allen & Unwin. ISBN 978-0-04-943032-7.
- Hoffmann, Peter (1988). German Resistance to Hitler. Cambridge; London: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-35085-4.
- Hoffmann, Peter (1996) [1977]. The History of the German Resistance, 1933–1945. Montreal: McGill-Queen's University Press. ISBN 978-0-7735-1531-4.
- Hosking, Geoffrey A. (2006). Rulers and Victims: The Russians in the Soviet Union. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-02178-5.
- Hubert, Michael (1998). Deutschland im Wandel. Geschichte der deutschen Bevolkerung seit 1815 (ภาษาเยอรมัน). Stuttgart: Steiner, Franz Verlag. ISBN 978-3-515-07392-9.
- Kershaw, Ian (2000b). Hitler, 1936–1945: Nemesis. New York; London: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-32252-1.
- Kershaw, Ian (2000a). The Nazi Dictatorship: Problems and Perspectives of Interpretation (4th ed.). London: Arnold. ISBN 978-0-340-76028-4.
- Kershaw, Ian (2001) [1987]. The "Hitler Myth": Image and Reality in the Third Reich. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280206-4.
- Kershaw, Ian (2008). Hitler: A Biography. New York: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-06757-6.
- Kershaw, Ian (2011). The End: Hitler's Germany, 1944–45. London; New York: Penguin. ISBN 978-1-59420-314-5.
- Kinobesuche in Deutschland 1925 bis 2004 (PDF) (ภาษาเยอรมัน), Spitzenorganisation der Filmwirtschaft e. V, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012, สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2019.
- Kirschbaum, Stanislav J. (1995). A History of Slovakia: The Struggle for Survival. New York: St. Martin's Press. ISBN 978-1-4039-6929-3.
- Kitchen, Martin (2006). A History of Modern Germany, 1800–2000. Malden, MA: Blackwell. ISBN 978-1-4051-0040-3.
- Klemperer, Klemens von (1992). German Resistance Against Hitler: The Search for Allies Abroad 1938-1945. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-160679-3.
- Koonz, Claudia (2003). The Nazi Conscience. Cambridge, MA: Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01172-4.
- Lakotta, Beate (March 2005). "Tief vergraben, nicht dran rühren". Der Spiegel (ภาษาเยอรมัน). No. 2. Hamburg: Spiegel-Verlag. pp. 218–221.
- Lambert, Peter (2007). "Heroisation and Demonisation in the Third Reich: The Consensus-building Value of a Nazi Pantheon of Heroes". Totalitarian Movements & Political Religions. 8 (3–4): 523–546. doi:10.1080/14690760701571155. S2CID 144769526.
- Lauryssens, Stan (1999). The Man Who Invented the Third Reich: The Life and Times of Arthur Moeller van den Bruck. Stroud: Sutton. ISBN 978-0-7509-1866-4.
- "Leni Riefenstahl". The Daily Telegraph. London. 10 September 2003. ISSN 0307-1235. OCLC 49632006. สืบค้นเมื่อ 10 May 2013.
- Libionka, Dariusz. "The Catholic Church in Poland and the Holocaust, 1939–1945" (PDF). The Reaction of the Churches in Nazi Occupied Europe. Yad Vashem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 26 August 2013.
- Longerich, Peter (2003). "Hitler's Role in the Persecution of the Jews by the Nazi Regime". Holocaust Denial on Trial. Atlanta: Emory University. 17. Radicalisation of the Persecution of the Jews by Hitler at the Turn of the Year 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2009. สืบค้นเมื่อ 31 July 2013.
{{cite journal}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - Longerich, Peter (2010). Holocaust: The Nazi Persecution and Murder of the Jews. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280436-5.
- Longerich, Peter (2012). Heinrich Himmler: A Life. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-959232-6.
- Lukas, Richard C. (2001) [1994]. Did the Children Cry?: Hitler's War Against Jewish and Polish Children, 1939–1945. New York: Hippocrene. ISBN 978-0-7818-0870-5.
- Majer, Diemut (2003). "Non-Germans" under the Third Reich: The Nazi Judicial and Administrative System in Germany and Occupied Eastern Europe, with Special Regard to Occupied Poland, 1939–1945. Baltimore; London: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-6493-3.
- Manvell, Roger; Fraenkel, Heinrich (2007) [1965]. Heinrich Himmler: The Sinister Life of the Head of the SS and Gestapo. London; New York: Greenhill; Skyhorse. ISBN 978-1-60239-178-9.
- Manvell, Roger (2011) [1962]. Goering. London: Skyhorse. ISBN 978-1-61608-109-6.
- Marcuse, Harold (2001). Legacies of Dachau: The Uses and Abuses of a Concentration Camp, 1933-2001. Cambridge; New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-55204-2.
- Martin, Bernd (2005) [1995]. Japan and Germany in the Modern World. New York; Oxford: Berghahn Books. ISBN 978-1-84545-047-2.
- Materski, Wojciech; Szarota, Tomasz (2009). Polska 1939–1945: straty osobowe i ofiary represji pod dwiema okupacjami (ภาษาโปแลนด์). Instytut Pamięci Narodowej, Komisja Ścigania Zbrodni przeciwko Narodowi Polskiemu. ISBN 978-83-7629-067-6.
- Mazower, Mark (2008). Hitler's Empire: How the Nazis Ruled Europe. New York; Toronto: Penguin. ISBN 978-1-59420-188-2.
- McElligott, Anthony; Kirk, Tim; Kershaw, Ian (2003). Working Towards the Führer: Essays in Honour of Sir Ian Kershaw. Manchester: Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6732-7.
- McNab, Chris (2009). The Third Reich. London: Amber Books. ISBN 978-1-906626-51-8.
- Melvin, Mungo (2010). Manstein: Hitler's Greatest General. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-0-297-84561-4.
- Murray, Williamson; Millett, Allan R. (2001) [2000]. A War to be Won: Fighting the Second World War. Cambridge, MA: Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00680-5.
- Nakosteen, Mehdi Khan (1965). The History and Philosophy of Education. New York: Ronald Press. OCLC 175403.
- NS-Zwangsarbeit: "Verbotener Umgang" (ภาษาเยอรมัน), Stadtarchiv Göttingen Cordula Tollmien Projekt NS-Zwangsarbeiter, 1942.
- Nicholas, Lynn H. (2006). Cruel World: The Children of Europe in the Nazi Web. New York: Vintage. ISBN 978-0-679-77663-5.
- Niewyk, Donald L.; Nicosia, Francis R. (2000). The Columbia Guide to the Holocaust. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-11200-0.
- 'NS-Frauenwarte': Paper of the National Socialist Women's League, Heidelberg University Library, สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
- Oberkommandos der Wehrmacht (1941). Soldaten Atlas (ภาษาเยอรมัน).
- Overmans, Rüdiger (2000) [1999]. Deutsche militärische Verluste im Zweiten Weltkrieg. Beiträge zur Militärgeschichte (ภาษาเยอรมัน). München: R. Oldenbourg. ISBN 978-3-486-56531-7.
- Overy, Richard (2005) [2004]. The Dictators: Hitler's Germany, Stalin's Russia. UK: Penguin Group. ISBN 978-0-393-02030-4.
- Overy, Richard (2006) [1995]. Why The Allies Won. London: Random House. ISBN 978-1-84595-065-1.
- Overy, Richard (2014). The Bombers and the Bombed: Allied Air War Over Europe 1940–1945. New York: Viking. ISBN 978-0-698-15138-3.
- Panayi, Panikos (2005). "Exploitation, Criminality, Resistance: The Everyday Life of Foreign Workers and Prisoners of War in the German Town of Osnabruck, 1939–49". Journal of Contemporary History. 40 (3): 483–502. doi:10.1177/0022009405054568. JSTOR 30036339. S2CID 159846665.
- Pauley, Bruce F. (2003) [1997]. Hitler, Stalin, and Mussolini: Totalitarianism in the Twentieth Century. European History Series. Wheeling, IL: Harlan Davidson. ISBN 978-0-88295-993-1.
- Pine, Lisa (2011) [2010]. Education in Nazi Germany. Oxford; New York: Berg. ISBN 978-1-84520-265-1.
- Posener, Alan (9 April 2018). "German TV Is Sanitizing History". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
- Proctor, Robert N. (1999). The Nazi War on Cancer. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-07051-3.
- Raeder, Erich (2001) [1956]. Grand Admiral: The Personal Memoir of the Commander in Chief of the German Navy From 1935 Until His Final Break With Hitler in 1943. New York: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80962-0.
- Rees, Laurence (2005). Auschwitz: A New History. New York: Public Affairs, member of Perseus Books Group. ISBN 978-1-58648-303-6.
- Reisner, Markus (February 2015). "Der Luftkrieg 1944/45 über Österreich". www.bundesheer.at (ภาษาเยอรมัน). Bundesministerium für Landesverteidigung. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-17. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
- Rhodes, Richard (2002). Masters of Death: The SS-Einsatzgruppen and the Invention of the Holocaust. New York: Vintage Books. ISBN 978-0-375-70822-0.
- Rummel, Rudolph (1994). Death by Government. New Brunswick, NJ: Transaction. ISBN 978-1-56000-145-4.
- Rupp, Leila J. (1978). Mobilizing Women for War: German and American Propaganda, 1939–1945. Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-04649-5. OCLC 3379930.
- Schafranek, Hans (2017). Widerstand und Verrat: Gestapospitzel im antifaschistischen Untergrund (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Czernin Verlag. ISBN 978-3-7076-0622-5.
- Schreiner, Klaus (1998). "Messianism in the Weimar Republic". ใน Schäfer, Peter; Cohen, Mark (บ.ก.). Toward the Millennium: Messianic Expectations from the Bible to Waco. Leiden: Brill. pp. 311–362. ISBN 90-04-11037-2.
- Scobie, Alexander (1990). Hitler's State Architecture: The Impact of Classical Antiquity. University Park: Pennsylvania State University Press. ISBN 978-0-271-00691-8.
- Sereny, Gitta (1996) [1995]. Albert Speer: His Battle With Truth. New York; Toronto: Random House. ISBN 978-0-679-76812-8.
- Sereny, Gitta (November 1999). "Stolen Children". Talk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
- Shirer, William L. (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-62420-0.
- Smith, J. W. (1994). The World's Wasted Wealth 2: Save Our Wealth, Save Our Environment. Cambria, CA: Institute for Economic Democracy. ISBN 978-0-9624423-2-2.
- Snyder, Timothy (2010). Bloodlands: Europe between Hitler and Stalin. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-00239-9.
- "Sonderbehandlung erfolgt durch Strang". Documents for National Socialism (ภาษาเยอรมัน). NS-Archiv. 1942.
- Sontheimer, Michael (10 March 2005). "Germany's Nazi Past: Why Germans Can Never Escape Hitler's Shadow". Spiegel Online. สืบค้นเมื่อ 11 May 2013.
- Speer, Albert (1971) [1969]. Inside the Third Reich. New York: Avon. ISBN 978-0-380-00071-5.
- Spielvogel, Jackson J. (2016) [2005]. Hitler and Nazi Germany: A History. Abingdon; New York: Taylor & Francis. ISBN 978-0-205-84678-8.
- Spotts, Frederic (2002). Hitler and the Power of Aesthetics. New York: Overlook Press. ISBN 978-1-58567-345-2.
- Staff (16 December 2015). "What the Führer means for Germans today". The Economist (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 September 2018.
- Statistisches Jahrbuch für die Bundesrepublik Deutschland (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Statistisches Bundesamt. 2006. p. 34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2012.
- Stein, George (2002) [1966]. The Waffen-SS: Hitler's Elite Guard at War 1939–1945. Cerberus Publishing. ISBN 978-1-84145-100-8.
- Steiner, Zara (2011). The Triumph of the Dark: European International History 1933–1939. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-921200-2.
- Stephenson, Jill (2001). Women in Nazi Germany. London: Longman. ISBN 978-0-582-41836-3.
- Stolfi, Russel (March 1982). "Barbarossa Revisited: A Critical Reappraisal of the Opening Stages of the Russo-German Campaign (June–December 1941)". Journal of Modern History. 54 (1): 27–46. doi:10.1086/244076. hdl:10945/44218. S2CID 143690841.
- "Strafgesetzbuch, StGB", German Law Archive, 13 November 1998, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-29, สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- Strüber, Henning (17 August 2018). "1943: Briten bombardieren Peenemünde". www.ndr.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
- Tomasevich, Jozo (1975). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: The Chetniks. Stanford, CA: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0857-9.
- Tooze, Adam (2006). The Wages of Destruction: The Making and Breaking of the Nazi Economy. New York; Toronto: Viking. ISBN 978-0-670-03826-8.
- Tümmler, Holger (2010). Hitlers Deutschland: Die Mächtigen des Dritten Reiches (ภาษาเยอรมัน). Wolfenbüttel: Melchior Verlag. ISBN 978-3-941555-88-4.
- Uekötter, Frank (2006). The Green and the Brown: A History of Conservation in Nazi Germany. Cambridge; New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-84819-0.
- Uekötter, Frank (2005). "Polycentrism in Full Swing: Air Pollution Control in Nazi Germany". ใน Brüggemeier, Franz-Josef; Cioc, Mark; Zeller, Thomas (บ.ก.). How Green Were the Nazis?: Nature, Environment, and Nation in the Third Reich. Athens: Ohio University Press. ISBN 978-0-82144-196-1.
- Umbreit, Hans (2003). "Hitler's Europe: The German Sphere of Power". ใน Kroener, Bernhard; Müller, Rolf-Dieter; Umbreit, Hans (บ.ก.). Germany and the Second World War, Vol. 5. Organization and Mobilization in the German Sphere of Power. Part 2: Wartime Administration, Economy, and Manpower Resources, 1942–1944/5. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-820873-0.
- USHMM. "Children during the Holocaust". United States Holocaust Memorial Museum—Holocaust Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 24 April 2013.
- USHMM. "Dachau". United States Holocaust Memorial Museum—Holocaust Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
- USHMM. "Genocide of European Roma (Gypsies), 1939–1945". United States Holocaust Memorial Museum—Holocaust Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- USHMM. "The German Churches and the Nazi State". United States Holocaust Memorial Museum—Holocaust Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 25 September 2016.
- USHMM. "Women in the Third Reich". United States Holocaust Memorial Museum—Holocaust Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
- Walk, Joseph (1996). Das Sonderrecht für die Juden im NS-Staat: Eine Sammlung der gesetzlichen Maßnahmen und Rechtlinien, Inhalt und Bedeutung (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). Heidelberg: Müller Verlag. ISBN 978-3-82521-889-8.
- Weale, Adrian (2012) [2010]. Army of Evil: A History of the SS. New York; Toronto: NAL Caliber (Penguin Group). ISBN 978-0-451-23791-0.
- Wegner, Bernd (1990). The Waffen-SS: Organization, Ideology and Function. Hoboken, NJ: Blackwell. ISBN 978-0-631-14073-3.
- Weinberg, Gerhard L. (2010) [1970]. Hitler's Foreign Policy 1933–1939: The Road to World War II. New York: Enigma Books. ISBN 978-1-929631-91-9.
- Weinberg, Gerhard L. (2005) [1994]. A World at Arms: A Global History of World War II. Cambridge; Oxford: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85316-3.
- Welch, David (2001). Hitler: Profile of a Dictator. London: Routledge. ISBN 978-0-415-25075-7.
- Wiederschein, Harald (21 July 2015). "Mythos Waffen-SS". Focus (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
- Wüstenberg, Jenny; Art, David (May 2008). "Using the Past in the Nazi Successor States from 1945 to the Present". The Annals of the American Academy of Political and Social Science (ภาษาอังกฤษ). 617 (1): 72–87. doi:10.1177/0002716207312762. ISSN 0002-7162. S2CID 145313351.
- Wrobel, Peter (1999). Warsaw Uprising 1944. The Devil's Playground: Poland in World War II. The Canadian Foundation for Polish Studies of the Polish Institute of Arts & Sciences Price-Patterson Ltd. ISBN 978-0-96927-841-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wikimedia Atlas of Germany
- "Introduction to the Holocaust". Holocaust Encyclopedia. United States Holocaust Memorial Museum.
- German Propaganda Archive hosted by Calvin College