ทะเลอารัลเหนือ
ทะเลอารัลเหนือ | |
---|---|
1. อ่าว Shevchenko, 2. อ่าว Butakov, 3. อ่าว Bolshoy Saryshyganak | |
ที่ตั้ง | คาซัคสถาน, เอเชียกลาง |
พิกัด | 46°30′N 60°42′E / 46.5°N 60.7°E |
ชนิด | ทะเลปิด, ทะเลสาบตามธรรมชาติ, อ่างเก็บน้ำ |
ชื่อในภาษาแม่ | Солтүстік Арал теңізі (คาซัค) |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | ซีร์ดาร์ยา (ในสมัยก่อนรวมถึงอามูดาร์ยา) |
ประเทศในลุ่มน้ำ | คาซัคสถาน |
พื้นที่พื้นน้ำ | 3,300 ตารางกิโลเมตร (1,270 ตารางไมล์) (2008) 2,550 ตารางกิโลเมตร (985 ตารางไมล์) (2003) |
ความลึกสูงสุด | 30 เมตร (98 ฟุต) (2003) 42 เมตร (138 ฟุต) (2008) |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | Lesser Aral Sea and Delta of the Syrdarya River |
ขึ้นเมื่อ | 2 February 2012 |
เลขอ้างอิง | 2083[1] |
ทะเลอารัลเหนือ (คาซัค: Солтүстік Арал теңізі / Soltüstık Aral teñızı; รัสเซีย: Се́верное Ара́льское мо́ре) เป็นส่วนหนึ่งของทะเลอารัลที่น้ำมาจากซีร์ดาร์ยา แยกจากทะเลอารัลใต้ใน ค.ศ. 1987–1988[2] จากระดับน้ำทะเลลดลงเพราะถูกใช้ในการเกษตร ได้มีการสร้างเขื่อน Dike Kokaral เพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำและสัตว์น้ำในทะเลนี้ แต่ล้มเหลวจำนวนสองครั้ง ในที่สุดปี 2005 รัฐบาลของคาซัคสถานสามารถที่จะสนับสนุนเงินทุนที่มากกว่านี้ หลังจากนั้นระดับน้ำในทะเลนี้ก็เริ่มเพิ่มขึ้นรวมถึงสัตว์น้ำ แผนในการสร้างเขื่อนที่สองเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนน้ำจะเริ่มสร้างในปี 2010
พื้นหลัง
[แก้]ทะเลอารัลเริ่มลดขนาดลงตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เมื่อสหภาพโซเวียตตัดสินใจให้ใช้แม่น้ำอามูดาร์ยาและซีร์ดาร์ยาที่ช่วยเพิ่มระดับน้ำในทะเลอารัลไปทำการเกษตรในคาซัคสถานและอุซเบกิสถานแทน ทำให้ทะเลสาบได้แบ่งเป็นสองทะเล ซึ่งอีกส่วนหนึ่งคือทะเลอารัลใต้ในปัจจุบัน
ความเค็ม
[แก้]ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะทำให้ทะเลเป็นดังเดิมในคาซัคสถาน หนึ่งในนั้นคือการสร้างเขื่อนซึ่งโครงการนี้สำเร็จในปี 2005 ต่อมาในปี 2008 ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 12 เมตรเมื่อเทียบกับเมื่อปี 2003[3] ความเค็มลดลง และจำนวนปลาเพิ่มขึ้นอย่างมากในจำนวนที่สามารถที่จะจับปลาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาแมกเคอเรล ถึงแม้การเพิ่มปลาทูน่าใน 2009 ล้มเหลว
สถานการณ์ปัจจุบัน
[แก้]หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตรัฐบาลของอิสระคาซัคสถานตัดสินใจที่จะฟื้นฟูทะเลสาบทางตอนเหนือที่เลี้ยงโดยซีร์ดาร์ยา ในปี 2003 ทะเลสาบมีความลึก 30 เมตร (98 ฟุต) และมีพื้นที่ 2,550 ตารางกิโลเมตร (980 ตารางไมล์)[3] (จากองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น 3,200 ตารางกิโลเมตร (1,200 ตารางไมล์))[4] ในปี 2008 มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น เป็นมีความลึก 42 เมตร (138 ฟุต) และมีพื้นที่ 42 เมตร (138 ฟุต)[3][5] (จากองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น 3,600 ตารางกิโลเมตร (1,390 ตารางไมล์))[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lesser Aral Sea and Delta of the Syrdarya River". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
- ↑ Micklin, Philip; Aladin, N.V.; Plotnikov, Igor, บ.ก. (2014). The Aral Sea: The Devastation and Partial Rehabilitation of a Great Lake. Berlin, Heidelberg: Springer Berlin Heidelberg. doi:10.1007/978-3-642-02356-9. ISBN 978-3-642-02355-2. S2CID 127749591.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Environment News Service – The Kazakh Miracle: Recovery of the North Aral Sea
- ↑ 4.0 4.1 JAXA – South Aral Sea shrinking but North Aral Sea expanding
- ↑ The rehabilitation of the ecosystem and bioproductivity of the Aral Sea under conditions of water scarcity เก็บถาวร 2012-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (rev. August 2007)
- Philip Micklin, N.V. Aladin, Igor Plotnikov (22 November 2013). The Aral Sea: The Devastation and Partial Rehabilitation of a Great Lake. ISBN 9783642023569.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ North Aral Sea
- FIELD TRIP TO THE ARAL SEA September 2007
- Deserts of the North Aral Sea.