ข้ามไปเนื้อหา

ซุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮิรางานะ

คาตากานะ
การถอดอักษร su
+ดากูเต็ง zu
มังโยงานะ
ของฮิรางานะ
มังโยงานะ
ของคาตากานะ
รหัสเรียกขาน すずめのス
(ซุซุเมะ โนะ ซุ)
รหัสมอร์ส ---・-
อักษรเบรลล์ ⠹
ยูนิโคด U+3059, U+30B9
คะนะ
อึง วะ ระ ยะ มะ ฮะ นะ ทะ ซะ คะ อะ
วิ ริ มิ ฮิ นิ ชิ ชิ คิ อิ
รุ ยุ มุ ฟุ นุ สึ ซุ คุ อุ
เวะ เระ เมะ เฮะ เนะ เทะ เซะ เคะ เอะ
โวะ โระ โยะ โมะ โฮะ โนะ โทะ โซะ โคะ โอะ
เคะตัวเล็ก · สึตัวเล็ก · โยะริ · โคะโตะ
ดะกุเต็ง · ฮันดะกุเต็ง · โชอมปุ

ซุ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า す มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 寸 และคะตะกะนะเขียนว่า ス มีที่มาจากส่วนขวาล่างของมันโยงะนะ 須 ออกเสียงว่า [su] เมื่อเติมดะกุเต็งจะออกเสียงว่า [zu] ชาวญี่ปุ่นอาจออกเสียงซุที่อยู่ท้ายคำหรือท้ายประโยคเป็น [s] โดยละเสียงสระเพื่อความสะดวกในการสนทนา

す เป็นอักษรลำดับที่ 13 อยู่ระหว่าง し (ชิ) กับ せ (เซะ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ す เป็นอักษรลำดับที่ 47 อยู่ระหว่าง せ (เซะ) กับ ん (อึง) (ถ้านับ ん เป็นลำดับสุดท้ายด้วย)

รูปแบบ โรมะจิ ฮิระงะนะ คะตะกะนะ เสียงอ่าน รูปแบบ โรมะจิ ฮิระงะนะ คะตะกะนะ เสียงอ่าน
ธรรมดา su ซุ ธรรมดา
+ดะกุเต็ง
zu ซุ
sū, swu すう, すぅ
すー, す~
スウ, スゥ
スー, ス~
ซู zū, zwu ずう, ずぅ
ずー, ず~
ズウ, ズゥ
ズー, ズ~
ซู
ทวิอักษร swa すぁ, すゎ スァ, スヮ ซฺวะ ทวิอักษร
+ดะกุเต็ง
zwa ずぁ, ずゎ ズァ, ズヮ ซฺวะ
swi, si すぃ スィ ซฺวิ, ซิ zwi, zi ずぃ ズィ ซฺวิ, ซิ
swe すぇ スェ ซฺเวะ zwe ずぇ ズェ ซฺเวะ
swo すぉ スォ ซฺโวะ zwo ずぉ ズォ ซฺโวะ

อักษรแบบอื่น

[แก้]

ภาษาไอนุใช้คะตะกะนะขนาดเล็ก ㇲ เป็นพยัญชนะสะกด [s] เหมือนการสะกดด้วย -ซ แทนที่จะเป็นเสียงปรกติ [ɕ] อย่างไรก็ดี [s] และ [ɕ] เป็นหน่วยเสียงเดียวกัน [1]

อักขระ ยูนิโคด จิส เอกซ์ 0213[2] ความหมาย
U+3059 1-4-25 ฮิระงะนะ ซุ (su)
U+305A 1-4-26 ฮิระงะนะ ซุ (zu)
U+30B9 1-5-25 คะตะกะนะ ซุ (su)
U+30BA 1-5-26 คะตะกะนะ ซุ (zu)
U+31F2 1-6-80 คะตะกะนะ ซุ (su) ตัวเล็ก
U+32DC 1-12-71 คะตะกะนะ ซุ (su) ในวงกลม
U+FF7D ไม่มี คะตะกะนะ ซุ (su) ครึ่งความกว้าง

ลำดับขีด

[แก้]
ลำดับขีดในการเขียน す
ลำดับขีดในการเขียน す
ลำดับขีดในการเขียน ス
ลำดับขีดในการเขียน ス

ฮิระงะนะ す มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้

  1. ขีดเส้นนอนจากซ้ายไปขวา ในตำแหน่งกึ่งบน
  2. ขีดเส้นตั้งจากบนตัดกับเส้นแรก โดยค่อนไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อถึงกึ่งกลางให้ม้วนเป็นเลข 9

คะตะกะนะ ス มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้

  1. ขีดเส้นนอนจากซ้ายไปขวาในตำแหน่งบน แล้วหักลงโค้งไปทางซ้าย
  2. ขีดเส้นเฉียงลงขวา โดยเริ่มจากกึ่งกลางโค้งของเส้นแรก

คันจิ

[แก้]

ตัวอย่างคันจิที่อ่านว่าซุ และขึ้นต้นด้วยซุ มีดังนี้

笥 諏 須 酢 図 厨 逗 吹 垂 帥 推 水 炊 睡 粋 翠 衰 遂 酔 錐
錘 随 瑞 髄 崇 嵩 数 枢 趨 雛 据 杉 椙 菅 頗 雀 裾 澄 摺 寸

อ้างอิง

[แก้]
  1. Refsing, Kirsten (1996). Early European Writings on the Ainu Language. London: Routledge. ISBN 0-700-70400-0.
  2. JIS拡張漢字(JIS X 0213:2004)(全コード表) (ญี่ปุ่น)