ซาลาแมนเดอร์ไฟ
ซาลาแมนเดอร์ไฟ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Caudata |
วงศ์: | Salamandridae |
สกุล: | Salamandra |
สปีชีส์: | S. salamandra |
ชื่อทวินาม | |
Salamandra salamandra (Linnaeus, 1758) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
สำหรับซาลาแมนเดอร์ที่เป็นสัตว์ในตำนาน ดูที่: ซาลาแมนเดอร์
ซาลาแมนเดอร์ไฟ (อังกฤษ: Fire salamander; ชื่อวิทยาศาสตร์: Salamandra salamandra) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็กจำพวกซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นนิวต์ (Salamandridae) หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก
ชื่อซาลาแมนเดอร์ไฟนั้น สันนิษฐานว่ามาจากการที่มนุษย์ในสมัยโบราณ จะใช้ฟืน ที่นำมาจากกิ่งไม้หรือโพรงไม้ต่าง ๆ โยนเข้ากองไฟเพื่อสร้างความอบอุ่นยามหนาว บางครั้งจะพบซาลาแมนเดอร์ชนิดนี้ซุกซ่อนอยู่ภายใน เมื่อฟืนถูกไฟ ด้วยความร้อนซาลาแมนเดอร์ก็จะคลานออกมา เหมือนกับว่าคลานออกมาจากกองไฟ อันเป็นที่มาของสัตว์ในตำนานที่ว่า เมื่อโยนซาลาแมนเดอร์เข้าไปในกองไฟแล้วก็ไม่ตาย เนื่องจากมีความชื้นในรูปแบบของเมือกที่ปกคลุมตัวอยู่ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ซาลาแมนเดอร์ไฟ นับเป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดที่พบได้ง่ายกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ ในทวีปยุโรป มีลำตัวสีดำมีจุดสีเหลืองหรือลายเส้นที่แตกต่างกันออกไป บางตัวอาจจะมีสีเกือบดำสนิทในขณะที่บางตัวมีแถบสีเหลืองสดตัดกันโดดเด่น และบางตัวก็มีสีออกไปทางเหลืองเฉดแดง หรือสีส้ม มีขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ในตัวที่โตเต็มวัย และมีอายุขัยที่ยาวนานถึง 50 ปี นับว่ายาวนานกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ มาก
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถปล่อยสารพิษประเภทอัลคาลอยด์ ในรูปแบบของต่อมพิษที่ผิวหนังเพื่อป้องกันตัวได้ด้วย มีผลทำให้กล้ามเนื้อชักเกร็ง, ความดันโลหิตสูง โดยต่อมพิษนี้กระจายอยู่ทั่วตัว และกระจุกในพื้นผิวบางส่วนของร่างกายเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหัว และผิวหลังส่วนผิวหนังมักจะตรงกับต่อมเหล่านี้ ซึ่งสารประกอบในการหลั่งผิวหนังอาจจะมีผลต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราของผิวหนังชั้นนอก
พบกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่สะอาดต่าง ๆ ในป่าประเภท ป่าผลัดใบ หรือภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นป่าที่มีพืชชั้นต่ำประเภทมอสส์ปกคลุม ในหลายประเทศของทวีปยุโรป ตั้งแต่ประเทศแอลเบเนีย, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, ฮังการี, โครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ก, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, มอนเตเนโกร, ยูโกสลาเวีย, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์ โดยพบไปได้ไกลถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ตุรกี และอิหร่าน
มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น แมลง, กุ้ง, ปู, ทาก หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำด้วยกันขนาดเล็ก โดยปกติในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวตามโขดหินและขอนไม้ จะออกมาหากินในเวลากลางวันบ้างก็ต่อเมื่อมีฝนตก ความชื้นในอากาศมีสูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจนที่สุด คือ ต่อมบวมรอบ ๆ ระบายชายของตัวผู้ ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตถุงเก็บสเปิร์ม ซึ่งประกอบด้วยสเปิร์มจำนวนมากที่ตอนปลาย เมื่อซาลาแมนเดอร์ตัวเมียขึ้นมาบนบก ตัวผู้หลังจากปล่อยถุงสเปิร์มลงบนพื้นดินแล้วพยายามที่จะให้ตัวเมียรับเข้าไปผสมพันธุ์ หากประสบความสำเร็จทั้งไข่และสเปิร์มมีการปฏิสนธิกัน ซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวของตัวเมีย ตัวอ่อนจะได้รับการเพาะฟักในแหล่งน้ำที่สะอาดต่อไป[2]
รูปภาพ
[แก้]-
ส่วนหัวขนาดใกล้ และต่อมพิษ
-
ขณะยังเป็นตัวอ่อนในน้ำ
-
ตัวที่มีแถบสีเหลืองขนาดใหญ่กว่าทั่วไป
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Salamandra salamandra ที่วิกิสปีชีส์