ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ
後小松天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1392 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 1412
ก่อนหน้าโกะ-คาเมยามะ
ถัดไปโชโก
โชกุนอาชิกางะ โยชิมิตสึ
อาชิกางะ โยชิโมจิ
จักรพรรดิฝ่ายเหนือองค์ที่ 6
ครองราชย์24 พฤษภาคม ค.ศ. 1382 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1392
ราชาภิเษก31 มกราคม ค.ศ. 1383
ก่อนหน้าโกะ-เอ็นยู
ถัดไปไม่มี
พระราชสมภพ1 สิงหาคม ค.ศ. 1377
โมโตฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 幹仁โรมาจิMotohito)
สวรรคต1 ธันวาคม ค.ศ. 1433(1433-12-01) (56 ปี)
ฝังพระศพฟูกากูซะ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (深草北陵; เกียวโต)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
อิกกีว โซจุง
จักรพรรดิโชโก
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ (後小松院 หรือ 後小松天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-เอ็นยู
พระราชมารดาซันโจ อิซูโกะ [ja]
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ (ญี่ปุ่น: 後小松天皇โรมาจิGo-Komatsu-tennō; 1 สิงหาคม ค.ศ. 1377 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1433) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 100 ตามธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์[1] และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 กับองค์สุดท้ายของราชสำนักเหนือ

พระองค์เป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์จากราชสำนักเหนือตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1383 ถึงวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1392 เมื่อจักรพรรดิโกะ-คาเมยามะสละราชบัลลังก์ จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึจึงเป็นจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมาย (จักรพรรดิองค์ที่ 100) ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จากนั้นใน ค.ศ. 1392 หลังยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ที่รวมราชสำนักทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะแห่งราชสำนักใต้ได้บรรลุข้อตกลงกับจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ เพื่อครองราชบัลลังก์สลับกันระหว่างราชสำนักเหนือและราชสำนักใต้ทุก ๆ 10 ปี ซึ่งส่งสัญญาณถึงจุดสิ้นสุดของการอ้างสิทธิ์ของราชสำนักใต้ อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึละเมิดสัญญาไม่เพียงแค่ปกครองนาน 20 ปีจนกระทั่งพระองค์สละราชสมบัติในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1412 เท่านั้น แต่ยังให้พระราชโอรสสืบทอดราชบัลลังก์ แทนที่จะให้บุคคลหนึ่งจากอดีตราชสำนักใต้ ตามที่นักวิชาการก่อนยุคเมจิกล่าวว่า รัชสมัยของโกะ-โคมัตสึในฐานะจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายมีระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1392 ถึง 1412[2] ราชวงศ์ญี่ปุ่นในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิในราชสำนักเหนือ 3 พระองค์

จักรพรรดิพระองค์นี้ได้รับพระนามจากจักรพรรดิโคโกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 กับ โกะ- (後) ที่แปลตรงตัวว่า "ยุคหลัง" กูกันโช ของจิเอ็งอธิบายว่าโคโกได้รับการเรียกขานเป็น "จักรพรรดิแห่งโคมัตสึ"[3] ผู้อ้างสิทธิ์และจักรพรรดิในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาจเรียกเป็น "จักรพรรดิโคโกยุคหลัง" หรือ "จักรพรรดิโคมัตสึที่ 2"

พระราชประวัติ

[แก้]

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โกะ-โคมัตสึมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) คือ เจ้าชายโมโตฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 幹仁親王โรมาจิMotohito-shinnō)[4]

โกะ-โคมัตสึเป็นพระราชโอรสองค์แรกในจักรพรรดิโกะ-เอ็นยู พระราชมารดาของพระองค์คือซือโยโมนิง โนะ อิตสึโกะ (通陽門院厳子) ธิดาในเจ้าผู้รักษาผนึกลับ (Lord Keeper of the Privy Seal) ซันโจ คิมิตาดะ (三条公忠)

  • พระมเหสี: ฮิโนนิชิ โมโตโกะ (日野西資子, 1384–1440) ภายหลังเป็น โคฮัมมน-อิง (光範門院) ธิดาในฮิโนนิชิ ซูเกกูนิ
    • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายมิฮิโตะ (1401–1428; 実仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโชโก
    • พระราชโอรสองค์ที่สอง: เจ้าชายโองาวะ (1404–1425; 小川宮) มกุฎราชกุมารของจักรพรรดิโชโก
    • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงริเอ (理永女王; 1406–1447)
  • นางกำนัล: คันโรจิ สึเนโกะ (甘露寺経子) ธิดาในคันโรจิ คาเนนางะ
  • ไนชิ: ธิดาในฮิโนนิชิ ซูเกกูนิ
  • ไนชิ: ธิดาในชิรากาวะ ซูเกตาดะ
  • ไนชิ: โคเฮียวเอะ-โนะ-สึโบเนะ (小兵衛局)
    • พระราชธิดา: (ประสูติ ค.ศ. 1412)
  • ไนชิ: ไม่ทราบพระนาม (ธิดาในบริวารจากราชสำนักใต้)

พระองค์ได้รับพระนามจากจักรพรรดิโคโก ผู้มีอีกพระนามว่าโคมัตสึ เนื่องจากทั้งสองได้รับพระราชบัลลังก์คืนให้ตระกูลของตน ในกรณีของจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึผ่านการเอาชนะคู่แข่งในราชสำนักทางใต้ และในกรณีของจักรพรรดิโคโกผ่านการสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดิโยเซ พระราชนัดดาในพระเชษฐาของพระองค์

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ

[แก้]

เจ้าชายโมะโตะฮิโตะขึ้นเป็นผู้อ้างสิทธิพระองค์ที่ 6 ภายหลังการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโกะ-เอ็งยูพระราชบิดาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1325 จนกระทั่งสละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 1355

  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1325 (วันที่ 11 เดือน 4 ปี โควะ ที่ 4) : ปีที่ 11 ในรัชสมัยของ จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายโมโตฮิโตะ รัชทายาทพระชนมายุเพียง 5 พรรษาโดยอดีตจักรพรรดิเป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา)
  • 5 ตุลาคม พ.ศ. 1355 (วันที่ 29 เดือน 8 ปี เมโตะกุ ที่ 19) : ปีที่ 30 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-โคะมะสึพระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายมิฮิโตะ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโชโก

แผนผัง

[แก้]

จักรพรรดิแห่งราชสำนักใต้

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 後小松天皇 (100); retrieved 2013-8-28.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 317–327.
  3. Brown, Delmer M. (1979). Gukanshō, p. 289; excerpt, "Koko's personal name was Tokiayasu, and he was called the 'Emperor of Komatsu'. He received the throne on the 4th day of the 1st month of 884 ...."
  4. Titsingh, p. 317.

ข้อมูล

[แก้]
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran (Annales des empereurs du Japon). Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.
ก่อนหน้า จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ ถัดไป
จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากราชสำนักเหนือพระองค์ที่ 6
(1925 - 1935)
สิ้นสุด
จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
(1935 - 1955)
จักรพรรดิโชโก