ข้ามไปเนื้อหา

งิ้ว (พืช)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งิ้ว
ต้นงิ้วดอกบานเต็มต้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
วงศ์ย่อย: Bombacoideae
สกุล: Bombax
สปีชีส์: B.  ceiba
ชื่อทวินาม
Bombax ceiba
L.
ชื่อพ้อง

Bombax malabaricum DC.
Salmalia malabarica

งิ้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bombax ceiba L.) ชื่ออื่นๆ งิ้วหนาม งิ้วบ้าน งิ้วแดง งิ้วปง งิ้วปงแดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ลำต้นสูง 25-30 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากในช่วงเรือนยอด เป็นไม้เนื้ออ่อนมีหนามแหลมอยู่ตามลำต้น ใบรวมประกอบด้วยใบย่อย 4-7 ใบ ใบเป็นมันค่อนข้างหนา ใบย่อยรูปรีปลายใบเรียวแหลมเรียงกันคล้ายกับรูปนิ้วมือ มีสีเขียวไม่มีขน ก้านใบสีขาวมองเห็นชัดเจน[1]

ดอกขนาดใหญ่ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมี 5 กลีบ สีออกแดงหรือส้มปนสีเหลือง กลีบดอกมีขนปกคลุมและกลีบดอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 10 ซม มีลักษณะแข็งเลื่อมเป็นมัน เมื่อมีดอกต้นจะทิ้งใบทั้งหมดส่วนกลางออกเป็นเกสรตัวผู้เรียง 3 แถว ยาวยื่นออกมาเป็นเส้นๆ

ผลรูปรีปลายแหลมยาว 6-8 นิ้ว เมื่อผลแก่จะเป็นสีน้ำตาลเปลือกผลแข็งเมื่อผลแก่จะมีปุยสีขาวปลิวออกมาตามลม เมล็ด เมล็ดสีดำ

ใบรวมก้านใบก้านหนึ่งมีใบย่อยอยู่ 4-7 ใบ ใบย่อยนี้จะดอกมีขนาดใหญ่ออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกอยู่ 3-5 ดอก สีแสดแดง สีส้ม สีเหลือง มี 5 กลีบ กลีบรองดอกเป็นสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปถ้วยมนแข็ง กลางดอกมีเกสรซ้อนเรียงกันอยู่ 3 ชั้น ตามกลีบดอกมีขนมันเป็นเงาปกคลุมอยู่ เวลาที่ออกดอกจะทิ้งใบหมดมี 5 กลีบ กลีบรองดอกเป็นสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปถ้วยมนแข็ง ดอกบานเต็มที่ประมาณ 10 ซม. กลางดอกมีเกสรซ้อนเรียงกันอยู่ 3 ชั้น ตามกลีบดอกมีขนมันเป็นเงาปกคลุมอยู่

ประโยชน์

[แก้]

สรรพคุณ ใช้เปลือกต้นช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการบวม จากการกระแทก รักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง บรรเทาอาการท้องเดิน แก้บิด อัมพาต เอ็นอักเสบ ดอกช่วยห้ามเลือด รักษาแผล ฝีหนอง บรรเทาอาการท้องเดิน บิดมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ รากหรือเปลือกรากใช้สมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก รากเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้อาเจียน ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต เมล็ดใช้เป็นยาร่วมกับพิมเสนรักษาโรคหนองในเรื้อรัง[2] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย นำใบสดแช่น้ำ ต้มอาบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย[3]

เกสรดอกงิ้วตากแห้ง ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำแกงแค ทำขนมจีนน้ำเงี้ยว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "งิ้ว สถาบันวิจัยพืชสวน".
  2. http://yathai.blogspot.com/2009/09/blog-post_29.html
  3. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5