ข้ามไปเนื้อหา

ความน่าสะพรึงกลัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความน่าสะพรึงกลัว
ส่วนหนึ่งของการปฏิวัติฝรั่งเศส
เอมีเกร เก้าคนถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน ค.ศ. 1793
วันที่กันยายน 1793 – กรกฎาคม 1794
ที่ตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
จัดโดยคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม

สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว[1] (ฝรั่งเศส: la Terreur) เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่สามของการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือฌีรงแด็งกับลามงตาญ ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดทั่วฝรั่งเศส

กิโยตีนกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น มารี อ็องตัวแน็ตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ ดยุกแห่งออร์เลอ็อง, มาดามรอล็อง และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคน มีอ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีบุกเบิกที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกันเป็นอาทิ ระหว่าง ค.ศ. 1794 ฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งสูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา นิกายโรมันคาทอลิกโดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณความจงรักภักดีต่อชาติ นอกเหนือจากนี้ สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ยังต้องสู้รบในสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่เจตนาทำลายการปฏิวัตินี้เสียเพื่อป้องกันมิให้ลุกลาม

การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างด้าวต่อดินแดนของชาติได้ก่อวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่างฌีรงแด็งกับฌากอแบ็งซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังนี้ต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า ลามงตาญ (La Montagne) และพวกเขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส สภาฝรั่งเศสตั้งคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1793 เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั่งเศสเพิ่มเติม

ผ่านศาลอาญาปฏิวัติ ผู้นำสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวใช้อำนาจเผด็จการอย่างกว้างขวางและใช้ประหารชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากและการกวาดล้างทางการเมือง การปราบปรามเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า ความน่าสะพรึงกลัวครั้งใหญ่ (la Grande Terreur) และสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 ซึ่งนำไปสู่ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์ (Thermidorian Reaction)[2] ซึ่งผู้สนับสนุนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้งมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

ภูมิหลัง

[แก้]

ฤดูร้อน ค.ศ. 1793 การปฏิวัติของฝรั่งเศสส่งผลกระทบทั้งการภายในและจากราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรป ทำให้เกิดความกลัวว่าการปฏิวัติจะขยายลุกลามสู่ประเทศโดยรอบที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย จึงส่งกองกำลังมาประชิดชายแดนฝรั่งเศส จนเกิดการประทะกันกับทหารของฝ่ายสาธารณรัฐฝรั่งเศส

กองกำลังต่างชาติได้ข่มขู่ฝรั่งเศสให้ปล่อยพระเจ้าหลุยส์และคืนราชสมบัติให้พระองค์ จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ถึงกับขู่ว่าจะเข้าปล้นกรุงปารีส หากชาวปารีสแตะต้องพระบรมวงศานุวงศ์ และมีกระแสความเชื่อสงสัยว่าพระเจ้าหลุยส์เองอาจเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลต่างชาติ ให้บุกฝรั่งเศสเพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบอบกษัตริย์

ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสจำนวนมากที่สูญเสียทรัพย์สิน ต่างได้ประโยชน์จากพ่ายแพ้ของฝ่ายปฏิวัติ ฝ่ายศาสนาก็เช่นกัน ต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ เพราะมิฉะนั้นพวกพระถูกลดฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของรัฐ และยังต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐบาล ทำให้บาทหลวงมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก) ปฏิเสธจะสาบานตน และประกาศตนเป็นฝ่ายดื้อดึง (Non-juror) บาทหลวงโรมันคาทอลิก และชนชั้นสูงในภาคตะวันตก รวมตัวก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลฝ่ายปฏิวัติ โดยได้รับการสนับสนุนจากบริเตนใหญ่

สงครามกลางเมืองและการประชิดของกองกำลังต่างชาติ สร้างวิกฤติทางการเมืองขึ้นอย่างรุนแรง และเกิดการแตกแยกขึ้นในรัฐสภาเอง

ความน่าสะพรึงกลัว

[แก้]

ในวันที่ 2 มิถุนายน มีการยึดอำนาจในสภาโดยเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองลดและกำหนดราคาขนมปังตายตัวและลดการให้สัมปทานแก่บางฝ่ายเป็นการเฉพาะ และด้วยการสนับสนุนของกองกำลังแห่งชาติพวกดังกล่าวสามารถโน้มน้าวให้จับกุมบุคคลผู้นำกลุ่มการเมืองฌีรงแด็ง ไป 31 คน และจากการจับกุมครั้งนี้ทำให้ฝ่ายฌากอแบ็งมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถคุมคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมไว้ได้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และจัดตั้งระบบเผด็จการฝ่ายปฏิวัติขึ้นมาได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้นำที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วยฝ่ายฌากอแบ็งปากกล้าที่ถูกตราว่ากระหายเลือดถูกสังหารโดยฝ่ายฌีรงแด็ง กลับมีผลให้ฝ่ายฌากอแบ็งมีอิทธิพลทางการเมืองสูงขึ้น ฝ่ายปฏิวัติคนหนึ่งที่ช่วยโค่นล้มกษัตริย์ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นพวกหรูหราถูกปลดจากตำแหน่งกรรมาธิการและตั้งคนที่ "บริสุทธิ์จากคอร์รัปชัน" คนหนึ่งขึ้นมาแทนและกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในคณะกรรมาธิการที่กำลังเพิ่มมาตรการปราบปรามพวกต่อต้านต่างจังหวัดและข้าศึกต่างชาติ

ในขณะเดียวกัน รัฐสภาก็ได้ผ่านการรับรอบรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฉบับแรกของฝรั่งเศส

ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐฯ จึงเน้นที่สงคราม ในวันที่ 17 พฤษภาคม สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกำลัง และในวันที่ 5 กันยายนนั้นเอง รัฐสภาก็ได้ลงมติรับ "ความน่าสะพรึงกลัว" ให้มีความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในประเทศได้โดยเด็ดขาด

ผลที่ตามมาคือการใช้กำลังปราบปราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพของคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม ได้มีการออกกฎหมายอีกหลายฉบับ วันที่ 9 กันยายน ได้ออกกฎหมายจัดตั้งกองกำลังร่วมประชาชนฝ่ายปฏิวัติเพื่อบังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ วันที่ 17 กันยายน มีการออกกฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ผู้ก่ออาชญากรรมต่อเสรีภาพ วันที่ 29 กันยายน รัฐสภาได้เพิ่มการกำหนดราคาตายตัวที่ต่ำลงสำหรับธัญพืช ขนมปังและสินค้าจำเป็นอีกหลายอย่าง รวมทั้งการกำหนดค่าแรงตายตัวให้ต่ำลง กิโยตีนได้กลายเป็นสัญลักณ์แห่งการประหารชีวิตที่ต่อเนื่อง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ได้ถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยตีนไปตั้งแต่ก่อนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวไปแล้ว พวกฌีรงแด็ง ดยุกแห่งออร์เลอ็อง ผู้ลงคะแนนให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ มาดามโรลองด์และผู้คนอีกมากถูกประหารโดยกิโยตีน ศาลอาญาปฏิวัติพิพากษาประหารชีวิตคนหลายพันคนด้วยกิโยตีน ผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากถูกฝูงชนทุบตีจนตายอย่างโหดร้าย ประชาชนจำนวนมากตายเพราะมีตวามเห็นทางการเมืองแตกต่าง ไม่น้อยที่ถูกประหารชีวิตเพียงด้วยข้อสงสัยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออาจเพียงเป็นบังเอิญผู้มีส่วนได้เสียเพียงเล็กน้อยกับฝ่ายตรงข้าม ผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่ถูกลากตัวไปกับเกวียนไม้แบบเปิดที่ทำไว้เฉพาะสำหรับการประจานนักโทษ และถูกโห่ประจานไปตลอดทาง

เหยื่อของสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลฝ่ายปฏิวัตินับได้ประมาณ 40,000 คน เป็นชนชั้นปกครองชั้นสูง 8% พระ 6% ชนชั้นกลาง 14% และอีก 70% เป็นคนงานและชาวนายากจนที่ถูกกล่าวหาว่ากักตุน หนีทหาร ก่อกบฏและก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ในกลุ่มสังคมเหล่านี้ พระคาทอลิกมีสัดส่วนการสูญเสียมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

ความพยายามของรัฐบาลปฏิวัติในการล้มเลิกศาสนาคริสต์ในฝรั่งเศสเริ่มที่นิกายโรมันคาทอลิกก่อนและลุกลามไปทุกนิกาย ด้วยการออกเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1793 ให้เนรเทศและประหารชีวิตนักบวชไปเป็นจำนวนมาก มีการปิดโบสถ์วิหารและสถาบันของลัทธิต่าง ๆ มากมาย มีการทำลายศาสนสถานและรูปเคารพทางศาสนาในวงกว้าง ออกกฎหมายห้ามการสอนศาสนาและปิดโรงเรียนที่อิงศาสนา มีการเพิกถอนความเป็นบาทหลวง บังคับบาทหลวงให้แต่งงานและกำหนดโทษประหาร ณ ที่ที่จับได้แก่ผู้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หลบหนี มีการทำพิธีสถาปนาปรัชญาความเชื่อเป็นใหม่ของฝ่ายปฏิวัติเรียกว่าลัทธิ "Supreme Being" ที่เชื่อว่ามีผู้สูงส่งเบื้องบนคอยดูแลฝรั่งเศสอยู่

การยุติ

[แก้]
การประหารชีวิตรอแบ็สปีแยร์

ความพยายามสร้างความสมานฉันท์และความรักชาติให้เกิดขึ้นของฝ่ายปฏิวัติกลับนำมาซึ่งการนองเลือดอย่างต่อเนื่อง หลังการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดจากการสู้รบกับฝ่ายออสเตรีย รอแบ็สปีแยร์ผู้ยึดอำนาจและเป็นเผด็จการทางรัฐสภาก็ถูกโค่นอำนาจโดยการสมรู้ร่วมคิดของสมาชิกสภาหลายคนและถูกนำไปตัดศีรษะด้วยกิโยตีนพร้อมกับพวกในกลุ่มหลายคนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ซึ่งเหตุการณ์นี้นำไปสู่ยุคที่เรียกว่า "White Terror" ซึ่งเป็นยุคต่อต้านความโหดเหี้ยมที่นำโดยรอแบ็สปีแยร์ ซึ่งยังคงมีความโหดเหี้ยมเกิดขึ้นประปรายไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมีการประหารพวกฌากอแบ็งไปอีกหลายร้อยคน

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 195
  2. Llwellyen, Jennifer; Thompson, Steve (2012-11-19). "The Thermidorian Reaction". French Revolution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Alpha History. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  1. Robespierre: «Le but du gouvernement constitutionnel est de conserver la République; celui du gouvernement révolutionnaire est de la fonder. [...] Le gouvernement révolutionnaire doit au bon citoyen toute la protection nationale; il ne doit aux Ennemis du Peuple que la mort. Ces notions suffisent pour expliquer l'origine et la nature des lois que nous appelons révolutionnaires [...]. Si le gouvernement révolutionnaire doit être plus actif dans sa marche et plus libre dans ses mouvements que le gouvernement ordinaire, en est-il moins juste et moins légitime? Non; il est appuyé sur la plus sainte de toutes les lois: le salut du Peuple.»
  2. Harvey, Donald Joseph FRENCH REVOLUTION, History.com 2006 (Accessed April 27,2007)
  3. a b Latreille, A. "French Revolution". New Catholic Encyclopedia (Second Ed. 2002) 5. Thompson Gale. 972–973.
  4. Shelia Fitzpatrick. Vengeance and Ressentiment in the Russian Revolution, in French Historical Studies. Fall 2001
  5. a b Jean-Clément Martin, historian and professor at Paris-I, "France was cut in half by the Revolution", in L'Histoire n°311, July–August 2006
  6. [French Revolution] The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition. 2001-05.

สารานุกรม

[แก้]
  • Andress, David The Terror: The Merciless War for Freedom in Revolutionary France. New York: Farrar, Straus and Giroux, 2006 (hardcover, ISBN 0-374-27341-3; paperback, ISBN 0-374-53073-4)
  • Beik, William. "The Absolutism of Louis XIV as Social Collaboration: Review Article", Past and Present, no. 188 (Aug. 2005) , pp. 195–224.
  • Kerr, Wilfred Brenton. Reign of Terror, 1793–1794. London: Porcupine Press, 1985 (hardcover, ISBN 0-87991-631-1).
  • Moore, Lucy. Liberty: The Lives and Times of Six Women in Revolutionary France. London: HarperCollins, 2006 (hardcover, ISBN 0007206011).
  • Steel, Mark. "Vive La Revolution". London: Scribner, 2003 (paperback new edn., ISBN 0743208064).
  • Palmer, R. R. Twelve Who Ruled: The Year of the Terror in the French Revolution. Princeton: Princeton University Press, 2005 (paperback, ISBN 0-691-12187-7)
  • Jordan, David P. The Revolutionary Career of Maximilien Robespierre. New York, Free Press, 1985, (hardcover; ISBN 0-02-916530-X) pp. 150-164.
  • Schama, Simon. Citizens - A Chronicle of the French Revolution. New York, Alfred A. Knopf, 1989, (hardcover; ISBN 0-394-55948-7) pp. 714-716. See also pp. 678-847.
  • Scott, Otto. Robespierre, The Fool as Revolutionary - Inside the French Revolution. Windsor, NY, The Reformer Library, 1974 (softcover; ISBN 9-781887-690058)
  • Loomis, Stanley. Paris in the Terror. New York, NY, Dorset Press, 1964 (hardcover; ISBN 0-88029-401-9). The dramatic events surrounding the reign of terror and the fall of Robespierre are vividly described in this book.
  • Hibbert, Christopher. The Days of the French Revolution. New York, Quill-William Morrow, 1981 (softcover: ISBN 9-780688-169787) , pp. 271-304.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]