กูปูวาซู
กูปูวาซู | |
---|---|
ต้นกูปูวาซูในพื้นที่ปลูกแห่งหนึ่งใกล้เมืองมาเนาส์ในบราซิล | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ชบา |
วงศ์: | ชบา |
สกุล: | Theobroma (Willd. ex Spreng.) K.Schum. |
สปีชีส์: | Theobroma grandiflorum |
ชื่อทวินาม | |
Theobroma grandiflorum (Willd. ex Spreng.) K.Schum. |
กูปูวาซู (โปรตุเกส: cupuaçu, cupuassu, cupuazú, cupu assu, copoasu; ชื่อวิทยาศาสตร์: Theobroma grandiflorum) เป็นพรรณไม้ป่าดิบชื้นชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันกับโกโก้[2] พบขึ้นทั่วไปในแอ่งแอมะซอนและมีการเพาะปลูกในพื้นที่ป่ารกของโคลอมเบีย โบลิเวีย เปรู และตอนเหนือของบราซิลโดยมีการผลิตมากที่สุดในรัฐปารา[2] เนื้อในผลกูปูวาซูเป็นที่นิยมบริโภคตลอดทั้งอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นผลไม้ประจำรัฐปารา[3] และเป็นส่วนผสมในไอศกรีม ของว่างอัดแท่ง[4] และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ[5][6]
ลำต้น
[แก้]ต้นกูปูวาซูโดยทั่วไปมีความสูงระหว่าง 5–15 เมตร (16–49 ฟุต) แต่บางต้นอาจสูงถึง 20 เมตร (66 ฟุต) เปลือกไม้มีสีน้ำตาล ใบมีความยาวระหว่าง 25–35 เซนติเมตร (9.8–13.8 นิ้ว) และกว้าง 6–10 เซนติเมตร (2.4–3.9 นิ้ว) โดยมีเส้นใบ 9 หรือ 10 คู่ เมื่อโตเต็มที่ใบจะเปลี่ยนจากสีออกชมพูเป็นสีเขียว และจะเริ่มออกผลในที่สุด[7]
ผล
[แก้]เนื้อสีขาวของผลกูปูวาซูมีกลิ่นหอมที่ได้รับการพรรณนาว่าคล้ายกลิ่นช็อกโกแลตผสมสับปะรด และมักนำมาใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้ ของหวาน และขนมหวาน น้ำจากผลกูปูวาซูมีรสชาติคล้ายแพร์ กล้วย เสาวรส และเมลอน[8][9]
โดยทั่วไปผลกูปูวาซูจะถูกเก็บจากพื้นดินเมื่อมันตกจากต้นตามธรรมชาติ เราสามารถประเมินความสุกงอมภายในผลได้ยากเนื่องจากภายนอกผลไม่มีการเปลี่ยนสีที่เห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในสภาวะแบบภูมิภาคแอมะซอนตะวันตกของโคลอมเบีย ผลมักจะสุกแก่เต็มที่ภายใน 117 วันหลังจากดอกเจริญเป็นผลชัดเจน[10][11] ชาวบราซิลนิยมกินผลสด ๆ หรือนำผลไปทำของหวาน[12]
ผลิตภัณฑ์อาหารจากกูปูวาซูในเชิงพาณิชย์ได้แก่เนื้อผลและผง[13]
สารพฤกษเคมี
[แก้]กลิ่นรสของผลกูปูวาซูมาจากสารพฤกษเคมีอย่างแทนนิน, ไกลโคไซด์, ทีโอแกรนดิน, แคทิชิน, เควอร์ซิทิน, เค็มป์เฟอรอล และไอโซสกูเทลลาเรน[14] นอกจากนี้ยังมีกาเฟอีน, ธีโอโบรมีน และธีโอฟิลลีนเช่นที่พบในโกโก้ แต่ผลกูปูวาซูมีกาเฟอีนในปริมาณที่ต่ำกว่ามาก[15][16]
เนยกูปูวาซู
[แก้]เนยกูปูวาซูเป็นไตรกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว ทำให้เนยมีจุดหลอมเหลวต่ำ (ประมาณ 30 องศาเซลเซียส) และมีเนื้อสัมผัสนุ่ม จึงเอื้อต่อการนำไปทำขนมหวานที่มีลักษณะคล้ายช็อกโกแลตขาว[2] ส่วนประกอบที่เป็นกรดไขมันหลักของเนยกูปูวาซูคือ กรดสเตียริก (ร้อยละ 38), กรดโอเลอิก (ร้อยละ 38), กรดปาลมิติก (ร้อยละ 11) และกรดแอราคิดิก (ร้อยละ 7)[17][18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fernandez, E.; Moraes, M.; Martinelli, G.; Colli-Silva, M. (2021). "Theobroma grandiflorum". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T191158664A191158666. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T191158664A191158666.pt. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Giacometti DC (1998). "Cupuaçu. In: Neglected Crops: 1492 from a Different Perspective, J.E. Hernándo Bermejo and J. León (eds.). Plant Production and Protection Series No. 26. FAO, Rome, Italy. p. 205-209". Center for New Crops & Plant Products, Purdue University, Department of Horticulture and Landscape Architecture, W. Lafayette, IN, USA.
- ↑ "Cupuaçu - the taste of the Amazon - Kew". kew.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ Balston, Catherine; Derry, Johanna (17 April 2014). "Cupuaçu: Brazil's new alternative to chocolate". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ Prazeres, Isadora (2017). "Elaboration and characterization of snack bars made with ingredients from the Amazon". Acta Amazonica. 47 (2): 103–110. doi:10.1590/1809-4392201602203.
- ↑ "Brazil: Biodiversity for Food and Nutrition". b4fn.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ "Theobroma grandiflorum Cupuassu, Cupuacu PFAF Plant Database". pfaf.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ Silva, F.M.; Silva, C.L.M. (1 February 2000). "Note. Quality evaluation of cupuaçu (Theobroma grandiflorum) purée after pasteurization and during storage / Nota. Calidad del puré de cupuaçu (Theobroma grandiflorum) después de la pasterización y durante su almacenamiento". Food Science and Technology International. 6 (1): 53–58. doi:10.1177/108201320000600108.
- ↑ Teixeira, Maria Francisca Simas; Andrade, Jerusa Souza; Fernandes, Ormezinda Celeste Cristo; Durán, Nelson; Lima Filho, José Luiz de (28 October 2018). "Quality Attributes of Cupuaçu Juice in Response to Treatment with Crude Enzyme Extract Produced byAspergillus japonicus586". Enzyme Research. 2011: 494813. doi:10.4061/2011/494813. PMC 3206358. PMID 22114735.
- ↑ Hernandez, Claudia (March 1, 2012). "Growth and development of the cupuacu fruit (Theobroma grandiflorum [Wiild. Ex Spreng.] Schum.) in the western colombian Amazon". Agronomia Colombiana. 30: 95–102.
- ↑ Hernández L., Claudia; Hernández G., María Soledad (28 October 2018). "Growth and development of the cupuaçu fruit (Theobroma grandiflorum [Willd. Ex Spreng.] Schum.) in the western colombian Amazon". Agronomía Colombiana. 30 (1). สืบค้นเมื่อ 28 October 2018 – โดยทาง www.redalyc.org.
- ↑ "This Brazilian Fruit Makes Beer, Ice Cream, and Faux Chocolate". Atlas Obscura. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ Silva, Alessandra Eluan da; Silva, Luiza Helena Meller da; Pena, Rosinelson da Silva (1 December 2008). "Hygroscopic behavior of açaí and cupuaçu powders". Food Science and Technology. 28 (4): 895–901. doi:10.1590/S0101-20612008000400020.
- ↑ Yang, H.; Protiva, P.; Cui, B.; Ma, C.; Baggett, S.; Hequet, V.; Mori, S.; Weinstein, I. B.; Kennelly, E. J. (2003). "New bioactive polyphenols from Theobroma grandiflorum ("cupuaçu")". Journal of Natural Products. 66 (11): 1501–1504. doi:10.1021/np034002j. PMID 14640528.
- ↑ Lo Coco F, Lanuzza F, Micali G, Cappellano G (2007). "Determination of theobromine, theophylline, and caffeine in by-products of cupuaçu and cacao seeds by high-performance liquid chromatography". J Chromatogr Sci. 45 (5): 273–5. doi:10.1093/chromsci/45.5.273. PMID 17555636.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) pdf - ↑ Sira, Elevina Pèrez (28 October 2018). The Uses of Cocoa and Cupuaçu Byproducts in Industry, Health, and Gastronomy. Nova Science Publishers. ISBN 9781536134575. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Cohen, K. de O. & Jackix, M. de N. H. (2009). "Características químicas e física da gordura de cupuaçu e da manteiga de cacau" (PDF). Documentos / Embrapa Cerrados (ภาษาโปรตุเกส) (269): 1–22.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "The Uses of Cocoa and Cupuaçu Byproducts in Industry, Health, and Gastronomy - Nova Science Publishers". Nova Science Publishers. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Weird Fruit Explorer (20 September 2017). "Cupuacu Review - Ep. 210". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22 – โดยทาง YouTube.
- Scalabrini, Osvaldo (28 April 2013). "Cupuaçu, Theobroma grandiflorum, cupuaçueiro, Flora amazônica, Endêmica do amazonas". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22 – โดยทาง YouTube.