กาศีวิศวนาถมนเทียร
กาศีวิศวนาถมนเทียร | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอวาราณสี |
เทพ | วิศเวศวร (พระศิวะ) |
เทศกาล | มหาศิวราตรี |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | พาราณสี |
รัฐ | รัฐอุตตรประเทศ |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 25°18′38.79″N 83°0′38.21″E / 25.3107750°N 83.0106139°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | มนเทียร |
ผู้สร้าง |
|
เสร็จสมบูรณ์ | 1780 |
ทำลาย |
|
เว็บไซต์ | |
shrikashivishwanath.org |
กาศีวิศวนาถมนเทียร (อังกฤษ: Kashi Vishwanath Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์บูชาพระศิวะ ตั้งอยู่ที่วิศวนาถคาลี ใกล้กับนครพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย มนเทียรนี้เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการจาริกแสวงบุญที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดสำหรับศาสนิกชนของลัทธิไศวะ และถือเป็นหนึ่งใน ชโยติรลึงค์ ทั้งสิบสอง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวิมานที่ประทับที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพระศิวะ มนเทียรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา และมีเทพองค์ประธานคือพระวิศวเนศวร ซึ่งแปลว่า "เจ้าแห่งจักรวาล" ส่วนชื่อ "กาศี" เป็นชื่อเดิมของนครพาราณสี
มนเทียรเคยถูกบุกเข้าทำลายหลายครั้ง ครั้งล่าสุดโดยจักรพรรดิโมกุล เอารังเซบ ผู้สร้างมัสยิดญาณวาปี ขึ้นทับแทนที่[1] มนเทียรหลังปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นใหม่อยู่ตรงข้ามกันโดยผู้นำของมราฐา อาหิลยาบาอี โหลกัร แห่งอินเทาร์ ในปี 1780[2] คณะกรรมการทรัสต์ของมนเทียรอยู่ภายใต้การจัดตั้งของรัฐบาลรัฐอุตตรประเทศ นับตั้งแต่ปี 1983 มา[3]
ตามตำนานในศิวปุราณะ พระพรหม กับ พระวิษณุ เคยถกเถียงกันถึงว่าผู้ใดมีความยิ่งใหญ่กว่ากัน[4] พระศิวะจึงเจาะรูขนาดใหญ่ทะลุโลกและตั้งเสาแสงที่มีความยาวเป็นอนันต์ เพื่อทดสอบกำลังของทั้งสอง เสาแสงนี้เรียกว่า ชโยติรลึงค์ ในตอนแรก พระวิษณุอวตารเป็นหมูป่า (วราหะ) เพื่อขุดดินลงไปหาฐานของเสา ส่วนพระพรหมอวตารเป็นหงส์ขึ้นไปบนฟ้าเพื่อหายอดของเสา พระพรหมอ้างว่าตนพบยอดของเสาแล้ว แม้จะไม่เป็นความจริง ในขณะที่พระวิษณุยอมรับความพ่ายแพ้ที่ตนไม่สามารถหาฐานของเสาได้ พระศิวะจึงลงโทษพระพรหมโดยการตัดเศียรที่ห้าออกและสาปแช่งให้ไม่มีใครเคารพบูชาพระพรหมอีก เนื่องจากพระวิษณุเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ จึงได้รับการเคารพบูชาอย่างมากเทียบเท่ากับพระศิวะ มนเทียรที่มีเทพองค์ประธานเป็นพระศิวะและพระวิษณุจึงสามารถพบเห็นได้ทั่วไป[5] มนเทียรที่เป็นชโยติรลึงค์จึงบูชาพระศิวะในรูปของเสาแสงอนันต์นี้ตามตำนาน[6][7] ดังที่ปรากฏบูชาในรูปของ ลึงค์ ซึ่งแทนเสา (สตมภ์) ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด อันเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นอนันต์ของพระศิวะ[8][9][10] กาศีวิศวนาถ เป็นหนึ่งใน 12 ชโยติรลึงค์นี้[4][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Akhil Bakshi (2004). Between heaven and hell: travels through Sri Lanka, Bangladesh, Bhutan, Nepal, and India: an account of the expedition hands across the borders. Odyssey Books.
- ↑ "Shri Kashi Vishwanath Temple - A Brief history".
- ↑ Dumper, Michael (2020). Power, piety, and people the politics of holy cities in the twenty-first century. New York. ISBN 978-0-231-54566-2. OCLC 1145080849.
- ↑ 4.0 4.1 R. 2003, pp. 92-95
- ↑ Saraswati, Saranyu S. (2020). Biological Decoding of the Hindu Gods and Goddesses (ภาษาอังกฤษ). Notion Press. ISBN 9781649516336.
- ↑ Eck 1999, p. 107
- ↑ See: Gwynne 2008, Section on Char Dham
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLochtefeld
- ↑ Harding 1998, pp. 158-158
- ↑ Vivekananda Vol. 4
- ↑ Chaturvedi 2006, pp. 58-72
บรรณานุกรม
[แก้]- Chaturvedi, B. K. (2006), Shiv Purana (First ed.), New Delhi: Diamond Pocket Books (P) Ltd, ISBN 81-7182-721-7
- Eck, Diana L. (1999), Banaras, city of light (First ed.), New York: Columbia University Press, ISBN 0-231-11447-8
- Gwynne, Paul (2009), World Religions in Practice: A Comparative Introduction, Oxford: Blackwell Publication, ISBN 978-1-4051-6702-4.
- Harding, Elizabeth U. (1998). "God, the Father". Kali: The Black Goddess of Dakshineswar. Motilal Banarsidass. pp. 156–157. ISBN 978-81-208-1450-9.
- Lochtefeld, James G. (2002), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M, Rosen Publishing Group, p. 122, ISBN 0-8239-3179-X
- R., Venugopalam (2003), Meditation: Any Time Any Where (First ed.), Delhi: B. Jain Publishers (P) Ltd., ISBN 81-8056-373-1
- Vivekananda, Swami. "The Paris Congress of the History of Religions". The Complete Works of Swami Vivekananda. Vol. 4.