ข้ามไปเนื้อหา

การเว้นระยะห่างทางสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การป้องกันการติดเชื้อขั้นสูงสุด (ซึ่งเรียกว่า การทำให้เส้นโค้งการระบาดราบลง) ช่วยให้หน่วยงานที่ดูแลสุขภาพไม่ต้องรับภาระหนักและช่วยให้มีเวลาในการพัฒนาวัคซีน/การรักษามากขึ้น การแพร่เชื้อในกรอบเวลาที่นานขึ้นยังช่วยให้หน่วยงานที่ดูแลสุขภาพสามารถจัดการปริมาณผู้ป่วยได้ดีขึ้นด้วย[1][2]
ทางเลือกอื่น ๆ ในการทำให้เส้นโค้งการระบาดราบลง[3][4]
ลูกค้ากำลังต่อแถวโดยเว้นระยะห่างเพื่อรอเข้าร้านขายเนื้อในเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563

การเว้นระยะห่างทางสังคม (อังกฤษ: social distancing) หรือ มาตรการเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ (physical distancing)[5][6][7] คือชุดการดำเนินการควบคุมการติดเชื้อโดยไม่ใช้ยา เพื่อหยุดหรือชะลอการแพร่กระจายของโรคติดต่อ วัตถุประสงค์ของการเว้นระยะห่างทางสังคมคือการลดโอกาสการสัมผัสระหว่างคนที่เป็นพาหะกับคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ติดเชื้อ เพื่อลดการแพร่เชื้อ การเจ็บป่วย และสุดท้าย การเสียชีวิต[8][9]

การเว้นระยะห่างทางสังคมจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อการติดเชื้อนั้นสามารถแพร่ผ่านการสัมผัสฝอยละออง (การไอหรือการจาม), การสัมผัสทางกายภาพโดยตรงซึ่งรวมถึงการสัมผัสทางเพศ, การสัมผัสทางกายภาพทางอ้อม (เช่น การสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนหรือเป็นพาหะนำเชื้อโรค) หรือการแพร่กระจายทางอากาศ (หากจุลชีพสามารถอยู่รอดในอากาศเป็นเวลานาน)[10]

การเว้นระยะห่างทางสังคมอาจมีประสิทธิภาพน้อยลงในกรณีที่การติดเชื้อนั้นแพร่กระจายเป็นหลักผ่านน้ำหรืออาหารที่มีการปนเปื้อนหรือผ่านตัวนำโรคเช่นยุงหรือแมลงอื่น ๆ และไม่บ่อยนักจากคนสู่คน[11] ข้อเสียของการเว้นระยะห่างทางสังคมอาจรวมถึงความเหงา ผลิตภาวะที่ลดลง และการเสียผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์

ตัวอย่างหนึ่งของการอ้างถึงการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เก่าแก่ที่สุดสามารถย้อนไปได้ถึงพระธรรมเลวีนิติ (ในไบเบิล) 13:46: "ตลอดวันเวลาที่เขาป่วยเป็นโรค ... เขาจะต้องอยู่โดยลำพัง ที่อาศัยของเขาจะอยู่ข้างนอกค่าย"[12] ในอดีต นิคมโรคเรื้อนและนิคมโรคติดต่อทางเรือได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคเรื้อนและโรคติดต่ออื่น ๆ ผ่านการเว้นระยะห่างทางสังคม[13] จนกระทั่งมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการแพร่เชื้อมากขึ้นและค้นพบวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ใช้ควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดต่อในปัจจุบัน ได้แก่ การกักด่าน การแยกผู้ป่วย การปิดสถานศึกษาและการเรียนออนไลน์[14] การปิดสถานที่ทำงาน[15] การยกเลิกการรวมตัวกันของฝูงชน (เช่น งานกีฬา การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์)[16] การปิดสิ่งอำนวยความสะดวกทางนันทนาการ (เช่น ชมรมเยาวชน สถานออกกำลังกาย)[17] และการปิดหรือการจำกัดระบบขนส่งสาธารณะ เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wiles, Siouxsie (9 March 2020). "The three phases of Covid-19 – and how we can make it manageable". The Spinoff. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  2. Anderson, Roy M; Heesterbeek, Hans; Klinkenberg, Don; Hollingsworth, T Déirdre (March 2020). "How will country-based mitigation measures influence the course of the COVID-19 epidemic?". The Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(20)30567-5. A key issue for epidemiologists is helping policy makers decide the main objectives of mitigation—e.g., minimising morbidity and associated mortality, avoiding an epidemic peak that overwhelms health-care services, keeping the effects on the economy within manageable levels, and flattening the epidemic curve to wait for vaccine development and manufacture on scale and antiviral drug therapies.
  3. Wiles, Siouxsie (14 March 2020). "After 'Flatten the Curve', we must now 'Stop the Spread'. Here's what that means". The Spinoff. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  4. Anderson RM, Heesterbeek H, Klinkenberg D, Hollingsworth TD (March 2020). "How will country-based mitigation measures influence the course of the COVID-19 epidemic?". Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(20)30567-5.
  5. Harris, Margaret; Adhanom Ghebreyesus, Tedros; Liu, Tu; Ryan, Michael "Mike" J.; Vadia; Van Kerkhove, Maria D.; Diego; Foulkes, Imogen; Ondelam, Charles; Gretler, Corinne; Costas (2020-03-20). "COVID-19" (PDF). World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-29.
  6. Hensley, Laura (2020-03-23). "Social distancing is out, physical distancing is in — here's how to do it". Global News. Corus Entertainment Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-29.
  7. Venske, Regula (2020-03-26). Schwyzer, Andrea (บ.ก.). "Die Wirkung von Sprache in Krisenzeiten" [The effect of language in times of crisis] (Interview). NDR Kultur (ภาษาเยอรมัน). Norddeutscher Rundfunk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27. (NB. Regula Venske is president of the PEN Centre Germany.)
  8. Johnson, Carolyn Y.; Sun, Lena; Freedman, Andrew (2020-03-10). "Social distancing could buy U.S. valuable time against coronavirus". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2020-03-11.
  9. Pandemic Planning - Social Distancing Fact Sheet
  10. ""Information about Social Distancing," Santa Clara Public Health Department" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  11. "Interim Pre-Pandemic Planning Guidance: Community Strategy for Pandemic Influenza Mitigation in the United States—Early, Targeted, Layered Use of Nonpharmaceutical Interventions," CDC, Feb 2007
  12. Bible Gateway, Authorized King James Version, Leviticus 13:46
  13. Charles Léon Souvay, "Leprosy," Catholic Encyclopedia (1913), Volume 9.
  14. Cauchemez S, Ferguson NM, Wachtel C, Tegnell A, Saour G, Duncan B, Nicoll A (2009). "Closure of schools during an influenza pandemic". The Lancet Infectious Diseases. 9 (8): 473–481. doi:10.1016/s1473-3099(09)70176-8. PMID 19628172.
  15. Kumar S, Crouse Quinn S, Kim KH, Daniel LH, Freimuth VS (2012). "The Impact of Workplace Policies and Other Social Factors on Self-Reported Influenza-Like Illness Incidence During the 2009 H1N1 Pandemic". American Journal of Public Health. 102 (1): 134–140. doi:10.2105/AJPH.2011.300307. PMC 3490553. PMID 22095353.
  16. R. Booy and J. Ward, "Evidence compendium and advice on social distancing and other related measures for response to an influenza pandemic," National Centre for Immunisation Research and Surveillance. เก็บถาวร 2015-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. "Flu Pandemic Mitigation - Social Distancing"