ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่ศะบราและชาตีลา

พิกัด: 33°51′46″N 35°29′54″E / 33.8628°N 35.4984°E / 33.8628; 35.4984
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่ศะบราและชาตีลา
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองเลบานอน
อนุสรณ์ในศะบรา บนป้ายแสดงภาพถ่ายร่างของเหยื่อจากการสังหารหมู่บนท้องถนน หนึ่งในนั้นได้รางวัลภาพข่าวโลกแห่งปี[1]
ศะบราและชาตีลาตั้งอยู่ในประเทศเลบานอน
ศะบราและชาตีลา
ศะบราและชาตีลา
สถานที่เบรุต ประเทศเลบานอน
พิกัด33°51′46″N 35°29′54″E / 33.8628°N 35.4984°E / 33.8628; 35.4984
วันที่16–18 กันยายน 1982
เป้าหมายศะบราและชาตีลา
ประเภทการสังหารหมู่
ตาย1,300 ถึง 3,500+
ผู้เสียหายชาวปาเลสไตน์, ชาวชีอะฮ์เลบานอน
ผู้ก่อเหตุ กองกำลังเลบานอน, กองทัพเลบานอนใต้ (โจมตี)
 กองทัพอิสราเอล (สนับสนุน)

การสังหารหมู่ที่ศะบราและชาตีลา (อาหรับ: مجزرة صبرا وشاتيلا; ฮีบรู: טבח סברה ושתילה; Sabra and Shatila massacre) ระหว่างวันที่ 16–18 กันยายน ค.ศ. 1982 เป็นเหตุการณ์การสังหารหมู่พลเมือง 1,300 ถึง 3,500 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์และชีอะฮ์เลบานอนในนครเบรุตระหว่างสงครามกลางเมืองเลบานอน โดยมีผู้ก่อเหตุคือกองกำลังเลบานอน ส่วนหนึ่งของกองกำลังกึ่งกองทัพของชาวคริสต์ในเลบานอน และได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ซึ่งเข้าปิดล้อมพื้นที่เขตศะบราและค่ายผู้ลี้ภัยชาตีลาที่อยู่ติดกัน[2]

ในเดือนมิถุนายน 1982 อิสราเอลบุกรุกเข้าเลบานอนโดยวัตถุประสงค์ในการถอนรากถอนโคน PLO และในวันที่ 30 สิงหาคม 1982 ภายใต้การดูแลของ กองกำลังนานาชาติ PLO ถอนตัวออกจากเบรุตไม่นานก่อนการสังหารหมู่นี้จะเกิดขึ้น กองกำลังหลายฝ่าย ทั้งของอิสราเอล เลบานอน และเป็นไปได้ว่ารวมถึงกองทัพเลบานอนใต้ (SLA) ประจำการณ์อยู่ไม่ไกลจากศะบราและชาตีลาในขณะที่เกิดเหตุ และใช้โอกาสที่กองกำลังนานาชาติรื้อถอนเอารั้วและระเบิดทุ่นที่ล้อมรอบย่านชุมชนชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของเบรุตออก ทุ่นระเบิดและรั้วกั้นเหล่านี้กั้นไม่ให้กองกำลังอิสราเอลบุกเข้ามาได้ในระหว่างการยึดเบรุต[3] อิสราเอลเดินทางเข้าสู่เบรุตตะวันตกหลัง PLO ถอนกำลังออก และยินยอมให้กองกำลังเลบานอนเข้าบุกรุกบริเวณ แม้จะมีข้อตกลงหยุดยิงของกองกำลังที่ปะทะกันก่อนหน้าบังคับใช้อยู่ก็ตาม[4]

การสังหารพลเมืองเป็นที่เข้าใจว่าอยู่ภายใต้คำสั่งของนักการเมืองชาวเลบานอน เอลี ฮอเบกา ผู้ซึ่งครอบครัวและคู่หมั้นถูกกองกำลังปาเลสไตน์และกองกำลังกึ่งกองทัพเลบานอนฝ่ายซ้ายฆาตกรรมระหว่างการสังหารหมู่ดามัวร์ในปี 1976 ซึ่งเป็นการตอบโต้การสังหารหมู่การันตีนาที่กองกำลังคริสต์สังหารชาวปาเลสไตน์และชีอะฮ์เลบานอน[5][6][7][8] มีทหารรวม 300 ถึง 400 คน ที่มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่[9] ขณะเกิดการสังหารหมู่ IDF ได้รับรายงานถึงความเลวร้ายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น กระนั้นไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อหยุดยั้งการกระทำเหล่านี้[10] แต่กลับสั่งการให้ทหารประจำการตามจุดทางเข้าออกต่าง ๆ ของพื้นที่ เพื่อกั้นไม่ให้ผู้อยู่อาศัยของศะบราและชาตีลาหลบหนีออกได้[11] ว่ากันว่าแสงวาบจากพลุแฟลร์ขณะก่อสังหารผู้อยู่อาศัยในศะบราและชาตีลาจุดให้ค่ำคืนของการสังหารหมู่สว่างไปด้วยแสงไฟ[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "1982, Robin Moyer, World Press Photo of the Year, World Press Photo of the Year". archive.worldpressphoto.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2012. สืบค้นเมื่อ 16 August 2015.
  2. Fisk 2001, pp. 382–383; Quandt 1993, p. 266; Alpher 2015, p. 48; Gonzalez 2013, p. 113
  3. Hirst 2010, p. 154.
  4. Anziska, Seth (17 September 2012). "A Preventable Massacre". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2014. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
  5. Mostyn, Trevor (2002-01-25). "Obituary: Elie Hobeika". The Guardian. guardian.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2017. สืบค้นเมื่อ 16 August 2015.
  6. Friedman 1982. Also articles in The New York Times on the 20, 21, and 27 September 1982.
  7. Harris, William W. (2006). The New Face of Lebanon: History's Revenge. Markus Wiener Publishers. p. 162. ISBN 978-1-55876-392-0. สืบค้นเมื่อ 27 July 2013. the massacre of 1,500 Palestinians, Shi'is, and others in Karantina and Maslakh, and the revenge killings of hundreds of Christians in Damour
  8. Hassan, Maher (24 January 2010). "Politics and war of Elie Hobeika". Egypt Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2023. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
  9. Bulloch, John (1983). Final Conflict: The War in Lebanon. Century London. p. 231. ISBN 0-7126-0171-6.
  10. Malone, Linda A. (1985). "The Kahan Report, Ariel Sharon and the Sabra Shatilla Massacres in Lebanon: Responsibility Under International Law for Massacres of Civilian Populations". Utah Law Review: 373–433. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2023. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  11. Hirst 2010, p. 157: "The carnage began immediately. It was to continue without interruption till Saturday noon. Night brought no respite; the Lebanses Forces liaison officer asked for illumination and the Israelis duly obliged with flares, first from mortars and then from planes."
  12. Friedman, Thomas (1995). From Beirut to Jerusalem. Macmillan. p. 161. ISBN 978-0-385-41372-5. From there, small units of Lebanese Forces militiamen, roughly 150 men each, were sent into Sabra and Shatila, which the Israeli army kept illuminated through the night with flares.
  13. Cobban, Helena (1984). The Palestinian Liberation Organisation: people, power, and politics. Cambridge University Press. p. 4. ISBN 978-0-521-27216-2. and while Israeli troops fired a stream of flares over the Palestinian refugee camps in the Sabra and Shatila districts of West Beirut, the Israeli's Christian Lebanese allies carried out a massacre of innocents there which was to shock the whole world.