การสะสมธาตุเคมี
การสะสมธาตุเคมี เป็นงานอดิเรก ว่าด้วยการเก็บสะสมธาตุเคมี นักสะสมธาตุเคมีส่วนใหญ่มักสะสมเพื่อศึกษาหรือจัดแสดงธาตุรวมถึงคุณสมบัติที่แตกต่างไปตามแต่ละธาตุ ในขณะที่บางคนก็สะสมธาตุโดยไม่มีเหตุผลในทางปฏิบัติ นักสะสมธาตุบางคนมีเหตุผลด้านลงทุนจัดซื้อธาตุ ในขณะที่นักเคมีบางคนสะสมธาตุหนึ่ง ๆ จำนวนมาก เช่น โอลิเวอร์ แซกส์ เป็นต้น[1] ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การสะสมธาตุได้รับความนิยมจากความสนใจของสื่อที่จัดแสดงโดยนักสะสมธาตุเคมีอย่าง ธีโอดอร์ เกรย์
อย่างไรก็ตาม การสะสมธาตุเคมีในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องด้วยราคาเคมีภัณฑ์สูง การจัดซื้อที่ยาก และกฎหมายคุ้มครองจำกัดบางอย่าง
การครอบครองธาตุเคมี
[แก้]นักสะสมบางคนพยายามเก็บตัวอย่างของธาตุที่มีความบริสุทธิ์สูงของแต่ละธาตุ คนบางกลุ่มอาจเลือกที่จะค้นหาธาตุในการใช้งานประจำวัน บางคนอาจไม่เห็นด้วยกับการสะสมธาตุในรูปสารประกอบหรือ โลหะผสม ในขณะที่คนอื่นเห็นว่าสิ่งนี้ยอมรับได้ นักสะสมอาจใช้การแยกสารจากสารประกอบในบ้านของตนเอง ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจน สามารถแยกได้ง่ายผ่านการสลายพันธะด้วยไฟฟ้าของน้ำ[2]
นอกจากการสะสมตัวอย่างธาตุแล้ว นักสะสมธาตุบางคนยังสะสมสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับธาตุ เช่น สินค้าที่ผลิตซึ่งมีธาตุต่าง ๆ หินและแร่ที่มีธาตุนั้นในรูปสารประกอบ หรือสารประกอบของธาตุ ผู้ผลิตบางรายยังขายเหรียญที่ทำจากธาตุบริสุทธิ์และลูกบาศก์ที่ทำจากธาตุบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้จาก เว็บไซต์ประมูล เช่น eBay
ปัจจุบัน ร้านจัดจำหน่ายบางแห่งพยายามลงตลาดกับการสะสมธาตุ แม้กระทั่งการขายในปริมาณมากเป็นชุด[3] เนื่องจากการซื้อธาตุจากบริษัทจำหน่ายเคมีภัณฑ์ขนาดใหญ่มักเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและมีข้อจำกัดสำหรับบุคคลทั่วไป กระทั่งมีผู้ให้จำหน่ายตัวอย่างธาตุเคมีอย่างเป็นสาธารณะทางเว็บไซต์ มีผู้จัดจำหน่ายที่จัดตั้งขึ้น อาทิ Nova Elements, RGB Elements, Smart Elements, SMT Metalle Wimmer, PEGUYS, Metallium, Collect the Periodic Table, Luciteria และ Onyxmet การสะสมธาตุทำให้เกิดความท้าทายมากมาย ธาตุบางชนิด เช่น ปรอท เบริลเลียม แทลเลียม พลูโตเนียม และ สารหนู เป็นพิษอันตราย จึงหายากหรือถูกจำกัดต่อการขนส่ง บางธาตุหายากมากในการใช้งานเชิงพาณิชย์ เช่น สแกนเดียม ลูเทเทียม และ ทูเลียม ดังนั้นจึงหาซื้อได้ยากหรือมีราคาค่อนข้างแพง บางชนิด เช่น ซีเซียม ฟอสฟอรัสขาว และ ฟลูออรีน เสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาร้ายแรงและมีข้อจำกัดในการขนส่ง สารอื่น ๆ เช่น แกลเลียม ทำปฏิกิริยากับ อะลูมิเนียม โดยจะกัดกร่อนอย่างรวดเร็ว (เป็นวัสดุโครงสร้างในเครื่องบิน)[4] ธาตุบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัสและไอโอดีน ถูกควบคุมเนื่องจากใช้ในเคมีลับ[5] สารอื่น ๆ เช่น เรดอนและแอสทาทีน เป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี และมีครึ่งชีวิตสั้นเกินไปสำหรับการสะสมในทางปฏิบัติ นอกเหนือจากอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี โดยปกติจะรวบรวมเฉพาะธาตุที่เสถียรตั้งแต่ไฮโดรเจนไปจนถึงบิสมัท (ยกเว้นเทคนีเทียม ธาตุกัมมันตภาพรังสี และโพรมีเทียม) ยกเว้นทอเรียมและยูเรเนียม ที่มีไอโซโทปครึ่งชีวิตยาวนาน และอาจเป็นไปได้ที่จะจัดหาธาตุกัมมันตภาพรังสีอื่น ๆ เช่น เรเดียม (โดยปกติจะอยู่ในรูปของ เรเดียมซัลเฟต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสีเรืองแสงบนเข็มนาฬิกาโบราณ[6])อะเมริเซียม (ในรูปของแหล่งกำเนิดรังสีที่บรรจุอะเมริเซียม 0.29 ไมโครกรัมที่สกัดจากเครื่องตรวจจับควันบางชนิด[7]) โพรมีเทียม (มักอยู่ในรูปของสีเรืองแสงในสัญญาณไฟ[8][9]) และเทคนีเชียม (มีการขาย แต่มักมีราคาสูง)
ดูเพิ่ม
[แก้]- ตารางธาตุ
- ราคาขององค์ประกอบทางเคมี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sacks, Oliver (2001). Uncle Tungsten: Memories of a Chemical Boyhood. Vintage Books. ISBN 978-0-375-40448-1.
- ↑ Gray, Theodore. "The Wooden Periodic Table Table". สืบค้นเมื่อ 20 November 2010.
- ↑ Gray, Theodore. "How to Get Your Own Element Collection". สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "Publication 52, Hazardous, Restricted, and Perishable Mail" (PDF). USPS. January 2008.
- ↑ "2007 - Changes in the Regulation of Iodine Crystals and Chemical Mixtures Containing Over 2.2 Percent Iodine". www.deadiversion.usdoj.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
- ↑ "Radium - Properties, applications and Radium Uses | Periodic Table". BYJUS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
- ↑ "Americium Element Uses in Everyday Life". study.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
- ↑ Sanovar, Lohia (19 Dec 2021). "Promethium: Uses, Properties, Precautions". Collegedunia. สืบค้นเมื่อ 8 Mar 2022.
- ↑ "Technetium - Sciencemadness Wiki". www.sciencemadness.org. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.