ข้ามไปเนื้อหา

การระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอฟไอดีแบบที่เห็นได้ในปัจจุบัน ติดตั้งในรถสำหรับจ่ายค่าผ่านทาง
กุญแจอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การเข้ารหัสด้วยอาร์เอฟไอดี
วงจรอาร์เอฟไอดีชนิด อีพีซีที่ใช้ในวอล-มาร์ต

การระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ (อังกฤษ: Radio-frequency identification) หรือ อาร์เอฟไอดี (RFID) เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้

แท็กอาร์เอฟไอดีจะประกอบไปด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนวงจรไฟฟ้าที่เก็บข้อมูลและคำนวณการของข้อมูล และอีกส่วนคือส่วนเสาอากาศหรือตัวรับส่งสัญญาณ

RFID tag มีการทำงานบางส่วนที่สามารถทำงานได้ในขณะที่ไม่มีแบตเตอรี่ และมีแบตเตอรี่ นั้นคือการอ่านและเขียนบน EEPROM ผ่านทาง Low frequency radio

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]