ข้ามไปเนื้อหา

การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซัดดัม ฮุสเซน

การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน มีขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (วันแรกของอีดิลอัดฮา) ซัดดัมถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ หลังพบว่ามีความผิดจริงและถูกพิพากษาฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยคณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก ในการฆาตกรรมชาวอิรักชีอะฮ์ 148 คนในเมืองดูเญล เมื่อ พ.ศ. 2525 เพื่อเป็นการแก้แค้นต่อความพยายามลอบสังหารตัวเขา[1]

ซัดดัม ฮุสเซนเป็นประธานาธิบดีอิรักตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ถึง 9 เมษายน พ.ศ. 2546 เมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งระหว่างการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังผสมพันธมิตรนำโดยสหรัฐ หลังการจับกุมตัวซัดดัมในอัดดาวร์ ใกล้ติกรีตเมืองเกิดของเขา เขาถูกกักขังที่ค่ายครอปเปอร์ และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เขาถูกนำตัวไปยังเรือนจำเพื่อประหารชีวิต รัฐบาลอิรักออกวิดีโอเทปการประหารชีวิตเขาอย่างเป็นทางการ แสดงภาพเขากำลังถูกนำไปยังตะแลงแกง และจบลงหลังศีรษะของเขาอยู่ในห่วงเพชฌฆาต การโต้แย้งสาธารณะระหว่างประเทศมีขึ้นเมื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตบันทึกการแขวนคอ แสดงภาพเขาตกลงไปผ่านประตูกลของตะแลงแกง บรรยากาศอันไม่เป็นมืออาชีพและไม่ให้เกียรติของการประหารชีวิตเรียกข้อโต้แย้งทั่วโลกจากชาติซึ่งทั้งคัดค้านและสนับสนุนโทษประหารชีวิต วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศพของเขาถูกนำกลับไปอัลเอาว์ญา สถานที่เกิดของเขา ใกล้กับติกรีต และถูกฝังใกล้หลุมศพของสมาชิกครอบครัวคนอื่นของเขา ศพของซัดดัมไม่เคยถูกแสดง

การประหารชีวิต

[แก้]

ซัดดัมถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อเวลาประมาณ 6.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (03:00 GMT) ของวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นวันที่ชาวอิรักซุนนีย์เริ่มเฉลิมฉลองอีดัลอัดฮา[2][3][4] รายงานไม่ตรงกันเกี่ยวกับเวลาที่แน่ชัดของการประหารชีวิต บ้างรายงานว่า 6.00 น., 6.05 น. หรือบ้างก็ว่า 6.10 น.[2][4][5] การประหารชีวิตมีขึ้นในฐานทัพร่วมอิรัก-อเมริกัน ค่ายจัสติส ตั้งอยู่ในคาซิเมน ชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงแบกแดด ค่ายจัสติสเดิมซัดดัมใช้เป็นกองบัญชาการข่าวกรองทางทหารของเขา ซึ่งในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ ค่ายบันไซ ที่ซึ่งพลเรือนอิรักถูกนำตัวมาทรมานและประหารชีวิตบนตะแลงแกงเดียวกันนี้ โดยขัดต่อรายงานเบื้องต้น ซัดดัมถูกประหารชีวิตแต่เพียงผู้เดียว มิใช่พร้อมกับจำเลยร่วมบาร์แซน อิบราฮิม อัล-ตีกริติ และอาวัด ฮาเหม็ด อัล-บันเดอร์ ซึ่งถูกประหารชีวิตในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550

พิธีฝัง

[แก้]

ศพของซัดดัมถูกฝังในอัลเอาว์ญา สถานที่เกิดของเขาในติกริต ประเทศอิรัก ใกล้กับสมาชิกครอบครัวของเขา รวมทั้งบุตรชายทั้งสอง อูเดย์และคูเซย์ ฮุสเซน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม เมื่อเวลา 4.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (01:00 GMT)[6][7][8] ศพของเขาถูกเคลื่อนย้ายไปยังติกริตโดยเฮลิคอปเตอร์ทหารสหรัฐ เขาถูกฝังห่างจากบุตรชายทั้งสองของเขาสามกิโลเมตรในสุสานเดียวกัน บุตรสาวคนโตสุดของซัดดัม รากัด ฮุสเซน ซึ่งอยู่ในระหว่างลี้ภัยในจอร์แดน ได้ร้องขอให้ "ฝังศพเขาในเยเมนชั่วคราวจนกระทั่งอิรักถูกปลดปล่อยแล้วค่อยนำไปฝังใหม่ในอิรัก" โฆษกตระกูลกล่าวผ่านโทรศัพท์[9]

ปฏิกิริยา

[แก้]

ปฏิกิริยาต่อการเสียชีวิตของซัดดัมนั้นมีหลากหลาย บ้างสนับสนุนการประหารชีวิตอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นการส่วนตัวต่อพฤติการณ์ของซัดดัมสมัยเป็นผู้นำอิรัก เหยื่อเหล่านี้บ้างต้องการให้เขาถูกนำตัวพิจารณาสำหรับพฤติการณ์อื่น โดยอ้างว่าส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมากกว่าพฤติการณ์ที่เขาถูกตัดสินนัก บ้างเชื่อว่าการประหารชีวิตจะเพิ่มขวัญกำลังใจในอิรัก ขณะที่บ้างเกรงว่าอาจจุดประกายความขัดแย้งเพิ่มขึ้น หลายประเทศสนับสนุนการนำตัวซัดดัมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่คัดค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการใช้โทษประหารชีวิต ซึ่งขณะนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในยุโรปส่วนใหญ่ อเมริกาใต้ แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ผู้สนับสนุนซัดดัมประณามการประหารชีวิตนี้ว่าไร้ความยุติธรรม

โฆษกหญิงประจำตัวบุตรสาวของซัดดัมรายงานว่า "พวกเขารู้สึกภูมิใจมากที่เห็นบิดาของตนเผชิญหน้ากับเพชฌฆาตอย่างกล้าหาญ"[10] ในอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน รากัด ฮุสเซน บุตรสาวคนโตสุดของซัดดัม เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการประหารชีวิตบิดาของเธอ[11] ผู้ประท้วงแสดงอารมณ์ว่าซัดดัมเป็นมรณสักขีและเขาเป็นเพียงผู้นำอาหรับเพียงคนเดียวที่ปฏิเสธสหรัฐอเมริกา[12] มุสลิมชีอะฮ์ในอิรักเฉลิมฉลองต่อการประหารชีวิต ขณะที่มุสลิมซุนนีย์ประท้วง[2][10]

หลังการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำหลายประเทศได้ออกแถลงการณ์ โดยผู้นำอินเดีย กัมพูชา ศรีลังกา บราซิลและเวเนซุเอลาแสดงการคัดค้านการประหารชีวิต[13] ผู้นำและรัฐบาลหลายประเทศทวีปยุโรปยังแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างแข็งขันในการใช้โทษประหารชีวิตในทุกกรณี ซึ่งมีทั้งออสเตรีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Saddam buried in village of his birth". Associated Press. 2006-12-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-07. สืบค้นเมื่อ 2006-12-31.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Saddam Hussein executed, ending era in Iraq". MSNBC. 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
  3. "Saddam Hussein executed in Iraq". BBC News. 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
  4. 4.0 4.1 "Saddam Body Flown Home". Sky News. 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
  5. "Saddam hanged but no let-up in Iraq violence". Reuters. 2006-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-01-05.[ลิงก์เสีย][ลิงก์เสีย]
  6. "Iraqis gather in Saddam hometown after burial". Reuters. 2006-12-30. สืบค้นเมื่อ 2006-12-30.
  7. "Report: Saddam Hussein to be buried with sons". CNN. 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
  8. "Report: Saddam is buried in home village". BBC. 2006-12-31. สืบค้นเมื่อ 2006-12-30.
  9. "Saddam daughter asking body be buried in Yemen". Reuters. 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
  10. 10.0 10.1 "Saddam death 'ends dark chapter'". BBC. 2006-12-30. สืบค้นเมื่อ 2006-12-30.
  11. Saddam's supporters vow revenge BBC News, 2007-01-01
  12. "طفل باكستاني يشنق نفسه أثناء اللعب مقلدا إعدام صدام حسين (Raghad Saddam Hussein attends a protest in Jordan to protest the execution of her father)" (ภาษาอาหรับ). Al-Arabiya. 2007-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
  13. "CPI(M) cadres burn effigy of George Bush". The Hindu. Chennai, India. 2006-12-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-01-01.