ข้ามไปเนื้อหา

การประชุมสุดยอดอาเซียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมสุดยอดอาเซียน
คำขวัญ"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
สีเขียวคือสมาชิกอาเซียน
สีเขียวคือสมาชิกอาเซียน
สำนักงานใหญ่ อินโดนีเซีย
รัฐสมาชิก
ผู้นำ
• 
 อินโดนีเซีย[1]
• ประธาน
ลาว สอนไซ สีพันดอน
กัมพูชา เกา กึมฮวน
สถาปนา8 สิงหาคม 2510

การประชุมสุดยอดอาเซียน[2] (อังกฤษ: ASEAN Summit) เป็นการประชุมประจำปีที่จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ของเหล่าสมาชิก

ประวัติ

[แก้]

ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี[3] อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[3] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[4]

การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้

  • ผู้นำของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
  • ผู้นำของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการ
ครั้งที่ วันที่ ประเทศ สถานที่จัดการประชุม
1 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย บาหลี
2 4-5 สิงหาคม 2520 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
3 14-15 ธันวาคม 2530 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ มะนิลา
4 27-29 มกราคม 2535  สิงคโปร์ สิงคโปร์
5 14-15 ธันวาคม 2538  ไทย กรุงเทพมหานคร
6 15-16 ธันวาคม 2541 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม ฮานอย
7 5-6 พฤศจิกายน 2544 ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
8 4-5 พฤศจิกายน 2545 ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา พนมเปญ
9 7-8 ตุลาคม 2546 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย บาหลี
10 29-30 พฤศจิกายน 2547 ธงของประเทศลาว ลาว เวียงจันทน์
11 12-14 ธันวาคม 2548 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
12 11-14 มกราคม 25501 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์2 เซบู
13 18-22 พฤศจิกายน 2550  สิงคโปร์ สิงคโปร์
143 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552  ไทย ชะอำ, หัวหิน
10–11 เมษายน 2552 พัทยา
15 23-25 ตุลาคม 2552 ชะอำ, หัวหิน
16 8-9 เมษายน 2553 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม ฮานอย
17 28-31 ตุลาคม 2553
18 7-8 พฤษภาคม 2554 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย4 จาการ์ตา
19 14-19 พฤศจิกายน 2554 บาหลี
20 3-4 เมษายน 2555 ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา พนมเปญ
21 17–20 พฤศจิกายน 2555
22 24–25 เมษายน 2556 ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
23 9–10 ตุลาคม 2556
24 10–11 พฤษภาคม 2557 ธงของประเทศพม่า พม่า กรุงเนปยีดอ
25 10–12 พฤศจิกายน 2557
26 26‒27 เมษายน 2558 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์, เกาะลังกาวี
27 18–22 พฤศจิกายน 2558 กัวลาลัมเปอร์
28 6–8 กันยายน 2559 ธงของประเทศลาว ลาว เวียงจันทน์
29
30 26-27 เมษายน 2560 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ปาไซ
31 10-14 พฤศจิกายน 2560
32 25-28 เมษายน 2561  สิงคโปร์ สิงคโปร์
33 11–15 พฤศจิกายน 2561
34 20–23 มิถุนายน 2562[5]  ไทย กรุงเทพมหานคร
35 31 ตุลาคม–4 พฤศจิกายน 2562[6] กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี[7][8]
36 14 เมษายน 2563 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม ฮานอย (ประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์)5
37 11–15 พฤศจิกายน 2563
387 26–28 ตุลาคม 2564 ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์)5
397
407 10–13 พฤศจิกายน 2565 ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา พนมเปญ
417
427 9–11 พฤษภาคม 2566 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ลาบูอันบาโจ
437 5–7 กันยายน 2566 จาการ์ตา
447 6–11 ตุลาคม 2567 ธงของประเทศลาว ลาว เวียงจันทน์
457
1 การประชุมเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 10-14 ธันวาคม เนื่องจากภัยไต้ฝุ่น.
2 พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป.
3 การประชุมถูกเลื่อนออกไปสองครั้งเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล.
4 อินโดนีเซียเสนอแลกเปลี่ยนกับบรูไนอาจจะเป็นเจ้าภาพเอเปค (และอาจมีการประชุม G20) ในปี 2013.
5 เวียดนามและบรูไนเป็นประธานการประชุมสมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบการประชุมทางไกล.
6 เลื่อนจากกำหนดเดิมปลายเดือนเมษายน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยเวียดนามเป็นประธานการประชุม.
7 ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 38 พม่าซึ่งอยู่ในสถานการณ์การประท้วงอันสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม แม้อาเซียนจะมีหนังสือเชิญผู้แทนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ตาม[9][10][11]


การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4

[แก้]

จัดขึ้นใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) การประชุมในครั้งนี้ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของเหล่าประเทศสมาชิก ในการป้อนหรือส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลก โดยเปิดเสรีทางการค้าและลดภาษีซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ รวมทั้งลดข้อกีดขวางทางการค้าต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาษีด้วย

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12

[แก้]

การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผู้นำอาเซียนได้เลื่อนการจัดตั้งสมาคมอาเซียนจากเดิมที่จะจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ให้มาเป็น พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เร็วขึ้นจากเดิมห้าปี นอกจากนี้ ยังมีการตรากฎบัตรอาเซียนขึ้นเป็นกรอบทางสถาบันและกฎหมายอันมีผลใช้บังคับแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก

การประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษ

[แก้]

การประชุมสุดยอดอาเซียน และผู้นำอเาซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) สมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยเป็นการประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์ ที่ประชุมได้สนับสนุนข้อเสนอของไทยเกี่ยวกับการจัดตั้ง “กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19” เพื่อจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยพัฒนายาและวัคซีน[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.lowyinterpreter.org/post/2010/06/29/Indonesia-as-ASEAN-Chair-A-test-of-democracy.aspx
  2. "การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)". กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 20 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 ASEAN Structure เก็บถาวร 2007-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASEAN Primer.
  4. Denis Hew (2005). Roadmap to an Asean Economic Community. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-230-347-2.
  5. "รายละเอียดการประชุม 34th ASEAN Summit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
  6. "รายละเอียดการประชุม 35th ASEAN Summit and Related Summits". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
  7. กำหนดการสื่อมวลชน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง เก็บถาวร 2020-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเทพฯ และนนทบุรี
  8. "ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-01. สืบค้นเมื่อ 2019-11-01.
  9. "ASEAN summit begins without Myanmar after top general barred". Al Jazeera. October 26, 2021. สืบค้นเมื่อ November 3, 2021.
  10. "Southeast Asia leaders struggle with Myanmar crisis at summit". Al Jazeera. November 11, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  11. Widakuswara, Patsy (September 6, 2023). "Myanmar's Seat Empty as VP Harris Speaks to ASEAN Leaders". Voice of America. สืบค้นเมื่อ January 4, 2024.
  12. "'อาเซียน' ตั้งกองทุน ระดมซื้ออุปกรณ์สู้โควิด". ฐานเศรษฐกิจ. 17 เมษายน 2563.

ดูเพิ่ม

[แก้]