การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ
การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ the climate movement | |||
จำนวนผู้ประท้วงต่อประเทศ:
<1000
1000+
10000+
100000+
1000000+ | |||
วันที่ | ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ.2018, ส่วนใหญ่จัดในวันศุกร์ บางครั้งในวันพฤหัสบดี, วันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ | ||
สถานที่ | ทั่วโลก | ||
สาเหตุ | กลุ่มนักการเมืองที่ไม่จัดการกับภาวะโลกร้อน | ||
เป้าหมาย | Climate change mitigation | ||
วิธีการ | Student strike | ||
สถานะ | ยังดำเนินต่อ | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
| |||
จำนวน | |||
การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ (อังกฤษ: school strike for climate) หรือเดิมชื่อ วันศุกร์เพื่ออนาคต (อังกฤษ: Fridays for Future), เยาวชนเพื่อภูมิอากาศ (อังกฤษ: Youth for Climate), การประท้วงของเยาวชนเพื่อภูมิอากาศ (อังกฤษ: Youth Strike 4 Climate) เป็นขบวนการนักเรียนนานาชาติซึ่งตัดสินใจไม่เข้าเรียนแล้วเข้าร่วมการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น ความมีชื่อเสียงและการจัดระเบียบอย่างกว้างขวางเริ่มขึ้นเมื่อนักกิจกรรมภูมิอากาศ เกรียตา ทืนแบร์ย จัดการปฏิบัติในเดือนสิงหาคม 2561 นอกรัฐสภาสวีเดน ถือป้ายเขียนว่า "การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ"[4][5]
เกรียตา ทืนแบร์ย
[แก้]วันที่ 20 สิงหาคม 2561 เกรียตา ทืนแบร์ย นักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน[6] ซึ่งขณะนั้นศึกษาอยู่ในชั้นเกรด 9 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3) ตัดสินใจไม่เข้าเรียนจนกระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศสวีเดนปี 2561 ในวันที่ 9 กันยายนหลังเกิดคลื่นความร้อนและไฟป่าหลายระลอกในประเทศ เธอกล่าวว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจากนักกิจกรรมวัยรุ่น ณ ไฮสกูลมาร์จอรี สโตนแมน ดักลาสในปาร์กแลนด์ รัฐฟลอริดา ซึ่งจัดการเดินขบวนเพื่อชีวิตของเรา (March for Our Lives)[7][8] ทืนแบร์ยประท้วงโดยนั่งอยู่นอกรัฐสภาทุกวันระหว่างชั่วโมงเรียนพร้อมป้ายเขียนว่า "Skolstrejk för klimatet" (การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ)[9] ในบรรดาข้อเรียกร้องของเธอให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยคาร์บอนตามความตกลงปารีส วันที่ 7 กันยายน ก่อนการเลือกตั้งเล็กน้อย เธอประกาศว่าเธอจะนัดหยุดเรียนทุกวันศุกร์จนประเทศสวีเดนปฏิบัติตามความตกลงปารีส เธอประดิษฐ์คำขวัญ วันศุกร์เพื่ออนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลก เธอเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนทั่วโลกเข้าร่วมการนัดหยุดเรียนดังกล่าว[10]
การประท้วงเพื่อภูมิอากาศ ในเดือนกันยายน 2562
[แก้]กลุ่มขบวนการนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ (School strike for Climate) ได้ประกาศวันนัดประท้วงครั้งใหญ่ทั่วโลก 2 วัน ในเดือนกันยายน 2562 [11]
วันแรกคือ 20 กันยายน เรียกว่า Climate Strike ซึ่งเป็นสามวันก่อนการประชุมเร่งด่วนเพื่อภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UN Climate Action Summit 2019) ที่นครนิวยอร์ก [12] และอีกวันหนึ่งคือ 27 กันยายน หรือหนึ่งสัปดาห์ถัดมา เรียกว่า Earth Strike
ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะมีการจัดงานประท้วงสำหรับวันใดวันหนึ่งหรือทั้งสองวัน โดยคาดว่าจะมีประเทศที่เข้าร่วมกว่า 130 ประเทศ [13]
ผู้จัดงานหวังว่าการประท้วงครั้งนี้จะประสบความสำเร็จมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยเชิญชวนให้คนทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ มาร่วมการประท้วงไปกับกลุ่มนักเรียนด้วย นอกจากนี้ งานนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งองค์กรอิสระ บริษัทเอกชน สมาคม และกลุ่มความเคลื่อนไหวทางสังคมต่าง ๆ อาทิ 350.org, Amnesty International, Extinction Rebellion, Greenpeace International, Oxfam, WWF, Patagonia, Ben & Jerry's, Lush, Atlassian, และองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย [14]
ในนครนิวยอร์ก โรงเรียนรัฐบาลได้ประกาศอนุญาตให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมได้หากได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง [15]
ในออสเตรเลีย บริษัทเอกชนหลายแห่งก็สนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมการประท้วงในเมืองของตน และสนับสนุนให้ทุกบริษัทในประเทศมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน [16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Carrington, Damian (19 March 2019). "School climate strikes: 1.4 million people took part, say campaigners". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-07. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
- ↑ Barclay, Eliza; Resnick, Brian (20 September 2019). "How big was the global climate strike? 4 million people, activists estimate". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
- ↑ Taylor, Matthew; Watts, Jonathan; Bartlett, John (27 September 2019). "Climate crisis: 6 million people join latest wave of global protests". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-08. สืบค้นเมื่อ 28 September 2019.
- ↑ Crouch, David (1 September 2018). "The Swedish 15-year-old who's cutting class to fight the climate crisis". The Guardian. London, United Kingdom. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 1 September 2018.
- ↑ Weyler, Rex (4 January 2019). "The youth have seen enough". Greenpeace International. สืบค้นเมื่อ 22 January 2019.
- ↑ John, Tara (13 February 2019). "How teenage girls defied skeptics to build a new climate movement". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2019. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.
Anna […] Taylor, 17, has taken a leading role in organizing a protest that is expected to see hundreds of students walk out of class across the UK on Friday […] Youth Strike 4 Climate, is planned for more than 40 British towns and cities […] Taylor and co-organizer Vivien "Ivi" Hohmann
- ↑ "Teen activist on climate change: If we don't do anything right now, we're screwed". CNN. 23 December 2018. สืบค้นเมื่อ 10 February 2019.
- ↑ "The Guardian view on teenage activists: protesters not puppets – Editorial". The Guardian. 7 February 2019. สืบค้นเมื่อ 11 February 2019.
- ↑ "The Fifteen-Year-Old Climate Activist Who Is Demanding a New Kind of Politics". The New Yorker. 2 October 2018.
- ↑ "'Our leaders are like children,' school strike founder tells climate summit". The Guardian. 4 December 2018.
- ↑ https://globalclimatestrike.net/
- ↑ https://www.un.org/en/climatechange/un-climate-summit-2019.shtml
- ↑ https://www.theguardian.com/environment/2019/sep/19/climate-strike-take-part-how-to-join-global-protests-friday-latest-details
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-19.
- ↑ https://www.treehugger.com/culture/new-york-schools-will-excuse-students-participate-climate-strikes.html
- ↑ https://www.sbs.com.au/news/australian-companies-are-urging-workers-to-walk-off-job-for-climate-action