การท่องเที่ยวในปารีส
การท่องเที่ยวในปารีสเป็นแหล่งรายได้หลัก ปารีสต้อนรับนักท่องเที่ยว 12.6 ล้านคนใน ค.ศ. 2020 โดยวัดจากการเข้าพักในโรงแรม ซึ่งลดลง 73 เปอร์เซ็นต์จาก ค.ศ. 2019 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ 80.7[1] กระนั้น บรรดาพิพิธภัณฑ์ได้เปิดอีกครั้งใน ค.ศ. 2021 โดยมีข้อจำกัดด้านจำนวนผู้เข้าชมต่อครั้งและข้อกำหนดให้ผู้เข้าชมสวมหน้ากากอนามัย
ใน ค.ศ. 2018 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 17.95 ล้านคนที่ค้างคืนมาเยือนเมืองนี้ โดยส่วนใหญ่มาเพื่อท่องเที่ยวและชอปปิง (และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหากรวมนักท่องเที่ยวที่ค้างคืนในประเทศ) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ได้แก่ อาสนวิหารน็อทร์-ดาม (12 ล้านคนใน ค.ศ. 2017), ดิสนีย์แลนด์ปารีส (11 ล้านคน), มหาวิหารซาเคร-เกอร์ (10 ล้านคน), พระราชวังแวร์ซาย (7.7 ล้านคน), พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (6.9 ล้านคน), หอไอเฟล (5.9 ล้านคน), ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู (3.33 ล้านคน) ตลอดจนพิพิธภัณฑ์ออร์แซ (3 ล้านคน)[2] ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากที่มายังอาณาบริเวณปารีส ได้แก่ ชาวอังกฤษ, อเมริกัน, เยอรมัน, อิตาลี, จีน และแคนาดา
ใน ค.ศ. 2012 พนักงานกินเงินเดือน 263,212 คนในปารีส หรือร้อยละ 18.4 ของจำนวนคนงานทั้งหมด ได้มีส่วนร่วมในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว, โรงแรม, การจัดเลี้ยง, การเดินทาง และการพักผ่อน[3] ส่วนใน ค.ศ. 2014 ผู้มาเยือนปารีสใช้จ่ายไป 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ (13.58 พันล้านยูโร) ซึ่งสูงเป็นอันดับสามของโลกรองจากลอนดอน และนครนิวยอร์ก[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Le tourisme à Paris - Chiffres clés 2020 (édition 2021)", Official Website of the Paris Convention and Visitor Bureau, retrieved September 10, 2021
- ↑ "10 Paris facts". Paris Digest. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-08.
- ↑ "Paris Convention and Visitors Bureau- Tourism in Key Figures 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29.
- ↑ "Mastercard 2014 Global Destination Cities Index" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 2023-05-22.