ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพมาเลเซีย
Angkatan Tentera Malaysia
ตราประจำกองทัพมาเลเซีย
ธงประจำกองทัพมาเลเซีย
ก่อตั้ง16 กันยายน พ.ศ. 2506
เหล่า กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
กองบัญชาการกัวลาลัมเปอร์
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการสูงสุดยังดีเปอร์ตวนอากง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมดร. อาฮ์หมัด ซาอิด ฮามิดี
ผู้บัญชาการกองทัพพลเอก Tan Sri Dato' Sri Zulkefli Mohd. Zin
รายจ่าย
งบประมาณ3.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
ร้อยละต่อจีดีพี1.9% (2011)
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศAirod
SME Ordnance
Malaysian Marine and Heavy Engineering
Malaysian International Shipping Corporation
Boustead Naval Shipyard Sdn Bhd
แหล่งผลิตนอกประเทศ สหรัฐอเมริกา
 รัสเซีย
 สหราชอาณาจักร
 เยอรมนี
 อิตาลี
 สวิตเซอร์แลนด์
 ฝรั่งเศส
 สวีเดน
 แคนาดา
 โปแลนด์
 แอฟริกาใต้
 จีน
 เกาหลีใต้
 สเปน
 ตุรกี
 บราซิล
 คิวบา (Rarely)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติประวัติศาสตร์ทางทหารของมาเลเซีย
ยศยศทหาร
เครื่องอิสริยาภรณ์

กองทัพมาเลเซีย (อังกฤษ: Malaysian Armed Forces มลายู: Angkatan Tentera Malaysia-ATM) เป็นกองทัพของสหพันธรัฐมาเลเซีย สังกัดกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยสามเหล่าทัพคือ กองทัพบก, กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ และ กองกำลังกึ่งทหาร

ประวัติ

[แก้]

กองทัพของมาเลเซียเกิดขึ้นจากการก่อตัวของกองกำลังท้องถิ่น ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างที่สหพันธรัฐมาลายาและสิงคโปร์ยังเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ก่อนที่ต่อมาได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2500 โดยมีบทบาทคือการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติรวมถึงภัยคุกคามต่างๆ

ช่วงการปลดแอก

[แก้]

ในช่วงของการปลดแอกในปี พ.ศ. 2500 กองทัพมาลายาและกองกำลังของเครือจักรภพแห่งชาติได้ถูกว่าจ้างเป็นการฉุกเฉิน จากการก่อความไม่สงบของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดย ชิน เผง หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กลุ่มของคอมมิวนิสต์ในมลายาขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากจีน จากการเป็นปลดแอกของมาลายาทำให้พื้นที่ในการก่อความไม่สงบลดลง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2503 ชิน เผง จึงได้สั่งยุติการสู้รบ

3 ปีภายหลังวิกฤติการณ์มาลายา มาลายา, สิงคโปร์, ซาราวัก และ บอร์เนียวเหนือ ได้ถูกรวมกันเป็น "สหพันธรัฐมาเลเซีย" ซึ่งถูกต่อต้านทางการทหารอย่างยิ่งจากนายซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในขณะนั้น การเผชิญหน้าได้เกิดขึ้นในป่าของเกาะบอร์เนียว แต่ก็ยังถือเป็นความขัดแย้งระดับต่ำ ต่อมากองทัพมาเลเซียได้รับความช่วยเหลืออีกครั้งจากเครือจักรภพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2509 ซึ่งซูการ์โนถูกโค่นล้มและความขัดแย้งถือเป็นที่สิ้นสุด