ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม
தமிழீழ விடுதலைப் புலிகள்
รู้จักในชื่อพยัคฆ์ทมิฬ
คณะผู้นำเวลูปิลลัย ประภากาเรา 
ปีที่ปฏิบัติการ5 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 (1976-05-05)18 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 (2009-05-18)
เป้าหมายก่อตั้งรัฐเอกราชแห่งทมิฬอีฬัมในทางเหนือ และตะวันออกของศรีลังกา
แนวคิดชาตินิยมทมิฬ
คตินิยมการแยกตัวออก
ปฏิวัติสังคมนิยม
ฆราวาสนิยม
สถานะไม่ดำเนินต่อ กลุ่มถูกทำลายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2009[1]
รายได้ต่อปี$200–300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3]
ที่มาของรายได้เงินบริจาคจากชาวทมิฬที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ, การกรรโชกทรัพย์,[4] การขนส่งและการขายอาวุธ และการเก็บภาษีภายใต้พื้นที่ที่กลุ่ม LTTE ควบคุม
เว็บไซต์www.eelam.com (สำเนาที่เก็บถาวร)

กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม (Liberation Tigers of Tamil Eelam; ทมิฬ: தமிழீழ விடுதலைப் புலிகள்) มีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ สมาคมทมิฬระดับโลก สหพันธ์ของสมาคมทมิฬแคนาดา กองทัพเอลอัลลานี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2519 มีจุดประสงค์เพื่อก่อตั้งรัฐทมิฬ เริ่มต่อสู้ด้วยการก่อการร้ายตั้งแต่ พ.ศ. 2526 หัวหน้ากลุ่มคือ เวลูปิลลัย ประภากรัน

ปฏิบัติการ

[แก้]

ใช้การสู้รบแบบกองโจร เพื่อทำลายเป้าหมายสำคัญของศรีลังกา นิยมใช้ระเบิดพลีชีพ

สมาชิก

[แก้]

มีพื้นที่หลักในชายฝั่งตอนเหนือและตะวันออกของศรีลังกา แต่จะก่อการร้ายทั่วประเทศศรีลังกา สมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในศรีลังกา คาดว่ามีราว 8,000 – 10,000 คน เป็นนักรบ 3,000 – 6,000 คน

การสนับสนุน

[แก้]

กลุ่มนี้เปิดเผยตัวเองอย่างชัดแจ้งในการสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนทมิฬ และวิ่งเต้นขอความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆรวมทั้งสหประชาชาติ ได้รับความช่วยเหลือจากชาวทมิฬที่อาศัยในยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชีย

ปราชัย

[แก้]

หลังทำสงครามกลางเมืองศรีลังกามายาวนานเกือบ 26 ปี ในที่สุด กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีฬัมก็เป็นฝ่ายปราชัย[5][6] โดย

  • วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา ประกาศชัยชนะ
  • วันที่ 17 พฤษภาคม หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีฬัมประกาศยอมรับความพ่ายแพ้
  • วันที่ 18 พฤษภาคม มีข่าวว่าเวลูปิลลัย ประภากาเรา หัวหน้ากลุ่ม เสียชีวิต
  • วันที่ 19 พฤษภาคม ประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา ส่งสารไปถึงรัฐสภาว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายชนะสงคราม และศรีลังกาได้ปลอดจากการก่อการร้ายแล้ว รวมไปถึงมีการยืนยันว่าเวลูปิลลัย ประภากาเรา เสียชีวิตจริง

หลังวันที่ 18 กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีฬัมก็สูญเสียดินแดนทางตอนเหนือและตะวันออกจนหมดสิ้น และสิ้นสุดสถานภาพทางการสู้รบ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tamil Tigers Admit Defeat in Sri Lankan Civil War". Associated Press. Fox News. 17 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2024.
  2. "LTTE international presents an enduring threat". Lakbima News. กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011.
  3. "The Sri Lankan Tamil Diaspora After the LTTE" (PDF). International Crisis Group. กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2011.
  4. Shanaka Jayasekara (24 ตุลาคม 2007). "LTTE Fundraising & Money Transfer Operations". transCurrents NewsFeatures. satp.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2011.
  5. "พยัคฆ์ทมิฬอิแลม พินาจ ! สิ้นสุดสงครามอันยาวนาน26ปีแห่งศรีลังกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013.
  6. "Sri Lanka army 'defeats rebels'". BBC. 16 พฤษภาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2009.

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
  • ดลยา เทียนทอง (2007). ปฐมบทการก่อการร้าย : รากเหง้า ความเป็นไป และพลวัต. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 978-974-9897-08-9.
  • วงเดือน นาราสัจจ์ (2005). "ทมิฬอีแลม (Tamil Ealam) ปัญหาชาติพันธุ์ในศรีลังกา". วารสารประวัติศาสตร์. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: หน้า 79–106. eISSN 3027-7035.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]