กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น | |
---|---|
航空自衛隊 | |
ประจำการ | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
กำลังรบ | 45,000 นาย (2005) 805 อากาศยาน[1] (2010) |
ขึ้นกับ | กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลอากาศเอก ฮารุฮิโกะ คาทาโอกะ (ประธานเสนาธิการกองกำลังป้องกันตนเองทางกากาศ) |
เครื่องหมายสังกัด | |
เครื่องหมายอากาศยาน | |
ธงประจำหน่วย | |
Aircraft flown | |
Attack | F-2 |
การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ | E-767, EC-1, E-2C |
Fighter | F-4EJ, F-15J/DJ, F-2 |
เฮลิคอปเตอร์ | UH-60J, CH-47J, KV-107 |
Interceptor | F-15J |
Trainer | F-15DJ, T-7, T-400, T-4 |
Transport | C-1, KC-767J, C-130H |
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 航空自衛隊; โรมาจิ: Kōkū Jieitai, อังกฤษ: Japan Air Self-Defense Force : JASDF) เป็นสาขาหนึ่ง ของ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันน่านฟ้าของญี่ปุ่นและการดำเนินงานการบินอื่น ๆ JASDF ดำเนินการลาดตระเวนทางอากาศทั่วญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ก็มีเครือข่ายกับที่เชื่อมกับหน่วยงานภาคพื้นดิน รวมถึงระบบเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ
ประวัติ
[แก้]ช่วงระยะเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และก่อนการจัดตั้ง กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ญี่ปุ่นไม่มีกองกำลังทางอากาศที่แยกส่วนออกมา การดำเนินการการบินได้ดำเนินการโดย ฝ่ายกองการบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองการบินทหารเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ต่อมาภายหลัง กองทัพของญี่ปุ่นทั้งหมดถูกยุบ กลายเป็น กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมายกองกำลังป้องกันตนเอง ค.ศ. 1954 ในสาขาการบิน
องค์กร
[แก้]- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น / รัฐบาลญี่ปุ่น
- รัฐมนตรีกลาโหม / กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
- เสนาธิการ JASDF / สำนักเสนาธิการ JASDF
- กองบัญชาการป้องกันทางอากาศ: ฟุชู, โตเกียว
- กองกำลังป้องกันทางอากาศภาคเหนือ : มิซะวะ, อะโอะโมะริ
- กองบิน 2 (ฐานทัพอากาศชิโตะเซะ: 201SQ, F-15J/DJ, T-4; 203SQ, F-15J/DJ, T-4)
- กองบิน 3 3rd Air Wing (Misawa Air Base: 3SQ, F-2A/B T-4; 8SQ, F-2A/B, T-4)
- กองบินควบคุมอากาศยานและแจ้งเตือนภาคเหนือ
- กลุ่มจรวดป้องกันทางอากาศที่ 3
- กลุ่มจรวดป้องกันทางอากาศที่ 6
- กองกำลังป้องกันทางอากาศกลาง: อิรุมะ, ไซตะมะ
- กองบิน 6 (ฐานทัพอากาศโคะมะสึ: 303SQ, F-15J/DJ, T-4; 306SQ, F-15J/DJ, T-4)
- กองบิน 7 (ฐานทัพอากาศฮยะกุริ: 302SQ, F-4EJ-Kai, T-4; 305SQ, F-15J/DJ, T-4)
- กองบินควบคุมอากาศยานและแจ้งเตือนภาคกลาง
- กลุ่มจรวดป้องกันทางอากาศที่ 1
- กลุ่มจรวดป้องกันทางอากาศที่ 4
- กลุ่มฐานทัพอากาศอิโวะ จิมะ
- กองกำลังป้องกันทางอากาศภาคตะวันตก: คะซุงะ, ฟุกุโอะกะ
- กองบิน 5 (ฐานทัพอากาศนยุตะบะริ: 301SQ, F-4EJ-Kai, T-4)
- กองบิน 8 (ฐานทัพอากาศสึอิกิ: 304SQ, F-15J/DJ, T-4; 6SQ, F-2A/B, T-4)
- กองบินควบคุมอากาศยานและแจ้งเตือนภาคตะวันตก
- กลุ่มจรวดป้องกันทางอากาศที่ 2
- กองกำลังป้องกันทางอากาศภาคตะวันตกเฉียงใต้: นะฮะ, โอะกินะวะ
- กองบิน 83d (ฐานทัพอากาศนะฮะ: 204SQ, F-15J/DJ, T-4)
- หน่วยควบคุมและแจ้งเตือนอากาศยานภาคตะวันตกเฉียงใต้
- กลุ่มจรวดป้องกันทางอากาศที่ 5
- หน่วยอากาศยานเตือนภัยล่วงหน้า: ฐานทัพอากาศมิซะวะ (E-2C), Hamamatsu Air Base (E-767)
- หน่วยตรวจการณ์ทางยุทธวิธี: Hyakuri Air Base (RF-4E, RF-4EJ)
- หน่วยฝึกหัดการรบทางยุทธวิธี: Nyutabaru Air Base (F-15DJ/J, T-4)
- กลุ่มฝึกฝนจรวดป้องกันทางอากาศ: ฮะมะมะสึ, ชิโตะเซะ
- หน่วยการบินกองบัญชาการป้องกันทางอากาศ (ฐานทัพอากาศอิรุมะ: U-4, YS-11EA, YS-11EB, T-4, EC-1)
- กองกำลังป้องกันทางอากาศภาคเหนือ : มิซะวะ, อะโอะโมะริ
- กองบัญชาการป้องกันทางอากาศ: ฟุชู, โตเกียว
- กองบัญชาการการสนับสนุนทางอากาศ: ฟุชู, โตเกียว
- กองบินกู้ภัยทางอากาศ (UH-60J, U-125A, CH-47J, KV-107)
- กองบินลำเลียงทางยุทธวิธีที่ 1 (ฐานทัพอากาศโคะมะกิ: 401SQ, C-130H; 404SQ, KC-767J)
- กองบินลำเลียงทางยุทธวิธีที่ 2 (ฐานทัพอากาศอิรุมะ: 402SQ, C-1, U-4)
- กองบินลำเลียงทางยุทธวิธีที่ 3 (ฐานทัพอากาศมิโฮ: 403SQ, C-1, YS-11NT/P; 41SQ, T-400)
- หน่วยบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ
- หน่วยบริการสภาพอากาศ
- ฝูงบินตรวจสอบเที่ยวบิน (ฐานทัพอากาศอิรุมะ: U-125, YS-11FC)
- หน่วยขนส่งทางอากาศพิเศษ (ฐานทัพอากาศชิโตะเซะ: B747-400)
- กองบัญชาการฝึกทางอากาศ: ฮะมะมะสึ, ชิซุโอะกะ
- กองบิน 1 (ฐานทัพอากาศฮะมะมะสึ: 31SQ, T-4; 32SQ, T-4)
- กองบิน 4 (ฐานทัพอากาศมะสึชิมะ: 21SQ, F-2B; 11SQ, T-4 Blue Impulse)
- กองบินทดสอบการบินที่ 11 (ฐานทัพอากาศชิซุฮะมะ: 1SQ, T-7; 2SQ, T-7)
- กองบินทดสอบการบินที่ 12 (ฐานทัพอากาศโฮฟุ คิตะ: 1SQ, T-7; 2SQ, T-7)
- กองบินทดสอบการบินที่ 13 (ฐานทัพอากาศอะชิยะ: 1SQ, T-4; 2SQ, T-4)
- กองบินการฝึกขั้นพื้นฐาน
- ฝูงบินทดสอบการบิน (ฐานทัพอากาศนยุตะบะรุ: F-15DJ/J, T-4)
- หน่วยอบรมโรคเอดส์
- โรงเรียนอากาศเจ้าหน้าที่
- โรงเรียนเทคนิค ที่ 1, 2, 3, 4 & 5
- กองบัญชาการการพัฒนาและทดสอบทางอากาศ: ฐานทัพอากาศอิรุมะ, ไซตะมะ
- กองบินการพัฒนาและทดสอบทางอากาศ (ฐานทัพอากาศกิฟุ: F-15J/DJ, F-2A/B, C-1FTB, F-4EJ, F-4EJ-kai, T-7, T-4)
- กลุ่มพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และทดสอบ
- ห้องปฏิบัติการแพทย์อากาศ
- หน่วยควบคุมวัสดุทางอากาศ: จุโจ, โตเกียว
- สถารีฝึกหัดทหารอากาศที่ 1, 2, 3 และ 4
- วิทยาลัยเจ้าหน้าที่ทางอากาศ
- การสื่อสารทางอากาศและกองบินระบบ
- กลุ่มบริการด้านความปลอดภัยทางอากาศ
- กลุ่มฐานทัพอากาศภาคกลาง
- อื่น ๆ
- เสนาธิการ JASDF / สำนักเสนาธิการ JASDF
- รัฐมนตรีกลาโหม / กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
อากาศยาน
[แก้]กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ มีอากาศยานทั้งหมด 805 ลำ ในจำนวนนี้ เป็นเครื่องบินรบ 424 ลำ
เครื่องบินรบ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
Mitsubishi F-2 | โจมตี โจมตี/ฝึกหัด |
F-2A F-2B |
62 12 |
| ||
Mitsubishi F-15J | โจมตี โจมตี/ฝึกหัด |
F-15J F-15DJ |
153 48 |
2 F-15J's & 12 F-15DJ's ประกอบขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาส่วนแรก และส่วนที่เหลือถูกประกอบขึ้นต่อโดยมิตซูบิชิภายใต้สัญญาอนุญาต | ||
F-4 Phantom II | โจมตี ตรวจการณ์ |
F-4EJ/EJ改 RF-4E/EJ |
91 26 |
| ||
เครื่องบินฝึกหัด | ||||||
Kawasaki T-4 | ฝึกหัด | 208 | ||||
Raytheon Hawker 400 | Trainer | T-400 | 13 | |||
Fuji T-7 | ฝึกหัด | 48 | ||||
เครื่องบินลำเลียง | ||||||
C-130 Hercules | การขนส่งทางยุทธวิธี | C-130H | 15 | |||
Kawasaki C-1 | การขนส่งทางยุทธวิธี สงครามอิเล็กทรอนิกส์ |
C-1A EC-1 |
25 1 |
|||
Boeing 767 | อากาศยานเติมเชื้อเพลิง | Boeing KC-767J | 4 | |||
Boeing 747 | ขนส่งบุคคลสำคัญ (แอร์ฟอร์ซวัน/ทูญี่ปุ่น) | 747-400 | 2 | |||
Gulfstream IV | ขนส่งบุคคลสำคัญ | U-4 | 5 | |||
NAMC YS-11 | ขนส่ง | YS-11 | 13 | |||
British Aerospace BAe 125 | การขนส่งเบา | U-125A | 32 | |||
AEW | ||||||
Boeing E-767 | อากาศยานเตือนภัยล่วงหน้าและควบคุม | E-767 | 4 | |||
Grumman E-2 Hawkeye | อากาศยานเตือนภัยล่วงหน้า | E-2C | 13 | |||
เฮลิคอปเตอร์ขนส่ง/ค้นหาและกู้ภัย | ||||||
CH-47 Chinook|Boeing CH-47 Chinook | เฮลิคอปเตอร์ขนส่ง | CH-47J | 15 | ประกอบขึ้นโดยคาวาซากิ ภายใต้สัญญาอนุญาต | ||
Mitsubishi H-60 | ค้นหาและกู้ภัย | UH-60J | 45 | 3 UH-60J ประกอบขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา ส่วร UH-60J's ที่เหลือประกอบขึ้นโดยมิตซูบิชิภายใต้สัญญาอนุญาต |
อาวุธเครื่องบินรบ
[แก้]- ระบบอาวุธปล่อยอากาศ-สู่อากาศ/ลูกระเบิด
- อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AIM-9 Sidewinder
- อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AIM-7 Sparrow
- อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AAM-3 (Mitsubishi)
- อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AAM-4 (Type 99) พัฒนาจาก AIM-7 Sparrow
- อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-เรือ ASM-1 และ ASM-2
- ลูกระเบิดนำวิถี MK 82
- ลูกระเบิดนำวิถี JDAM
- ลูกระเบิดนำวิถี CBU 87 Cluster Bomb
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ
[แก้]- ระบบขีปนาวุธพื้น-สู่-อากาศพิสัยกลาง MIM 104 Patriot Pack 2-3
- อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยใกล้ Type 81 SAM
- อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศประทับบ่า Type 91 SAM (พัฒนาจาก สติงเจอร์ ของอเมริกา)
- ระบบ ปตอ.ขนาด 20 มม.6 ลำกล้อง M167 VADS (Vulcan Air Defense System)
อากาศยานในอนาคตของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
[แก้]ญี่ปุ่นมีโครงการ F-X หรือโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-4EJ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันคือ Eurofighter, Rafale, F/A-18E/F, F-15, F-35 และ F-22 ทั้งนี้ ญี่ปุ่นค่อนข้างแสดงเจตจำนงที่จะจัดหา F-22 เพื่อเพิ่มศักยภาพของกำลังรบให้ทัดเทียมจีน รัสเซีย และป้องกันภัยคุกคามจากขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ และสหรัฐยังมีความกังวลอยู่มากเกี่ยวกับเทคโนโลยีใน F-22 ที่จะส่งออกให้ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้การจัดหา F-22 ยังมีความไม่แน่นอนอยู่
และในขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เริ่มการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการพัฒนาเครื่องบิน Stealth ด้วยตนเองครับ เพราะความต้องการหลักของโครงการ F-X คือเครื่องบินรบที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก (Stealth) และสามารถทำลายขีปนาวุธข้ามทวีปได้
โมเดลในภาพยังเป็นเพียงโมเดลที่ใช้ศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี Stealth เท่านั้น โครงการพัฒนายังไม่ได้เริ่มอย่างเป็นทางการและยังไม่มีการสร้างเครื่องบินต้นแบบออกมา ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะต้องตัดสินใจระหว่างการจัดซื้อเครื่องบินที่มีเทคโนโลยี Stealth โดยตรงหรือพัฒนาเครื่องบินที่มีเทคโนโลยี Stealth ด้วยตนเอง และถ้าตัดสินใจที่จะพัฒนาเอง จะต้องร้องของบประมาณไปที่รัฐสภาญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะได้รับการอนุมัติงบประมาณในปีงบประมาณ 2551-52 ครับ และในการพัฒนาเองนั้น ไม่ว่าอย่างไร กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นก็แสดงความตั้งใจที่จะให้ Lockheed Martin หรือ Boeing เข้ามาร่วมพัฒนาเครื่องบินในโครงการนี้เพราะเป็นเพียงสองบริษัทที่มีเทคโนโลยี Stealth ที่สมบูรณ์อยู่ในมือ
ซึ่งถ้าญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเครื่องบินได้ด้วยตนเองจนสามารถเข้าประจำการได้ ก็จะเป็นเครื่องบินลำแรกในรอบ 30 ปีที่ญี่ปุ่นพัฒนาเอง (เพราะ F-2 ของญี่ปุ่นได้แบบแผนมาจาก F-16 ของสหรัฐ)
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะส่งคำร้องขอข้อเสนอ (Request for Proposal:RFP) ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า และคาดว่าจะสามรถเลือกแบบเครื่องบินได้ภายในปี 2551 หรืออย่างช้าในปี 2552 และเครื่องบินลำแรกจะต้องเข้าประจำการภายในปี 2553-2554 ซึ่งทำให้ F-35 ไม่น่าจะสามารถส่งมอบได้ทันเนื่องจากโครงการประสบปัญหาด้านเทคนิคและความล่าช้ามาก ส่วน F-22 ก็อาจจะต้องใช้เวลาที่นานกว่านั้นในการพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่จะสามารถส่งออกให้ญี่ปุ่น รวมถึงการติดตั้งระบบป้องกันความลับของข้อมูลในตัวเครื่องบินซึ่งอาจจะต้องใช้เงินอีกราว 1 พันล้านเหรียญด้วย
และล่าสุดญี่ปุ่นได้ตัดF-22ออกจากการแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องบินทดแทนแล้วเนื่องจากอเมริกาไม่มีนโยบายส่งออกและสายการผลิตใกล้จะปิดดังนั้นเครื่องบินที่น่าจะเป็นไปได้คือF-35
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2008-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Overview Japan Air Self-Defense Force (เนื้อหาภาษาอังกฤษ) เก็บถาวร 2013-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- [1]
- [2] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน