ข้ามไปเนื้อหา

กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–กัสแกร็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางเดินของแสงภายในกล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–กัสแกร็ง
ตัวอย่างรูปร่างภายนอก

กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–กัสแกร็ง (Schmidt–Cassegrain telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบผสมชนิดหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็งแบบดั้งเดิมที่เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง โดยนำหลักการของกล้องโทรทรรศน์แบบชมิทมาใช้ร่วมด้วย

การคิดค้น

[แก้]

ในปี 1940 เจมส์ กิลเบิร์ต เบเกอร์ได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์เรื่อง "กลุ่มกล้องถ่ายรูปเรียบง่ายขอบเขตภาพกว้างที่มีสมรรถภาพเทียบเท่ากล้องโทรทรรศน์แบบชมิท" ที่หอดูดาวมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นี่เป็นจุดเริ่มต้นของกล้องโทรทรรศน์ประเภทนี้[1]

กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่สุดในโลกที่เป็นชนิดนี้คือกล้องโทรทรรศน์เจมส์ เกรกอรี ที่สกอตแลนด์[2]

โครงสร้าง

[แก้]

ลักษณะเด่นของกล้องโทรทรรศน์แบบนี้คือ ทั้งกระจกเงาปฐมภูมิและกระจกเงานทุติยภูมิก็มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดศูนย์กลางแผ่นปรับแก้ จึงไม่มีความคลาดทางทัศนศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งความคลาดแบบโคมา ความคลาดเอียง และ ความผิดรูป แต่เนื่องจากค่าสูงสุดของความเว้าของแผ่นปรับแก้เป็นประมาณห้าเท่าของกล้องโทรทรรศน์แบบชมิทจึงไม่สามารถทำให้สว่างสว่างมากได้ อีกทั้งยังมีความคลาดสีมาก[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.141-166「シュミット・カセグレン望遠鏡」。
  2. Dvinsky, Dalcash (2018-04-05). "A short history of Scotland's largest telescope". Medium (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.