ข้ามไปเนื้อหา

กฎของเมอร์ฟี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎของเมอร์ฟี (อังกฤษ: Murphy's Law) เป็นภาษิตที่มีการกล่าวถึงการอย่างกว้างขวางว่า "ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาด จะผิดพลาด" (Anything that can go wrong, will go wrong)

ภาษิตดังกล่าวยังใช้ในความหมายประชดประชันว่า เหตุการณ์ทั้งหลายมักไม่เป็นไปดังหวังหรือเกิดผิดพลาด หรือหากเจาะจงกว่านั้น อาจเป็นการสะท้อนแนวคิดคณิตศาสตร์ที่ว่า ภายใต้เวลานานระดับหนึ่ง เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากยิ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (เนื่องจากความน่าจะเป็นมีค่ามากกว่า 0) แม้ว่า ส่วนใหญ่มักใช้กับเหตุการณ์แง่ร้ายมากกว่าแง่ดี

ประวัติ

[แก้]

มีเหตุการณ์มากมายในจักรวาลที่มนุษย์เห็นว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุผล อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สนใจมายาวนานแล้ว พบเครื่องแสดงแนวคิดดังกล่าวก่อนหน้ากฎของเมอร์ฟี่ได้ไม่ยาก เช่น หนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งในนอร์วอล์ก รัฐโอไฮโอ ใน ค.ศ. 1841 ตีพิมพ์กลอนบทหนึ่ง ซึ่งเป็นการล้อเลียนกลอนในหนังสือ Lalla-Rookh ของทอมัส มัวร์[1]:

จากการศึกษาใหม่ในของเขตดังกล่าว มักได้มาจากสมาชิกสมาคมภาษาถิ่นอเมริกัน (American Dialect Society) สมาชิกสมาคมคนหนึ่งชื่อ สตีเฟน โกเรนสัน พบอีกรูปแบบหนึ่งของกฎดังกล่าว แต่ขณะนั้นยังไม่พบใช้กันหรือชื่อเรียกทั่วไป ดังที่ปรากฏในการประชุมสมาคมวิศวกรรม ค.ศ. 1877 ซึ่งรายงานโดยอัลเฟรด ฮอลต์:

ค้นพบแล้วว่าเหตุผิดพลาดทุกอย่างซึ่งเกิดขึ้นได้ในทะเลมักเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว ฉะนั้น นั่นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเจ้าของมักมองความปลอดภัยไปในทางวิทยาศาสตร์มากกว่า... ความฉุกเฉินอันเกินขึ้นนั้นมักเด่นขึ้นจากความเรียบง่ายของมัน ไม่อาจละเลยปัจจัยของมนุษย์ได้ในการวางแผนเครื่องกลไก หากการพิจารณาถือเป็นการบรรลุได้ เครื่องจักรนั้นก็จำเป็นต้องมีวิศวกรเอาใจใส่มันอย่างดี[3]

สมาชิกสมาคมอีกคนหนึ่ง บิล มัลลินส์ (Bill Mullins) พบอีกรูปแบบหนึ่งของกฎที่มีชื่อเสียงกว่าแบบแรกอยู่เล็กน้อย ซึ่งเป็นพังเพยที่พาดพิงการแสดงมายากล โดยนักมายากลชาวอังกฤษ เนวิลล์ มัสคีลีน (Nevil Maskelyne) ซึ่งเขียนไว้ใน ค.ศ. 1908 ว่า:

มันเป็นประสบการณ์สำหรับมนุษย์ทั่วไปที่จะพบว่า ในทุกโอกาส อย่างเช่น การแสดงปรากฏการณ์มายากลครั้งแรกในที่สาธารณะ หากสิ่งใดมีโอกาสผิดพลาด มันจะผิดพลาด เราต้องพยายามหาเหตุผลต่อความร้ายกาจจากสถานการณ์นี้ หรือความเลวทรามของสิ่งไม่มีชีวิตนี้ และแม้ว่าเหตุจากความตื่นเต้นนั้นจะมาจากความหิว ความวิตกกังวล หรืออาจมิใช่ก็ตาม ความจริงก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงอยู่เช่นเดิม[4]

กฎของเมอร์ฟีสมัยใหม่เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 1952 ในหนังสือปีนเขา ซึ่งเขียนขึ้นโดย แจ็ค แซ็ค ผู้ซึ่งอธิบายว่ากฎดังกล่าวเป็น "กฎการปีนเขานับตั้งแต่สมัยโบราณ" ว่า:

ทุกสิ่งที่ผิดได้ผิด (Anything that can possibly go wrong, does.)[5]

เฟรด อาร์. ชาพีโร บรรณาธิการของ The Yale Book of Quotations ยังได้ปรากฏภาษิตนี้ในปี ค.ศ. 1952 ซึ่งได้ถูกเรียกว่า "กฎของเมอร์ฟี" ในหนังสือของแอน โรล์ (Anne Roe) ซึ่งอ้างคำพูดจากนักฟิสิกส์คนหนึ่งว่า:

รอบตัวเรามีเหตุการณ์อันน่ายินดีอย่างไม่ปกติอยู่เสมอ อย่างเช่น มีนักฟิสิกส์ผู้หนึ่งได้มาแนะนำให้รู้จักกับ "กฎ" ที่ผมชื่นชอบมาก ซึ่งเขาอธิบายว่ามันเป็น "กฎของเมอร์ฟี หรือกฎข้อที่สี่ของเทอร์โมไดนามิกส์ (ซึ่งอันที่จริงแล้ว ก่อนหน้านั้นผมเคยได้ยินมาแค่สาม) และมีใจความว่า "ถ้าทุกสิ่งผิดได้ จะเกิดขึ้น" (If anything can go wrong, it will.)[6]

ทว่าชื่อ กฎของเมอร์ฟี นั้นมิได้เป็นชื่อเดียวที่ใช้กัน พบว่าจาก Astounding Science Fiction ของจอร์จ สไตน์ (George Harry Stine) ได้ให้ชื่อว่า "กฎของรีลลี" (Reilly's Law) ซึ่งกล่าวถึงความพยายามทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมใด ๆ หากสิ่งใดมีโอกาสผิด มันจะผิด"[7] หรือประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณู ลูอิส สแตรส (Lewis Strauss) ได้ยกคำพูดลงใน Chicago Daily Tribune เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 โดยระบุว่า "ผมหวังว่ากฎนี้จะชื่อว่ากฎของสแตรส ซึ่งมีใจความว่า: หากอะไรแย่ ๆ มีโอกาสเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้น"[8]

เกี่ยวกับกฎของเมอร์ฟี

[แก้]

จากหนังสือ A History of Murphy's Law โดยผู้ประพันธ์ นิค ที. สปาร์ค ซึ่งกล่าวว่าเนื่องมีส่วนร่วมจำนวนมาก ทำให้การสืบหาตัวผู้เริ่มใช้คำว่า "กฎของเมอร์ฟี" จึงแทบเป็นไปไม่ได้ โดยชื่อดังกล่าวสันนิษฐานว่ามาจากความพยายามในการใช้อุปกรณ์ใหม่โดยเอ็ดเวิร์ด เมอร์ฟี ซึ่งเป็นคำที่เมอร์ฟีแต่งขึ้นจากปฏิกิริยาที่เมอร์ฟีแสดงออกมาเมื่อสิ่งประดิษฐ์ของเขาผิด และสื่อเปลี่ยนมาสู่รูปแบบปัจจุบันในอีกหลายเดือนต่อมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mason, David; John Frederick Nims (1999). Western Wind: An Introduction to Poetry. McGraw-Hill Humanities/Social Sciences/ Languages. p. 110. The attribution to James Payn there is apparently incorrect.
  2. Huron Reflector (November 23, 1841), reprinted in Shapiro, Fred R., ed., The Yale Book of Quotations 668 (2006).
  3. http://listserv.linguistlist.org/cgi-bin/wa?A2=ind0710B&L=ADS-L&P=R432&I=-3 เก็บถาวร 2008-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Holt, Alfred. "Review of the Progress of Steam Shipping during the last Quarter of a Century," Minutes of Proceedings of the Institution of Civil Engineers, Vol. LI, Session 1877-78—Part I, at 2, 8 (November 13, 1877 session, published 1878).
  4. http://listserv.linguistlist.org/cgi-bin/wa?A2=ind0712B&L=ADS-L&P=R8234&I=-3 เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Maskelyne, Nevil. "The Art In Magic", The Magic Circular, June 1908, p. 25.
  5. Sack, John. The Butcher: The Ascent of Yerupaja epigraph (1952), reprinted in Shapiro, Fred R., ed., The Yale Book of Quotations 529 (2006).
  6. http://listserv.linguistlist.org/cgi-bin/wa?A2=ind0712C&L=ADS-L&P=R3767&I=-3 เก็บถาวร 2008-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Roe, Anne, The Making of a Scientist 46 - 47 (1952, 1953).
  7. http://listserv.linguistlist.org/cgi-bin/wa?A2=ind0511B&L=ADS-L&P=R4728 เก็บถาวร 2008-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Astounding Science-Fiction, February 1955, p. 54.
  8. http://listserv.linguistlist.org/cgi-bin/wa?A2=ind0507B&L=ADS-L&P=R3975 เก็บถาวร 2008-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Chicago Daily Tribune, February 12, 1955, p. 5.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]