ข้ามไปเนื้อหา

เพื่อนสนิท (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เพื่อนสนิท
ภาพใบปิดภาพยนตร์
กำกับคมกฤษ ตรีวิมล
เขียนบทเค้าโครงบทประพันธ์
กล่องไปรษณีย์สีแดง
ของ อภิชาติ เพชรลีลา
บทภาพยนตร์นิธิศ ณพิชญสุทิน
อำนวยการสร้างประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์
จิระ มะลิกุล
ยงยุทธ ทองกองทุน
เช่นชนนี สุนทรศารทูล
นักแสดงนำ
กำกับภาพปราเมศร์ ชาญกระแส
ตัดต่อวิชชา โกจิ๋ว
ดนตรีประกอบหัวลำโพง ริดดิม
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายจีทีเอช
วันฉาย6 ตุลาคม พ.ศ. 2548
ความยาว127.0 นาที
ภาษาไทย
ทำเงิน80 ล้านบาท
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

เพื่อนสนิท เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์เรื่อง กล่องไปรษณีย์สีแดง เนื้อเรื่องกล่าวถึง เรื่องราวของเพื่อนสนิท สอง นักศึกษา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไข่ย้อย และ ดากานดา ที่ตกหลุมรักเพื่อนสนิทโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่งวันหนึ่งที่มีคนอื่นได้เข้ามาจีบเพื่อนของตัวเอง จึงได้รู้ตัวว่าได้หลงรักเพื่อนตัวเองเข้าแล้ว เรื่องราวของเพื่อนสนิทดำเนินไป สองช่วงเวลาสลับกัน ระหว่างเนื้อเรื่องของหมู (ไข่ย้อย) เดินทางไปเกาะพะงัน ภายหลังจบการศึกษา ซึ่งได้รับบาดเจ็บ และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเกาะพะงัน ที่ซึ่งเจอ นุ้ย นางพยาบาลสาวสวย และขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องราวที่หมู นึกถึงเรื่องราวในช่วงที่เรียนอยู่ ซึ่งเป็น เรื่องราวของ ไข่ย้อย และ ดากานดา ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล และเข้าฉาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548

นักแสดงนำ

[แก้]

นักแสดงสมทบ

[แก้]

ทีมงาน

[แก้]

การผลิต

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเนื้อหาที่กล่าวถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนใหญ่ ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ

รางวัล

[แก้]
ปี รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศิรพันธ์ วัฒนจินดา เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิศ ณพิชญสุทิน ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม วิชชา โกจิ๋ว ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คมกฤษ ตรีวิมล เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศิรพันธ์ วัฒนจินดา เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม มณีรัตน์ คำอ้วน เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ปาณสรา พิมพ์ปรุ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิศ ณพิชญสุทิน ชนะ
กำกับภาพยอดเยี่ยม ปราเมศร์ ชาญกระแส เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม วิชชา โกจิ๋ว ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม หัวลำโพง ริดดิม เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม - เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2549 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศิรพันธ์ วัฒนจินดา เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม มณีรัตน์ คำอ้วน เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ปาณสรา พิมพ์ปรุ ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม วิชชา โกจิ๋ว ชนะ
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ช่างไม่รู้เลย ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 3 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คมกฤษ ตรีวิมล เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศิรพันธ์ วัฒนจินดา ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ปาณสรา พิมพ์ปรุ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิศ ณพิชญสุทิน ชนะ
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ช่างไม่รู้เลย ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 3 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คมกฤษ ตรีวิมล ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม มณีรัตน์ คำอ้วน ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิศ ณพิชญสุทิน ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม วิชชา โกจิ๋ว ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 3 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม มณีรัตน์ คำอ้วน ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิศ ณพิชญสุทิน ชนะ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]