ข้ามไปเนื้อหา

จอห์น เลนนอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
จอห์น เลนนอน
ภาพถ่ายขาวดำของจอห์น เลนนอนในวัยสามสิบกลาง ๆ
เลนนอน ค.ศ. 1974
เกิดจอห์น วินสตัน เลนนอน
9 ตุลาคม ค.ศ. 1940(1940-10-09)
ลิเวอร์พูล อังกฤษ
เสียชีวิต8 ธันวาคม ค.ศ. 1980(1980-12-08) (40 ปี)
นครนิวยอร์ก สหรัฐ
สาเหตุเสียชีวิตฆาตกรรม
สุสานฌาปนกิจและโปรยอัฐิที่เซ็นทรัลพาร์ก นครนิวยอร์ก
ชื่ออื่นจอห์น วินสตัน โอโนะ เลนนอน
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • นักดนตรี
  • นักเขียน
  • ศิลปิน[1]
  • นักกิจกรรมสันติภาพ
ปีปฏิบัติงาน1956–1980
คู่สมรส
คู่รักเมย์ แพง (1973–1975)
บุตร
บิดามารดา
ญาติ
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
ค่ายเพลง
อดีตสมาชิก
เว็บไซต์johnlennon.com
ลายมือชื่อ

จอห์น วินสตัน โอโนะ เลนนอน (อังกฤษ: John Winston Ono Lennon; ชื่อเกิด จอห์น วินสตัน เลนนอน, อังกฤษ: John Winston Lennon; 9 ตุลาคม 1940 – 8 ธันวาคม 1980) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงทั่วโลก และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งวงเดอะบีเทิลส์ วงดนตรีที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ในประวัติศาสตร์วงการดนตรี ร่วมกับสมาชิก พอล แม็กคาร์ตนีย์ เขากลายเป็นคู่หูนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง

จอห์นเกิดและเติบโตที่เมืองลิเวอร์พูล ในวัยเด็กคลั่งไคล้ดนตรีแนวสกิฟเฟิล จอห์นได้เป็นสมาชิกวงเดอะควอร์รีเมน ต่อมาในปี 1960 เปลี่ยนเป็นเดอะบีเทิลส์ ครั้นยุบวงในปี 1970 เลนนอนออกผลงานเดี่ยวของตัวเอง เขาออกอัลบั้ม จอห์น เลนนอน/พลาสติกโอโนะแบนด์ และอัลบั้ม อิแมจิน ซึ่งได้รับคำยกย่องมากมาย อัลบั้มมีเพลงโดดเด่นอย่าง "กิฟพีซอะชานซ์" และ "เวิร์กกิงคลาสฮีโร" และ "อิแมจิน" หลังจอห์นสมรสกับโยโกะ โอโนะ ในปี 1969 เขาเปลี่ยนชื่อเป็น จอห์น โอโนะ เลนนอน เลนนอนปลีกตัวจากงานเพลงในปี 1975 เพื่อเลี้ยงดูบุตรชาย ฌอน แต่กลับมารวมตัวทำงานเพลงกับโยโกะ โอโนะ ในอัลบั้ม ดับเบิลแฟนตาซี เขาถูกฆาตกรรมสามสัปดาห์ก่อนออกอัลบั้มดังกล่าว

เลนนอนเผยให้เห็นนิสัยหัวรั้นและมีไหวพริบตรงไปตรงมาในด้านดนตรี การเขียน การวาดภาพ ภาพยนตร์ และในบทสัมภาษณ์ หลังจากมีประเด็นเกี่ยวกับกิจกรรมความเคลื่อนไหวเชิงสันติภาพและการเมือง เขาจึงย้ายไปแมนแฮตตัน ในปี 1971 ซึ่งคำวิจารณ์เกี่ยวกับสงครามเวียดนามทำให้รัฐบาลของริชาร์ด นิกสัน พยายามเนรเทศเขา แต่เพลงของเขาบางเพลงถูกนำไปเป็นเพลงสรรเสริญความเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามและกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรม

ในปี 2012 อัลบั้มเดี่ยวของเลนนอนขายได้มากกว่า 14 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา ในนามนักแต่งเพลง ผู้ช่วยนักแต่งเพลง และนักร้อง เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับซิงเกิลอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ถึง 25 เพลง ในปี 2002 ผลสำรวจของบีบีซีชื่อ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด 100 คน (100 Greatest Britons) จัดอันดับให้เลนนอนเป็นบุคคลลำดับที่ 8 ในปี 2008 นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับให้เขาศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลอันดับที่ห้า หลังเสียชีวิต เขาติดในหอเกียรติยศนักแต่งเพลงในปี 1987 และติดในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล สองครั้ง ในฐานะสมาชิกวงเดอะบีเทิลส์ในปี 1988 และฐานะนักร้องเดี่ยวในปี 1994[2]

ประวัติ

[แก้]

1940-57 ชีวิตวัยเด็ก

[แก้]
A grey two-story building, with numerous windows visible on both levels
บ้านเลขที่ 251 ถนนเมนเลิฟ ที่อยู่ของเลนนอนตลอดวัยเด็ก

เลนนอนเกิดในช่วงสงครามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 1940 ที่โรงพยาบาลลิเวอร์พูลมาเทอร์นิตี ให้กำเนิดโดย จูเลีย เลนนอน (นามสกุลเดิม สแตนลีย์) และอัลเฟรด เลนนอน เชื้อสายไอริช มีอาชีพเป็นพ่อค้าเดินเรือ และไม่ได้อยู่ด้วยกันขณะเขาเกิด[3] พวกเขาชื่อบุตรว่าจอห์นตามชื่อปู่ว่า จอห์น "แจ็ก" เลนนอน ส่วนชื่อกลาง วินสตัน มาจากวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น[4] พ่อของเขามักจากบ้านไปทำงานบ่อย ๆ แต่ก็ยังส่งเช็คเงินสดมาเป็นประจำที่บ้านเลขที่ 9 ถนนนิวคาสเซิล ลิเวอร์พูล ที่จอห์นอาศัยอยู่กับแม่[5] เช็คหยุดส่งมาหาพวกเขาในกุมภาพันธ์ 1944 เนื่องจากพ่อปลดประจำการโดยไม่ได้รับอนุญาต[6][7] ในที่สุด หกเดือนต่อมา พ่อของจอห์นกลับมาบ้าน เสนอว่าจะดูแลครอบครัว แต่จูเลีย ตั้งครรภ์กับชายคนอื่นแล้ว จึงปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว[8] หลังจากพี่สาวของจูเลีย มีมี สมิธ ร้องทุกข์กับบริการสังคมของลิเวอร์พูลถึงสองครั้ง จูเลียจึงส่งเลนนอนให้เธอดูแล ในเดือนกรกฎาคม 1946 พ่อของเลนนอนมาเยี่ยมสมิธ และพาเลนนอนไปเที่ยวในเมืองแบล็กพูล โดยตั้งใจลับ ๆ ว่าจะพาย้ายออกไปอยู่กับเขาที่ประเทศนิวซีแลนด์[9] แต่จูเลียและสามีคนใหม่ของเธอ บ็อบบี ไดกินส์ ตามไปจนพบ และหลังจากการทะเลาะวิวาทรุนแรง ผู้เป็นพ่อบังคับให้เลนนอนอายุ 5 ขวบเลือกว่าจะอยู่กับใคร เลนนอนเลือกพ่อของเขาถึงสองครั้ง แต่ขณะที่แม่ของเขาเดินจากไป เขาเริ่มร้องไห้และเลือกตามแม่ของเขาไป[10] เขาได้ติดต่อกับพ่อของเขาอีกครั้งหลังผ่านไป 20 ปี[11]

เลนนอนอาศัยอยู่กับลุงและป้า มีมี และ จอร์จ สมิธ ซึ่งไม่มีบุตรของตนเอง ที่เมนดิปส์ 251 ถนนเมนเลิฟ เมืองวูลตัน[12] ป้าซื้อนวนิยายเรื่องสั้นให้จอห์นหลายเล่ม และลุงเป็นเจ้าของฟาร์มวัวนมเคยซื้อหีบเพลงปากให้จอห์น และร่วมเล่นปริศนาอักษรไขว้กับจอห์นด้วย[13] จูเลียแวะมาที่เมนดิปส์เป็นประจำ และเมื่อจอห์นอายุได้ 11 ขวบ จอห์นมักจะมาเยี่ยมจูเลีย ที่ 1 ถนนบลอมฟิลด์ เมืองลิเวอร์พูล ซึ่งเธอเคยเล่นแผ่นเสียงของเอลวิส เพรสลีย์ สอนเขาเล่นแบนโจ และแสดงวิธีเล่นเพลงเพลง "เอนต์แดตอะเชม" ของแฟตส์โดมิโน[14] ในเดือนกันยายน 1980 เลนนอนให้ความเห็นเกี่ยวกับครอบครัวและนิสัยหัวรั้นของเขาว่า

ส่วนหนึ่งในตัวผมก็อยากเป็นที่ยอมรับในสังคม และไม่อยากเป็นกวีหรือนักดนตรีที่บ้าและเสียงดังน่ารำคาญ แต่ผมไม่อาจเป็นสิ่งที่ผมไม่ได้เป็นได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่พ่อแม่ของคนอื่น ๆ รวมถึงพ่อของพอล ต่างก็กล่าวว่า 'อยู่ห่างจากเขาไว้' พ่อแม่ของพวกเขารู้ดีจากสัญชาตญาณว่าผมเป็นคนสร้างปัญหา หมายความว่าผมไม่ปรับตัวและสิ่งที่ผมทำอาจส่งผลต่อลูก ๆ ของพวกเขาได้ ส่วนหนึ่งผมไม่ได้อิจฉาว่าผมไม่มีความเป็นอยู่ในบ้านอย่างเขา แต่ผมมี มีผู้หญิงห้าคนที่เคยเป็นครอบครัวของผม ผู้หญิงเข้มแข็ง ฉลาด และสวยงามห้าคน พี่สาวน้องสาวห้าคน คนหนึ่งเป็นแม่ของผม [เธอ] ไม่อาจจัดการกับชีวิตได้ เธออายุน้อยที่สุดและเธอมีสามีที่หนีออกทะเล และสงครามยังปะทุ และเธอไม่อาจรับมือกับผมกับ และต้องจบที่ผมไปอยู่กับพี่สาวของเธอ ตอนนี้ผู้หญิงเหล่านั้นเคยมหัศจรรย์ และนั่นเป็นบทเรียนเกี่ยวกับผู้หญิงครั้งแรกของผม ผมอยากบุกเข้าไปในจิตใจของเด็กชายคนอื่น ๆ และพูดว่า "พ่อแม่ไม่ใช่พระเจ้า เพราะผมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ผม ดังนั้น ผมจึงรู้"[15]

เขาแวะเยี่ยมลูกพี่ลูกน้องชื่อ สแตนลีย์ พากส์ ที่ฟลีตวูด เป็นประจำ พากส์ มีอายุมากกว่าเลนนอน 7 ปี เคยพาเขาเดินทางและไปโรงภาพยนตร์[16] ในช่วงหยุดเรียน พากส์มักมาเยี่ยมเลนนอนพร้อมกับเลลา ฮาร์วีย์ ลูกพี่ลูกน้องอีกคนหนึ่ง และพาเขาเดินทางไปแบล็กพูลสองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์เพื่อชมการแสดง พวกเขามักไปที่แบล็กพูลทาวเวอร์เซอร์คัส และชมศิลปินมากมาย ได้แก่ ดิกกี วาเลนไทน์ อาเธอร์ แอสกี แมกซ์ บายเกรฟส์ และโจ ลอส โดยพากส์จำได้ว่าเลนนอนชื่นชอบจอร์จ ฟอร์มบี[17] เป็นพิเศษ หลังจากครอบครัวของพากส์ย้ายไปประเทศสกอตแลนด์ ลูกพี่ลูกน้องทั้งสามคนใช้เวลาในวันหยุดร่วมกันที่นั่น พากส์จำได้ว่า "จอห์น เลลา และผม สนิทกันมาก พวกเราขับรถจากเอดินบะระ ขึ้นไปหาครอบครัวที่เดอร์เนส ตั้งแต่จอห์นอายุราว 9 ปี จนกระทั่งเขาอายุ 16 ปี"[18] ลุงจอร์จเสียชีวิตด้วยอาการตกเลือดที่ตับในวันที่ 5 มิถุนายน 1955 (สิริอายุ 52 ปี) เมื่อเลนนอนอายุ 14 ปี[19]

เลนนอนนับถือนิกายแองกลิคันและเข้าศึกษาที่โดฟเดลไพรแมรีสกูล[20] หลังจากผ่านการทดสอบอีเลเวนพลัส เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 1952 ถึง 1957 และฮาร์วีย์พูดถึงเขาว่า "เด็กหนุ่มร่าเริง เรียบง่าย อารมณ์ดี ไม่ทุกข์ไม่ร้อน"[21] เขามักวาดการ์ตูนขบขันลงนิตยสารที่โรงเรียนพิมพ์เองชื่อ เดอะเดลีฮาวล์[22] แต่แม้ว่าเขามีพรสวรรค์ด้านศิลปะ แต่ผลการเรียนของเขากลับออกมาเลวร้าย: "อยู่บนถนนสู่ความล้มเหลว สิ้นหวัง มากกว่าเป็นตัวตลกในห้องเรียน เสียเวลาของนักเรียนคนอื่น ๆ"[23]

แม่ของเขาซื้อกีตาร์ตัวแรกให้ในปี 1956 กีตาร์โปร่งรุ่นกีตาร์รุ่นแกลโลโทน แชมเปียน ราคาถูก โดยเธอให้ลูกชายยืมเงิน 5 ปอนด์ 10 ชิลลิง ในเงื่อนไขว่ากีตาร์ต้องถูกส่งมาที่บ้านของเธอ ไม่ใช่บ้านของมีมี เนื่องจากตระหนักว่าพี่สาวของเธอไม่สนับสนุนให้ลูกชายเป็นนักดนตรี[24] ขณะที่มีมีสงสัยกับคำกล่าวที่ว่าเขาจะต้องมีชื่อเสียงสักวัน เธอหวังว่าเขาจะเบื่อดนตรี และมักบอกเขาว่า "กีตาร์เป็นสิ่งที่ดีนะจอห์น แต่แกจะหาเลี้ยงชีพจากมันไม่ได้หรอก"[25] ในวันที่ 15 กรกฎาคม 1958 ขณะเลนนอนอายุ 17 ปี แม่ของเขาเดินออกจากบ้านหลังจากเยี่ยมบ้านของสมิธ ถูกรถยนต์ชนและเสียชีวิต[26]

เลนนอนสอบตกการวัดระดับการศึกษาทั่วไประดับโอทุกวิช และได้รับเลือกเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูลหลังจากป้าของเขาและอาจารย์ใหญ่เข้ามาช่วย[27] ขณะเรียนที่วิทยาลัย เขาเริ่มใส่ชุดเท็ดดีบอย และเป็นที่จดจำในเรื่องขัดขวางการเรียนการสอนและล้อเลียนครู ส่งผลให้เขาถูกคัดชื่อออกจากวิชาวาดภาพ วิชาศิลปะกราฟิก และถูกตักเตือนว่าจะถูกไล่ออก หลังจากเขามีพฤติกรรมนั่งบนตักของนางแบบเปลือยในวิชาวาดภาพคน[28] เขาสอบตกการสอบประจำปี แม้ว่ามีเพื่อนและอนาคตภรรยาของเขา ซินเธีย เพาเอลล์ คอยช่วยเหลือ และเขาถูก "ไล่ออกจากวิทยาลัยก่อนเรียนปีสุดท้าย"[29]

1957-70: เดอะควอร์รีเมน สู่ เดอะบีเทิลส์

[แก้]

1957-66: ก่อตั้งวง ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์และปีที่มีทัวร์

[แก้]

เมื่ออายุ 15 ปี เลนนอนก่อตั้งวงดนตรีแนวสกิฟเฟิลชื่อ เดอะควอร์รีเมน ตั้งชื่อตามชื่อโรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล เมื่อเดือนกันยายน 1956[30] ในฤดูร้อนปี 1957 เดอะควอร์รีเมนเล่น "เพลงหลายเพลงในแบบมีชีวิตชีวา" เป็นแนวครึ่งสกิฟเฟิลครึ่งร็อกแอนด์โรล[31] เลนนอนพบกับพอล แม็กคาร์ตนีย์ครั้งแรกในการแสดงครั้งที่สอง จัดขึ้นที่วูลตันในงานเลี้ยงในสวนของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ เขาชวนแม็กคาร์ตนีย์ให้มาร่วมเล่นกับวง[32]

แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าป้ามีมี "รู้ว่าเพื่อนของจอห์นเป็นคนฐานะด้อยกว่า" และมักจะดูแลเขาเมื่อเขามาหาเลนนอน[33] ไมก์ พี่ชายของพอล กล่าวว่า พ่อของแม็กคาร์ตนีย์ก็ไม่สนับสนุน พร้อมกล่าวว่าเลนนอนจะพาลูกชายของเขา "เจอแต่ปัญหา"[34] แม้ว่าต่อมาเขาอนุญาตให้ซ้อมดนตรีในห้องหน้าบ้านของแม็กคาร์ตนีย์ที่บ้านเลขที่ 20 ถนนฟอร์ทลิน[35][36] ในระหว่างนี้ เลนนอนอายุ 18 ปีเขียนเพลงแรกชื่อ "เฮลโลลิตเทิลเกิร์ล" เป็นเพลงดังติด 10 อันดับแรกในสหราชอาณาจักรของวงเดอะโฟร์โมสต์ในอีกห้าปีต่อมา[37]

แม็กคาร์ตนีย์แนะนำให้จอร์จ แฮร์ริสัน เป็นมือกีตาร์นำ[38] เลนนอนคิดว่าแฮร์ริสัน (อายุ 14 ปีในขณะนั้น) ยังอายุน้อยเกินไป แม็กคาร์ตนีย์ช่วยควบคุมเสียงให้บนดาดฟ้าของรถประจำทางลิเวอร์พูลให้กับแฮร์ริสันที่กำลังเล่นเพลง "รอนชี" ให้เลนนอน และได้รับชวนให้ร่วมวง[39] สจ๊วต ซัตคลิฟฟ์ เพื่อนจากโรงเรียนศิลปะของเลนนอนร่วมวงในตำแหน่งมือเบส[40] เลนนอน แม็กคาร์ตนีย์ แฮร์ริสัน และซัตคลิฟฟ์ รวมตัวกันเป็น "เดอะบีเทิลส์" ในต้นปี 1960 ในเดือนสิงหาคมปีนั้น เดอะบีเทิลส์ได้พำนักอยู่ที่ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี เป็นเวลา 48 คืน และเนื่องจากสิ้นหวังจากเหตุขาดมือกลอง จึงชวนพีต เบสต์ มาร่วมด้วย[41] เมื่อเลนนอนอายุ 19 ปี เขาบอกป้าเรื่องการเดินทางดังกล่าว ป้าของเขารู้สึกกลัว และขอร้องให้เขากลับมาเรียนศิลปะแทน[42] หลังอาศัยที่ฮัมบวร์คครั้งแรก วงกลับมาพำนักอีกครั้งในเดือนเมษายน 1961 และครั้งที่สามในเดือนเมษายน 1962 เลนนอนและเพื่อนร่วมวงได้รู้จักกับยาพรีลูดินขณะอยู่ที่ฮัมบวร์ค[43] และเริ่มเสพยาเป็นประจำ รวมถึงแอมเฟตามีนด้วย โดยใช้เป็นยากระตุ้นระหว่างการแสดงยาวนานข้ามคืน[44]

ไบรอัน เอปสไตน์ ผู้จัดการวงตั้งแต่ปี 1962 ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการจัดการศิลปินมาก่อน แต่มีอิทธิพลสูงจากรหัสการแต่งกายในยุคต้นและทัศนคติบนเวที[45] แรกเริ่ม เลนนอนไม่เห็นชอบความพยายามที่เขากระตุ้นวงให้แสดงดนตรีอย่างมืออาชีพ แต่ในที่สุดก็ยอมรับ กล่าวว่า "ผมจะสวมบอลลูนโชกเลือดถ้าจะมีสักคนจ่ายเงินผม"[46] แม็กคาร์ตนีย์เล่นเบสแทนซัตคลิฟฟ์ หลังจากซัตคลิฟฟ์ตัดสินใจอยู่ฮัมบวร์คต่อ และมือกลองชื่อ ริงโก สตาร์ มาแทนที่เบสต์ กลายเป็นสมาชิกวงชุดสมบูรณ์จนกระทั่งแยกวงในปี 1970 ซิงเกิลแรกของวง "เลิฟมีดู" ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม 1962 และขึ้นอันดับ 17 ในชาร์ตของสหราชอาณาจักร พวกเขาอัดอัลบั้มแรกชื่อ พลีสพลีสมี เสร็จในเวลา 10 ชั่วโมงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1963[47] ซึ่งเป็นวันที่เลนนอนเป็นหวัด[48] เห็นได้ชัดจากเสียงร้องของเขาในเพลง "ทวิสต์แอนด์เชาต์"[49] เพลงสุดท้ายที่อัดวันนั้น เลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์แต่งเพลงร่วมกันจำนวน 8 เพลงจาก 14 เพลง แต่มีข้อยกเว้น อย่างแรกคือชื่ออัลบั้ม เลนนอนยัง เล่นคำในเนื้อเพลงที่ร้องว่า "We were just writing songs ... pop songs with no more thought of them than that—to create a sound. And the words were almost irrelevant"[47] ในบทสัมภาษณ์ปี 1987 แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าบีเทิลส์คนอื่น ๆ หลงใหลในตัวจอห์น "เขาเป็นดั่งเอลวิสตัวน้อย ๆ ของพวกเรา เรานับถือจอห์น เขาแก่กว่าและค่อนข้างเป็นผู้นำ เขามีสติปัญญาว่องไวและฉลาดที่สุด"[50]

เดอะบีเทิลส์ประสบความสำเร็จกระแสหลักในสหราชอาณาจักรในช่วงต้นปี 1963 เลนนอนกำลังทัวร์คอนเสิร์ต ขณะที่ลูกชายคนแรกของเขา จูเลียน เกิดในเดือนเมษายน ในระหว่างการแสดงรายการโรยัลวาไรตีโชว์ ที่มีพระราชินีและราชวงศ์บริติชเข้าชมการแสดงด้วยนั้น เลนนอนเล่นตลกกับผู้ชมว่า "สำหรับเพลงต่อไป ผมอยากขอความช่วยเหลือจากพวกคุณ สำหรับคนที่นั่งที่นั่งราคาถูก ให้ปรบมือ ... และพวกคุณที่เหลือ หากคุณจะช่วยส่งเสียงเพชรพลอยให้ได้ยินสักหน่อย"[51] หลังช่วงบีเทิลเมเนียในสหราชอาณาจักรผ่านไปหนึ่งปี วงได้ปรากฏตัวครั้งประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในรายการ ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1964 ทำให้พวกเขาได้แจ้งเกิดสู่ความเป็นดาราต่างประเทศ ตามมาด้วยช่วงเวลาทัวร์ต่อเนื่องสองปี การถ่ายทำภาพยนตร์ และการแต่งเพลง ระหว่างนั้น เลนนอนเขียนหนังสือสองเล่มคือ อินฮิสโอนไรต์ และ อะสเปเนียดอินเดอะเวิกส์[52] เดอะบีเทิลส์เป็นที่จดจำจากสถาบันบริติช หลังจากเขาได้นัดพบกับขุนนางจากเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติช ในงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระราชินีปี 1965[53]

เลนนอนตระหนักว่าแฟนคลับที่ชมคอนเสิร์ตของบีเทิลส์ไม่อาจได้ยินเสียงดนตรีได้เนื่องจากเสียงกรีดร้องดังมาก และความสามารถทางดนตรีของวงเริ่มมีปัญหา[54] เพลง "เฮลป์!" (ช่วยด้วย!) ของเลนนอนในปี ปี 1965 แสดงความรู้สึกของเขาว่า "ผมหมายถึงอย่างนั้นจริง ๆ ผมกำลังร้องว่า 'ช่วยด้วย'"[55] เขาน้ำหนักขึ้น (ต่อมาเขาเรียกช่วงเวลานี้ว่า "เอลวิสอ้วน")[56] และรู้สึกว่าจิตใต้สำนึกของเขากำลังมองหาความเปลี่ยนแปลง[57] ในเดือนมีนาคมปีนั้น เขาได้รู้จักกับยาแอลเอสดีโดยไม่รู้ตัว เมื่อเขาดื่มกาแฟที่มียานั้นอยู่[58] ขณะที่เขา แฮร์ริสัน และภรรยาของพวกเขาพบกับหมอฟันเจ้าของงานสังสรรค์มื้อเย็น เมื่อพวกเขาต้องการออกจากงานเลี้ยง เจ้าบ้านเปิดเผยสิ่งที่พวกเขาดื่มเข้าไป และแนะว่าไม่ให้ออกจากบ้านเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์ ต่อมา ในลิฟต์ที่ไนต์คลับแห่งหนึ่ง พวกเขาทุกคนเชื่อว่าไฟกำลังครอกตัวพวกเขา "พวกเรากรีดร้อง... ร้อนและเหมือนเป็นโรคประสาท"[59] ในเดือนมีนาคม 1966 ระหว่างสัมภาษณ์กับนักข่าวหนังสือพิมพ์อีฟนิงสแตนดาร์ด มอรีน คลีฟ เลนนอนกล่าวว่า "คริสต์ศาสนาจะหายไป มันจะเลือนและหดหาย ตอนนี้พวกเราโด่งดังกว่าพระเยซูแล้ว ผมไม่รู้ว่าอะไรจะไปก่อนกัน ระหว่างร็อกแอนด์โรลกับคริสต์ศาสนา"[60] ความเห็นนี้ไม่เป็นที่สังเกตในอังกฤษ แต่ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อนิตยสารฉบับหนึ่งนำคำกล่าวไปใช้ที่นั่นในห้าเดือนถัดมา หลังจากนั้นมีการปะทะเชิงอารมณ์ตามมา กิจกรรมของการเคลื่อนไหวคูคลักซ์แคลนและการขู่ทำร้ายเลนนอนทำให้วงตัดสินใจหยุดทัวร์คอนเสิร์ต[61]

1967-70: ช่วงปีที่อัดเสียง การยุบวง และงานเพลงเดี่ยว

[แก้]

เนื่องจากขาดช่วงจากการแสดงสดหลังคอนเสิร์ตเชิงพาณิชย์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 สิงหาคม 1966 เลนนอนรู้สึกหลงทางและคิดลาออกจากวง[62] เนื่องจากเขาได้ใช้ยาแอลเอสดีโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เขาใช้ยานั้นเพิ่มขึ้น และเกือบเสพติดถาวรเกือบตลอดปี 1967[63] นักชีวประวัติ เอียน แม็กโดนัลด์ กล่าวว่า การที่เลนนอนใช้แอลเอสดีต่อเนื่องตลอดปีนั้นทำให้เขา "เกือบลบความเป็นตัวตนออกไป"[64] ปี 1967 มีเพลง "สตรอเบอรีฟิลส์ฟอร์เอฟเวอร์ ที่นิตยสารไทม์ทักว่าเป็น "งานประดิษฐ์ที่น่าทึ่ง"[65] และอัลบั้มที่โดดเด่นของวงคือ ซาร์เจินต์เปปเปอส์โลนลีฮาตส์คลับแบนด์ เผยเนื้อร้องของเลนนอนที่ขัดกับเพลงรักหลายเพลงในช่วงแรก ๆ ของเลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์อย่างมาก

ในเดือนสิงหาคม หลังจากได้เข้าชมรมมหาฤๅษี มเหศโยคี วงเข้าสัมมนาการทำสมาธิอดิศัยเพื่อขอคำแนะนำส่วนตัวในช่วงสุดสัปดาห์ที่แบงเกอร์ ประเทศเวลส์[66] และได้ข่าวการตายของเอปสไตน์ในระหว่างสัมมนา "ผมรู้ว่าเรามีปัญหาแล้วในตอนนั้น" เลนนอนกล่าวต่อมา "ผมไม่ได้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถอื่น ๆ ของพวกเรา นอกจากเล่นดนตรี และผมกลัว"[67] ต่อมา เดอะบีเทิลส์เดินทางไปที่อาศรมของมหาฤๅษีที่ประเทศอินเดียเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม[68] ขณะอยู่ที่นั่น พวกเขาแต่งเพลงหลายเพลงสำหรับอัลบั้มเดอะบีเทิลส์ และแอบบีย์โรดด้วย[69]

เลนนอนได้แสดงภาพยนตร์ต่อต้านสงครามเรื่อง ฮาวไอวันเดอะวอร์ แบบเต็มเรื่องเพียงเรื่องเดียวที่ไม่เกี่ยวกับเดอะบีเทิลส์ ภาพยนตร์ออกฉายในเดือนตุลาคม 1967[70] แม็กคาร์ตนีย์เป็นคนจัดการโครงการโครงการแรกของวงหลังเอปไตน์เสียชีวิต[71] ในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง แมจิคัลมิสเตอรีทัวร์ โดยพวกเขาเขียนบทเอง ผลิตเอง และกำกับเอง ฉายในเดือนธันวาคมปีนั้นเอง แม้ว่าภาพยนตร์จะล้มเหลวอย่างหนัก แต่เพลงประกอบภาพยนตร์ "ไอแอมเดอะวอลรัส" ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากลูอิส แคร์รอลและทำให้เลนนอนได้รับคำชม กลับประสบความสำเร็จ[72][73] หลังจากเอปสไตน์จากไป สมาชิกวงเข้ามาทำกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และในเดือนกุมภาพันธ์ 1968 พวกเขาก่อตั้งแอปเปิลคอร์ บริษัทมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยค่ายเพลงแอปเปิลเรเคิดส์ และบริษัทย่อยอีกหลายบริษัท เลนนอนพูดถึงการทำธุรกิจครั้งนี้ว่าเป็นความพยายามที่จะบรรลุ "อิสรภาพทางศิลปินภายในโครงสร้างธุรกิจ"[74] แต่ด้วยการใช้ยาที่มากขึ้น ความลุ่มหลงในตัวโยโกะ โอโนะ และแผนการสมรสของแม็กคาร์ตนีย์ เลนนอนลาออกจากแอปเปิลเนื่องจากต้องการการจัดการที่เป็นมืออาชีพ เลนนอนขอให้ลอร์ด บีชิง เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่เขาปฏิเสธ โดยแนะนำเลนนอนให้กลับไปทำเพลง เลนนอนไปหาอัลเลน ไคลน์ ซึ่งเคยทำดนตรีให้เดอะโรลลิงสโตนส์และวงอื่น ๆ ระหว่างยุคการรุกรานของชาวบริติช เลนนอน แฮร์ริสัน และสตาร์ มอบหมายให้ไคลน์ทำหน้าที่ผู้บริหาร[75] แต่แม็กคาร์ตนีย์ไม่เซ็นสัญญาดังกล่าว[76]

ปลายปี 1968 เลนนอนแสดงในภาพยนตร์เรื่องเดอะโรลลิงสโตนร็อกแอนด์โรลเซอร์คัส (ออกฉายในปี 1996) ในบทสมาชิกวงเดอร์ตีแม็ก ซูเปอร์กรุปนี้ประกอบด้วยจอห์น เลนนอน เอริก แคลปตัน คีธ ริชาดส์ และมิตช์ มิตเชลล์ และร้องเบื้องหลังโดยโอโนะ[77] เลนนอนและโอโนะสมรสกันในวันที่ 20 มีนาคม 1969 และออกจำหน่ายภาพพิมพ์หินชื่อ "แบกวัน" (Bag One) 14 ภาพ เป็นภาพบรรยายถึงช่วงเวลาฮันนีมูนของพวกเขา ภาพจำนวนแปดภาพถูกมองว่าไม่เหมาะสมและส่วนใหญ่ถูกห้ามจำหน่ายและริบไว้[78] ความสร้างสรรค์ของเลนนอนยังคงดำเนินต่อไปกับวงเดอะบีเทิลส์ และระหว่างปี 1968 และ 1969 เขาและโอโนะบันทึกอัลบั้มเพลงแนวดนตรีทดลองร่วมกัน ได้แก่ อัลบั้มอันฟินิชด์มิวสิกนัมเบอร์ 1: ทูเวอร์จินส์[79] (ปกเป็นที่รู้จักมากกว่าเพลง) อันฟินิชด์มิวสิกนัมเบอร์ 2: ไลฟ์วิดเดอะไลออนส์ และเวดดิงอัลบั้ม ในปั 1969 พวกเขาตั้งวง พลาสติกโอโนะแบนด์ ออกอัลบั้มไลฟ์พีซอินโทรอนโต 1969 ระหว่างปี 1969 และ 1970 เลนนอนออกซิงเกิล "กิฟพีซอะชานซ์" (ถูกนำไปเปิดเป็นเพลงรณรงค์การต่อต้านสงครามเวียดนามในปี 1969)[80] "โคลด์เทอร์คี" (เล่าเรื่องการถอนยาหลังจากเขาเสพติดเฮโรอีน)[81] และ "อินสแตนต์คาร์มา" ในการประท้วงการที่บริเตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองไนจีเรีย[82] กองกำลังสนับสนุนของอเมริกาในสงครามเวียดนาม และประท้วงที่เพลง "โคลด์เทอร์คี" ตกอันดับชาร์ต[83] เลนนอนคืนเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติชให้พระราชินี แม้ว่าจะไม่มีผลใด ๆ ต่อสถานะของเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติชของเขา เนื่องจากสถานะไม่อาจยกเลิกได้[84]

เลนนอนออกจากวงเดอะบีเทิลส์ในเดือนกันยายน 1969[85] และจะไม่ชี้แจงสื่อใด ๆ ขณะที่เจรจาสัญญาครั้งใหม่กับสังกัด แต่เขาโกรธที่แม็กคาร์ตนีย์เผยแพร่การแยกทางจากวงโดยออกผลงานเดี่ยวอัลบั้มแรกในเดือนเมษายน 1970 เลนนอนมีปฏิกิริยาว่า "พระเจ้า! เขาเอาหน้าอยู่คนเดียวเลย"[86] เขายังเขียนต่อไปว่า "ผมก่อตั้งวง ผมยุบวง ง่าย ๆ อย่างนั้นเลย"[87] ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารโรลลิงสโตน เขาแสดงความขุ่นเคืองต่อแม็กคาร์ตนีย์ว่า "ผมมันโง่ที่ไม่ทำอย่างที่พอลทำ เพื่อที่จะใช้ข่าวนี้ขายงานเพลง"[88] เขายังพูดว่าเขารับรู้ได้ถึงความเป็นปฏิปักษ์ที่สมาชิกคนอื่นมีต่อโอโนะ และเกี่ยวกับว่าแฮร์ริสัน และสตาร์ รู้สึก "เบื่อการเป็นตัวประกอบให้กับพอล ... หลังจากไบรอัน เอปสไตน์เสียชีวิต พวกเราประสบปัญหา พอลรับช่วงต่อ และเป็นผู้นำทางพวกเรา แต่อะไรจะนำทางเราได้เมื่อเราเดินทางเป็นวงกลม"[89]

1970-80: งานเดี่ยว

[แก้]

1970-72: ความสำเร็จในฐานะนักร้องเดี่ยวและกิจกรรมในช่วงแรก

[แก้]

ในปี 1970 เลนนอนและโอโนะเข้ารับการบำบัดพื้นฐานกับอาร์เธอร์ แจเนิฟ ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย การบำบัดถูกออกแบบมาให้ปลดปล่อยความเจ็บปวดทางอารมณ์ในวัยเด็กออกมา การบำบัดกับแจเนิฟใช้เวลา 4 เดือน เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งวัน เลนนอนอยากบำบัดให้นานกว่านั้น แต่พวกเขารู้สึกว่าไม่จำเป็นและเดินทางกลับลอนดอน[90] อัลบั้มเพลงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกอัลบั้มแรกของเลนนอน จอห์น เลนนอน/พลาสติกโอโนะแบนด์ (1970) ได้รับคำชมอย่างสูง นักวิจารณ์ เกรล มาร์คัส กล่าวว่า "ท่อนที่จอห์นร้องในท่อนสุดท้ายของ 'ก๊อด' อาจจะเป็นท่อนร็อกที่ดีที่สุด"[91] อัลบั้มมีเพลง "มาเธอร์" ซึ่งเลนนอนเคยต้องเผชิญกับความรู้สึกที่มีต่อการถูกปฏิเสธในวัยเด็ก[92] และเพลง "เวิร์กกิงคลาสฮีโร" เป็นการโจมตีระบบทางสังคมชนชั้นกลาง ซึ่งจากเนื้อเพลงที่ว่า "you're still fucking peasants" แสดงความรังเกียจต่อนักข่าว[93][94] ในปีเดียวกัน มุมมองทางการเมืองของทารีก อาลี ที่แสดงออกขณะสัมภาษณ์เลนนอน เป็นแรงบันดาลใจให้เลนนอนเขียนเพลง "เพาเวอร์ทูเดอะพีเพิล" เลนนอนยังพัวพันกับอาลีในการประท้วงต่อต้านการฟ้องร้องเกี่ยวกับความลามกของนิตยสารออซ เลนนอนประณามการพิจารณาคดีความนี้ว่า "ฟาสซิสม์น่าขยะแขยง" และเขากับโอโนะ (ในนาม อิลาสติกออซแบนด์) ออกซิงเกิล "ก๊อดเซฟอัส/ดูดิออซ" และร่วมเดินขบวนสนับสนุนนิตยสารดังกล่าว[95]

อัลบั้มต่อไปของเลนนอน อิแมจิน (1971) ได้รับการป้องกันจากการตอบรับที่หนักหน่วง นิตยสารโรลลิงสโตนรายงานว่า "อัลบั้มประกอบด้วยสัดส่วนของดนตรีที่ดี" แต่ตำหนิถึงความเป็นไปได้ว่า "ทัศนคติของเขาไม่เพียงแต่จะดูโง่แต่ดูไม่สัมพันธ์กันด้วย"[96] เพลงที่ชื่อเดียวกับอัลบั้มจะกลายเป็นเพลงประจำความเคลื่อนไหว้ต่อต้านสงคราม[97] ขณะที่อีกเพลงหนึ่ง "ฮาวดูยูสลีป" เป็นเพลงที่โจมตีแม็กคาร์ตนีย์ เป็นการตอบสนองเนื้อเพลงจากอัลบั้มแรม ซึ่งเลนนอนรู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับเขาและโอโนะโดยตรง และต่อมาแม็กคาร์ตนีย์ก็ยืนยันเช่นนั้น[98] อย่างไรก็ตาม เลนนอนปรับทัศนคติให้อ่อนโยนลงในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 และกล่าวว่าเขาแต่งเพลง "ฮาวดูยูสลีป" เพื่อพูดถึงตนเอง[99] เขากล่าวในปี 1980 ว่า "ผมเคยใช้ความโกรธเคืองพอลมาสร้างเป็นเพลงเพลง ไม่ใช่ความพยาบาทสยดสยองเสื่อมทราม ผมใช้ความโกรธเคืองและการถอนตัวจากพอลและเดอะบีเทิลส์ และความสัมพันธ์ที่มีต่อพอล มาเขียนเป็นเพลง 'ฮาวดูยูสลีป' ผมไม่ได้มัวแต่คิดแต่เรื่องพรรณนั้นอยู่ตลอดเวลา"[100]

เลนนอนและโอโนะย้ายไปที่นิวยอร์กในเดือนสิงหาคม 1971 และออกเพลง "แฮปปีเอกซ์มาส (วอร์อิสโอเวอร์)" ในเดือนธันวาคม[101] ในช่วงปีใหม่ สมัยของประธานาธิบดีนิกสันใช้สิ่งที่เรียกว่า "มาตรการต่อต้านเชิงกลยุทธ์" กับการต่อต้านสงครามและโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านนิกสันของเลนนอน เริ่มขึ้นในช่วงปีที่พยายามเนรเทศเขา ในปี 1972 เลนนอนและโอโนะเข้าร่วมเหตุการณ์ลุกฮือหลังเลือกตั้งในที่พักที่นิวยอร์กของนักกิจกรรม เจอร์รี รูบิน หลังจากแม็กโกเวิร์นพ่ายให้กับนิกสัน[102][103] หลังเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เลนนอนถูกยกเลิกสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรของสหรัฐอเมริกา (มีผลในปี 1976)[104] เลนนอนรู้สึกหดหู่ มึนเมา และมีเพศสัมพันธ์กับแขกผู้หญิงคนหนึ่ง ปล่อยให้โอโนะรู้สึกละอายใจ เพลงของเธอ "เดทออกซาแมนธา" มีแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์นี้[105]

อัลบั้มซัมไทม์อินนิวยอร์กซิตี วางจำหน่ายในปี 1972 อัลบั้มอัดเสียงโดยเลนนอนและโอโนะร่วมมือกับวงดนตรีเบื้องหลังจากนิวยอร์กชื่อ แอลเลอเฟินส์เมมโมรี เนื่องจากอัลบั้มมีเพลงหลายเพลงเกี่ยวกับสิทธิสตรี ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ บทบาทของบริเตนในไอร์แลนด์เหนือ และปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองบัตรสีเขียวของเลนนอน[106] อัลบั้มมีการตอบรับที่ไม่ดีนัก นักวิจารณ์คนหนึ่งกล่าวว่า ทนฟังไม่ได้[107] เพลง "วูแมนอิสเดอะนิกเกอร์ออฟเดอะเวิลด์" จำหน่ายเป็นซิงเกิลในสหรัฐอเมริกาจากอัลบั้มดังกล่าวในปีเดียวกัน ออกอากาศทางโทรทัศน์ในวันที่ 11 พฤษภาคม ทางรายการเดอะดิกแควิตต์โชว์ สถานีวิทยุหลายแห่งไม่ยอมออกอากาศเพลงดังกล่าวเพราะมีคำว่า "nigger"[108] เลนนอนและโอโนะจัดคอนเสิร์ตสองครั้งร่วมกับวงแอลเลอเฟินส์เมมโมรี และแขกรับเชิญในนิวยอร์กเพื่อหารายได้ช่วยผู้ป่วยในศูนย์สุขภาพจิตของโรงเรียนวิลโลว์บรุกสเตตสกูล[109] คอนเสิร์ตจัดขึ้นที่สวนเมดิสันสแควร์การ์เดนในวันที 30 สิงหาคม 1972 เป็นคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายของเขา[110]

1973–1975: "สุดสัปดาห์ที่หายไป" (lost weekend)

[แก้]

ขณะที่เลนนอนกำลังอัดเสียงอัลบั้ม ไมนด์เกมส์ (1973) เขาและโอโนะตัดสินใจแยกทางกัน เวลาผ่านไป 18 เดือน เขาใช้ชีวิตอยู่ในลอสแอนเจลิสและนิวยอร์กในบริษัทของเมย์ แพง เขาเรียกช่วงเวลานี้ว่า "สุดสัปดาห์ที่หายไป" (lost weekend)[111] อัลบั้มไมนด์เกมส์ออกภายใต้ชื่อศิลปินว่า "พลาสติก ยู.เอฟ.โอโนะแบนด์" ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1973 เลนนอนร่วมแต่งเพลง "ไอม์เดอะเกรตเทสต์" ในอัลบั้มริงโก (1973) ของริงโก สตาร์ วางจำหน่ายในเดือนเดียวกัน (มีอีกเวอร์ชันถึงจากตอนอัดอัลบั้มริงโก 1973 โดยเลนนอนร้องนำ ปรากฏในบ็อกซ์เซตจอห์นเลนนอนแอนโทโลจี)

ต้นปี ค.ศ. 1974 เลนนอนดื่มหนักและพฤติกรรมที่เกิดจากแอลกอฮอล์ระหว่างเขากับแฮร์รี นิลสันทำให้เกิดพาดหัวข่าว เหตุการณ์ใหญ่สองเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเกิดขึ้นที่คลับเดอะทรูบาโดร์ในเดือนมีนาคม ครั้งแรก เมื่อเลนนอนวางผ้าอนามัยบนหน้าผากและทะเลาะกับบริกรหญิงคนหนึ่ง ครั้งที่สอง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ เมื่อเลนนอนและนิลสันถูกไล่ออกจากร้านเดียวกันหลังจากทะเลาะวิวาทกับวงสมาเทอส์บราเธอส์[112] เลนนอนตัดสินใจทำอัลบั้มของนิลสันชื่อ พุสซีแคตส์ และแพงเช่าบ้านริมหาดที่ลอสแอนเจลิสให้กับนักดนตรีทุกคน[113] แต่หนึ่งเดือนหลังเกิดพฤติกรรมเสเพล ผนวกกับช่วงอัดเสียงเกิดความโกลาหล เลนนอนย้ายไปนิวยอร์กกับแพงเพื่อทำอัลบั้มเพลงจนเสร็จ ในเดือนเมษายน เลนนอนทำเพลง "ทูเมนีคุกส์ (สปอยส์เดอะซุป)" ของมิก แจกเกอร์ เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับสัญญา เพลงไม่ได้ออกเผยแพร่นานกว่า 30 ปี แพงบรรจุเพลงไว้ในอัลบั้มรวมเพลง เดอะเวรีเบสต์ออฟมิกแจกเกอร์ (2007)[114]

กลับไปที่นิวยอร์ก เลนนอนอัดอัลบั้ม วอลส์แอนด์บริดเจส วางจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 ในอัลบั้มมีเพลง "วอตเอเวอร์เกตส์ยูทรูเดอะไนต์" ได้เอลตัน จอห์นมาร้องเบื้องหลังและบรรเลงเปียโนให้ และกลายเป็นซิงเกิลเดี่ยวเพลงเดียวของเลนนอนที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่[115]b ซิงเกิลที่สองจากอัลบั้มคือ "#9 ดรีม" วางจำหน่ายตามมาในปลายปี เลนนอนช่วยแต่งเพลงและบรรเลงเปียโนให้สตาร์อีกครั้งในอัลบั้มกูดไนต์เวียนนา (1974)[116] ในวันที่ 28 พฤศจิกายน เลนนอนเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตขอบคุณพระเจ้าของเอลตัน จอห์นที่แมดิสันสแควร์การ์เดน ตามสัญญาที่ว่าเขาจะร่วมแสดงสดหากเพลง "วอตเอเวอร์เกตส์ยูทรูเดอะไนต์" ประสบความสำเร็จและขึ้นอันดับหนึ่ง เลนนอนแสดงเพลงนั้น ร่วมด้วยเพลง "ลูซีอินเดอะสกายวิทไดมอนส์" และ "ไอซอว์เฮอร์สแตนดิงแดร์" ซึ่งเขากล่าวก่อนร้องเพลงดังกล่าวว่า "เป็นเพลงของคู่หมั้นที่บาดหมางกับผม ชื่อพอล"[117]

เลนนอนร่วมแต่งเพลง "เฟม" เพลงอันดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกาของเดวิด โบอี และเล่นกีตาร์และร้องเพลงเบื้องหลังขณะอัดเสียงในปี ค.ศ. 1975[118] ในเดือนเดียวกันนั้น เพลง "ลูซีอินเดอะสกายวิทไดมอนส์" ที่เอลตัน จอห์นนำมาร้องใหม่ขึ้นอันดับหนึ่ง โดยมีเลนนอนเล่นกีตาร์และร้องเบื้องหลังให้ (เลนนอนได้เครดิตในซิงเกิลภายใต้ชื่อเล่น "ดร.วินสตัน โอบูกี") ไม่นานหลังจากนั้น เขาและโอโนะกลับมารวมตัวกัน เลนนอนออกอัลบั้ม ร็อกเอ็นโรล (1975) อัลบั้มที่มีแต่เพลงทำใหม่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ "แสตนด์บายมี" เป็นอีกเพลงจากอัลบั้มและได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เป็นซิงเกิลสุดท้ายของเขาตลอดเวลาห้าปี[119] เขาปรากฏตัวบนเวทีครั้งสุดท้ายในงานอะซาลูตทูลิว เกรด จัดโดยเอทีวี บันทึกรายการในวันที่ 18 เมษายนและออกอากาศในเดือนมิถุนายน[120] เลนนอนแสดงเพลงจากอัลบั้มร็อกเอ็นโรลสองเพลง ("แสตนด์บายมี" ซึ่งไม่ได้ออกอากาศ และ "สลิปปินแอนด์สไลดิน") ตามด้วยเพลง "อิแมจิน" โดยเลนนอนเล่นกีตาร์โปร่งและหนุนด้วยวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีแปดชิ้น[120] วงดนตรีมีชื่อว่าเอตเซตเทรา (Etc.) สวมหน้ากากไว้หลังศีรษะ ซึ่งเลนนอนคิดเย้าแหย่ว่าเกรดเป็นพวกตีสองหน้า

1975-1980: พักงานดนตรีและการกลับมา

[แก้]

หลังให้กำเนิดบุตรชายคนที่สอง ฌอน ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1975 เลนนอนทำหน้าที่เป็นพ่อบ้าน เริ่มจากการพักงานดนตรีนานห้าปีและใส่ใจครอบครัวของเขา[121] ภายในเดือนนั้น เขาทำสัญญาผูกมัดกับสังกัดอีเอ็มไอ/แคปิตอลว่าจะทำอัลบั้มเพลงอีกหนึ่งอัลบั้ม โดยออกอัลบั้มเชฟด์ฟิช อัลบั้มรวมเพลงที่เคยอัดไว้แล้ว[121] เขาสละเวลาตนเองให้ฌอน ตื่นนอนเวลา 6 โมงเช้าทุกวันเพื่อเตรียมอาหารและใช้เวลากับลูก[122] เขาแต่งเพลง "คุกกิน (อินเดอะคิตเชนออฟเลิฟ)" ให้สตาร์ในอัลบั้มริงโกส์โรโทกราเวียร์ และบันทึกเสียงเพลงนี้ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการบันทึกเสียงครั้งสุดท้ายของเขาจนปี ค.ศ. 1980[123] เขาประกาศพักงานดนตรีอย่างเป็นทางการในโตเกียวในปี ค.ศ. 1977 โดยกล่าวว่า "เราตัดสินใจแล้ว ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว เราจะอยู่กับลูกของเราให้นานที่สุดจนเรารู้สึกว่าเราจะขอปลีกตัวออกมาทำสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากครอบครัวได้อีก"[124] ในช่วงพัก เขาวาดภาพหลายภาพ และร่างหนังสือรวบรวมเรื่องราวอัตชีวประวัติและสิ่งที่เขาเรียกว่า "สิ่งของวิกลจริต" (mad stuff)[125] ทั้งหมดได้รับการตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิต

หลังพักงานดนตรี เลนนอนกลับมาในวันที่ตุลาคม ค.ศ. 1980 โดยออกซิงเกิล "(จัสต์ไลก์) สตาร์ทิงโอเวอร์" ตามมาด้วยอัลบั้มดับเบิลแฟนตาซีในเดือนถัดมา อัลบั้มมีเพลงที่แต่งระหว่างเลนนอนเดินทางไปเบอร์มิวดาบนเรือใบยาว 43 ฟุต เมื่อเดือนมิถุนายน[126] ซึ่งสะท้อนถึงความอิ่มเอมในชีวิตครอบครัวที่มั่นคง[127] ต่อมามีการวางแผนอัดเสียงอัลบั้มเพลงถัดไปคือ มิลก์แอนด์ฮันนี (ออกจำหน่ายหลังเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1984)[128] อัลบั้มดับเบิลแฟนตาซีออกจำหน่ายร่วมกันในนามเลนนอนและโอโนะ ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีนัก ความคิดเห็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์เมโลดีเมเกอร์กล่าวว่า "ตามใจตัวจนเป็นหมัน ... เรื่องน่าเบื่อที่โหดร้าย"[129]

8 ธันวาคม 1980: การเสียชีวิต

[แก้]
สตรอเบอรีฟิลส์ในเซนทรัลพาร์ก และเดอะดาโคตาอยู่เบื้องหลัง

เวลา 22:50 น. วันที่ 8 ธันวาคม 1980 ขณะเลนนอนและโอโนะกลับเข้าห้องพักเดอะดาโคตา ในรัฐนิวยอร์ก มาร์ก เดวิด แชปแมนยิงเลนนอนเข้าที่หลัง 4 ครั้งที่ทางเข้าอาคาร เลนนอนถูกนำตัวส่งห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลรูสเวลต์ และประกาศว่าเลนนอนเสียชีวิตขณะพามาโรงพยาบาลในเวลา 23:00 น.[130] เย็นวันนั้น เลนนอนเพิ่งได้แจกลายเซ็นบนปกอัลบั้มดับเบิลแฟนตาซีให้กับแชปแมน[131]

โอโนะให้สัมภาษณ์ในวันถัดมาว่า "จะไม่มีงานศพจอห์น" และปิดท้ายว่า "จอห์นรักและสวดมนต์แด่ชาติพันธุ์มนุษย์ โปรดช่วยกันสวดมนต์ภาวนาถึงสิ่งเดียวกันเพื่อเขาเถิด"[132] ศพของเขาถูกฌาปนกิจที่สุสานเฟิร์นคลิฟฟ์เซเมเทรี ในฮาตส์เดล รัฐนิวยอร์ก โอโนะโปรยอัฐิของเขาที่เซนทรัลพาร์กในนิวยอร์ก ที่ที่ต่อมากลายเป็นอนุสรณ์สตรอเบอรีฟิลส์[133] แชปแมนสารภาพผิดต่อคดีฆาตกรรมระดับสองและได้รับตัดสินจำคุก 20 ปีถึงตลอดชีวิต[134] นับถึงปี 2016 เขายังคงอยู่ในคุก และถูกปฏิเสธการปล่อยตัวถึงแปดครั้ง[135]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ซินเธีย เลนนอน

[แก้]

เลนนอนและซินเธีย เพาเอลล์ (1939–2015) พบกันในปี 1957 เป็นนักเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล[136] แม้ว่าซินเธียจะเกรงกลัวทัศนคติและรูปกายของเลนนอน แต่เธอได้ยินว่าเขาหลงใหลนักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส บรีฌิต บาร์โด เธอจึงย้อมผมบลอนด์ เลนนอนชวนเธอเที่ยว แต่เมื่อเธอบอกว่าเธอหมั้นแล้ว เขาตะโกนดัง ๆ ว่า "ผมไม่ได้ขอคุณแต่งงานนะ"[137] เธอจึงไปงานแสดงของวงเดอะควอร์รีเมนกับเขาและเดินทางไปเยี่ยมเขาที่ฮัมบวร์คพร้อมกับคนรักของแม็กคาร์ตนีย์ในเวลานั้น เลนนอนซึ่งมีนิสัยขี้หึง จึงเกิดความหึงวงและมักทำให้เพาเอลล์เกรงกลัวความเกรี้ยวโกรธและความรุนแรงถึงเนื้อถึงตัวของเขา[138] ต่อมาเลนนอนกล่าวว่า เขายังไม่เคยสงสัยในทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อผู้หญิงในตัวเขาจนกระทั่งเขาพบกับโอโนะ เขากล่าวว่าเพลง "เกตทิงเบตเทอร์" ของเดอะบีเทิลส์ เล่าเรื่องราวของเขาเอง "ผมเคยโหดร้ายกับผู้หญิง และถึงเนื้อถึงตัวกับผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นคนใด ผมชอบตบตี ผมไม่อาจแสดงตัวตนของผมได้และผมก็ตบตี ผมสู้กับผู้ชายและผมตบตีผู้หญิง จึงเป็นเหตุที่ผมมักจะพูดถึงเรื่องสันติภาพตลอดเวลา"[121]

เมื่อระลึกถึงการกระทำในเดือนกรกฎาคม 1962 ว่าซินเธียตั้งครรภ์ เลนนอนกล่าวว่า "มีสิ่งเดียวที่ทำได้ ซิน เราต้องแต่งงานกัน"[139] ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันในวันที่ 23 สิงหาคมที่สำนักทะเบียนเมาต์เพลเซินต์ในลิเวอร์พูล การสมรสเริ่มขึ้นช่วงบีเทิลเมเนียเริ่มแพร่หลายในสหราชอาณาจักร เขาแสดงในเย็นวันแต่งงาน และแสดงเช่นนี้เรื่อยไปเกือบทุกวัน[140] เอปสไตน์ ซึ่งเกรงกลัวว่าการที่บีเทิลคนหนึ่งแต่งงานจะทำให้แฟนคลับจะถูกเมิน จึงขอให้เลนนอนเก็บเรื่องสมรสไว้เป็นความลับ จูเลียนถือกำเนิดในวันที่ 8 เมษายน 1963 เลนนอนกำลังทัวร์คอนเสิร์ตและได้พบลูกชายหลังจากนั้นสามวัน[141]

ซินเธียแจงว่าสาเหตุที่เตียงหักคือแอลเอสดี ผลก็คือ เธอรู้สึกว่าเขาเริ่มสนใจเธอน้อยลง[142] เมื่อวงเดินทางไปงานสัมมนาการสมาธิอดิศัยของมาฮาริชิ โยกิ ที่แบงเกอร์ ประเทศเวลส์ ทางรถไฟ ในปี 1967 ตำรวจคนหนึ่งจำหน้าเธอไม่ได้ และไม่อนุญาตให้เธอโดยสารรถไฟ ต่อมาเธอจำได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นดั่งสัญลักษณ์แทนจุดจบของการสมรส[143] หลังมาถึงบ้านที่เคนวูด และพบเลนนอนอยู่กับโอโนะ ซินเธียออกจากบ้านไปอยู่กับเพื่อน ภายหลัง อเล็กซิส มาร์ดัส อ้างว่านอนกับเธอคืนนั้น และสองสามสัปดาห์ถัดมา เขาบอกเธอว่าเลนนอนกำลังหาทางหย่าร้างและพาจูเลียนไปอยู่ด้วย โดยอ้างว่าเพราะเธอมีชู้ หลังเจรจาต่อรอง เลนนอนยินยอม และยอมให้เธอหย่ากับเขาในข้อหาเดียวกัน คดีนี้ถูกตัดสินในศาลในเดือนพฤศจิกายน 1968 โดยเลนนอนจ่ายให้เธอ 100,000 ปอนด์ (240,000 ดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น) เป็นค่าใช้จ่ายรายปีเล็กน้อย และให้เธอเป็นผู้ปกครองจูเลียนต่อไป[144]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Christgau, Robert. "John Lennon | Biography, Songs, Albums, Death, & Facts". Britannica. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
  2. "Lennon's 70th birthday". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.
  3. Harry 2000b, p. 504.
  4. Spitz 2005, p. 24: "Julia offered the name in honour of ... Winston Churchill".
  5. Spitz 2005, p. 24: "The entire Stanley clan gathered nightly at Newcastle Road".
  6. Lennon 2005, p. 54: "Until then he had sent her money each month from his wages, but now it stopped".
  7. Spitz 2005, p. 26: "In February 1944 ... he was arrested and imprisoned. Freddie subsequently disappeared for six months".
  8. Spitz 2005, p. 27.
  9. Lennon 2005, p. 56: "Alf admitted to her that he had planned to take John to live in New Zealand".
  10. Spitz 2005, p. 30: "Julia went out of the door ... John ran after her".
  11. Spitz 2005, p. 497.
  12. Lennon 2005, p. 56: "Hard to see why Mimi wanted John, as she had always said she didn't want children".
  13. Spitz 2005, p. 32: "When he was old enough, taught John how to solve crossword puzzles".
  14. Spitz 2005, p. 48: "To get them started, she applied the triad to 'Ain't That a Shame'".
  15. Sheff 1981, pp. 134–136.
  16. Spitz 2005, p. 32: "Parkes recalled ... Leila and John to the cinema as often as three times a day".
  17. Harry 2009.
  18. Harry 2000b, p. 702.
  19. Harry 2000b, p. 819.
  20. Harry 2000b, p. 411.
  21. Spitz 2005, pp. 32–33.
  22. Spitz 2005, p. 40.
  23. ClassReports 2008.
  24. Spitz 2005, p. 45.
  25. Norman 2008, p. 89.
  26. Miles 1997, p. 48.
  27. Spitz 2005, p. 100.
  28. Harry 2000b, pp. 553–555.
  29. Lennon 2005, p. 50.
  30. Harry 2000b, p. 738.
  31. Spitz 2005, p. 95.
  32. Spitz 2005, pp. 93–99.
  33. Miles 1997, p. 44.
  34. Miles 1997, p. 32.
  35. Miles 1997, pp. 38–39.
  36. Lennon 2005, p. 47.
  37. Harry 2000b, pp. 337–338.
  38. Miles 1997, pp. 47, 50.
  39. Miles 1997, pp. 47.
  40. Lennon 2005, p. 64.
  41. Miles 1997, p. 57.
  42. Lennon 2005, p. 53.
  43. Miles 1997, pp. 66–67.
  44. Lennon 2005, p. 57.
  45. The Beatles 2000, p. 67.
  46. Frankel 2007.
  47. 47.0 47.1 Harry 2000b, p. 721.
  48. Lewisohn 1988, pp. 24–26: "Twist and Shout, which had to be recorded last because John Lennon had a particularly bad cold".
  49. Spitz 2005, p. 376: "He had been struggling all day to reach notes, but this was different, this hurt".
  50. Doggett 2010, p. 33.
  51. Shennan 2007.
  52. Coleman 1984a, pp. 239–240.
  53. London Gazette 1965, pp. 5487–5489.
  54. Coleman 1984a, p. 288.
  55. Gould 2008, p. 268.
  56. Lawrence 2005, p. 62.
  57. The Beatles 2000, p. 171.
  58. Rodriguez 2012, pp. 51–52.
  59. Harry 2000b, p. 570.
  60. Cleave 2007.
  61. Gould 2008, pp. 5–6, 249, 281, 347.
  62. Brown 1983, p. 222.
  63. Gould 2008, p. 319.
  64. MacDonald 2005, p. 281.
  65. Time 1967.
  66. BBC News 2007b.
  67. Brown 1983, p. 276.
  68. Doggett 2010, pp. 33, 34.
  69. Miles 1997, p. 397.
  70. Hoppa 2010.
  71. Miles 1997, p. 349-373.
  72. Logan 1967.
  73. Lewisohn 1988, p. 131.
  74. Harry 2000b, p. 31.
  75. TelegraphKlein 2010.
  76. Miles 1997, p. 549: "Paul never did sign the management contract".
  77. Harry 2000b, pp. 774–775.
  78. Coleman 1984a, p. 279.
  79. Coleman 1984a, pp. 48–49.
  80. Perone 2001, pp. 57–58.
  81. Harry 2000b, pp. 160–161.
  82. Miles 2001, p. 360.
  83. "Beatles fans call for return of MBE medal rejected by John Lennon". The Daily Telegraph. 2 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  84. Harry 2000b, pp. 615–617.
  85. Edmondson 2010, pp. 129–130.
  86. Spitz 2005, pp. 853–54.
  87. Loker 2009, p. 348.
  88. Wenner 2000, p. 32.
  89. Wenner 2000, p. 24.
  90. Harry 2000b, pp. 408–410.
  91. Blaney 2005, p. 56.
  92. Harry 2000b, pp. 640–641.
  93. Riley 2002, p. 375.
  94. Schechter 1997, p. 106.
  95. Wiener 1990, p. 157.
  96. Gerson 1971.
  97. Vigilla 2005.
  98. Goodman 1984.
  99. Harry 2000b, pp. 354–356.
  100. Peebles 1981, p. 44.
  101. Allmusic 2010f.
  102. Bill DeMain. "John Lennon and the FBI". Dangerous Liaisons: The FBI Files of Musicians. Performing Songwriter. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
  103. Alan Glenn (27 December 2009). "The Day a Beatle Came to Town". The Ann Arbor Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
  104. Wiener 1990, p. 204.
  105. LennoNYC, PBS Television 2010
  106. BBC News 2006a.
  107. Landau 1974.
  108. Harry 2000b, pp. 979–980.
  109. Deming 2008.
  110. The Rock and Roll Hall of Fame and Museum 1994.
  111. Harry 2000b, pp. 698–699.
  112. Harry 2000b, pp. 927–929.
  113. Harry 2000b, p. 735.
  114. The Very Best of Mick Jagger liner notes
  115. Badman 2001, 1974.
  116. Harry 2000b, p. 284.
  117. Harry 2000b, p. 970.
  118. The Rock and Roll Hall of Fame and Museum 1996.
  119. Harry 2000b, pp. 240, 563.
  120. 120.0 120.1 Harry 2000b, p. 758.
  121. 121.0 121.1 121.2 Sheff 1981.
  122. Harry 2000b, p. 553.
  123. Harry 2000b, p. 166.
  124. Bennahum 1991, p. 87.
  125. Harry 2000b, p. 814.
  126. BBC News 2006b.
  127. Schinder & Schwartz 2007, p. 178.
  128. Ginell 2009.
  129. Badman 2001, 1980.
  130. Ingham 2006, p. 82.
  131. Harry 2000b, p. 145.
  132. Harry 2000b, p. 692.
  133. Harry 2000b, p. 510.
  134. "Inmate Population Information Search". Nysdoccslookup.doccs.ny.gov. สืบค้นเมื่อ 27 September 2014.
  135. Dolmetsch, Chris (23 August 2014). "John Lennon Killer Chapman Denied Parole for Eighth Time". NY. Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 23 August 2014.
  136. Lennon 2005, pp. 17–23.
  137. Lennon 2005, p. 21.
  138. Harry 2000b, pp. 492–493.
  139. Lennon 2005, p. 91.
  140. Harry 2000b, pp. 493–495.
  141. Lennon 2005, p. 113.
  142. Harry 2000b, pp. 496–497.
  143. Warner Brothers 1988.
  144. Lennon 2005, p. 305–306: "He had agreed that I should have custody of Julian", "He raised his offer to £100,000".

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]