ข้ามไปเนื้อหา

เซิลวี ออตแตแซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เซิลวี ออตแตแซน
ออตแตแซนในนัดกระชับมิตรออสเตรีย–ไอซ์แลนด์ใน ค.ศ. 2014
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เซิลวี กีอีร์ ออตแตแซน ยอนซ็อน
วันเกิด (1984-02-18) 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 (40 ปี)
สถานที่เกิด เรคยาวิก ไอซ์แลนด์
ส่วนสูง 1.89 m (6 ft 2 in)
ตำแหน่ง เซ็นเตอร์แบ็ก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
Víkingur
หมายเลข 8
สโมสรเยาวชน
2000 Víkingur Reykjavík
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2001–2004 Víkingur Reykjavík 36 (0)
2004–2008 Djurgården 35 (2)
2008–2010 SønderjyskE 54 (6)
2010–2013 โคเปนเฮเกน 43 (8)
2013–2015 อูรัล 33 (0)
2015 เจียงซูเซนตี 26 (3)
2016 Wuhan Zall 24 (3)
2017 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 12 (1)
2017 กวางโจว อาร์แอนด์เอฟ 5 (1)
2018– Víkingur Reykjavík 33 (2)
รวม 278 (24)
ทีมชาติ
2004–2006 ไอซ์แลนด์ อายุไม่เกิน 21 ปี 11 (0)
2005–2016 ไอซ์แลนด์ 28 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2018

เซิลวี กีอีร์ ออตแตแซน ยอนซ็อน (เกิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984) เป็นนักฟุตบอลชาวไอซ์แลนด์ผู้เล่นในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็กให้กับสโมสรวือกินเกอร์ในไอซ์แลนด์ เขาเคยลงเล่นให้กับทีมชาติไอซ์แลนด์ไปทั้งสิ้น 28 นัด

ออตแตแซนเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลชาวไอซ์แลนด์ที่ได้รับการยกย่อง โดยในช่วงอาชีพฟุตบอล เขาคว้าถ้วยรางวัลไปทั้งหมด 7 รายการ ต่อมาในช่วงที่อยู่สวีเดน เขาชนะเลิศออลสเวนส์คานและฟุตบอลถ้วยอีกสองสมัย ต่อมาในช่วงที่อยู่เดนมาร์ก เขาชนะเลิศซูเปอร์ลีกาสองสมัย และฟุตบอลถ้วย ต่อมาเมื่อเขาย้ายไปเล่นในเอเชีย เขาช่วยให้เจียงซูเซนตีชนะเลิศไชนีสเอฟเอคัพ นอกจากจากนี้ เขายังเคยเล่นให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในช่วงเลกแรกของฤดูกาล 2017

ทีมชาติ

[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ออตแตแซนถูกเรียกติดทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปีเป็นครั้งแรก[1] เขาได้ลงเล่นให้กับทีมชาติรุ่นนี้ไปทั้งสิ้น 11 นัด[2]

ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2005 ออตแตแซนถูกเรียกติดทีมชาติชุดใหญ่เป็นครั้งแรก[3] เขาลงเล่นตัวจริงให้กับทีมชาตินัดแรกในการพบกับโปแลนด์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2005 โดยในนัดนั้น ไอซ์แลนด์แพ้ไป 3–2[4] หลังจากนั้นอีกสามปี เขาถูกเรียกติดทีมชาติอีกหน และได้ลงเล่นเป็นตัวจริงในนัดที่เอาชนะมอลตา 1–0 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008[5] ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 เขาเป็นกัปตันทีมชาติในนัดที่พบกับนอร์เวย์และเดนมาร์ก[6] ในปีถัดมา เขาทำหน้าที่เป็นกัปตันอีกครั้ง และทำสองแอสซิสต์ ในนัดที่แพ้โปรตุเกส 5–3 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2011[7]

ในนัดที่พบกับไซปรัสเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2012 ออตแตแซนถูกไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 86 ทำให้ไอซ์แลนด์พ่ายแพ้ไป 1–0[8] และเขาถูกแบนทั้งหมดสองนัด[9] จนกระทั่งในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2012 ออตแตแซนพ้นจากโทษแบน และกลับมาลงเล่นเป็นตัวจริงในนัดที่เอาชนะอันดอร์ราไปได้ 2–0[10] นัดสุดท้ายที่เขาได้ลงเล่นให้กับทีมชาติ ได้แก่ นัดที่พบกับลัตเวียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 และนัดที่พบกับฟินแลนด์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016[11]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ออตแตแซนประกาศเลิกเล่นฟุตบอลทีมชาติ[12] โดยเขาได้ลงเล่นให้กับทีมชาติไปทั้งสิ้น 28 นัด

เกียรติประวัติ

[แก้]
Víkingur
  • ไอซ์แลนดิกคัพ: 2019
โคเปนเฮเกน
Djurgårdens IF
เจียงซูเซนตี
  • ไชนีสเอฟเอคัพ: 2015[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tveir nýliðar í landsliðhópi Eyjólfs" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 31 August 2004. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Han är Djurgårdens nye islännin" (ภาษาสวีเดน). Aftonbladet. 7 July 2004. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  2. "Byrjunarlið 21-árs landsliðsins tilbúið" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 8 October 2004. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Byrjunarlið 21-árs landsliðsins tilbúið" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 8 October 2004. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Sölvi fékk sex sentímetra skurð" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 4 June 2005. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  3. "Sölvi Geir eini nýliðinn í landsliðshópnum" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 28 September 2005. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  4. "Pólverjar lögðu Íslendinga í Varsjá" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 7 October 2005. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  5. "Gunnleifur í markinu á Möltu" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 19 November 2008. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Heiðar tryggði Íslandi sigur á Möltu" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 19 November 2008. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  6. "Sölvi Geir fyrirliði Íslands" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 2 September 2010. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Norðmenn svöruðu tvisvar og unnu 2:1" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 3 September 2010. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Grátlegt tap gegn Dönum á Parken" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 7 September 2010. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  7. "Eiður fyrirliði gegn Noregi" (ภาษาไอซ์แลนด์). mbl.is. 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Þrjú mörk gegn Portúgal en 5:3 tap" (ภาษาไอซ์แลนด์). mbl.is. 7 October 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  8. "Ísland tapaði í fyrsta skipti gegn Kýpur" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 11 September 2012. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  9. "Sölvi Geir fékk tveggja leikja bann" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 5 October 2012. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  10. "Nýliðinn innsiglaði sigur Íslands í Andorra" (ภาษาไอซ์แลนด์). mbl.is. 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  11. "Leikurinn líktist körfubolta" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 10 October 2015. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
    "Byrjunarlið Íslands - Eiður fyrirliði" (ภาษาไอซ์แลนด์). Mbl.is. 13 January 2016. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  12. "FCK- og SønderjyskE-favoritten Ottesen stopper udlandskarrieren" (ภาษาเดนมาร์ก). Tipsbladet. 17 November 2017. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  14. "足协杯-萨米尔加时绝杀 舜天客场1-0申花首夺冠". Sports.sina.com.cn. 2015-11-29. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]