โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลพบุรีโซล่าร์
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลพบุรีโซล่าร์ (อังกฤษ: Lopburi Solar Power Plant) เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 63 เมกะวัตต์ ดำเนินการโดย บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด ตั้งอยู่ในตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี[1]
ลพบุรีโซล่าร์ | |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
พิกัด | 15°03′06″N 100°53′32″E / 15.05167°N 100.89222°E |
สถานะ | ใช้งานอยู่ |
เริ่มสร้าง | กรกฎาคม 2553 |
เริ่มโครงการ | 23 ธันวาคม 2554 |
ค่าก่อสร้าง | 8,000 ล้านบาท |
เจ้าของ | บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด |
โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ | |
ประเภท | แผงโฟโตวอลเทอิกแบบแบน |
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้า | |
Units operational | 520,000 |
กำลังการผลิตติดตั้งรวม | 63 เมกะวัตต์ |
แหล่งข้อมูลอื่น | |
เว็บไซต์ | www |
การดำเนินงาน
แก้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลพบุรีโซล่าร์ เป็นโครงการในการร่วมทุนกันในสัดส่วนร้อยละ 33.33 เท่ากัน ระหว่าง บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีแอลพี ไทยแลนด์ รีนิวเอเบิลส์ ลิมิเต็ด ในเครือซีแอลพี และ บริษัท ไดมอนด์ เจเนอเรติ้ง เอเชีย ลิมิเต็ด ในเครือมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น[2] ใช้เงินกู้จำนวน 8,000 ล้านบาท โดยกู้เงินจากสถาบันการเงินร้อยละ 70 เป็นเงิน 5,125 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) จำนวน 1,742 ล้านบาท ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ธนาคารละ 1,127 ล้านบาท[3] และลงนามในการซื้อแผงโซล่าร์แบบทินฟิล์ม จำนวน 540,000 แผง จาก ชาร์ป คอร์เปอเรชั่น รวมถึงเซ็นสัญญาก่อสร้างกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)[4] และบริษัท อิตัลไทยเอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด[3] และเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 18 เดือน ปฏิบัติงานโดยใช้เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญรวมประมาณ 1,400 คน
โรงไฟฟ้ามีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตในเฟสที่ 2 อีก 11 เมกะวัตต์รวมเป็นจำนวน 84 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 รวมถึงสร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งพลังงานธรรมชาติสำหรับเปิดให้ท่องเที่ยวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วงกลางปี พ.ศ. 2555[2]
บริษัทมีรายได้ในปีแรกคือ พ.ศ. 2555 จำนวน 700 ล้านบาท และรายได้ในปี พ.ศ. 2556 มีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท[5]
การตรวจสอบกิจกรรมในปี พ.ศ. 2557 รายงานว่าโครงการได้ดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วงผ่านมา 2 ปี การตรวจสอบได้จัดประเภทโครงการนี้ว่า "ประสบความสำเร็จอย่างมาก"[6]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อหุ้นเพิ่มในสัดส่วนร้อยละ 33.33 จากบริษัท ไดมอนด์ เจเนอเรติ้ง เอเชีย ลิมิเต็ด (DGA) ผู้ถือหุ้นร่วมก่อนหน้านี้ ทำให้บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) กลายเป็นผู้ถือหุ้นหลักในโรงไฟฟ้าร้อยละ 66.66[7]
ในปี พ.ศ. 2567 โรงไฟฟ้าได้บริหารงานโรงไฟฟ้า 2 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดลดลงเหลือ 63 เมกะวัตต์ ใช้แผงโซลาร์เซลแบบฟิล์มบาง (Thin Film) ขนาดใหญ่ จำนวน 520,000 แผง บนเนื้อที่ประมาณ 1,400 ไร่[8]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด". www.ftiebusiness.com.
- ↑ 2.0 2.1 "เอ็กโก้ดีเดย์เดินเครื่องโรงไฟฟ้าโซลาร์". posttoday. 2011-12-22.
- ↑ 3.0 3.1 "เงินกู้รายใหญ่คึก". posttoday. 2010-07-29.
- ↑ "โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลพบุรีโซลาร์". Italthai Engineering.
- ↑ "NED ทุ่มหมื่นล้านลงทุน". www.siamturakij.com.
- ↑ Asian Development Bank. 2014. Extended Annual Review Report: Loan Solar Power Project (Thailand). Manila: September 2014.
- ↑ "เอ็กโก กรุ๊ป ขยายพอร์ตโซลาร์ฟาร์มในประเทศ ซื้อหุ้นเพิ่ม 33.33% ใน บจ.พัฒนาพลังงานธรรมชาติ". www.egco.com.
- ↑ "EGCO Group เปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ NED จ.ลพบุรี". bangkokbiznews. 2024-06-20.