ราชวงศ์โมริยะ
แผนที่จักรวรรดิโมริยะสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช. | |
สัญลักษณ์: เสาสิงห์พระเจ้าอโศก | |
ผู้ก่อตั้ง | พระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ |
---|---|
รัฐสมัยก่อนหน้า | ราชวงศ์นันทะแห่งแคว้นมคธ 16 มหาชนบท |
ภาษา | ภาษาสันสกฤต ภาษามาคธีปรากฤต ภาษาบาลีปรากฤต ภาษาปรากฤตอื่น ๆ |
ศาสนา | ศาสนาพราหมณ์[1][2][3] ศาสนาเชน[4][5][6] ศาสนาพุทธ[2][7] อาชีวก[2][7] จารวากะ ความเชื่อในท้องถิ่น |
เมืองหลวง | ปาฏลีบุตร (ปัฏนา) |
ประมุขแห่งรัฐ | จักรพรรดิ |
ประมุขลำดับแรก | พระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ |
ประมุขลำดับสุดท้าย | พระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ |
รัฐบาล | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถศาสตร์และราชมณฑลของจาณักยะ[8] |
การแบ่งเขตปกครอง | 4 แคว้น: ทศลี อุชเชนี สุวรรณคีรี ตักศิลา กลุ่มชนเผ่ากึ่งปกครองตนเอง |
การบริหารราชการแผ่นดิน | Inner Council of Ministers ("มนตรีบริษัท") under a Mahamantri ("มหามนตรี") with a larger assembly of ministers ("มนตรีนุมนตรีปริษัทมจะ"). Extensive network of officials from treasurers ("สันนิธตะ") to collectors ("สมหรรตะ") and clerks ("กรรมิกพ"). Provincial administration under regional viceroys ("กุมาระ" หรือ "อารยบุตร") with their own Mantriparishads and supervisory officials ("มหามัตตะ"). Provinces divided into districts run by lower officials and similar stratification down to individual villages run by headmen and supervised by Imperial officials ("โคปา"). |
พื้นที่ | 5 ล้านตารางกิโลเมตร [9] (เอเชียใต้และเอเชียกลางบางส่วน) |
ประชากร | 50 ล้าน [10] (จำนวน 1 ใน 3 ของประชากรโลกยุคนั้น[11]) |
สกุลเงิน | กหาปนะ |
ดำรงอยู่ | พ.ศ. 221-360 (322–184 ก่อน ค.ศ.) |
ล่มสลาย | รัฐประหารโดยปุษยมิตร ศุงคะ |
รัฐที่สืบทอดต่อมา | จักรวรรดิศุงคะ |
โมริยะ (บาลี: โมริย) หรือ เมารยะ (สันสกฤต: मौर्य, เมารฺย) เป็นจักรวรรดิซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดจักรวรรดิหนึ่งในอินเดีย ปกครองโดยราชวงศ์โมริยะ (สันสกฤต: मौर्य राजवंश, เมารฺย ราชวํศ) ตั้งแต่ พ.ศ. 222–360 (322–184 ก่อน ค.ศ.) จักรวรรดิโมริยะมีรากฐานมาจากแคว้นมคธในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา (ปัจจุบันคือรัฐพิหาร, ตะวันออกของรัฐอุตตรประเทศ และเบงกอล) ทางด้านตะวันออกของชมพูทวีป เมืองหลวงของจักรวรรดิตั้งอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร (ไม่ไกลจากปัฏนาปัจจุบัน)
ราชวงศ์โมริยะก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 222 (322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) โดยเจ้าชายจันทรคุปตเมารยะ ผู้โค่นล้มราชวงศ์นันทะ และทรงขยายอำนาจอย่างรวดเร็วไปทางตอนกลางและตะวันตกของประเทศอินเดีย โดยการฉวยโอกาสจากความปั่นป่วนในท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการถอยทัพไปทางตะวันตกของกองทัพกรีกและเปอร์เชียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อมาถึงปี พ.ศ. 224 (320 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จักรวรรดิโมริยะก็ครอบครองบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย โจมตีและได้รับชัยชนะต่อแคว้นต่าง ๆ ที่เหลือของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิโมริยะมีดินแดนทางตอนเหนือที่ติดกับแนวเทือกเขาหิมาลัย ทางตะวันออกไปจนถึงรัฐอัสสัมปัจจุบัน ทางตะวันตกเลยจากประเทศปากีสถาน ผนวกบาโลชิสถานและส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน รวมทั้งเฮรัทและกันดะฮาร์ปัจจุบัน จักรวรรดิโมริยะขยายตัวไปยังบริเวณตอนกลางของอินเดียและทางตอนใต้โดยพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะและพระเจ้าพินทุสาร แต่มิได้เข้าไปในบริเวณที่ยังไม่ได้สำรวจในบริเวณโอริศาปัจจุบัน
จักรวรรดิโมริยะเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งที่ปกครองชมพูทวีป และรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 3 ของราชวงศ์ ราวห้าสิบปีหลังสิ้นรัชกาลของพระองค์ อำนาจของจักรวรรดิเริ่มเสื่อมถอย และล่มสลายลงในปี พ.ศ. 360 (184 ก่อน ค.ศ) เนื่องจากกษัตริย์องค์สุดท้ายทรงถูกพวกพราหมณ์ตระกูลศุงคะทำรัฐประหารและปลงพระชนม์ พร้อมทั้งได้สถาปนาจักรวรรดิศุงคะขึ้นแทนที่จักรวรรดิโมริยะ
ลำดับกษัตริย์
แก้- พระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ, พ.ศ. 222–246 (322–298 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าพินทุสาร, พ.ศ. 246–272 (298–272 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าอโศกมหาราช, พ.ศ. 276–312 (268–232 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าทศรถ, พ.ศ. 312–320 (232–224 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าสัมประติ, พ.ศ. 320–329 (224–215 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าศาลิศุกะ, พ.ศ. 329–342 (215–202 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าเทววรมัน, พ.ศ. 342–349 (202–195 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าศตธันวัน, พ.ศ. 349–357 (195–187 ก่อน ค.ศ.)
- พระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ, พ.ศ. 357–360 (187–184 ก่อน ค.ศ.)
ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Nath sen, Sailendra (1999). Ancient Indian History and Civilization. Routledge. p. 164.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bronkhorst, Johannes; Flood, Gavin (July 2020). The Oxford History of Hinduism: Hindu Practice (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 68. ISBN 978-0-19-873350-8.
- ↑ Omvedt, Gail (18 August 2003). Buddhism in India: Challenging Brahmanism and Caste (ภาษาอังกฤษ). SAGE Publications. p. 119. ISBN 978-0-7619-9664-4.
- ↑ Smith, vincent A. (1981). The Oxford History Of India Part. 1-3, Ed. 4th. Oxford University Press. p. 99.
the only direct evidence throwing light ....is that of Jain tradition. ...it may be that he embraced Jainism towards the end of his reign. ...after much consideration I am inclined to accept the main facts as affirmed by tradition .... no alternative account exists.
- ↑ Dalrymple, William (2009-10-07). Nine Lives: In Search of the Sacred in Modern India (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-4088-0341-7.
It was here, in the third century BC, that the first Emperor of India, Chandragupta Maurya, embraced the Jain religion and died through a self-imposed fast to the death,......
- ↑ Keay, John (1981). India: A History (ภาษาอังกฤษ). Open Road + Grove/Atlantic. pp. 85–86. ISBN 978-0-8021-9550-0.
- ↑ 7.0 7.1 Long, Jeffery D. (15 April 2020). Historical Dictionary of Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. p. 255. ISBN 978-1-5381-2294-5.
- ↑ Avari, Burjor (2007). India, the Ancient Past: A History of the Indian Sub-continent from C. 7000 BC to AD 1200 Taylor & Francis. ISBN 0415356156. pp. 188-189.
- ↑ Peter Turchin, Jonathan M. Adams, and Thomas D. Hall. East-West Orientation of Historical Empires. เก็บถาวร 2006-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Connecticut, November 2004.
- ↑ Roger Boesche (2003). "Kautilya’s Arthashastra on War and Diplomacy in Ancient India", The Journal of Military History 67 (p. 12).
- ↑ Colin McEvedy and Richard Jones (1978), "Atlas of World Population History", Facts on File (p. 342-351). New York.