บะหมี่เกี๊ยว (จีน: 雲吞麵; ยฺหวิดเพ็ง: wan4 tan1 min6; เยลกวางตุ้ง: wàhn tān mihn; เป่อ่วยยี: hûn-thun-mī) เป็นอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวที่มีต้นกำเนิดจากกวางตุ้ง[1] อาหารจานนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า "หุ่นถุน" (จีน: 餛飩; ยฺหวิดเพ็ง: wan4 tan1) ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618–907)[2] ต่อมาได้รับความนิยมในจีนตอนใต้ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย[3][4] โดยประกอบด้วยบะหมี่ไข่เสิร์ฟในน้ำซุปร้อน ตกแต่งด้วยผักใบและเกี๊ยว ผักใบที่ใช้มักเป็นผักคะน้า เกี๊ยวอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าชุ่ยเจี่ยว (水餃) หรือเกี๊ยวซ่าแบบต้ม บางครั้งก็ใช้เสิร์ฟแทนเกี๊ยว เกี๊ยวกุ้งส่วนใหญ่เรียกว่าเกี๊ยวฮ่องกง[3] เกี๊ยวประกอบด้วยกุ้ง ไก่ หรือหมู และต้นหอม แต่บางสูตรก็ใส่เห็ดและเห็ดหูหนูดำลงไป ในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะจังหวัดสุมาตราเหนือ จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก และจังหวัดซูลาเวซีใต้ อาหารจานนี้เรียกว่า มีปังซิต (อินโดนีเซีย: mie pangsit)

บะหมี่เกี๊ยว
ชามซุปบะหมี่เกี๊ยว
ประเภทบะหมี่, ก๋วยเตี๋ยว
มื้ออาหารหลัก
แหล่งกำเนิดจีน
ภูมิภาคมณฑลกวางตุ้ง, ฮ่องกง, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้ง, ไข่, หมู, กุ้ง
บะหมี่เกี๊ยว
อักษรจีนตัวเต็ม雲吞麵
อักษรจีนตัวย่อ云吞面
ความหมายตามตัวอักษรบะหมี่เกี๊ยว
บะหมี่หมูแดงเกี๊ยวที่ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

ในไทย บะหมี่เกี๊ยวก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน ส่วนในมาเลเซียและสิงคโปร์มักสั่งบะหมี่เกี๊ยวคู่กับเนื้อหมูซึ่งต่อมาเรียกว่า บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง[5] ตามธรรมเนียมของซุปก๋วยเตี๋ยวที่มีต้นกำเนิดจากจีนหลายชนิดในไทย เติมพริกแช่น้ำส้มสายชู พริกแห้งป่น น้ำตาล และน้ำปลาเพื่อเพิ่มรสชาติ จานนี้ส่วนใหญ่จะรับประทานในรูปแบบซุป แต่ก็สามารถเสิร์ฟแบบแห้งแยกต่างหากจากน้ำซุปได้[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Deconstructing wonton noodles". South China Morning Post. June 25, 2015. สืบค้นเมื่อ September 8, 2018.
  2. Max (2018-10-04). "Wonton 馄饨". MyKindofEats (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-02-18.
  3. 3.0 3.1 "How does Hong Kong's wonton compare with Singapore's or Malaysia's?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
  4. Ang, Darren (2017-05-30). "Wanton Mee's humble history has made it a cornerstone of Asian cuisine". Darren Bloggie - Singapore Lifestyle Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.
  5. "Egg Noodles with Wontons and Red Thai Barbecue Pork – Ba Mee Kiew Moo Dang, Thai Noodles for Beginner Episode VII". The High Heel Gourmet (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-17. สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.
  6. Wiens, Mark (2014-03-24). "Ba Mee Jub Kang (บะหมี่จับกัง) - Big Bowls of Old Skool Egg Noodles in Bangkok's Yaowarat". Thai Street Food, Restaurants, and Recipes | Eating Thai Food (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.