น้ำปูนใส
น้ำปูนใส เป็นชื่อสามัญของสารละลายเจือจางของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) น้ำปูนใสบริสุทธิ์จะใสไม่มีสี มีกลิ่นดินเล็กน้อยและมีรสขมแบบด่าง ชื่อภาษาอังกฤษคือ limewater ซึ่งมาจากไลม์ อนินทรีย์วัตถุของแคลเซียมที่มีคาร์บอเนต ออกไซด์ และไฮดรอกไซด์เป็นหลัก และไม่เกี่ยวข้องกับ lime ที่หมายถึงมะนาว
น้ำปูนใสเตรียมได้จากการผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์กับน้ำบริสุทธิ์ แล้วกรองส่วนแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ไม่ละลายออก หากมีปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำปูนใสมากเกินจะทำให้มีสีขาวเหมือนนม เรียกว่า milk of lime ซึ่งเป็นสารละลายอิ่มตัวของน้ำปูนใส มีค่า pH 12.3 เป็นเบสในธรรมชาติ[1]
เคมี
แก้การผ่านก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำปูนใส ทำให้ได้สารละลายสีเหมือนนม ซึ่งเกิดจากอนุภาคสารแขวนลอยที่ไม่ละลายของแคลเซียมคาร์บอเนต:
- Ca(OH)2(aq) + CO2(g) → CaCO3(s) + H2O(l)
หากมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกิน จะเกิดปฏิกิริยาตามสมการ:
- CaCO3(s) + H2O(l) + CO2(g) → Ca(HCO3)2(aq)
สีขาวเหมือนนมจะหายไปเพราะแคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายน้ำ
การใช้ประโยชน์
แก้ในทางอุตสาหกรรม มีการใช้น้ำปูนใสในการขจัดก๊าซของเสียที่มีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เรียกว่าซัลเฟชัน (sulfation) โดยซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะถูกดักจับและกลายเป็นหยดน้ำ ตามสมการ:
- Ca(OH)2(aq) + SO2(g) → CaSO3(s) + H2O(l)
นอกจากนี้ น้ำปูนใสใช้ในการลดความกระด้างของน้ำ และใช้เป็นตัวทำให้เป็นกลางในการบำบัดน้ำเสีย[2] ในทางศิลปะใช้เป็นตัวทำละลายสี และยังใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Milk of lime - MSDS" (PDF). Nordkalk. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Lime Softening" (PDF). MRWA. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017.
- ↑ "Lime (Chemical)". Cook's Info. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Limewater - MSDS" (PDF). Northwest Missouri State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-26. สืบค้นเมื่อ 2017-02-07.