พันเอก (พิเศษ)[3] ถนัด คอมันตร์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร

ถนัด คอมันตร์
ถนัด คอมันตร์ ใน พ.ศ. 2518
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
(2 ปี 18 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
(0 ปี 362 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(12 ปี 280 วัน)
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ถัดไปจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 เมษายน พ.ศ. 2525
(2 ปี 281 วัน)
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปพิชัย รัตตกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457
จังหวัดพระนครธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 2559 (101 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2489–2513, 2514–2559)
สหประชาไทย (2513–2514)
คู่สมรสท่านผู้หญิงโมลี คอมันตร์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอร์โดซ์
มหาวิทยาลัยปารีส(Ph.D.)[1]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ2506–2559
ยศ พันเอก (พิเศษ)[2]

ประวัติ

แก้

ถนัด คอมันตร์ เดิมมีชื่อว่า "ถนัดกิจ คอมันตร์" เป็นบุตรของพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป๋ คอมันตร์) เนติบัณฑิตไทยรุ่นแรก กับคุณหญิงถนอม พิพากษาสัตยาธิปตัย

พ.ศ. 2461 เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ถึง พ.ศ. 2465 จึงเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 7066) จนจบมัธยม 5 ในปี พ.ศ. 2471 แล้วไปศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่ประเทศฝรั่งเศส จนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ ปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปารีส

พ.ศ. 2483 ถนัดจึงกลับประเทศไทย เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ และในวันที่ 28 เมษายน ปีถัดมา จึงสมรสกับโมลี วีรางกูร ธิดาคนรองของนายเป๋า วีรางกูร กับนางชุน วีรางกูร บุตรีของพระยาอนุกูลสยามกิจ[4]

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ถนัดได้รับพระราชทานยศเป็นพันเอก (พิเศษ) นายทหารพิเศษ สังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ[3] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5]

เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ เช่น สหรัฐ เป็นต้น ได้รับการยกย่องในฐานะผู้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการก่อตั้ง "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (หรืออาเซียน) ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2510 และต่อมา พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ยังได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกฝ่ายไทย ใน ศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีวาระ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2545

บทบาททางการเมือง

แก้

ในทางการเมือง เคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2525 หลังหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรงและสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน โดยผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2522 ในกรุงเทพฯ ได้ ส.ส. เพียงคนเดียว คือตัว ถนัด เองที่เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 6 (เขตพญาไทและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) โดย พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องรับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้ และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6] และในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[7] เขามีหลานชายคนหนึ่งเป็นนักธุรกิจที่เคลื่อนไหวทางการเมืองคืออัมรินทร์ คอมันตร์

ในทางวิชาการ เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512[8] และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง

กล่าวกันว่าโดยส่วนตัว ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ลงรอยกับพิชัย รัตตกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนถัดมา ในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยถ้ามีผู้ใดถามถึง นายพิชัย กล่าวกันว่า พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆ นี้"[9]

ถึงแก่อสัญกรรม

แก้

ถนัด คอมันตร์ ถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.49 น. ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 101 ปี 298 วัน ตั้งศพบำเพ็ญที่บ้านพักส่วนตัวที่ถนนเพชรบุรี[10]

วันที่ 5 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ บ้านพักของเขา ต่อมาพระราชทานโกศมณฑป เนื่องจากถึงแก่อสัญกรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพวงมาลาประจำพระองค์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์อีกด้วย

วันที่ 28 กรกฎาคม เวลา 14.00 น. โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พันเอกพิเศษ ถนัด คอมันตร์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   กรีซ :
    • พ.ศ. 2506 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[23]
  •   เอธิโอเปีย :
    • พ.ศ. 2510 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เมเนลิกที่ 2 ชั้นที่ 1
  •   เม็กซิโก :
    • พ.ศ. 2510 -   เครื่องอิสริยาภรณ์แอซเท็กอีเกิล ชั้นที่ 1

ลำดับสาแหรก

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สิ้น”ถนัด คอมันตร์”วัย 102 ปี
  2. ได้รับตำแหน่งยศ
  3. 3.0 3.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอน 17 ง หน้า 465 19 กุมภาพันธ์ 2506
  4. เอมิล โรเชร์, ชูศรี สาธร แปล. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 77 ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน. กรุงเทพฯ : อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเป๋า วีรางกูร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 21 ธันวาคม 2504, 2504.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  6. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 2018-08-01.
  9. เริงศักดิ์ กำธร. กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา. กรุงเทพฯ : บางหลวง, 2535. 160 หน้า. ISBN 974-85645-2-5
  10. หน้า 13 ต่อจากหน้า 2, สิ้น "ถนัด คอมันตร์". "ถนัด คอมันตร์เสียชีวิต". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,249: วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๔๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕๐, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๕ ๘ ง หน้า ๕๕๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๖๘๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔
  20. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1962.
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๒๖๙, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๒๐๖, ๒๙ มกราคม ๒๕๐๖
  23. 23.0 23.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๕, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๓๙๓, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗
  25. http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200031749&dsid=000000000003&gubun=search
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ถนัด คอมันตร์ ถัดไป
ทวี จุลละทรัพย์
เสริม ณ นคร
สมภพ โหตระกิตย์
เล็ก แนวมาลี
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 42)
(3 มีนาคม พ.ศ. 2523 — 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2524 — 19 มีนาคม พ.ศ. 2526)
  ประจวบ สุนทรางกูร
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
พิชัย รัตตกุล
สนธิ บุณยะชัย
สิทธิ เศวตศิลา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 — 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
  จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช    
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2522 — พ.ศ. 2525)
  พิชัย รัตตกุล